สมานฉันท์
มูฮัมมัด วรนันท์ รอมฎอน บุนนาค

ประชาธิปไตยเชิงคุณธรรม


เราท่านคงทราบว่าประเทศที่เรียกตัวเองว่าประชาธิปไตย ส่วนใหญ่มักจะลงเอยที่กับการที่ประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศมีส่วนร่วมกับการเมืองการปกครองที่มีขั้นตอนหนึ่งก็คือการเลือกตั้ง ซึ่งประเทศต่างๆเหล่านั้นเรียกมันว่านี่คือที่มาของประชาธิปไตย และอีกนั่นแหละที่เราท่านก็ทราบดีว่า สำหรับการเมืองไทยแล้ว การมีส่วนร่วมของประชาชนทางการเมือง การบริหารปกครองประเทศมันอยู่ที่การเลือกตั้งจริงๆ เพราะบ้านเมืองเราประชาชนแสดงบทบาทเชิงถุกบังคับว่าเป็นหน้าที่เพียงเท่านี้จริงๆ ปรากฎการณ์ซื้อสิทธิขายเสียงจึงเกิดขึ้นอย่างมากมายทั่วทุกหัวระแหง อาจารย์ผม ผศ.วัฒนา กาสังข์ ชาวอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคามเล่าให้ผมฟังว่า การเมืองของเราในภาคอีสาน ปกสรก มีการขายเสียงกันอย่างหนาแน่น นักการเมืองไม่ว่าจะเป็นผู้ลงสมัคร ส.ว หรือ ส.ส ต้องมีเงินกันคนละไม่ต่ำกว่า 20 ล้านบาทจึงจะมีโอกาสได้รับเลือกจากคน ชุมชนอีสาน เพราะต้องนำเงินไปแจก (ซื้อเสียงนั่นเอง) นักการเมืองที่เข้าไปนั่งในสภาฯส่วนใหญ่ร้อยละ 90 จึงเป็นนักการเมืองน้ำเน่าที่มาจากการซื้อสิทธิที่ประชาชนขายเสียงแทบทั้งสิ้น ประชาธิปไตยไทยมันจึงไปไม่ถึงไหน

กล่าวกันอย่างเปิดเผยว่าการเมืองภาคประชาชนยังไปไม่ถึงไหน ที่ต้องจับตามองก็คือเราจะหนีการเมืองแบบเก่าๆได้อย่างไร หลายคนพูดถึงการเมืองไทยว่า 1. เต็มไปด้วยการทุจริต คอร์รัปชั่น 2. เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวและพวกพ้อง 3.เป็นการเมืองของกลุ่มผลประโยชน์อย่าง 4.เป็นการเมืองที่ขาดสำนึกต่อผู้คนผู้ทุกข์ยากเดือดร้อน 5.นักการเมืองมักฉ้อฉล ไร้สัจจะ แก้ปัญหาแบบขอไปที 6.นักการเมืองขาดจิตสำนึกสาธารณะ 7.ส่วนใหญ่ร่ำรวยทางการเมืองอย่างผิดปกติ 8.ไร้จุดยืน(กรณีพรรคร่วมรัฐบาล 9.นักการเมืองไร้คุณธรรม จริยธรรม 10.เห็นประโยชน์ของตน พรรคพวก เหนือว่าประโยชน์และความเดือดร้อนของประชาชน  เหล่านี้จึงเป็นประชาธิปไตยที่ไร้คุณธรรม และพรรคการเมืองใหญ่ทั้งสองพรรคก็มาจากการลงทุนซื้อสิทธิจากประชาชน กดารเข้ามาอย่างไร้คุณธรรม เป็นประชาธิปไตยเชิงปริมาณจึงน่ากลัวมากสำหรับประเทศชาติและประชาชน อย่างที่ประเทศไทยกำลังพบเจอ ประชาธิปไตยเชิงคุณธรรมจึงน่าจะได้นำมาถ่ายทอดเรียนรู้เพื่อพัฒนาสำนึกของประชาชน นักเรียน นิสิต นักศึกษา ข้าราชการทุกกระทรวง ทบวง กรม ให้เข้าใจในเรื่องดังกล่าวนี้อย่างกว้างขวาง ภารกิจการพัฒนาการเมือง ประชาธิปไตยเชิงคุณธรรม  นั้นต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย สิ่งที่เราต้องทำก็คือ 1ภาคพลเมืองเวลานี้ต้องประกาศตัวตนและร่วมแรงร่วมใจกัน 2.ต้องยกคุณค่าทางการเมืองและยกคุณค่าประชาธิปไตย 3.ปฏิบัติตัวเป็นพลเมืองที่ตื่นรู้ เข้าร่วมรณรงค์สร้างประชาธิปไตยเชิงคุณธรรมที่เข้มแข็ง 4.เร่งสร้างและพัฒนาการรับรู้ให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าประชาธิปไตยที่แท้ไม่ได้อยู่ที่การเลือกตั้ง 5 ปลุกจิตสำนักให้ประชาชนเข้าใจว่าการทำลายประชาธิปไตยเชิงคุณธรรมเริ่มต้นตั้งแต่การขายเสียงแล้ว 6.สร้างความรับรู้และเข้าใจเรื่องและการปฏิบัติการอารยะขัดขืนกับกฎ ระเบียบ ที่ออกมาจากรัฐ และข้าราชการชั่ว 7.เข้าร่วมหรือพูดคุนกันท้งในครอบครัว ชุมชน หน่วยงาน องค์กรชาวบ้าน ด้วยความรักและความห่วงใยในเรื่อง คุณธรรม จริยธรรม กับอนาคตสังคมไทย สร้างและปลูกฝังจิตสำนึกรังเกียจการทุจริตคอร์รัปชั่น 8. สร้างสำนึก ยกระดับจิตใจให้เป็นพลังที่อุทิศตัวให้เป็นประโยชน์แก่เพื่อนมนุษย์และสังคมมากกว่านึกถึงประโยชน์ของตนเอง 9 ยกระดับจิจในเรื่องการไม่ใช้ความรุนแรงในทุกรูปแบบ  1. สร้างพลังแห่งความประพฤติและการปฏิบัติหน้าที่ที่สุจริตใจ เสียสละ มากกว่าเงิน 11.สร้างสำนึกแห่งการตรวจสอบอำนาจรัฐ  หน่วยงาน ข้าราชการฉ้อฉล ชั่วเพื่อยกระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ภาคพลเมืองให้เข้มข้น  เพียงเท่านี้ขยายวงไปให้กว้างและเข้มข้น ประชาธิปไตยเชิงคุณธรรมจะเกิด ต้องไม่ลืมการสรุปบทเรียนการเมืองไทยให้ดีว่า 1.มีความพยายามของกลุ่ม บุคคล นักวิชาการบ้างส่วน กลุ่มคนเดือนตุลาชั่วที่พร้อมจะร่วมกับขบวนการเหล่านี้ทำลายล้างสถาบันเบื้องสูง 2.มีนักการเมืองและข้าราชการชั่วทุจริตคอร์รัปชั่น กินบ้านโกงเมือง ต้องรู้เท่าทันคนเหล่านี้ ของเรามาร่วมมือกันสร้างประชาธิปไตยเชิงคุณธรรมเพื่อความร่มเย็นเป็นสุขของคนไทยทั่วหน้า ประชาธิปไตยเชิงคุณธรรมอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข

หมายเลขบันทึก: 189784เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 12:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 00:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

แล้วคิดอย่างไรกับ การเมืองแบบประชาภิวัฒน์ ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท