019 : ตำราฝนหลวงพระราชทาน


 

 

 

แทบทุกครั้งที่เกิดภาวะภัยแล้ง

ในหลวงจะทรงพระราชทานความช่วยเหลือแก่พสกนิกรของพระองค์ในรูปแบบต่างๆ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ฝนหลวง

บันทึกนี้จึงขออัญเชิญตำราฝนหลวงพระราชทาน

มาไว้ ณ ที่นี้ เพื่อเป็นสิริมงคล

 

 

สำหรับข้อมูลรายละเอียดจะนำเสนอในโอกาสต่อไปครับ

 

ระหว่างที่รออยู่นี้ ขอเชิญชวนไปฟังเพลงพระราชนิพนธ์ สายฝน ได้ตามความสนใจ

 


หมายเลขบันทึก: 189756เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2008 10:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)
  • สวัสดีครับ พี่ชิว
  • ตำราฝนหลวงพระราชทานนี้ เป็นตำราที่สะท้อนซึ่ง พระราชอารมณ์ขัน ไว้ด้วยนะครับ
  • โดยดูจากด้านล่าง (เป็นภาพที่มีนัยะ เชิงตั้งคำถามว่า มรรควิธีใดที่จะทำให้ฝนตก) ระหว่าง
  • แห่ cat
  • ฝนหลวง
  • (กบ) เลือกนายหรือขอฝน
  • บ้องไฟ
  • และสิ่งที่ทำให้ผู้อ่านตำราอมยิ้มก็คือ
  • กบ (เรียก) ร้องเพื่อ เลือกนาย? หรือ (เรียก) ร้อง ขอฝน

สวัสดีครับ น้องกวิน

       เป็นข้อสังเกตที่เฉียบคมครับ ^__^

       แม้แต่ข้อมูลด้านบนสุดก็แสดงถึงพระราชอารมณ์ขันเช่นกัน

               Manimekhala (นางมณีเมขลา)

               Meterological Service (ฝ่ายบริการด้านอุตุนิยมวิทยา)

               Mount Sumeru Videha (เขาพระสุเมรุ แคว้นวิเทหะ)

       หากพี่ถอดรหัสผิดเพี้ยนตรงไหน ช่วยชี้แนะด้วยนะครับ

 

  • สวัสดีครับท่าน ดร.
  • เมื่อวานนั่งดูเมฆทั้งวัน...เลยได้เห็นเมฆเล่น "รี ๆข้าวสาร" กัน..ท่าทางน่าสนุก..เลยเก็บภาพมาฝาก..ถ่ายไม่สวยนัก..
  • เมฆด้านบนโค้งเหมือนแขนคนสองคน...ลอยอยู่นิ่ง ๆ
  • เมฆด้านล่างลอยลอดช่องตรงกลางค่อนข้างเร็ว...
  • เข้าใจว่าอยู่คนละชั้นบรรยากาศกัน...ใช่ไหมครับ

สวัสดีครับ คุณ เกษตร(อยู่)จังหวัด

      ดูเมฆทั้งวันเชียวหรือครับ น่าอิจฉาจัง ;-)

      เมฆด้านบนที่ดูนิ่งๆ นี่จริงๆ แล้วคงจะเคลื่อนที่อยู่ครับ แต่อยู่สูง ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงช้าหน่อย

      เมฆก้อนด้านล่างนี่ เป็นเมฆคิวมูลัส (cumulus) ครับ ถ้าเคลื่อนที่เร็วอย่างที่ว่ามา ก็แสดงว่าอยู่ค่อนข้างต่ำ อาจจะสูงจากพื้นราวๆ 2-4 กิโลเมตรครับ

      เมฆทั้งสองอยู่ที่ความสูงคนละระดับครับ แต่ยังนับว่าอยู่ในชั้นบรรยากาศเดียวกัน เรียกว่า ชั้นโทรโพสเฟียร์ (troposphere) ซึ่งเป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ติดผิวโลก หนาประมาณ 10-15 กิโลเมตร

      ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศแทบทั้งหมดที่เราเห็น ไม่ว่าจะเป็นลม ฝน พายุ เมฆ ฯลฯ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในชั้นบรรยากาศที่เรียกว่า โทรโพสเฟียร์นี่แหละครับ

      ขอบคุณมากๆ เลยสำหรับภาพเมฆสวยๆ นะครับ ขออีก ขออีก (ยืมสำนวนท่านครูบาสุทธินันท์ซะหน่อย)

  • ทรงมีทั้งพระอัจฉริยะภาพและอารมร์ขันจริงๆๆ
  • มีชื่อมหาวิทยาลัยด้วยเห็นไหมครับ
  • เป็นรูปปู
  • มหาวิทยาลัย ปูทะเล(ย์)
  • ปูทะเล(ย์)=โพธิยาลัย

      อ่า...ใช่แล้วครับ อ.แอ๊ด รูปปูตัวเล็กๆ ที่อยู่มุมซ้ายล่าง แหม! ตาดีจังครับ (ชมนะครับชม...อิอิ)

      ในหนังสือ พระมหาชนก ระบุไว้ว่า ชื่อ มหาวิทยาลัยปูทะเลย์ ครับ โดยแผลงมาจากชื่อที่ถูกต้องคือ โพธิยาลัย หรือ โพธยาลัย หรือ โพธาลัย

      สำหรับพระราชอารมณ์ขันเรื่องอื่นๆ ที่เคยบันทึกไว้ก็มี

               วิทยากลของในหลวง

               แรงฮึด

       ลองเข้าไปอ่านดูนะครับ (highly recommended) ;-)

           

น้องกวิน เข้ามาตอบในเวลาไล่เลี่ยกันเลย ขอบคุณนะครับ

สวัสดีครับ

  • สบายดีไหมครับ ผมไม่ค่อยได้แวะมาเยี่ยมเลย
  • สงสัยว่าตัวหนังสือจะเป็นฟอนต์ที่พระองค์ท่านประดิษฐ์เอง เคยเห็นเอกสารบางชิ้นทรงเขียนเทวนาครีด้วย

สวัสดีครับ อาจารย์หมู (อู๊ดๆ ;-))

      คงจะใช่ครับ เพราะพระองค์ท่านทรงโปรดการใช้คอมพิวเตอร์แม็คอินทอชมาก และทรงประดิษฐ์ฟอนต์เทวนาครีอย่างที่ว่ามาจริงๆ ด้วย

      ยังสงสัยอยู่นิดๆ ว่า การ์ตูนรูปคนขี่เกวียนด้านบนสุดนั้นสื่อถึงอะไร?

  • สวัสดีครับพี่ชิว ผมลองเดานะครับ
  • คนขึ่เกวียน น่าจะเป็นพระอินทร์ ภายในเกวียนน่าจะมีพระราชมารดาของพระมหาชนก ซึ่งกำลังเดินทาง เพื่อลี้ภัยทางการเมือง

ที่มา http://www.larnbuddhism.com/buddha/mahasa.html

  • พระเจ้าอริฎฐชนกเจ้ากรุงมิถิลาและพระเจ้าโปลชนก ผู้เป็นอนุชา ต้องทำศึกสงครามกันเพราะถูกยุแหย่จากอำมาตย์
  • พระเจ้าอริฎฐชนกเจ้ากรุงมิถิลา จึงทรงรับสั่งให้พระอัครมเหสีซึ่งขณะนั้นทรงพระครรภ์อยู่ ลี้ภัยทางการเมือง
  • พระอัครมเหสี ทรงเดินทางไปสู่เมืองกาลจัมปาซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของกรุงมิถิลา โดยพระนางอาศัยไปกับ พระอินทร์ ซึ่งเนรมิตตนเป็นคนชรา ขับเกวียนไปยังเมือง กาลจัมปา

 

น้องกวินนี่ถอดรหัสได้เยี่ยมจริงๆ คงจะใช่ตามที่ว่ามา

ขอบคุณมั่กๆ คร้าบ ^___^

มาติดตามและเยี่ยมชมค่ะ

สวัสดีครับ อ.ทราย

       ช่วงนี้แล้งหลายพื้นที่ อาจจะมีการทำฝนหลวงบ้างแล้วครับ 

ร่วมปฎิวัติการศึกษาเพื่อความเป็นไท

http://gotoknow.org/blog/plays-learns/320506

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท