สุนทรีย์สนทนา แก้ปัญหาได้จริงหรือ


หันหน้าเข้ามาคุยกัน และฟังกันอย่างหมดใจแล้วละก็ เรื่องราวดีที่เกิดจากการคุยกันแหละครับ เป็นความรู้ที่มีค่าอย่างยิ่ง และผลจากการพูดคุยตรงนี้จะสร้างสิ่งดีให้เกิดขึ้นในการดูแลรักษาผู้ป่วยของเรา

สุนทรีย์สนทนา แก้ปัญหาได้จริงหรือ

           วันนี้ผมได้รับ mail และมีข้อความสั้นว่า "สุนทรีย์สนทนา แก้ปัญหาได้จริงหรือ" จากกัลยาณมิตร จากอำเภอเบตง จังหวัดยะลาในเบี้ยงต้นผมได้ตอบเธอไปว่า  จริงแล้วสุนทรียสนทนา(Dialogue)เป็นแนวทางการพูดคุยกันที่มีกติกาตามธรรมชาติที่รู้จัดแบ่งปันกัน ฟังอย่างลึกซึ้งเปิดใจที่จะรับฟัง เห็นคุณค่าของสมาชิก (ไม่ตัดสิน ไม่คลางแคลงสงสัย ไม่กลัวกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น พร้อมห้อยแขวนฟังให้เห็นความรู้สึก ความต้องการฯ โดยเฉพาะของตัวเราเองเราต้องฟังให้มาก ลองฟังตัวเองพูด) และหากทุกคนไม่รับรู้และไม่ทำตามกิตกาสุนทรียสนทนก็เปล่าประโยชน์ หรือบางครั้งมีคนเคยพูดว่าในการพูดคุยกันดูเหมือนว่าเราฟังกัน แต่ก็ไม่รู้ว่าคู่สนทนาสื่อสารกับเราเรื่องอะไร ซึ่งคนส่วนใหญ่เมื่อฟังก็รู้แต้เพียงเนื้อหา ไม่อาจรู้ถึงความรู้สึกของคนพูดว่ามีความณุ้สึกอย่างไร แล้วเราก็ตอบสนองแค่เนื้อหาเท่านั้น เช่นเราถามอาการเพื่อประเมินผู้ป่วยเราตอบสนองต่ออาการของผู้ป่วยเท่านั้น หากเราฟังแล้วรู้ถึงความรู้สึกของคนไข้ และญาติ ว่ามีความรู้สึกทุกข์ทรมานทั้งในเรื่องการเจ็บป่วย วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปของคนในครอบครัวที่ต้องมารักษา หรือนอนอยู่ในโรงพยาบาล บางที่ความทุกข์อย่างนี้เราแก้ไขให้เข้าไม่ได้หรอก เพียงแต่เรารับฟังให้โอกาสผู้ป่วยได้พูด รับรู้ในความรู้สึก พร้อมทั้งตอบสนองต่อความรู้สึกเท่าที่ทำได้ และความต้องการของเขาแล้วละก็ การบริการที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ของเราก็จะเห็นชัดเจนมาขึ้น การฟังใช้เห็นถึงความรู้สึก ความต้องการ ที่มีความรู้สึกที่แฝงไปด้วยความร้องขอจากผู้ป่วย และญาติตรงนี้แหละครับที่การพูดคุยกันธรรมจะไม่เห็นเลย ดังนั้นเราควรมาฝึกการพูดคุยกันอย่างสุนทรียสนทนากันดีกว่า

        หากเราหันหน้าเข้ามาคุยกัน และฟังกันอย่างหมดใจแล้วละก็ เรื่องราวดีที่เกิดจากการคุยกันแหละครับ เป็นความรู้ที่มีค่าอย่างยิ่ง และผลจากการพูดคุยตรงนี้จะสร้างสิ่งดีให้เกิดขึ้นในการดูแลรักษาผู้ป่วยของเรา

หมายเลขบันทึก: 191528เขียนเมื่อ 1 กรกฎาคม 2008 08:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 02:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะ อ.ยงยุทธ เคยเข้าร่วมสุนทรียสนทนาอยู่ครั้งนึงค่ะ ในตอนที่รู้จักกับเครือข่ายทำงานด้านเด็กค่ะ เป็นกระบวนการให้รู้จักกันจริงๆไม่ใช่รู้จักเพียงผิวเผินค่ะ ส่งผลต่อกิจกรรมหรืองานที่ทำด้วยกันอย่างแตกต่างค่ะ

สุนทรียสนทนา

การฟังเป็นสิ่งง่ายมากเพราะเราได้ฟังมาตั้งแต่เด็กๆ แต่การฟังอย่างสุนทรียสนทนานั้นมันไม่ง่ายเลย ตรงนี้แหละครับที่เชิญชวนให้มาฝึก ฟังอย่างตั้งใจ ใคร่ครวญไม่ตัดสิน ฟังอย่าลึกซึ่ง ฟังเสียงภายในของเราเอง

อะไรหนอที่ทำให้เราไม่ฟังกันแม้ว่าเรายังพูดคุยกันอยู่ สื่อสารรับรู้เพียงข้อความ/เนื้อหาตรงนี้ก็เป็นการรับรู้ทั่วๆไปสุนทรียสนทนามากมายกว่าเนื้อหา

อย่างผมทำเรื่องระบบบริการสุขภาพที่มีหัวใจของความเป็นมนุษย์ เรามีโครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลด้วยความรัก ผู้ที่รับสารรู้ว่าสร้างความรักให้เกิดขึ้นในระบบบริการฯ มันมีความรู้สึกของเราที่ต้องการเห็นความปลอดภัยของผู้ป่วยอยู่ด้วย ความรักความเข้าใจกัน ความเกื้อกูล ความเมตตาของคนทำงานกับผูรับบริการ ผู้รับบริการก็มองเป็นเรื่องเดียวกัน ให้เวลากับผู้ป่วยมากขึ้น ให้เวลารับฟังความรู้สึกของผู้ป่วยมากขึ้น หมอเห็นความทุกข์ของผู้ป่วย ผู้ป่วยเห็นความทุกข์ของหมอ เป็นหมอเรียนมาก็อยาก ลำบาก มาทำงานเป็นหมอ 24 ชั่วโมง มีแต่เวลาของผู้ป่วยไม่มีเวลาของตนเองเลย ผู้ป่วยรู้ว่าหมอไม่เคยทานข้าวตรงเวลาเลย ตรวจผู้ป่วยเสร็จแล้วนั้นแหละถึงได้ทานข้าว ทุกข์ที่ผู้ป่วยได้เห็นเมื่อมีการฟังกันอย่างตั้งใจ อย่างผ่อนคลาย อย่านี้แหละครับที่ว่าฟังนั้นอยากจริงที่ผมต้องฝึกที่จะฟัง

"สิ่งที่จะวิวัฒน์ต่อไปคือใจคน เพราะร่างกายนี้มันคงจะไม่วิวัฒน์ต่อไปมากกว่านี้อีกแล้ว อีกแสนปีก็คงจะเป็นอย่างนี้ แต่ใจเรามันไปอีกล้านเท่าก็ได้ ด้วยจิตสำนึกใหม่" ศ.นพ.ประเวศวะสี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท