ผลลัพธ์การวิเคราะห์กรณีศึกษา พฤติกรรมที่พึงประสงค์ และเครือข่าย เด็กระยะสุดท้าย ที่เขาค้อ


Traing for the trainer..end of life care, Khoawkhoo, Thailand

 

สรุปผลลัพธ์:  การจัดการความรู้การพัฒนาศักยภาพบุคลากรใน

การดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้าย  (มะเร็ง)

ณ โรงพยาบาลเขาค้อ วันที่ 13-14 มิถุนายน 2551 

 สรุปและเรียบเรียงโดย...น้องอ๊อต  นางสาวกุสุมา พรหมาหล้า นักศึกษา ป. โท สาขาการพยาบาลสุขภาพเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์กรณีศึกษา  ทบทวนประสบการณ์เหลียวหน้า  แลหลัง  การจัดการ

เพื่อการดูแลที่เหมาะสมเฉพาะราย (ทีมโรงพยาบาลศรีนครินทร์)

 

กรณีศึกษาที่ 1  

การรับรู้ของผู้ป่วย 

ตอนนี้เด็กมีความรู้สึกเกี่ยวกับความตายอย่างไร  ตายแล้วไปไหน  ตายแล้วเป็นอย่างไร  ทางกลุ่มได้นำเสนอทางออกคือ  บอกตรง ๆ   ชวนคุยสบาย ๆ

               

การรับรู้ของแม่และญาติ 

o      แม่ไม่อนุญาตให้บอกเรื่องความตายกับเด็ก 

o      เกิดความรู้เหมือนโกหกตัวเอง 

o      ประทับใจกับการรักษาที่นี่จนไม่อยากไปรักษาที่อื่นเลย 

o      ความรู้  ทัศนคติเรื่องความตาย

o      ทักษะการสื่อสารด้านความตาย

 

ทางกลุ่มได้ร่วมกันหาทางออกโดยการ  บอกตรง ๆ  กับผู้ป่วยและญาติ

 

ด้านทีมทำงาน

o      ขาดความรู้เรื่องการตาย

o      ขาดทักษะ  ความรู้  เกี่ยวกับการดูแลระยะสุดท้าย

 

ส่วนที่ 2 แลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย

 ( โรงพยาบาลเขาค้อ และ Wishing well)

กลุ่มที่ 1  การริเริ่มแนวทางการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายจะทำอย่างไร

1.       ผู้นำ ( แกนนำ )  ผู้บริหารสนับสนุน

2.       ทีมที่จะรับผิดชอบฝนแต่ละงาน  (ทีมสหสาขาวิชาชีพ  เช่น  จิตอาสา  ครู  ทีมแพทย์  พยาบาล  เภสัช)

3.       งบประมาณ  เงินทุน

4.       เครือข่ายอื่น ๆ  โรงเรียน  รีสอร์ท  วัด

5.       การพัฒนาทางด้านความรู้  (ส่งอบรม)  Training,  แบบองค์รวม  (การลด Pain) , การคลายเครียด

6.       การติดต่อประสานงาน  แลกเปลี่ยนข้อมูล,  การเข้าบริการ  โทรศัพท์

7.       การจัดโครงการนำร่อง  เช่น  โครงการสานฝัน  โครงการวิถีพุทธ

8.       มี CPG, Guideline

9.       ประเมินการปฏิบัติเป็นช่วงเพื่อหาแนวทางที่ชัดเจน  และปรับปรุงระบบในแต่ละขั้นตอน

10.    สรุปประเมินผล  และจัดทำโครงการต่อไป

11.    Care Self Group

 

กลุ่มที่ 2  องค์ประกอบในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายมีอะไรบ้าง

1.       นโยบาย แผนงาน  โครงการ  และ CPG

2.       ทีมสหสาขาวิชาชีพ   ( แพทย์  พยาบาล,เภสัชฯ,  นักสังคมสงเคราะห์, อาสาสมัคร  เป็นต้น)และความพร้อมของบุคลากร

3.       งบประมาณ แหล่งทุนจากทั้งภาครัฐและเอกชน

4.       สถานที่  วัสดุ  อุปกรณ์

5.       มีระบบบริหารจัดการ

6.       การมีส่วนร่วมของผู้ป่วยและญาติ

7.       เครือข่ายในการส่งต่อผู้ป่วย ( PCU, อบต., รพช., รพท., รพศ.)

 

กลุ่มที่ 3  สิ่งที่ ท่านอยากเห็นในระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายคืออะไรบ้าง

1.       ทักษะความรู้ของผู้แลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  (อบรม  ดูงาน)

2.       ขั้นตอนการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายชัดเจนและมีขั้นตอน  และมีแนวทางปฏิบัติ

ส่วนที่ 3 พบปะเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ร่วมกันกำหนดทิศทาง  บทบาทการประสานงานของหน่วยงาน

 

รศ.นพ.สุรพล       เวียงนนท์

รศ.นพ.อิศรางค์    นุชประยูร

ผศ.ดร.พูลสุข        ศิริพูล

Wishing Well Foundation

 

การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของโรงพยาบาลเขาค้อที่มีอยู่ในปัจจุบัน

1.       เคยมีตึกเก่าขนาด 10 เตียง  จะนำมาใช้พัฒนาเป็นสถานที่ในการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วย  จะปรับปรุงโดยให้ตึกนั้นเป็น IPD   ศูนย์ DM  ทันตกรรม  ให้บริการดูแลผู้ป่วย  และรองรับงานบริการมากขึ้น  รวมถึงบริการดูแลผัป่วยระยะสุดท้ายด้วย

2.       มีภูมิประเทศเอื้ออำนวยต่อการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้าย

3.       มี Wishingwell และ Roach  ให้การสนับสนุนด้านงบประมาณ

4.       นโยบายของเขาค้อสนับสนุนการพัฒนาระบบการดูแล  โดยมีห้องต้นแบบการดูแลที่ได้รับการสนับสนุนจาก Wishing Well

 

สรุปจากการร่วมอภิปราย

Wising Well (คุณมล) :        ขอบคุณ นพ.พรรณาที่ดึง Wishing Well เข้ามาร่วมทำงาน  ซึ่งเริ่มต้นจากคิดว่าควรมีห้อง ๆ หนึ่งสำหรับผู้ป่วยก่อนยังไม่ได้ตั้งเป็นมูลนิธิ 

อ.อิศรางค์              :               การมีเด็กเสียชีวิตใน ward  ถือเป็นความรู้สึกที่น้าเศร้ามาก  ผู้ป่วยคนอื่นก็กลัว  จึงคิดว่า  ถ้ามีสถานที่ ๆ นึงที่ถ้าผู้ป่วยไม่อยากกลับบ้าน  ไม่พร้อมที่จะกลับไปอยู่บ้านก็ให้เขาได้อยู่ในบรรยากาศที่สงบ  ผ่อนคลาย 

 

Wising Well (คุณมล) :        แรงจูงใจในการเข้ามาของ Wishing well  คือเริ่มต้นจากมีผู้ป่วยในความดูแลของมูลนิธิอยู่ 2 ราย  ทำให้เกิดความรู้สึกว่าอยากให้ผู้ป่วยทั้งสองคนได้รับการดูแลที่ดีที่สุด  จึงอยากมีห้องเพื่อห้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดี  พอติดต่อกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์  ปรากฏว่ามีผู้ป่วยประเภทนี้เยอะมาก  จึงคิดว่าหากมีห้องแบบนี้จะช่วยผู้ป่วยได้มาก

อ.สุรพล                 :               อยากถามกลับ  หากเราสนองความต้องการสิ่งที่เด็กขอได้ไม่มากเท่าไหร่เพราะมีข้อจำกัดเรื่องของทรัพยากรและอุปกรณ์  ในแง่ของผู้ป่วยหากมีเยอะ  ถ้าโรงพยาบาลเขาค้อต้องการผู้ป่วยที่ Stable  หรือเจ้าหน้าที่ที่ช่วยSupport  ก็สามารถช่วยได้เพราะมีแพทย์และพยาบาลที่ทำงานเกี่ยวข้องทางด้านนี้และมีทีมอยู่แล้ว

รพ.เขาค้อ              :               เจ้าหน้าที่ของรพ.ยังน้อยและขาดประสบการณ์  แต่มีความมุ่งมั่นที่จะทำ  หากโรงพยาบาลศรีนครินทร์สะดวกก็จะรบกวนในโอกาสต่อไป

อ.พูลสุข                 :               การ Support จะไม่ใช่แค่นี้  เพราะเมื่อไหร่ที่มีผู้ป่วยมากขึ้น  ก็อาจจะต้องปฏิบัติมากขึ้น  ซึ่งการดูแลผู้ป่วยในระยะสุดท้ายนี้อาจจะพัฒนาเป็น Main หรือเปล่าก็แล้วแต่โรงพยาบาลการขยายบริการจะพัฒนาเป็น The Best หรือเปล่าก็แล้วแต่จะพัฒนาต่อไปยังไง

อ.สุรพล                 :               เมื่อมีผุ้ป่วย  ก็ต้องมีญาติ  ต้องวางแผนล่วงหน้าไว้ด้วยเกี่ยวกับการกินอยู่  การจัดการ  สิ่งที่โรงพยาบาลต้องคิดคือ  จะจัดการอย่างไร 

อ.พุลสุข                                 :               นอกจากคณะแพทย์แล้ว  คณะพยาบาลก็มีวิชาเฉพาะในระดับปริญญาโท (Paliative care)  ถ้าคณะแพทย์สามารถ Work out ได้  คณะพยาบาลก็สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไป Provide  และพัฒนาหลักสูตรได้  กำลังคิดถึง Onchology Nurse  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ก็จะนำไปพัฒนาให้มีความเป็นได้มากขึ้น 

Wishing Well:                      ยืนยันที่จะ Continuing Suport  จนกว่าเขาจะยืนเองได้  หากเขาตั้งใจจะทำจริง ๆ ซึ่งแต่ละที่ก็มีทรัพยากรต่างกัน 

อ.อิศรางค์              :               แต่ละที่ต่างกัน  หากที่ใดมีความตั้งใจที่จะทำ  ติดต่อมาเลย  เพราะมูลนิธิสามารถ Support ได้อยู่แล้ว  ซึ่งทั้งประเทศมีโรงพยาบาลที่ดูแลผู้ป่วย Palliative อยู่แค่ไม่ถึง 20 แห่ง   แต่สิ่งที่เราอยากได้มากที่สุด  คือ เรื่องการกลับไปดูแลที่บ้าน  ซึ่งในต่างประเทศมี Hospice care  ซึ่งหากจะนำมาดูแลในบ้านเราคิดว่าสมารถพัฒนาได้  แต่ต้องมีการสื่อสารและ Network ที่สามารถ  สร้าง  ติดตาม  และส่งต่อการดูแลได้  แต่ถ้าสมมติว่าใครมีความสนใจเป็นพิเศษ  พยายามทำให้เป็นระบบมากขึ้น   เมื่อทุกคนมองและเห็นตรงกันก็จะเกิดเป็น ทีม    ผู้ป่วยก็จะได้รับการดูแลเป็นพิเศษ  เจ้าหน้าที่มั่นใจมากขึ้น  และสามารถขยายการดูแลไปยังผู้ป่วยรายอื่น ๆ ได้มากขึ้น 

Wishing Well        :               อยากให้เกิดมากในเด็ก  แต่หากเป็นวัยอื่น ๆ ก็สามารถเป็นที่ปรึกษาให้ได้

อ.พูลสุข                 :               แล้วในทีม/หรือผู้ฟัง  อยากให้ข้อเสนอแนะย่างไรบ้าง

คุณคำหยาด           ;               น่าจะเป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างรพ.ศรีนครินทร์  Wishing Well รพ.เขาค้อ  และจุฬาฯ  อาจเป็นการทำค่าย  พาเด็กมาเขาค้อ 

Wishing well         :               เคยพาเด็กศรีนครินทร์ไปเที่ยวทะเลแล้วรู้สึกว่าเด็กมีความสุข  วางแผนไว้ว่าอยากทำอีก  เขาค้อมีแผนการตลาดดี  มีรีสอร์ทที่มีชาวต่างชาติเยอะมาก  มี home stay, Resort  มีคลื่นวิทยุเข้าถึง  คิดว่า plan ให้ทำบริจาค  อาจจะเป็น Rally สำหรับผู้ป่วยระยะสุดท้าย  เพื่อระดมทุนโดยไม่ต้องใช้เงินโรงพยาบาลเลย    ซึ่งคิดว่าเผ็นการจุดประกายให้โรงพยาบาลหรือสถานที่อื่น ๆ อาจเป็นคนในชุมชนเห็นปัญหาร่วมกัน   แล้วอยากช่วย  ซึ่งเขามีกำลังที่จะช่วยได้มาก

คุณวรกุล(นักธุรกิจ):           มีเพื่อนเป็นนักธุระกิจที่ชุมแพ  เพื่อน ๆ เขาพร้อมที่จะสนับสนุน  และทราบว่ามีโครงการ  เป็นไปได้ไหมที่ว่าจะสร้างฐานรับที่ขอนแก่น  เค้ายินดีที่จะช่วย  plan ว่าอยากพาคนไข้ที่ขอนแก่นมาอยู่ที่เขาค้อ    ประชากรที่อยู่ในพื้นที่ควรเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์  เพราะเราไม่ได้ต้องการที่จะเนผู้มาเก็บผลประโยชน์  อยากให้เขาได้รับอย่างเต็มที่ 

คุณเกศนี                                :               ขอบคุณ Wishing Well ที่เข้ามาช่วยให้โอกาสเด็ก  แต่หากเป็นไปได้อยากให้ขยายไปยังผู้ป่วยเด็กโรคเรื้อรังอื่น ๆ  จำได้ว่าเด็กที่ได้ไปพัทยา  ได้พักในโรงแรม 5 ดาว  เขาได้ไปแล้วเขามีความสุข  ถึงกับบอกว่าถ้าตายก็ไม่เสียดายชีวิต

อ.อิศรางค์              :               ตอนนี้ยังไม่มีแต่เข้าใจว่าเด็กป่วยซึ่งส่วนมากเป็นมะเร็ง  เวลาเหลือน้อยมาก  แต่คิดว่ามีโอกาสที่จะทำให้ขยายไปยังโรคอื่น ๆ ได้

  นพ.พรรณา         :               มีโอกาสกลับมดู  ก็คิดว่าดีขึ้นเริ่มเห็นผลในระยะเริ่มต้น  แต่ก่อนเคยริเริ่มจัดประชุมมีเป้าหมายไว้ปีละ 4 ครั้งซึ่งเป็นการประชุมที่ทุกคนสามารถเข้าฟังได้  จนกระทั่งพี่นิลได้เข้ามาเล่าเรื่องงานของมูลนิธิ Wishing well ปรากฏว่าทุกคนสนใจ  และอยากทำ  เคยวางแผนว่าเขาค้อเป็นโรงพยาบาลชุมชนที่อยู่ไกลแต่สงบ  อยู่ท่ามกลางธรรมชาติ  บรรยากาศดี  น่าอยู่ที่สุดในประเทศไทย  มองว่าการรักษาเราคงทำได้แค่ในระดับหนึ่ง  เพราะเป็นแค่โรงพยาบาลในระดับ Primary care  คิดว่าโรงพยาบาลเรามีพื้นที่ บรรยากาศดี  น่าจะนำมาใช้พัฒนาเป็นการดูแลผู้ป่วยได้  Project ที่วางแผนไว้คืออยากพัฒนาให้เป็นศูนย์สุขภาพในภาคเหนือตอนล่าง  อาจเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย  และอาจเป็นHospice care  เน้นกลุ่มตลาดล่าง   เมื่อมี wishing well เข้ามา  ก็เริ่มพัฒนาเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น  หากมีศักยภาพมากยิ่งขึ้นกห็จะผสมผสานกับชุมชนด้วย  ดูแลทั้งผู้ที่ป่วยและที่ไม่ป่วยอโรคยา

รพ.หล่มเก่า           :               คิดว่าตอนนี้รพ.หล่มเก่าก็มีสถานที่และคนพร้อม  แต่อยากได้รับความร่วมมือแบบนี้ด้วย

คุณนิศานาถ          :               รพ.ขอนแก่นมีงบประมาณที่ Support เรื่องนี้น้อยมาก  ถ้าวินิจฉัยเป็นระยะสุดท้าย ผู้ป่วยก็จะขอกลับไปดูแลที่บ้าน  แต่เมื่อไหร่ที่มี Condition ก็จะกลับเข้ามา admite  อยากประสานให้มีเครือข่ายมาช่วยดูแล  ผู้ป่วย  โรงพยาบาลใกล้บ้าน  ที่มีศักยภาพที่จะดูแลได้

คุณสุพัฒนา          :

หมายเลขบันทึก: 189829เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 16:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)
  • สรุปได้ละเอียดมากครับพี่
  • มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ
  • และนำเอามาทำต่อนะครับพี่เกศ

สวัสดีค่ะเกศ

เป็นสิ่งที่น่าภาคภูมิใจสำหรับพยาบาลเด็กที่  ทำงานได้ดีมากค่ะ

สวัสดีค่ะ อ.ดร. ขจิต และ พี่แก้ว,

ขอบคุณที่แวะมาทักทาย ทั้ง 2 ท่าน เป็นกำลังใจที่ดีเสมอ ความสำเร็จ เป็นของคณะทำงานทุกคนค่ะ

ตามมาชื่นชม และเป็นกำลังใจเกศ ขอให้บุญกุศลที่เกศทำมาโดยตลอด ส่งผลให้เกศเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรมนะจ๊ะ

น้องเกศ ขอชื่นทีมงาน ขอบคุณได้อ่านผลสรุป ดีมาก ๆ นะคะ เสียดายโอกาสที่ไม่ได้เข้าร่วม การทำงานทุกคนต้องมีส่วนร่วมและทำด้วยใจ เมื่อเรารู้ว่าคนที่เรารัก เราผูกพันกำลังจะจากไปบอกได้ว่าใจเจ็บลึก ๆ ขอให้ทีมงานจุดเทียนเล่มน้อยให้เป็นแสงเทียนเล่มใหญ่นะคะ

สวัสดีค่ะพี่จู ขอบคุณที่แวะมาอ่าน นี่คือผลงานของทีมพวกเราทั้งหมดค่ะ

ขอบคุณพี่ปิ่งที่แวะมาอ่านค่ะ และขอบคุณสำหรับคำอวยพรด้วยความปรารถนาดีและใส่ใจค่ะ

สวัสดีครับคุณเกศนี

เห็นการ support อย่างเป็นเครือข่ายก็ชื่นใจครับ ทางผมเองก็จะพยายามทำงานแบบเครือข่ายเช่นกัน เพื่อผู้ด้อยโอกาสทางสังคมโดยเฉพาะผู้ป่วยระยะสุดท้าย

สวัสดีค่ะ คุณหมอโรจน์

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและให้กำลังใจค่ะ เป็นกำลังใจให้คุณหมอและทีมงานเช่นกันค่ะ

เพิ่งกลับมาตามอ่าน

เยี่ยมมากครับ สกัดความรู้ออกมาได้ประโยชน์กับที่อื่นๆด้วยครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ที่แวะมาอ่าน และให้กำลังใจ

ขอบคุณค่ะ...เกศ

ขอบพระคุณท่าน ผอ. ประจักษ์ที่มาให้กำลังใจค่ะ

เกศนี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท