เกิดอะไรขึ้น? ที่ "บางบาล"


ทำตัวให้สนุกกับงาน...เราก็จะรู้สึกมีความสุขกับทีมงานด้วย

     ก็เป็นการทำงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ครั้งที่ 2 ของดิฉันที่ได้ไปร่วมทีมงานเกี่ยวกับ "การนำระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551 ไปสู่การปฏิบัติของทีมวิจัย" ที่เป็นพื้นที่ของสำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ได้ประชุมร่วมกันในวันที่ 8  กรกฎาคม  2551 

     ในขณะที่ดิฉันฟังการประชุม  ฟังการนำเสนอข้อมูลของเจ้าหน้าที่พื้นที่  และฟังการแลกเปลี่ยน/การตั้งข้อสังเกตของทีมงาน  ดิฉันก็ได้บันทึกข้อมูลการสนทนาพูดคุยที่เป็น "การบันทึกข้อมูลภาคสนาม" ตามรูปแบบของตนเอง คือ

      จัดเก็บข้อมูล

เรื่องสถานการณ์การปฏิบัติงานส่งเสริการเกษตร เพื่อพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551

ของสำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

วันที่ 8 กรกฎาคม 2551  ณ ห้องประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 หลักคิดในการทำงาน

                 การพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร ของสำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เป็นพื้นที่วิจัยเรื่อง การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ฉบับปี 2551 ที่เกิดขึ้นได้ยึดหลัก คือ

                1.  ใช้เวทีการประชุมเจ้าหน้าที่ ของสำนักงานเกษตรอำเภอประจำเดือน เป็นวันที่จะพูดคุยเกี่ยวกับการทำภารกิจงานดังกล่าว

                2.  ใช้วิธีการทำงานเป็นทีม ที่ปฏิบัติร่วมกันระหว่างทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอ  ทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด  ทีมงานวิจัยระบบส่งเสริมการเกษตร และทีมงานพี่เลี้ยงเรื่องการพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตร 

                3.  การทำงานร่วมกันในเวทีการประชุม ได้แบ่งเนื้อหาสาระออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่  ส่วนที่ 1เนื้อหาสาระที่เป็นวาระการประชุมสำนักงานเกษตรอำเภอประจำเดือน และ ส่วนที่ 2  เนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ฉบับปี 2551

 

งานที่ปฏิบัติ

                 ในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551 มีการปฏิบัติ ได้แก่

                1.  การดำเนินงานให้บริการกับเกษตรกร  มีเป้าหมายเพื่อให้เกษตรกรที่มารับบริการเกิดความพึงพอใจ ซึ่งในช่วงนี้เป็นการให้บริการกับเกษตรกรเกี่ยวกับ การออกใบรับรองข้าว ที่เจ้าหน้าที่จะต้องบันทึกข้อมูลต่าง ๆ จึงนำเข้ามาใช้เป็น จุดเริ่มต้นของการเชื่อมโยงการทำงานของเจ้าหน้าที่สู่ระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551 ที่มีการมอบหมายงานดังกล่าวให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเป็นทีมงานโดยมีหัวหน้าทีมและผู้ร่วมทีมในการดำเนินงานร่วมกัน 

                  2. การปฏิบัติงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ที่สำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล ได้ปฏิบัติก็คือ  ใช้วิธีการจำแนกงานออกมาเป็นเรื่อง ๆ  แล้วนำมามอบหมายงานให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบเป็นทีมงาน โดยมีหัวหน้าทีมและผู้รับผิดชอบร่วม  ได้แก่  เรื่องข้อมูล  เรื่องการจัดทำแผนฯ  เรื่องการจัดการเรียนรู้  เรื่องการให้บริการ  และเรื่องการส่งเสริมกลุ่ม/เครือข่าย 

     ทั้งนี้ แนวความคิดของการแบ่งทีมงาน นั้นมาจาก ผลการปรึกษาหารือร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ภายในสำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล คือ  1)  เพื่อจะได้ทราบความเคลื่อนไหวของงานแต่ละเรื่อง ที่แต่ละทีมงานจะเป็นผู้นำเสนอข้อมูลเอง  2)  เพื่อต้องการแบ่งความรับผิดชอบที่ไม่ทำให้ภาระงานตกที่เจ้าหน้าที่คนใดคนหนึ่งมาก  3)  เพื่อต้องการใช้เป็นตัวแบบในการทำงานสำหรับหาคำตอบของอำเภอว่า ดี/ไม่ดี  โดยมีคำสั่งแต่งตั้งและมอบหมายงาน

                3.  แนวความคิดในการค้นหาคำตอบ ของการทำงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551   เป็นผลมาจากสำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล มีความต้องการ หารูปแบบการทำงานในฉบับของ...บางบาล ที่มีกระบวนการ คือ

                    ขั้นที่ 1 วิเคราะห์การทำงานส่งเสริมการเกษตรเพื่อกำหนดประเด็นการพัฒนาโดยการเปรียบเทียบผลงานที่ปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่เป็นอยู่ กับผลงานที่เจ้าหน้าที่จะปฏิบัติตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551

                    ขั้นที่ 2  วิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตร ที่จะปรับเปลี่ยนให้ได้ผลของเจ้าหน้าที่ตามระบบส่งเสริมการเกษตร ปี 2551

                    ขั้นที่ 3  ทดลองพัฒนางานตามวิธีการที่กำหนด

                    ขั้นที่ 4  สรุปผล

                4.  การนำเสนอข้อมูลของเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบงานของแต่ละทีมงาน

ประเด็น

สถานการณ์

วิธีการเดิม

วิธีการใหม่

เป้าหมาย

1. เรื่องข้อมูล

1) ความถูกต้องของข้อมูลพื้นฐานที่มีอยู่เดิมยังใช้ได้

2) ผู้ปฏิบัติเป็นเจ้าหน้าที่ ก็ปรับเป็นอาสาสมัคร/ศบกต./เกษตรผู้ร่วมโครงการ

3) ปัญหาที่เกิดขึ้นคือ ข้อมูลไม่ตรงกัน, ข้อมูลไม่ค่อยคงที่เพราะสำรวจบ่อย ข้อมูลที่มีอยู่ไม่ค่อยได้นำมาใช้ประโยชน์ และอื่นๆ จึงทำให้มี ความเคลื่อนด้านข้อมูล

4) ทางออกคือ  

 - การสำรวจ (แหล่ง/ข้อมูล/การจัดเก็บ/อื่น ๆ)

 - การออกแบบ เช่นเครื่องมือ/ แบ่ง Zone จัดเก็บข้อมูล

 - การเสริมศักยภาพการทำงาน

 - จัดเก็บข้อมูล

 - ประมวลผล

5) เงื่อนไข คือ

 - กรมฯ ต้องมีความชัดเจนในการรายงาน เช่น รายงานเฉพาะเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียน

 - จังหวัดจะต้องรู้ข้อมูลในพืชนั้น ๆ จริง ๆ

 - มีการนำข้อมูลมาใช้กันจริง ๆ

1) ประสานงานกับ อบต.

2) ทำแผนเป็นรายปี

1) อาสาสมัครจัดเก็บข้อมูล

2) เชิญ ศบกต.มาร่วมทำแผนฯ

3) ทำแผนข้ามปี

4) ปีหนึ่งไม่ควรทำข้อมูลเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจจะทำให้ข้อมูลไม่ตรงกัน

 

1) เพื่อยกระดับเป็น ฐานข้อมูล

2) เพื่อต้องการปรับปรุงข้อมูลและเครื่องมือในการจัดเก็บข้อมูล

3) เพื่อใช้ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ ได้แก่  การปรับปรุงดิน, เรื่อง

4) เพื่อต้องการใช้ข้อมูลที่ใช้ได้จริง ได้แก่

 - ข้อมูลที่คงที่

 - ข้อมูลที่มีการเคลื่อนไหว เช่น การปลูกพืช

2. เรื่องการจัดการเรียนรู้/การถ่ายทอดความรู้

1) เป็นการต่อยอดการทำงาน เช่น เรื่องศูนย์เรียนรู้การเกษตรพอเพียง

2) กลุ่มบุคคลเป้าหมาย

3) จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เช่น วิทยากรเกษตรกรที่ได้ผล

4) สรุปผล คือ เกษตรกรได้รับทราบภูมิปัญญา

5) ปัญหาอุปสรรค คือ เกษตรกรไม่ค่อยมีเวลาทำให้การประชุมไม่ต่อเนื่อง, มีหน่วยงานอื่นเข้าไปทำกิจกรรมด้วยมาก, เกษตรกรหวงวิชา และอื่น ๆ

6) การแก้ไข คือ ประสานงานระหว่างหน่วยงาน, ปรับเปลี่ยนเวลานัดหมาย

7) การประเมินผล ดูจากการนำไปใช้ปฏิบัติต่อเนื่อง/ไม่ได้นำไปใช้

 

 

1) เกษตรกรมี GAP

2) เกษตรมีความสุขกับการทำอาชีพ

* มีส่วนร่วม

 

3. เรื่องการจัดทำแผนฯ

 

 

 

 

4. เรื่องการให้บริการฯ

 

 

 

 

5. เรื่องการส่งเสริมกลุ่ม/เครือข่าย

 

 

 

 

6. เรื่องการทำงานของเจ้าหน้าที่

1) มีการจัดตั้งทีมงาน

2) มีการแบ่งงานและมอบหมายความรับผิดชอบ

3) ทีมงานมีการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูล

 

 

 

7. สรุปผลที่เกิดขึ้น

1) มีทีมงาน

2) มีการมอบงานงาน "กลาง"

3) ทีมงานมีการนำเสนอความก้าวหน้าของการทำงาน

 

 

 

 ข้อสรุป

                 สำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล  ใช้เทคนิคและวิธีการทำงานส่งเสริมการเกษตรในรูปแบบของทีมงาน และแบ่งขอบเขตของงานและพื้นที่ หรือ Zone ในการรับผิดชอบปฏิบัติ

 

ข้อคิด

                 1.  การจัดการถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกรนั้น ควรจะมีการวิเคราะห์ผู้เรียน (เกษตรกร)  มีการออกแบบการเรียนรู้ให้กับเกษตรกร  มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้  มีการประเมินผล  และอื่น ๆ

                2. ในการจัดกระบวนการเรียนรู้นั้น วิทยากรกระบวนการ หรือ Facilitator ควรจะออกแบบกระบวนการเป็น

                3.  ในการพัฒนาคนเพื่อให้คิดเป็น/ทำเป็น นั้น  จะอยู่ที่วิธีการที่ทำอย่างไรเพื่อไปให้ถึง

                4.  การทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เป็นอยู่นั้น เป็นการทำงานตามโครงการที่ได้รับการจัดสรรมาให้แล้วเสร็จ  ดังนั้น เจ้าหน้าที่จึงมีวิธีการทำงาน แบ่งเป็น 2 แบบ คือ  ทำงานตามโครงการให้เสร็จ  และทำงานกับเกษตรกรให้เกิดผลสัมฤทธิ์  โดยมุ่งไปที่ภาพรวมของอำเภอ/หน่วยงานเป็นหลัก

                5.  สำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล มีกรใช้เทคนิคการทำงานกับเจ้าหน้าที่โดยใช้วิธีการทำงานเป็นทีม  และ แบ่ง Zone ให้เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ  เช่น  พื้นที่  และงาน/ภารกิจ  เป็นต้น

                6.  การทำงานส่งเสริมการเกษตรถ้าจะให้เกิดเนื้องาน  ควรปรับวิธีการทำงานโดยมุ่งเป้าหมายไปที่แกนนำเกษตรกรเป็นหลัก  และอื่น ๆ.

 

     การไปร่วมทีมงานวิจัยของสำนักงานเกษตรอำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในครั้งนี้ คือ

       1)  เพื่อเรียนรู้วิธีการทำงานของทีมวิจัยด้วยกัน 

       2)  เพื่อดูแนวทางการทำงานที่ได้ผล และเราควรจะหยิบอะไรมาใช้กับพื้นที่วิจัยที่เราเองเป็นผู้รับผิดชอบได้บ้าง? 

       3)  เป็นการให้กำลังใจกับเพื่อนทีมวิจัยในแต่ละทีมด้วยกัน "ไปเป็นเพื่อนกัน"

       4)  ไปดูลู่ทาง "เทคนิควิธีการ" ของพี่ ๆ ที่เราเรียนรู้ได้จากการสังเกต หรือการปฏิบัติจริง หรือจากการทำให้ดู

     ดังนั้น เวทีการเรียนรู้ของดิฉันนั้นมีอยู่ได้ทุกที่  ตามโอกาสที่ได้รับการจัดสรร/มอบหมาย  และตามที่เราอยากรู้อยากเรียน  แต่ทั้งนี้เราต้องมีใจที่สนุกกับการทำงานชิ้นนั้น ๆ ด้วยนะค่ะ.

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 192889เขียนเมื่อ 8 กรกฎาคม 2008 18:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท