การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน
คณะทำงานจัดการความรู้ การแพทย์แผนไทยอุดรธานีกับโรคเบาหวาน

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสร้างคอม ปี 2551


ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสร้างคอม ปี 2551

ถอดบทเรียนความก้าวหน้าของการบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสร้างคอม   ปี 2551

        งานบริการแพทย์แผนไทย โรงพยาบาลสร้างคอม เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2543 โดยมีผู้รับผิดชอบเริ่มต้นคือ ภญ.ยิ่งพรรณ ปราสาทหินพิมาย ซึ่งปัจจุบันผู้รับผิดชอบที่ทำหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ประเมินผล วางแผน พัฒนา ที่ทำได้ค่อนข้างดี คือ ภก.วัชรานุกูล  บุญเลิศ  ทั้งนี้สถานที่ตั้งอยู่บริเวณอาคารเดิมของโรงพยาบาล การเข้าถึงอาจจะยากสักเล็กน้อย เมื่อเข้าไปในบริเวณที่จัดให้บริการมีการจัดแบ่งห้องเป็นห้องนวดปกติ  และห้องนวดที่มีการปรับอากาศ  เนื่องจากมีผู้ให้บริการ 1 คนคือคุณชินกร เรณะสุนะ การจัดสถานที่จึงมีโต๊ะสำนักงานอยู่ในห้องนวดปรับอากาศด้วย แต่ภายในสถานที่ก็จัดให้บรรยากาศผ่อนคลายพอสมควร มีการนำบล๊อกประสานมาจัดตกแต่ง แต่เนื่องจากเป็นอาคารที่ค่อนข้างเก่า ก็เป็นไปตามสภาพ อย่างไรก็ตามที่นี่เน้นการให้บริการที่มีจำนวนไม่มาก แต่มีบริการที่ดี มีโครงการแพทย์แผนไทยคลายเครียด โครงการนวดเท้าในผู้ป่วยใน เป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยด้วย มีแผ่นภาพสมุนไพรที่เอาไว้ใช้ให้ความรู้ (น่าจะทำดดย ภญ.ยิ่งพรรณ)

ภายในจัดสถานที่มีเตียงและที่นอนนวดตามมาตรฐาน แต่ที่โดดเด่นคือขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตามผ้าปูเป็นผ้าโรงพยาบาลซึ่งก็เป็นไปตามมาตรฐาน เพียงแต่เมื่อเทียบเคียงกับสถานที่อื่น ๆ ซึ่งใช้ผ้าพื้นเมือง พร้อมทั้งการจัดสถานที่ภายในที่ให้ความสบาย ๆ ตามสภาพอาคาร แต่ก็ดูดี และไม่สิ้นเปลือง มีห้องอบสมุนไพรแยกชายหญิง ท่อที่นำความร้อนเปิดเข้ามาในห้อง  ห้องค่อนข้างใหญ่ ความร้อนอาจกระจายมากเกินไป 

                ด้านบุคลากร หัวหน้างานคือ ภก.วัชรานุกูล จุดนี้ก็น่าจะเป็นจุดเด่นของที่นี่คือผู้ดูแลให้ความใส่ใจเป็นอย่างดี และหาความรู้เพิ่มเติมเพื่อการพัฒนาระบบบริการเรื่อย ๆ  (คึดนำ เฮ็ดนำ) ส่วนพนักงานนวด คือคุณชินกร ผ่านการอบรมนวด 372 ชม. ซึ่งสามารถให้บริการรักษาโรคเพิ่มเติมตาม แนวปฏิบัติในการดำเนินการมาตรฐานด้านการให้บริการนวด อบ ประคบ  http://gotoknow.org/blog/ttmudkmsys/192744 เพื่อรักษาโรคได้

                ด้านคุณภาพการจัดบริการ

การจัดทำความเสี่ยงในการให้บริการ ดำเนินการในรูปแบบการจัดการความเสี่ยงภาพรวมของการดำเนินงาน โดยประยุกต์งานปกติทั่วไปอยู่แล้ว  ซึ่งน่าจะได้จัดทำในส่วนของบริการแพทย์แผนไทยในเชิงประเด็นที่เกี่ยวข้อง หน้า 118 – 119 

การกำหนดตัวชี้วัดมาตรฐาน ยังไม่ได้กำหนดในเชิงรายละเอียดของบริการแพทย์แผนไทย  เป็นเรื่องของการวัดเฉพาะความพึงพอใจในภาพรวมของการบริการ โดยดูได้จาก http://gotoknow.org/blog/ttmudkmsys/192746

                ด้านการจัดบริการ 

การให้บริการส่งเสริมสุขภาพ มีการให้ความรู้อยู่เรื่อย ๆ และมีการบันทึกที่ต่อเนื่อง โดยร่วมกับทีมสุขภาพของโรงพยาบาล

การให้คำแนะนำเรื่องการป้องกันโรค มีการจัดดำเนินการแต่ไม่ได้ลงข้อมูล ซึ่งน่าจะศึกษาและปรึกษาที่ รพ.บ้านผือ , รพ.กุดจับ หรือเข้าไปดูได้ที่   http://gotoknow.org/blog/ttmudkmsys/192747   จะเป็นการนวดไป คุยไป  และน่าที่จะได้ทำเป็นเอกสารแผ่นพับสำหรับแจกจ่ายให้ผู้รับบริการถือกลับบ้านไปได้  ทั้งนี้อาจจะต้องกำหนดใน 2 เรื่องให้ชัดเจน คือ

1.เรื่องอะไรที่จะต้องให้กับคนไข้  

2.เนื้อหาตามเรื่องนั้น ๆ ที่จะต้องให้ที่พนักงานควรจะมีความรู้

โดยการบันทึกผลงานการให้ความรู้ในรูปแบบที่จะไม่เพิ่มภาระให้ผู้ปฏิบัติงาน

การให้บริการนวดเพื่อการป้องกันโรคแทรกซ้อน มีการให้บริการนวดเท้าผู้ป่วยเบาหวานกับคนไข้ในแบบที่คนไข้มาในบริบทของโรงพยาบาล

หมายเลขบันทึก: 193174เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2008 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 14:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท