สรุปผลการจัดกิจกรรม
โครงการประสานงานวิจัยการศึกษาเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
จังหวัดมหาสารคาม
เรื่อง
งานการเงินและการจดบันทึกข้อมูลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
วันที่ 15 - 16 กุมภาพันธ์ 2549
ณ โรงเรียนบ้านเม็กดำ อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
จังหวัดมหาสารคาม
ความเป็นมา
ฐานคิดสำคัญของการบริหารและจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานคือ
“การจัดการศึกษาที่ให้โอกาสชุมชนได้มีส่วนร่วม
มีความเหมาะสมสอดคล้องกับท้องถิ่นและเอื้อต่อการปฏิบัติงานร่วมกัน
กับงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
ที่มีทิศทางการทำงานมุ่งเน้นไปที่ “สร้างสรรค์ปัญญา
พัฒนาท้องถิ่น”
ศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม
ได้ริเริ่มที่จะพัฒนา “ชุดโครงการประเด็นการศึกษา”
และที่ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจาก (สกว.) สำนักงานภาค
แล้วจำนวน 9 โครงการ โดยต้องการให้ความรู้ใน
เรื่องงานการเงินและการจดบันทึกข้อมูลงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ให้แก่ 9 โครงการที่อนุมัติแล้ว
มีทีมวิจัยโครงการละ 5 คน รวม 45 คน
เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ โดยได้เชิญ
ดร.บัญชร แก้วส่อง คุณบุญเสริฐ เสีนงสนั่น
คุณปรีชา งามดี คุณไชยา พลขาง
เป็นวิทยากรการประชุมเชิงปฏิบัติการ
เพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้ภารกิจ /
กิจกรรม ของงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ชุดประเด็นการศึกษา ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
บรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์
และมีพัฒนาการที่ดีขึ้นตามลำดับต่อไป
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้นักวิจัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของแนวคิด
หลักการ ของการเสริมสร้างกระบวนการ
เรียนรู้ของชุมชนโดยการใช้รูปแบบกระบวนการของการวิจัย
2.
เพื่อเกิดความเข้าใจการจัดการโครงการวิจัยที่มีประสิทธิภาพ
ทุกคนในทีมวิจัยมีส่วนร่วมและมีบทบาทที่เหมาะสม
3. เพื่อฝึกทักษะที่จำเป็นในการวิจัยท้องถิ่น ได้แก่
การเก็บรวบรวมข้อมูล เช่น การสังเกต
สัมภาษณ์และการจดบันทึก
การประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์สรุปและ
การเขียนรายงานวิจัย
4. เพื่อให้ได้แผนปฏิบัติงานร่วมกันในโครงการวิจัยและมีแผนร่วมระหว่างโครงการวิจัยกับศูนย์ประสานงาน
ฯ
5. เพื่อเกิดความเข้าใจการการใช้จ่ายเงิน ของ สกว.
การจัดทำการเงิน-บัญชี และการจัดทำรายงานการเงิน
กิจกรรมสำคัญ
1. ด้านความรู้ความเข้าใจ
- ทำไมชุมชนต้องทำวิจัย
- กระบวนการ วิธีการทำวิจัยเพื่อท้องถิ่น (เริ่มอย่างไร ทำอะไรบ้าง เอามาใช้ประโยชน์อย่างไร)
2. ด้านการจัดการโครงการวิจัย
- การแบ่งบทบาทหน้าที่ (ใครทำอะไร อย่างไร)
- การสร้างความเข้าใจในทีมนักวิจัย (เป้าหมายโครงการวิจัย วัตถุประสงค์กิจกรรม)
- บทบาทนักวิจัย (ความรู้สึกที่เป็นนักวิจัย เวลา ภาระระความรับผิดชอบ)
3. ด้านการฝึกทักษะ (หลักการและฝึกปฏิบัติจริง)
- การศึกษาวิจัย
- การสังเกต สัมภาษณ์และการจดบันทึก
- การประชุมกลุ่มย่อย
- การสรุปวิเคราะห์(เชื่อมโยงข้อมูล-ปรากฏการณ์)
- รูปแบบการเขียนรายงานวิจัย (การทบทวนเอกสาร การอ้างอิง )
4. การวางแผนการจัดการ/ดำเนินงาน (จะทำอะไร เมื่อไหร่ อย่างไร ใครเข้าร่วม)
- แผนปฏิบัติงานของโครงการวิจัย
- แผนร่วมระหว่างโครงการวิจัยกับศูนย์ประสานงาน ฯ
สรุปประเด็นสำคัญ
ทำไมต้องทำการวิจัยเชิงคุณภาพ
- การค้นหาความรู้เพื่อคนนอก กับการค้นหาความรู้เพื่อคนในเป็นหลัก
- การวิจัยเพื่อสร้างผลงาน กับการวิจัยเพื่อการเปลี่ยนแปลง
- ชุมชนหลากหลายแบบตามนิเวศน์วัฒนธรรม กับชุมชนรูปแบบเดียว
- คำตอบอยู่ที่หมู่บ้าน กับคำตอบอยู่ที่นักวิชาการ
ฐานคิดของการวิจัยเชิงคุณภาพ
- การใช้ฐานความคิดแทนกรอบความคิด
- ฐานคิดระบบเปิด กับ ฐานคิดระบบปิด
- การให้คุณค่าจากคนใน กับ การให้คุณค่าจากคนนอก
- การให้ความสนใจกับเนื้อหาเชิงอรรถาธิบายการเคลื่อนไหว กับ การให้ค่าเป็นตัวเลขของภาพนิ่ง
- การศึกษาจากปรากฏการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจริงในสังคมนั้น
- การศึกษาปรากฏการณ์เฉพาะในเงื่อนไขของท้องถิ่นนั้น กับการสรุปนัยทั่วไป
ขั้นตอนการเก็บข้อมูล
เตรียมการ
1. ทีม
- คุยให้เข้าใจและบทบาท
- วางแผนการทำงาน
- เพิ่มความรู้และทักษะ
2. เตรียมชุมชน
- คุยกับผู้นำ
- ประชุมชี้แจงกลุ่มเป้าหมาย
- คัดเลือกผู้ช่วยนักวิจัย
- วางแผนร่วมกัน
วิธีการเก็บข้อมูล
ข้อสังเกต
- โสเหล่
(Focus
group)
- โฮมกัน (Group
Interview)
- ควรมีการวางแผนที่ดี
- เว่าสู่ฟัง (Oral
History)
- สังเกตบรรยากาศการสัมภาษณ์
- ส่อ
(Indept-interview)
- สร้างบรรยากาศการสัมภ
- ซอมเบิ่ง(Participant
observation) -
มีเครื่องมือในการสัมภาษณ์
- จอบเบิ่ง(Observation)
ประเภทข้อมูล
-
ข้อมูลบริบทชุมชนท้องถิ่น
-
ข้อมูลประวิติศาสตร์ชุมชน
(ต้องเป็นข้อมูลวิถีชุมชนท้องถิ่น)
-
ข้อมูลเชิงลึกในประเด็นที่จะศึกษา
งานการเงิน
แนวทางการปฏิบัติเรื่องการเงิน บัญชี และวัสดุ
เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบของ สกว.
1. การเปิดบัญชี
หัวหน้าโครงการจะเปิดบัญชีธนาคารเฉพาะของโครงการนี้
โดยมีผู้มีอำนาจสั่งจ่ายเงินอย่างน้อยสองในสามตามชื่อที่ระบุในจดหมายแจ้งธนาคารเพื่อเปิดบัญชี
2. การรายงานการเงิน
การรายงานการเงินจะต้องรายงานทุกสิ้นงวด
โดยแต่ละครั้งจะประกอบด้วย
2.1
รายงานการเงินที่สรุปงบประมาณค่าใช้จ่ายในแต่ละงวดที่ระบุตามสัญญา
2.2 สำเนาสมุดบัญชีธนาคาร
ซึ่งแสดงรายการการฝากและถอนในแต่ละงวด
2.3
เสนองบประมาณ สำหรับการประมาณการในงวดต่อไปตามแผนกิจกรรม
3. หลักฐานการเงินที่ใช้เบิกจ่าย มี 3
แบบ ได้แก่
3.1
ใบเสร็จรับเงิน
เป็นเอกสารที่ออกให้โดยเจ้าของกิจการซึ่งโครงการวิจัยจะได้รับใบเสร็จรับเงินก็ต่อเมื่อมีการจัดซื้อของและขอรับการบริการเกิดขึ้น
โดยองค์ประกอบของใบเสร็จจะต้องสมบูรณ์ด้วย
3.2
ใบสำคัญรับเงิน
เป็นเอกสารที่โครงการเป็นผู้จัดทำและให้มีความหน้าเชื่อถือ
ใช้สำหรับในกรณีที่โครงการวิจัยจ่ายเงินให้กับผู้ร่วมงาน
ทั้งนี้เหตุผลที่ใช้ใบสำคัญรับเงินเพราะผู้รับเงินต้องกรอกราย ละเอียด
ชื่อ ที่อยู่ ที่ชัดเจนที่สามารถติดต่อได้
ทำให้ทราบว่าบุคคลคนนั้นมีตัวตนอยู่จริง และเป็นผู้รับเงินจริง
3.3
ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน
เป็นเอกสารที่โครงการเป็นผู้จัดทำขึ้นแต่ควรจะระมัดระวังในการใช้ให้มากที่สุด
เพราะถือว่าเป็นใบรับรองแทนใบเสร็จที่ไม่สมบูรณ์
ใช้วงเงินไม่เกิน 1,000 บาทต่อกิจกรรม
ไม่มีความเห็น