พฤติกรรมการแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่


1.ชื่อเรื่อง
พฤติกรรมการแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

1.1 มีการสะท้อนเรื่องที่วิจัยที่ชัดเจนคือการศึกษาว่าทิศทางผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองเชียงใหม่จะมีพฤติกรรมการแสวงหาการรักษาอย่างไรบ้าง ชื่อเรื่องสามารถสะท้อนให้เห็นระบบบริการสาธารณสุข ตลอดปัญหาต่างๆ เป็นอย่างไร ถ้าผลของพฤติกรรมการแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุเป็นอย่างไรบ้าง

1.2 มีความกระชับคือทราบว่าจะทำวิจัยเรื่องอะไร อย่างไร กับใคร ที่ไหน ไม่ใช้คำซ้ำซ้อน ฟุ่มเฟือย

1.3 มีการระบุตัวแปรที่สำคัญเช่นตัวแปรตาม คือพฤติกรรมการแสวงหาการรักษา

1.4 มีการระบุกลุ่มประชากรว่าจะทำในกลุ่มผู้สูงอายุ

1.5 มีการระบุสถานศึกษาว่าทำในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

1.6 มีการสะท้อนแนวทางของวิธีการศึกษาวิจัยเป็นเชิงคุณภาพ เช่น เป็นการศึกษาพฤติกรรมการแสวงหาการ

รักษาของผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

2.1 มีการกล่าวถึงความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา เช่นผู้สูงวัยเป็นสถานกาณ์เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ยังไม่ชัดเจนเพราะสถานการณ์เกิดขึ้นทั่วโลกเป็นอย่างไร ไม่ระบุเหตุผลในการทำวิจัยไว้ เพียงแต่ระบุว่าจะต้องจัดระบบบริการสุขภาพและสังคม มีการกล่าวถึงวัตถุประสงค์ว่า เพื่อศึกษารูปแบบและปัจจัย กำหนดพฤติกรรมแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุ ในบทคัดย่อมีการกล่าวถึงระเบียบวิธีหลักของการรวบรวมข้อมูลคือการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์แบบเจอะลึก วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาส่วนวิจัยเชิงปริมาณใช้วิธีสถิติเชิงพรรณนา

มีการบอกผลการวิจัยว่าพฤติกรรมการแสวงหาของผู้สูงอายุมี 2 อย่างคือ

1.ระบบการดูแลสุขภาพขั้นสามัญ

2.ระบบการดูแลสุขภาพภาควิชาชีพหรือภาคพื้นบ้านหรืออาจจะใช้ทั้ง 2 อย่าง

มีข้อเสนอแนะ บอกว่า การผสมผสานความรู้สมัยใหม่และความรู้ดั้งเดิม (ภูมิปัญญาท้องถิ่น)จะทำให้บริการสุขภาพมีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อบริบทสังคมวัฒณธรรม ภายใตต้การยอมรับของผู้สูงอายุ

2.2 มีจำนวนคำและความยาวที่เหมาะสมไม่เกิน 300 คำ

2.3มีความกระชับเข้าใจง่าย แต่ไม่มีการระบุชัดเจนถึงความสำคัญของปัญหา ว่ามีปัญหาอะไร เพราะอะไร ต้องมาทำงานวิจัยชิ้นนี้

2.4 มีการสะท้อนเรื่องที่ศึกษาอย่างชัดเจนว่าพฤติกรรมแสวงหาการรักษาไม่สามารถศึกษาได้เฉพาะในมุมมองชีวการแพทย์อย่างเดียว หากมีคุณค่าที่จะเรียนรู้ในมุมมองของผู้สูงอายุภายใต้บริบทของสังคมและวัฒนธรรม

3.ปัญหาการวิจัย

3.1ไม่มีการระบุปัญหาการวิจัยหรือคำถามเป็นรายข้อให้เห็นชัดเจนพบว่าปัญหาจะอยู่ส่วนท้ายของความเป็นมาและและความสำคัญของปัญหาจากปัญหาระดับใหญ่ ระดับประเทศ และปัญหาระดับจังหวัด

3.2 ไม่มีข้อมูลสนับสนุนชัดเจนสถิติเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล ระบบริการสุขภาพ เมื่อไม่มีข้อมูลเชิงสถิติในการสนับสนุนก็จะทำให้มองถึงความรุนแรงของปัญหาน้อยลงหรือไม่ออกเลย

3.3 มีการกล่าวถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเช่นของจันทร์เพ็ญ สุทธิชัย ฯลฯ

3.4 ไม่มีการระบุตัวแปรหรือความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่จะศึกษาผู้อ่านงานวิจัยคิดเอง

3.5 มีการระบุธรรมชาติของตัวแปรที่ศึกษาว่าผู้สูงอายุมีลักษณะเช่นไร เช่นเป็นเพศหญิงเพศชายและอายุ 60 ปีขึ้นไป

3.6 มีการระบุใช้กรอบแนวคิดทฤษฎีของ CHRISMAN  ซึ่งแนวคิดนี้อธิบายพฤติกรรมความเจ็บป่วยหรือพฤติกรรมการแสวงหา การรักษาว่าเป็นปฏิกริยาตอบสนองที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการเรียนรู้ทางสังคมและวัฒนธรรมซึ่งมีความเหมาะสม

3.7 ผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการศึกษาปัญหานี้มีความสำคัญซึ่งจะเป็นพืนฐานในการส่งเสริมการให้บริการด้านสุขภาพแก่ผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความเหมาะสมกลมกลืนกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมของชุมชนสืบไป

4.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

*      4.1 มีความเหมาะสมกับเรื่องที่วิจัย เพราะ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ

*      4.2 เขียนชัดเจนว่า ผู้วิจัยจะศึกษาพฤติกรรมการแสวงหา การรักษาของผู้สูงอายุเมื่อเกิดการเจ็บป่วย และศึกษาปัจจัย หรือเงื่อนไขต่าง ๆ  ที่กำหนดพฤติกรรม การแสวงหา การรักษา ของผู้สูงอายุ

5.การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้อง
(Review of literature)

*      5.1มีการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องของChrisman

*      5.2มีการศึกษาแนวคิดที่เกี่ยวข้องของKlienman

6.กรอบแนวคิดทฤษฎี
( Conceptual / Theoretical framework )

มีการระบุกรอบแนวคิดทฤษฎีชัดเจน โดยใช้การประยุกต์แนวคิดพฤติกรรมแสวงหาการรักษาของคริสแมน ( Chris man 1994)

      -      แนวคิดทฤษฎีสอดคล้องเหมาะสมกับเรื่องที่ศึกษาเพราะเป็นการศึกษาพฤติกรรมแสวงหาการรักษา

-      ไม่ได้ให้ความหมายของตัวแปรอย่างชัดเจน

-      ไม่มีสมมติฐาน

-      ไม่มีการระบุข้อความแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร

-      การใช้แนวคิดทฤษฎีมีความสม่ำเสมอตลอดงานวิจัย โดยใช้แนวคิดทฤษฎีในการบอกความเป็นมา , ความสำคัญของปัญหา , กรอบแนวคิด และวิธีดำเนินการวิจัย

-      ทฤษฎีที่ใช้มาจากนักสังคมวิทยาการแพทย์ตะวันตก ได้พัฒนาแนวคิด ที่อธิบายพฤติกรรมความเจ็บป่วย หรือพฤติกรรมแสวงหาการรักษา(Health Seeking Behavior)

เครื่องมือการวิจัย

*      มีการระบุเครื่องมือเป็นแนวคำถามที่ใช้ในการสนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์

เจาะลึกรวมทั้งแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง  เครื่องมือผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง

ไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์,ลักษณะจุดแข็ง,จุดอ่อนของเครื่องมือไม่มีการให้เหตุผลในการเลือกเครื่องมือ

*      เครื่องมือที่ใช้เหมาะสมกับตัวแปรที่ศึกษา

*      มีการใช้เครื่องมือกับตัวอย่างทุกคนไม่เหมือนกันเพราะบางคนจะใช้การสนทนากลุ่ม บางคนใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกหรือบางคนใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง

*      ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาเฉพาะแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจากผู้วิจัยเชิงคุณภาพและการพยาบาลผู้สูงอายุแต่ไม่บอกว่ามีผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบกี่คนและบอกว่าตรวจสอบข้อมูลจากหลายแหล่ง(data triangulation) แต่ไม่ได้บอกว่าที่ไหน

*      ไม่มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือว่าทำอย่างไร ค่าเท่าไร ยอมรับได้หรือไม่

*      ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือเองไม่มีการอธิบายที่มาและแนวคิดของการสร้างเครื่องมือ

*      เครื่องมือแต่ละชนิดไม่มีการควบคุมคุณภาพ วิธีการที่ใช้เหมาะสม

*      แบบสัมภาษณ์ไม่ทราบว่าใครสัมภาษณ์ ข้อความที่ใช้ ภาษา ระยะเวลาไม่ได้ระบุไว้

*      ผู้ให้ข้อมูลมีการระบุจัดการสนทนากลุ่ม 7 กลุ่ม  คณะผู้วิจัยทำหน้าที่เป็นผู้นำการสนทนากลุ่ม  ในระหว่างการสนทนากลุ่มได้มีการบันทึกเทป และการจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการสนทนาโดยผู้ช่วยวิจัยซึ่งได้รับการอนุญาติจากผู้เข้าร่วมสนทนากลุ่ม

*      จำนวนของผู้ให้ข้อมูลใช้ผู้สูงอายุ 101 คนเป็นกลุ่มตัวอย่างซึ่งมีความเหมาะสม

วิธีการรวบรวมข้อมูล

*      รวบรวมข้อมูลโดยการใช้สนทนากลุ่มและการสัมภาษณ์เจาะลึกรวมทั้งแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง

*      วิธีการรวบรวมเหมาะสมกับการวิจัย

*      ขั้นตอนการรวบรวมข้อมูลไม่ชัดเจนสำหรับตัวอย่างทุกคน

*      ผู้ที่รวบรวมข้อมูลคือคณะผู้วิจัย แต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าผู้รวบรวมข้อมูลได้รับการฝึกอบรมหรือไม่

*      ไม่ได้แสดงว่าข้อมูลรวบรวมในสถานการณ์ใดมีความกดดันไหมมีคนอื่นในขณะเก็บข้อมูลหรือไม่

*      ในการรวบรวมข้อมูลทีมผู้วิจัยได้ทำการพิทักษ์สิทธิ์ของกลุ่มตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้จากการศึกษาจะถูกเก็บไว้เป็นความลับและเสนอในภาพรวมเท่านั้น

การวิเคราะห์ข้อมูล

*      ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลส่วนบุคคล,ข้อมูลโรคประจำตัวซึ่งเป็น norminal scale ใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้ร้อยละ,การหาค่าเฉลี่ย

*      ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

*      สถิติที่ใช้มีความเหมาะสมกับระดับข้อมูลประชากร

*      กลยุทธ์การวิเคราะห์ข้อมูลมีเหตุผลเหมาะสมกับวัตถุประสงค์และบรรลุวัตถุประสงค์

*      วิธีการบันทึกให้รหัสข้อมูลไม่มีการระบุไว้

*      Theme สัมพันธ์กับข้อมูลสนับสนุน

14 การอภิปรายผลและการสรุป

14.1 มีการอภิปรายผลโดยแสดงผลของการวิจัยว่าทำไมจึงเกิดเช่นนั้น

เช่น บอกเหตุผลของการวิจัย การเลือกใช้ระบบการบริการสุภาพเป็นไปตามที่ระบุไว้เพราะว่ามีปัจจัย 3 ประการ

1.ปัจจัยด้านผู้ใช้บริการ

2.ปัจจัยด้านผู้ให้บริการ

3.ปัจจัยด้านระบบสุขภาพ

14.2 ไม่ได้นำผลการวิจัยอื่นเข้ามาอภิปรายผล แต่มีการเอาแนวคิดของไคลแมน เช่น ระบบบริการดูแลสุขภาพเมื่อเจ็บป่วยและการดูแลรักษาตนเองซึ่งใช้วิธีการที่หลากหลาย ในการบรรเทาภาวะเจ็บป่วยทางกาย จิตใจและสังคมซึ่งการแสวงหาการรักษาและการดูแลตนเอง ชี้ให้เห็นระบบการแพทย์พหุลักษณ์ การคงอยู่ของระบบการดูแลสุขภาพทั้งหมด เช่นสามัญชน การแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์วิชาชีพ การเปลี่ยนไปมาระหว่างการเลือกใช้ระบบสุขภาพทั้ง 2 ระบบ แนวคิดนี้ยังบอกว่าความเจ็บป่วยจะเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามบริบทของสังคมวัฒนธรรม และการจัดการกับความเจ็บป่วยตามสาเหตุและความเชื่อ

14.3 มีการสะท้อนให้เห็นว่าผลการวิจัยเป็นไปตามที่คาดหวังเพราะสามารถบอกพฤติกรรมการแสวงหา การักษาของผู้สูงอายุเมื่อเกิดความเจ็บป่วยใช้อะไรและมีปัจจัยความรุนแรงอะไรบ้างกำหนดพฤติกรรมแสวงาหาการรักษาของผู้สูงอายุ

14.4 ไม่ได้สรุปวิจัยที่เห็นชัดเจน เพียงแต่บอกว่าเมื่อภาวะผิดปกติเกิดขึ้นผู้สูงอายุจะใช้ระบบการดูแลสุขภาพแบบสามัญชนเป็นหลัก

14.5 ไม่มีการระบุจุดอ่อนหรือข้อจำกัดครั้งนี้แต่ผู้วิจัยได้บอกว่าประโยชน์ทำให้เห็นภาพรวมของกระบวนความคิดพิจารณาที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเหมาะสมชัดเจน

ข้อบ่งชี้ ข้อเสนอแนะ ( Implication / Recommendation)

*      มีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ โดยพยาบาล ควรผสมผสานแนวคิด ความรู้ สาเหตุความเจ็บป่วยของผู้สูงอายุ ตามแนวคิดของสังคมวิทยาการแพทย์ กับแนวคิด ทางชีวการแพทย์เพื่อวางแผนให้การดูแลสุขภาพ การจัดการสุขภาพกับผู้สูงอายุ ได้เหมาะสมกับบริบททางสังคม วัฒนธรรมที่ดำรงอยู่ของผู้สูงอายุ พยาบาลควรต้องให้โอกาสผู้สูงอายุและครอบครับ มีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การวางแผนการรักษา

*      ใช้ในการจัดการเรียนการสอนทางการพยาบาล ในการดูแลรักษาของผู้สูงอายุที่มีการผสมผสาน ภูมิปัญญาทัองถิน และความรู้ทางการแพทย์สมัยใหม่

*      ให้ข้อเสนอแนะในการทำการวิจัยครั้งต่อไปว่า ควรมีการศึกษาติดตามระยะยาวในประสิทธิผลของวิธีการรักษาทางด้านการแพทย์พื้นบ้าน โดยเฉพาะผลของการใช้สมุนไพรต่อการเจ็บป่วย และการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประสิทธิภาพของระบบการดูแลสุขภาพ ภาควิชาชีพเพียงอย่างเดียว และที่ร่วมกันระหว่างภาควิชาชีพ กับภาคพื้นบ้าน

16.เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม

หมายเลขบันทึก: 191249เขียนเมื่อ 29 มิถุนายน 2008 20:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 23:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

รบกวนสอบถามค่ะ มีไดอะแกรมการแสวงหาการรักษาของผู้สูงอายุที่ได้จากงานวิจัยชิ้นนี้หรือเปล่าคะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท