นิเทศการศึกษา


การพัฒนานวัตกรรม

แนวทางการดำเนินงานการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา

 

เรื่อง   การพัฒนาคุณธรรม  จริยธรรมและเศรษฐกิจพอเพียง

1  ความเดิม   สภาพปัญหาก่อนพัฒนา

                   ในปัจจุบันผู้คนในสังคม  ไม่ว่าจะเป็นในระดับชุมชนใหญ่  ย่อยลงมาจนถึงระดับเล็กๆ  เช่นสังคมในระดับการอยู่ร่วมกันในระดับโรงเรียน  ต่างก็โหยหาจริยธรรมกันอย่างมาก  ศีลธรรมของคนเราหายไปไหน  หรือคุณธรรมจริยธรรมถูกลบออกจากสมองของคนในสังคมหมดไปแล้ว  เด็กเล็กถูกทำร้าย  ถูกข่มขืน  เป็นข่าวทางสื่ออยู่เสมอ  อันตรายเกิดขึ้นกับเธอได้ทุกเมื่อทุกคน  ไม่เว้นแม้แต่บุคคลในครอบครัว    หรือความเป็นคนมันหดหายไป  สัญชาติญาณของสัตว์เข้ามาสิงสู่แทน  ทางโรงเรียนจึงมาช่วยกันตามหาคุณธรรม   จริยธรรม  ศีลธรรม   กลับคืนมากันเถิด   ชีวิตในสังคมจะได้มีสันติสุขเสียที

                    คำว่า  ศีลธรรม  คุณธรรม   จริยธรรม  คืออะไร ท่านผู้รู้ได้ให้ทรรศนะว่า  ถ้าเราย้อนไปในอดีต  จะเห็นว่าสังคมชาวไทยส่วนใหญ่เป็นสังคมชาวพุทธ  ชาวไทยนับถือศาสนาพุทธมาช้านาน  จนรับเอาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์มาเป็นปรัชญาชีวิต  ยึดเอามาเป็นแนวปฏิบัติ  ในการดำเนินชีวิต  จนกลายเป็นค่านิยม  ประเพณี  วัฒนธรรม  และหลักกฎหมายระเบียบแบบแผนของการปฏิบัติราชการ (อย่างนี้เรียกว่าคนมีศีลธรรม)

คุณธรรม   จริยธรรม  ที่เราควรรู้จักตามแบบที่บรรพบุรุษเราเคยใช้กันมา  ซึ่งเป็นคุณธรรม  จริยธรรมในทางพระพุทธศาสนา  จริยะแปลว่า  การดำเนินชีวิต  และการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐและเป็นสุขจริงแท้แน่นอน ก็ยึดธรรม  อริยสัจ  4  คือมรรค มีองค์แปด  ตั้งแต่สัมมาทิฐิ  จนถึงสัมมาสมาธิ  ที่รวมเป็นไตรสิกขา  คือ  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  สรุปคือ  คุณธรรม  แบบนี้ประกอบด้วย  ศีล  สมาธิ  ปัญญา  เฉพาะศีลอย่างเดียว  อานิสงฆ์ก็ถึงนิพานแล้ว

                     สภาพปัญหากลุ่มเด็กและเยาวชนที่พบเป็นประเด็นรุนแรง

 1.    ขาดระเบียบวินัย

                      2.    พูดจาหยาบคาย

                      3.    ทิ้งขยะไม่เป็นที่

                      4.    ไม่รับผิดชอบ

                      5.    ฟุ่มเฟือย

                      6.    อ่อนด้อยในเรื่องศีลธรรม

                      7.    ลักขโมย

                      8.    ติดยาเสพติด  ไม่รับผิดชอบ

 

 

2.   การออกแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนา

      1.  จัดกิจกรรมต้อนรับนักเรียน  คือการให้ครูเวรประจำวัน  ไปยืนคอยต้อนรับนักเรียนที่ประตูทางเข้าเพื่อฝึกให้นักเรียนได้ทำความเคารพครู  ครูพูดจาทักทายสวัสดีกัน

      2.  กิจกรรมเวรสี  แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็นสีกลุ่ม  ตั้งชื่อว่า  สี  หรือกลุ่มสี  เพื่อคอยทำหน้าที่เฝ้าระวังดูแลความสะอาด  ความสวยงาม  ความเป็นระเบียบของบริเวณโรงเรียนตามพื้นที่ที่กำหนดให้  และมีครูพี่เลี้ยงคอยแนะนำ  มีคณะกรรมการของแต่ละกลุ่มสี  มีการประเมิน  มีการทำ  Q.C.  รวมหน้าเสาธงทุกวัน

      3.  มีกิจกรรมหน้าเสาธง  มีขั้นตอนที่ยึดถือปฏิบัติหน้าที่  พลเมือง  และศีลธรรม  คือ

            3.1  เคารพธงชาติ  เข้าแถวตามชั้นอย่างเป็นระเบียบ  ร้องเพลงชาติพร้อมกัน  และเชิญธงชาติขึ้นสู่ยอดเสา

            3.2  สวดมนต์  เพื่อปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธ

            3.3  นำศีลห้า  มาแปลเป็นคำไทย  และให้นักเรียนกล่าวคำปฏิญาณว่าจะปฏิบัติตาม

            3.4   ฝึกท่องพิจารณาสัจจะธรรมชีวิตด้วยการแผ่เมตตา

            3.5  ฝึกสมาธิสั้น  คือการสงบนิ่ง  แล้วเดินแถวเข้าชั้นเรียน

       4.  กิจกรรมประชาธิปไตย  มีการเลือกตั้งกรรมการนักเรียนเพื่อบริหารกิจกรรมประจำวัน 

       5.  นักเรียนร่วมรับประทานอาหารในสถานที่แห่งเดียวกัน

       6.  จัดให้มีครูพระสอนศีลธรรม  ในวันอังคาร วันศุกร์

       7.  ให้นักเรียนชั้น ป. 4 6  เข้าสอบธรรมศึกษา ทุกปี

       8.  จัดให้มีจัดทำบัญชีออมทรัพย์ทุกชั้น

       9.  กิจกรรมหน้าเสาธงตอนเลิกเรียน  และเดินแถวกลับบ้าน

      10. บูรณาการ  เนื้อหา คุณธรรม  จริยธรรมในแผนการจัดการเรียนการสอน

3.  ขั้นตอนการดำเนินการพัฒนา

        1.  ประชุมครู  ผู้ปกครอง  กรรมการสถานศึกษา

        2.  จัดทำโครงการ / กิจกรรม

        3.  กำหนดวิสัยทัศน์  พันธกิจ  เป้าหมาย 

        4.  มอบหมายภารกิจให้บุคลากรเพื่อถือปฏิบัติ

        5.  นิเทศกำกับติดตาม

        6.  จัดทำสื่อ  เอกสารเผยแพร่และรายงาน

        7.  ปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมอยู่เสมอ

4.  ผลที่เกิดจากการพัฒนาการดำเนินการ

        -   นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ หลักธรรมและนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันสมควรแก่วัย

        -   สร้างความสัมพันธ์ระหว่าง บ้าน วัด และโรงเรียน

        -   นักเรียนมีความประพฤติดีขึ้น  รู้จักประมาณตน

5.  สรุปผลการพัฒนานวัตกรรม

      ทุกๆ  กิจกรรมที่นำนวัตกรรมมาใช้กับนักเรียนถือได้ว่า  นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีอย่างยิ่ง  คือ

-          เป็นการเข้าสู่สังคมเด็กที่เกื้อกูลกัน

-          ลดละความฟุ่มเฟือยลงไปได้

-          ทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรมโดยตลอด

-          นักเรียนมีความรู้เข้าใจในหลักธรรมทางศาสนา  สามารถนำไปประพฤติในชีวิตประจำวันได้  สร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเด็กและเยาวชนต่อไป

6.  การขยายผลและเผยแพร่ผลการพัฒนา

             -   โรงเรียน….ได้รับภารกิจเป็นโรงเรียนคุณธรรมชั้นนำ

          -    โรงเรียนจะเปิดเครือข่ายภายในตำบลเพื่อขยายผลสู่ความร่วมมือระดับโรงเรียนและชุมชน  และในเดือนกันยายนจะได้เปิดบ้านต้อนรับเครือข่ายในการหาความร่วมมือ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #ขยายผลนวัตกรรม
หมายเลขบันทึก: 190923เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2008 00:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 เมษายน 2012 21:00 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท