นักศึกษามาฝึกงาน.."ต้องไม่ลืมทำ BAR และ AAR"


การฝึกงานของน้องๆมีเป้าหมาย..
   ช่วงปิดเทอมของทุกปี หน่วยฮีมาโตของเราก็จะมีน้องๆนักศึกษาปี 3-4 จากสถาบันต่างๆมาขอฝึกงานกันบ่อยๆ  พี่เม่ยก็รับผิดชอบดูแลและจัดตารางฝึกงานให้น้องๆเขาค่ะ ก็จัดตามความต้องการของสถาบันที่ส่งมา หรือจัดความเหมาะสมตามสาขาวิชาของนักศึกษา จำนวนนักศึกษา และระยะเวลาที่เข้าฝึกงาน
   ครั้งที่ผ่านๆมา ก่อนฝึกงานพี่เม่ยก็จะขอ คุยกันก่อน (พอถึงตอนนี้ ก็คิดว่าจะใช้คำว่า Before Action Review ก็น่าจะเหมาะสมอยู่ไม่น้อย) หลังจาก "คุยกัน" เรียบร้อยแล้ว ก็จัดตารางฝึกงานให้น้องๆ  มอบหมายงานให้พี่ๆในหน่วยช่วยกันดูแลแนะนำ  หลังฝึกงานก็ประเมินผลการฝึกงานของนักศึกษา เป็นอันว่าสำเร็จเรียบร้อยกันด้วยดี..
   ครั้งนี้ก็เช่นกัน สัปดาห์นี้มีนักศึกษาจากคณะวิทยาศาสตร์ เอกชีววิทยา มอ. เรานี่แหละค่ะ มาฝึกงาน มีเวลาอยู่กับพี่เม่ยนาน 1 เดือน พอ "คุยกันก่อน" ก็เป็นห่วงค่ะ เพราะน้องๆไม่ค่อยมีพื้นฐานทางด้านโลหิตวิทยามาก่อนเลย ก็ต้องลองดูกันนะ พี่เม่ยก็อยากทราบเหมือนกันว่าน้องจะได้อะไรไปซักเท่าไหร่
   ทำไงดีจึงจะรู้ได้ พี่เม่ยคิดไปคิดมาก็เลยเพิ่มเติมภาระให้น้องๆเขาอีกอย่างหนึ่งคือ ให้นักศึกษาเขียนรายงานหลังเสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติงาน..โดยตอบคำถามเหล่านี้
 ใช่แล้วค่ะ!
AAR.. นั่นเอง 
 
   AAR นั่นเองค่ะ น้องๆรับทราบคำถามตั้งแต่ตอนนี้ ทุกคนก็คงพยายามหาคำตอบในระหว่างฝึกงาน พี่เม่ยก็กระหยิ่มยิ้มย่องในใจ เดี๋ยวอีก 1 เดือนจะได้รู้กันแน่ๆว่าฝึกงานได้อะไรบ้าง  ตอนนี้ต้องขอบคุณ AAR ล่วงหน้าไปก่อนค่ะ ที่ทำให้การฝึกงานของน้องมีเป้าหมาย  และ การจัดตารางฝึกงานของพี่เม่ยก็มีเป้าหมาย เช่นกัน
   "และพี่เม่ยก็ตั้งใจไว้แล้วว่า หลังจากน้องกลุ่มนี้ฝึกงานผ่านไป เมื่อกลุ่มอื่นๆที่เข้ามาฝึกก็ต้องไม่ลืมทำ BAR & AAR..เช่นกันค่ะ"
หมายเลขบันทึก: 19200เขียนเมื่อ 16 มีนาคม 2006 11:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ปัญหาที่ผมเจอบ่อยคือหลังฝึกงาน น.ศ.ส่วนใหญ่ได้ความรู้ไปมาก จนเขียนรายงานนำเสนอไม่หมด  คราวนี้ผมเปิด ชุมชนห้องเรียนรู้ ก.ว.พ. เป็นพื้นที่ให้น.ศ.ฝึกงานรวมทั้งผมบันทึกบล็อกทุกวัน คาดหมายว่าหลังฝึกงาน น.ศ.ไม่ต้องเขียนรายงานใม่ สามารถนำบันทึกในบล็อกพิมพ์ส่งอาจารย์ได้เลย และผมก็จะได้คู่มือติวผู้เข้ามาฝึกงานกับผมด้วยครับ

--วิภัทร 

เข้าไปเยี่ยมชมชุมชนห้องเรียนรู้ ก.ว.พ.มาแล้ว ต้องขอปรบมือให้คูณวิภัทรในความคิดนี้ค่ะ มีประโยชน์นอกจากต่อผู้เรียน เพราะเป็นการสอนให้ รู้แบบถ่ายทอดได้ด้วย การเขียนทำให้ตัวเองทบทวนสิ่งที่รู้และทำให้เข้าใจได้ลึกซึ้งขึ้น แล้วยังได้ให้ความรู้กับผู้อื่นไปด้วย 

แต่สำหรับหน่วยงานอย่างของพยา-ธิซึ่งมีเครื่องคอมฯจำกัด ที่แม้แต่คนในหน่วยงานก็ยังต้องสลับกันใช้ คงจะลำบากหน่อย ต้องให้น้องๆนักศึกษาไปเขียนบล็อกกันที่บ้านหรือที่ห้องสมุดค่ะ แต่เป็นแนวทางที่ดีมาก

   ต้องขอบคุณความเห็นพี่วิภัทรมากค่ะ ช่วยเติมเต็มให้น้องๆพอดีเลย...
   พี่เม่ยได้แนะนำน้องๆให้ไปทำความรู้จักกับ gotoknow.org แล้วค่ะ (โดยไม่บอกอะไรเพิ่มเติมเลย เพราะอยากรู้ว่าน้องๆจะ เชื่อมโยงเครื่องมือนี้ให้เข้ากับตัวเองได้มากน้อยเพียงใด)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท