นำนิสิต ป.โท ม.บูรพา มาเรียนรู้ที่ กศน.ชลบุรี


         

           วันนี้นักศึกษา ป.โท วิชาเอกบริหารการศึกษา ม.บูรพา ได้ขอมาดูงานและเปลี่ยนฐานการเรียนมาที่สำนักงาน กศน.จังหวัดชลบุรี  ได้จัดให้ฟังการบรรยายที่ห้อง KM เพื่อเติมเต็มความรู้สู่ความเข้าใจในการใช้ไอซีที ให้มีประโยชน์ในการจัดการความรู้ในองค์การผ่านเว็บบล็อกนอกจากนี้ได้ไปใช้ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ของศูนย์ฝึกอบรมไอซีที  ของกศน.ชลบุรี ให้มีการฝึกสร้างแพลนเน็ตและนำบล็อกเข้าแพลนเน็ต เพื่อจัดชุมชนการเรียนรู้การนิเทศการศึกษาของนิสิตปริญญาโท วิชาเอกบริหารการศึกษา ที่มาเรียนวิชาการนิเทศการศึกษาเชิงวิเคราะห์ที่ผมรับผิดชอบสอนในครั้งนี้ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อนักศึกษาในการแสวงหาความรู้และจัดหมวดหมู่ความรู้เรื่องอื่น ๆ อีกต่อไปที่นิสิตสนใจ ที่มิใช่เฉพาะการนิเทศออนไลน์ ในหลักสูตรนี้เท่านั้น

   

                

     

          

     

                                                         

 

หมายเลขบันทึก: 189509เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2008 23:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (28)

ความรู้ในการจัดองค์ความรู้ผ่านเว็บบล็อกมีประโยชน์ต่อการศึกษาได้ดีมากครับ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์กับการทำงานได้โดยตรง

ขอบคุณท่านอาจารย์เป็นอย่างสูงครับ การจัดการเรียนรู้มุ่งสู่องค์การารเรียนรู้ที่เป้นเลิศ

KM --> Best practise

ขอบคุณ คุณไพฑูรย์ และคุณอภิชัย ครับ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ ดีใจมากที่มีโอกาสสัมผัสการเรียนรู้ ณ ห้อง KM ทำให้มีความเข้าใจชัดเจนในเรื่องการจัดการความรู้โดยใช้ ไอซีที ท่าน ผอ.กศน.จังหวัดชลบุรีเยี่ยมมากๆ แต่ ขอไปอีกได้ไหมคะ

ขอบคุณ รองฯขวัญเรือนครับ พยายามทำบล็อกให้ได้นะครับ ยินดีที่จะจัดให้มาอีกครับ

ได้ไปดูห้อง KM ของอาจารย์แล้วกลับมาทำรายงาน KM ใหม่ แจ่มค่ะ.......

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

(IT&KM)

สุดารัตน์ ครุฑกะ*

บทนำ

ปัจจุบันคุณค่าของความรู้คือกลยุทธ์ที่สำคัญที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หลักการก็คือการจัดการความรู้ ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างสูงสุดจากความหลากหลายในการสังเคราะห์ความรู้ ประเด็นที่สำคัญคือขอบเขตอันจำกัดของการจัดการความรู้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่บุคคลส่วนมากให้การยอมรับว่าการสร้างความรู้และการถ่ายโอนความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ปัญหาและอุปสรรคของการจัดการความรู้คือเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ที่มีความอ่อนตัวในเทคนิคการจัดการความรู้(Oltra, 2005, pp 70-82)

ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

ภาพที่ 1 องค์ประกอบของการจัดการความรู้

ที่มา: Awad, E. M. & Ghaziri, H. M. 2004. Knowledge management. New Jersey: Pearson Education.

* นักศึกษาปริญญาเอก โครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การจัดการความรู้ คือความสัมพันธ์ระหว่างคนสู่คน และคนสู่ข้อมูลข่าวสารในการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันซึ่งหมายถึงกระบวนการที่เป็นเครื่องมือที่เพิ่มมูลค่าของกิจการองค์กร กลุ่มคน หรือเครือข่ายของกลุ่มบุคคลหรือองค์กรอย่างเป็นระบบเกี่ยวกับการประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจนประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างเป็นความรู้หรือนวัตกรรม และจัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่บุคคลสามารถเข้าถึงได้โดยอาศัยช่องทางต่าง ๆ ที่องค์การจัดเตรียมไว้ เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งก่อให้เกิดการแบ่งปันและถ่ายโอนความรู้ และในที่สุดความรู้ที่มีอยู่จะแพร่กระจายและไหลเวียนทั่วทั้งองค์การอย่างสมดุล เป็นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการพัฒนาผลผลิตและองค์การ (พรธิดา วิเชียรปัญญา, 2547, หน้า 32-33;วิจารณ์ พานิช, 2548; Andersen, 2005) และการทำให้เกิดความสำเร็จของการจัดการความรู้จะต้องผสมผสานการทำงานของคน (People) กระบวนการ (Organizational processes) และเทคโนโลยีสารสนเทศ (Technology) ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบของการจัดการความรู้ดังต่อไปนี้ (Awad & Ghaziri, 2004, pp. 2-3; น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2547, หน้า 17-21) ดังภาพที่ 1

1. ด้านคน หมายถึงความสามารถของคนในองค์กร ต้องมุ่งเน้นในเรื่องพนักงานเป็นอันดับแรก เนื่องจากเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด เพราะแม้ว่าองค์กรจะมีระบบบริหารจัดการระบบการทำงานต่าง ๆ ที่ดีเลิศ แต่ขาดพนักงานที่มีคุณภาพหรือทุ่มเทให้กับการทำงาน ก็จะไม่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นการสร้างพนักงานที่มีความรู้ความสามารถ และมีขวัญกำลังใจในการทำงานจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก ซึ่งบางทฤษฎีเน้นถึงการจัดการความรู้ว่าเป็นการพัฒนาคนในองค์การ โดยร้อยละ 80 เป็นการใช้สมองของมนุษย์ อีกร้อยละ 20 เป็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพราะหัวใจการจัดการความรู้คือ การรวบรวมความรู้ การวิเคราะห์ และสังเคราะห์ความรู้ รวมถึงการนำความรู้นั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ความรู้จึงมีความสัมพันธ์กับข้อมูลดิบ (data) สารสนเทศ (information) และปัญญา (wisdom) ดังภาพที่ 2

ที่มา: The KM Concep. 2003. อ้างถึงใน น้ำทิพย์ วิภาวิน. 2547. การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพฯ: เอสอาร์ พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์ จำกัด.

2. ด้านกระบวนการ เป็นกระบวนการการจัดการความรู้ ประกอบด้วยแนวทางและขั้นตอนของการจัดการความรู้ ซึ่งกระบวนการการจัดการความรู้มี 4 ขั้นตอนหลัก คือ การจัดหาความรู้ การสร้างความรู้ การจัดเก็บและการค้นคืนความรู้ การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (พรธิดา วิเชียรปัญญา, 2547, หน้า 42-48; Marquardt, 1996, pp. 129-139)

2.1 การจัดหาความรู้(Knowledge acquisition) องค์กรจะต้องแสวงหาความรู้จากแหล่งความรู้ต่าง ๆเพื่อเพิ่มความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคล และองค์กร ได้แก่ 1) แหล่งความรู้ภายนอกองค์กร เช่นการใช้มาตรฐานเปรียบเทียบ(benchmarking) กับองค์กรอื่น การจ้างที่ปรึกษา การตรวจสอบแนวโน้มเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยี การรวบรวมข้อมูลจากลูกค้า และคู่แข่งขัน การร่วมมือกับองค์กรอื่นเพื่อสร้างพันธมิตรและการร่วมลงทุน และการเปิดรับข่าวสารจากสื่อต่าง ๆ เช่น สิ่งพิมพ์ งานวิจัย บทความ โทรทัศน์ เป็นต้น 2) แหล่งความรู้ภายในองค์กร เช่น การให้ความรู้กับพนักงาน การสอนงาน การฝึกอบรมสัมมนา การประชุม การแสดงผลงาน ระบบพี่เลี้ยง การเรียนรู้จากประสบการณ์การลงมือปฏิบัติ และใช้กระบวนการเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง

2.2 การสร้างความรู้ (Knowledge creation) เป็นขั้นตอนของการพัฒนาและการสร้างความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นใหม่(generative) จากทักษะและความสัมพันธ์ระหว่างคนในองค์กร เป็นวิธีการพัฒนาความรู้ของแต่ละคนในกระบวนการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ (socialization) การสร้างความรู้ใหม่เกี่ยวข้องกับการหยั่งรู้และความเข้าใจอย่างลึกซึ้งที่เกิดขึ้นในแต่ละบุคคล ทุก ๆ คนสามารถเป็นผู้สร้างความรู้ได้ในรูปแบบต่าง ๆ ได้แก่ การวิจัยและการพัฒนา การเรียนรู้โดยการปฏิบัติ การแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การเรียนรู้จากประสบการณ์และวิธีการระดมความคิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคนในกลุ่ม

2.3 การจัดเก็บและการค้นคืน (knowledge storage and retrieval) องค์กรต้องกำหนดสิ่งสำคัญที่จะเก็บไว้เป็นองค์ความรู้ และต้องพิจารณาถึงวิธีการในการรักษา และการนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ตามความต้องการ องค์กรต้องเก็บรักษาสิ่งที่องค์กรเรียกว่าเป็นความรู้ไว้ให้ดีที่สุด ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนผลสะท้อนกลับ การวิจัยและ การทดลอง การจัดเก็บเกี่ยวกับด้านเทคนิค เช่น การบันทึกเป็นฐานข้อมูล หรือการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรที่ชัดเจน รวมทั้งที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทางมนุษย์ด้วย เช่น การสร้างและการจดจำของปัจเจกบุคคล เป็นต้น ทั้งนี้การสะสมความรู้ องค์กรควรคำนึงถึง โครงสร้างการจัดเก็บความรู้ ควรเป็นระบบที่สามารถค้นหาและส่งมอบได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ทันเวลาและเหมาะสมกับความต้องการ และจัดให้มีการจำแนกรายการต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นฐานความจำเป็นในการเรียนรู้ องค์กรต้องพิจารณาความแตกต่างของกลุ่มคนในการค้นคืนความรู้ ต้องมีการจัดหมวดหมู่ตามองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ตามวัตถุประสงค์ของงาน ความชำนาญของผู้ใช้ เป็นต้น และองค์กรต้องหาวิธีทำให้พนักงานทราบถึงช่องทางหรือวิธีการสำหรับค้นหาความรู้ เช่น การทำสมุดจัดเก็บรายชื่อ และทักษะของผู้เชี่ยวชาญ เครือข่ายการทำงานตามลำดับชั้น การประชุม การฝึกอบรม เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จะนำไปสู่การถ่ายทอดความรู้ในองค์กร

2.4 การถ่ายทอดความรู้และการใช้ประโยชน์ (knowledge transfer and Utilization) การถ่ายทอดและการใช้ประโยชน์จากความรู้ มีความจำเป็นสำหรับองค์การ เนื่องจากองค์การจะเรียนรู้ได้ดีขึ้นเมื่อความรู้มีการกระจายและถ่ายทอดไปอย่างรวดเร็ว และเหมาะสมทั่วทั้งองค์กร การถ่ายทอดและการใช้ประโยชน์จากความรู้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกลไกด้านอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้การเคลื่อนที่ของสารสนเทศ และความรู้ระหว่างบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่งนั้นเป็นไปได้โดยตั้งใจ เช่น การสื่อสารโดยการเขียน การฝึกอบรม การประชุมภายใน การสื่อสารภายในองค์กร การหมุนเวียนเปลี่ยนงาน และระบบพี่เลี้ยง ส่วนการถ่ายทอดความรู้โดยไม่ตั้งใจ เช่น การหมุนเวียนงาน ประสบการณ์หรือเรื่องราวที่เล่าต่อกันมา คณะทำงาน และเครือข่ายที่ไม่เป็นทางการ

ภาพที่ 3 การพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กร

ที่มา: วิเชียร ฤกษ์พัฒนกิจ. 2549. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

3. ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การจัดการความรู้มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของความรู้ในองค์การให้เป็นความรู้ที่เกิดประโยชน์ต่อบุคคลนั้น ในเวลาและรูปแบบที่บุคคลนั้นต้องการ เรียกว่าระบบบริหารความรู้ องค์ประกอบของระบบบริหารความรู้ ได้แก่ 1) เทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดเก็บสารสนเทศ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย จัดเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงการเผยแพร่เนื้อหาข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ External knowledge, Structured/Information internal knowledge 2) แพลตฟอร์มที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน การมีระบบและฐานข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่ใช้งานร่วมกันได้ สนับสนุนการทำงานร่วมกัน 3)ระบบเครือข่าย โครงสร้างพื้นฐานเช่นระบบเครือข่ายช่วยสนับสนุนการสื่อสารและการสนทนา 4)วัฒนธรรม เช่น วัฒนธรรมองค์กรที่ช่วยให้เกิดการแลกเปลี่ยนและใช้ข้อมูลร่วมกัน ดังภาพที่ 3

ซอฟแวร์ที่ใช้ในการจัดการความรู้

การจัดการความรู้ที่สามารถนำความรู้ที่กระจัดกระจายอยู่ในรูปต่าง ๆ มาจัดระบบระเบียบและสามารถใช้ได้เมื่อต้องการเน้นที่การนำซอฟแวร์มาช่วยในการดำเนินการ เช่น โปรแกรม Microsoft office 2000 ให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้โดยผ่านรูปแบบ XML (Extensible Markup Language) เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกัน บริษัท Lotus เสนอโปรแกรม Lotus Notes เพื่อใช้ข้อมูลร่วมกันในองค์กร และระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) โดยทุกบริษัทต้องการพัฒนาระบบข้อมูลขององค์กร (น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2547, หน้า 78-79) ดังนี้

1. Personal Knowledge Management เป็นการบริหารความรู้เพื่อใช้ในงานตามความสนใจของแต่ละบุคคล เช่น โปรแกรม Knowledge Work ของ Microsoft

2. Enterprise Knowledge Management เป็นการบริหารความรู้เพื่อการใช้งานขององค์กรโดยรวม เช่น โปรแกรม Workdraw

นอกจากนี้ซอฟแวร์หรือโปรแกรมการจัดการความรู้ที่เป็นผลิตภัณฑ์โปรแกรมการจัดการความรู้มีมากกว่า 70 แห่งในท้องตลาด ได้แก่ Dataware Knowledge Management, Knowledge Insight, KnowledgeMail, WebProject, Livelink, Message, TeamTool เป็นต้น

บทสรุป

สังคมในปัจจุบันนี้เป็นสังคมที่มีฐานแห่งความรู้ (Knowledge-base society) การพัฒนาสังคมและองค์การที่นำไปสู่สังคมฐานความรู้ จำเป็นต้องมีการปรับระบบการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการเรียนรู้ มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (HRD)เพื่อการปรับปรุงทักษะอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากบุคคลคือทรัพยากรที่สำคัญต่อ การสร้าง การกระจาย และการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้เกิดมุมมองเชิงธุรกิจกับแนวคิดด้าน HRD เป็นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญา ดังนั้นงาน HRD จะมุ่งไปสู่ทุนทางปัญญาที่มีการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ เพื่อพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพ พัฒนาคนให้เป็นบุคคลรอบรู้และนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ และพัฒนาฐานความรู้ขององค์กร เพื่อเพิ่มพูนทุนความรู้ขององค์กรที่ส่งผลให้องค์กรสามารถดำเนินกิจการได้อย่างประสบผลสำเร็จและสามารถแข่งขันได้บนความไม่แน่นอนในอนาคต ในความสัมพันธ์ของเทคโนโลยีสารสนเทศ ความคิด ความรู้และการตัดสินใจเป็นเรื่องของการจัดการความรู้ ดังนั้นความรับผิดชอบต่ออนาคตขององค์กรมีผลมาจากการจัดการความรู้ในปัจจุบัน ซึ่งเป็นแนวคิดขององค์กรที่มีเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นพื้นฐานในการดำเนินงาน ผู้บริหารจะสามารถควบคุมกระบวนการทำงานทั้งหมดขององค์กรในลักษณะ Workflow โดยอาศัยโปรแกรมการจัดการความรู้ซึ่งใช้หลักการของการเชื่อมโยงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ และความรู้ของบุคคลในองค์กรเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินงานและการตัดสินใจให้องค์กรอยู่รอดได้ในอนาคต (ดนัย เทียนพุฒ, 2543: 28-29; วิจารณ์ พานิช, 2548; พรธิดา วิเชียรปัญญา, 2548, หน้า 12-13; น้ำทิพย์ วิภาวิน, 2547, หน้า 83)

บรรณานุกรม

ดนัย เทียนพุฒิ. (2543). การจัดทำแผน HRD สู่สหัสวรรษหน้าสำหรับนักฝึกอบรมมืออาชีพ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: ไทยเจริญการพิมพ์.

น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2547). การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพมหานคร: เอสอาร์

พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.

พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์.

วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้คืออะไร(นิยามเพื่อปฏิบัติการ). ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2548, จาก http://www.kmi.trf.or.th/document/aboutKM/abount.KM.pdf

วิเชียร ฤกษ์พัฒนกิจ. 2549. เอกสารประกอบการบรรยายวิชาคอมพิวเตอร์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษญ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Andersen, A. (2005). Knowledge management news. Retrieved September 9, 2005, from http://www. kmnews.com/index.php?page=themopportunity

Awad, E. M., & Ghaziri, H. M. (2004). Knowledge management. New Jersey: Pearson Education.

Marquardt, M. J. 1996. Building the learning organization. New York: McGraw Hill.

บทความทางวิชาการ

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

*บงกช ลิมปะพันธุ์

ในยุคที่สารสนเทศไม่สามารถตอบสนองความต้องการในเรื่องราวต่างๆ ได้ขององค์กรได้ เนื่องจากสารสนเทศมีเป็นจำนวนมาก จึงจำเป็นอย่างยิ่งต้องเปลี่ยนรูปจากสารสนเทศให้มาอยู่ในรูปแบบของความรู้แทน ในเมื่อความรู้และสารสนเทศมีความแตกต่างกันดังนั้น การจัดการความรู้ (Knowledge management หรือ KM) จึงแตกต่างจากการจัดการสารสนเทศ (Information Management) และมีความซับซ้อนกว่ามาก อย่างไรก็ตามการจัดการความรู้ก็ยังจำเป็นที่ต้องนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยในการดำเนินการและเป็นเครื่องมือสำคัญในการในระบบจัดการความรู้

การจัดการความรู้เป็นอีกหัวข้อหนึ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากในการพัฒนาประสิทธิภาพขององค์กร เนื่องจากการจัดการความรู้เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กรโดยอาจนำสิ่งที่มีอยู่เดิมมาปรับเปลี่ยนกระบวนการโดยการดำเนินการนั้นอาจไม่จำเป็นต้องมีการลงทุนเพิ่มก็ได้ บทความนี้ ขอนำเสนอแนวความคิดที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีกับการจัดการความรู้ในองค์กรต่างๆ เพื่อเป็นแนวคิดให้กับองค์กรที่กำลังพัฒนาศักยภาพของตนเองในการแข่งขันด้วยการนำระบบการจัดการความรู้มาใช้

การจัดการความรู้

การจัดการความรู้ไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเรื่องที่ไกลตัว หลายองค์กรอาจเคยประสบปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้มาบ้างแล้วเช่นเมื่อผู้เชี่ยวชาญหรือพนักงานที่ใช้ความรู้และทักษะพิเศษในการทำงานลาออกหรือมีเหตุที่ทำให้ไม่สามารถทำงานได้ องค์กรก็จะประสบปัญหาในการทำงานทันทีและไม่สามารถหาพนักงานคนอื่นหรือสิ่งใดมาทำงานทดแทนได้เมื่อความรู้ขององค์กรแต่ละองค์กรนั้นมีความหมายที่แตกต่างกัน ดังนั้นนิยามของคำว่าการจัดการความรู้ของแต่ละบุคคลและองค์กรจึงแตกต่างกันด้วย เช่น การจัดการความรู้หมายถึงการจัดการสารสนเทศและความรู้ที่นับว่าเป็นสิ่งสำคัญหรือทรัพย์สินที่เป็นนามธรรม (Intangible asset) ที่องค์กรต้องการใช้เป็นส่วนสำคัญสำหรับสร้างความแตกต่างให้กับองค์กรเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งผ่านกระบวนการจัดการความรู้เพื่อพัฒนาให้องค์กรมีความได้เปรียบในการแข่งขัน ดังนั้นการจัดการความรู้ในองค์กรนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ เพียงแต่ที่ผ่านมานั้นการจัดการความรู้ไม่ได้มีการเรียกชื่ออย่างเป็นทางการและการจัดการความรู้ส่วนใหญ่มาจากการเรียนรู้จากประสบการณ์

กระบวนการจัดการความรู้

กระบวนการในการจัดการความรู้นั้นมีการจำแนกที่แตกต่างกันเช่น Demarest ได้แบ่งกระบวนการจัดการความรู้เป็น การสร้างความรู้ (Knowledge construction) การเก็บรวบรวมความรู้ (knowledge embodiment) การกระจายความรู้ไปใช้ (knowledge dissemination) และการนำความรู้ไปใช้ (use) ในขณะที่ Turban และคณะนำเสนอ กระบวนการจัดการความรู้เป็นลำดับวงกลม ประกอบด้วยการสร้าง (create) การจับและเก็บ (Capture and store) การเลือกหรือกรอง (Refine) การกระจาย (Distribute) การใช้ (Use) และการติดตาม/ตรวจสอบ (Monitor) ดังรูปที่ 2 ส่วนProbst และคณะได้แบ่งกระบวนการจัดการความรู้เป็นการกำหนดความรู้ที่ต้องการ (knowledge identification) การจัดหาความรู้ที่ต้องการ (knowledge acquisition) การสร้างพัฒนาความรู้ใหม่ (knowledge development) การถ่ายทอดความรู้ (knowledge transfer) การจัดเก็บความรู้ (knowledge storing) การนำความรู้มาใช้ (knowledge utilization)และกำหนดความสัมพันธ์ในรูปแบบ Mesh ที่แต่ละกระบวนการมีความสัมพันธ์กัน หากสรุปแล้วกระบวนการจัดการความรู้ประกอบด้วยกระบวนการแสวงหาความรู้ การสร้าง การจัดเก็บ การถ่ายทอดและการนำความรู้ไปใช้งานอย่างไรก็ตามกระบวนการจัดการความรู้ของแต่ละองค์กรมีความแตกต่างกันตามลักษณะการดำเนินการและองค์ประกอบอื่นๆ อีกหลายประการเช่นลักษณะและงานขององค์กร โครงสร้างองค์กร และ เทคโนโลยี เป็นต้น ดังนั้นองค์กรแต่ละองค์จำเป็นต้องพัฒนาโครงสร้างของกระบวนการจัดการความรู้เฉพาะขององค์กรเอง

เทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้

ในเรื่องของการจัดการความรู้นั้น มีงานวิจัยจำนวนมากที่พยายามอธิบายความสัมพันธ์และบทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศกับการจัดการความรู้ ดังที่ปรากฏว่าเป็นเรื่องราวจำนวนมากที่แสดงถึงความสำเร็จในการจัดการความรู้ขององค์กรผ่านการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ แม้ว่าการจัดการความรู้จะเป็นกระบวนการไม่ใช่เทคโนโลยีแต่เทคโนโลยีกลับถูกคาดหมายว่าเป็นปัจจัยแห่งความสำคัญอย่างหนึ่งที่จะช่วยให้การจัดการความรู้ประสบความสำเร็จ องค์กรส่วนใหญ่จึงมีการจัดสรรงบประมาณในการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมีผลต่อความสำเร็จในระบบการจัดการความรู้เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการความรู้ทั้งในส่วนของพนักงานและองค์กรเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องและมีบทบาทในการจัดการความรู้ประกอบด้วยเทคโนโลยีการสื่อสาร(Communication Technology) เทคโนโลยีการทำงานร่วมกัน (Collaboration Technology) และเทคโนโลยีการจัดเก็บ (Storage technology)

• เทคโนโลยีการสื่อสาร ช่วยให้บุคลากรสามารถเข้าถึงความรู้ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น รวมทั้งสามารถติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญในสาขาต่างๆ ค้นหาข้อมูล สารสนเทศและความรู้ที่ต้องการได้ผ่านทางเครือข่ายอินทราเน็ต เอ็กซ์ตราเน็ตหรืออินเทอร์เน็ต

• เทคโนโลยีสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ช่วยให้สามารถประสานการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดอุปสรรคในเรื่องของระยะทาง ตัวอย่างเช่นโปรแกรมกลุ่ม groupware ต่างๆ หรือระบบ Screen Sharing เป็นต้น

• เทคโนโลยีในการจัดเก็บ ช่วยในการจัดเก็บและจัดการความรู้ต่างๆ

จะเห็นได้ว่าเทคโนโลยีที่นำมาใช้ในการจัดการความรู้ขององค์กรนั้นประกอบด้วยเทคโนโลยีที่สามารถครอบคลุมกระบวนการต่างๆ ในการจัดการความรู้ให้ได้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้เช่นมีระบบฐานข้อมูลและระบบการสื่อสารที่ช่วยในการสร้าง ค้นหา แลกเปลี่ยน จัดเก็บความรู้ อย่างไรก็ตามในปัจจุบันมีซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้โดยเฉพาะที่เรียกว่า Know-ware เช่น ระบบ Electronic document management หรือEnterprise knowledge portal

ปัญหาการจัดการความรู้

เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้สามารถค้นหาข้อมูลได้รวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นกันได้ง่ายยิ่งขึ้น แต่ประโยชน์ของเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านี้จะไม่สามารถเกิดขึ้นได้ หากแหล่งข้อมูลหรือผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศไม่มีความยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นกับผู้อื่น ดังนั้นปัญหาเทคโนโลยีในเรื่องของการเรียนรู้ไม่ใช่เกิดจากปัญหาในเรื่องของเทคโนโลยีเท่านั้น ยังเป็นปัญหาที่ตัวบุคคลด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการแลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้ แม้ว่าบุคลากรทุกคนรู้ว่าการแบ่งปันความรู้เป็นสิ่งที่ดี และการแบ่งปันความรู้นั้นไม่ได้ทำให้ความรู้ลดน้อยลงเลยแต่กลับยิ่งทำให้ความรู้นั้นเพิ่มพูนขึ้น แต่หลายคนยังมีความกังวลในการแบ่งปันความรู้กับผู้อื่น เช่นความกังวลว่าตัวเองจะลดบทบาทและความสำคัญลงหลังจากที่แบ่งปันความรู้ให้กับผู้อื่น องค์กรจำเป็นต้องมีมาตรการและนโยบายที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานยินดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ การกระจายความรู้เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพทั้งของบุคลากรและองค์กรเอง

เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้กระบวนการจัดการความรู้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยใน การกระจายความรู้ การถ่ายทอดความรู้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ องค์กรต่างๆ จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในองค์กร อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีไม่ใช่สิ่งที่รับประกันความสำเร็จของการจัดการความรู้ เพราะเทคโนโลยีเป็นเพียงเครื่องมือ ดังที่ Walsham [2001] กล่าวไว้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ใช่คำตอบที่แก้ปัญหาการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างบุคลากรในองค์กร เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศไม่สามารถอธิบายความรู้ที่เป็น Tacit knowledge ที่ต้องผ่านกระบวนการปฏิสัมพันธ์และความเชื่อใจของบุคลากรได้ดังนั้นความสำเร็จของการจัดการคามรู้ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ขององค์กรและบุคลากร สิ่งที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบจัดการความรู้ขององค์กรคือการพัฒนาบุคลากรให้มีความปรารถนาในการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งจะนำไปสู่การปรับตัวสู่รูปแบบองค์กรใหม่ที่เรียกว่าองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) นั่นเอง

ผอ.ด้วงจัดการความรู้ได้ดีเลยครั

ขอบคุณ คุณประภาสในการค้นหาสาระมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

ขอบคุณตาหยู ครับ ตามมาถึงห้องเรียน ม.บูรพาเลยน๊ะ

วันนี้ผมเอาของดีมาแจก คู่มือการใช้งานฉบับเต็ม gotoknow.org

http://gotoknow.org/manual <--- คลิกเพื่ออ่านรายละเอียดก่อนการดาวน์โหลด ผู้ใช้งานสามารถเข้าไปยังลิงก์ที่แสดงไว้ข้างต้น เพื่ออ่านรายละเอียดและทำการดาวน์โหลดคู่มือได้เลยค่ะ นอกจากนี้ยังมีคู่มือการใช้งาน GotoKnow.org เบื้องต้น (ฉบับย่อ) ขอบคุณคุณมะปรางเปรี้ยว ผู้ดูแลเว็บไซต์ Gotoknow.org นะครับ โหลดกันเลยนะครับพี่น้อง....

ครูอภิชัย

23 มิ.ย. 2551 @ 22:04

ตอนนี้ได้สมัครเรียบร้อยแล้วค่ะ

มาอ่านกันหมดเลยนะครับเนี่ย ก็เป็นการดีครับที่จะได้มีโอกาสไปที่ศูนย์กศน.ชลบุรีอีก แต่ติดตรงที่บ้านผมน่ะไกลครับ กลับลำบากแต่ก็คุ้มที่ได้ไปครับ ไปคราวหน้าต้องขออาจารย์ดูข้อมูลและผลงานบ้าแล้วครับ

ยินดีครับมีข้อมูลให้ดูเยอะครับ คุณคนพลัดถิ่น

เป็นเรื่องที่ดีมากครับ ผมก็เคยเข้าไปดูครั้งแรก สุดยอดจริงๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์ เข้ามารายงานตัวเพื่อทักทายนะคะ และเข้ามาศึกษางานให้แจ่มไปเลยค่ะ

สวัสดีครับ รองฯขวัญ พรุ่งนี้เจอกันแน่ ครับ

ห้อง KM ของสถาบันฯ จัดรูปแบบสวยและน่าเรียนรู้ดีคับมองแล้วสบายตาเป็นกันเองดี

ห้อง KM ของ กศน.สวย บรรยากาศดีเอื้อต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ดีใจที่มีโอกาสมาเยี่ยมเยียน กศน.ชลบุรี

ขอบคุณ คุณพ่อลูกอ่อนและคุณกิ่งแก้วครับ

วันนี้ผมเพิ่งกลับจากไปสิงคโปร์และมาเลย์ แต่ยังอยู่ที่สงขลาครับ

วันที่ 19 ก.ค.51 คงต้องเรียนทั้งวันค่ะ เพราะท่านอาจารย์สมศักดิ์หยุดไปทำบุญวันเข้าพรรษาค่ะ

เพิ่งได้เข้ามาเห็นภาพมองเราดีจังครับอาจารย์ ดูแล้วเป็นการเรียนรู้ที่ทุกคนดูมีความสุขดี

กับห้องเรียนของ กศน.ชลบุรี ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการเรียนครั้งนั้น หวังว่าคงได้ไปใช้กันอีก ขอบคุณครับ

ขอบคุณครับคุณยายขี้สงสัยและคุณ parakul

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท