การบริหารความเปลี่ยนแปลง


หากถอดบทเรียนวิธีประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ไปใช้เพื่อเปลี่ยนวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยอีกอย่างหนึ่ง คือ วัฒนธรรมที่มุ่งการเรียนการสอนเป็นหลัก เป็นการมุ่งงานวิจัยเป็นหลัก ใยเล่าจะเป็นไปไม่ได้

ช่วงนี้อากาศแปรปรวน ฝนตกชุก หลายคนเป็นหวัด โดยเฉพาะคนที่ตรากตรำทำงานหนัก

ความเจ็บไข้ได้ป่วย คิดว่าเป็นเรื่องดีก็ได้นะค่ะ เพราะร่างกายหาวิธีให้เราได้พักเสียบ้าง ทำให้เราปวดศีรษะ เราจะได้คิดไม่ออกและหยุดคิด ทำให้เราอ่อนเพลียไม่มีแรง เราจะได้นอนให้มากขึ้น

การรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกาย  ต้องการภูมิต้านทานของสรีระทางกาย  ทำนองเดียวกับการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของชีวิตส่วนตัว หรือชีวิตการงาน ก็ต้องการภูมิต้านทานของจิตใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าการเปลี่ยนแปลงนั้น เป็นไปในทิศทางที่สังคมเห็นว่าต่ำต้อยด้อยค่า

ดิฉันยังจำได้ดีว่า เมื่อ ปี พ.ศ. 2544  ซึ่งเป็นปีแรกของการตรวจประเมินคุณภาพภายในของคณะวิชา และหน่วยงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยนเรศวร หลายคณะฯ หลายหน่วยงาน ทำใจไม่ได้ และชอกช้ำระกำใจมากกับผลการประเมินที่มีค่าค่อนข้างต่ำ

โชคดีที่เหตุการณ์ครั้งนั้น ไม่มีใครยอมแพ้  และปรับตัวได้ พยายามสร้างภูมิต้านทานเพื่อต่อสู้กับโรคร้ายที่รุมเร้า ท่ามกลางการเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมครั้งใหม่ จากการไม่เคยถูกประเมิน เป็นการถูกประเมินทุกปี ๆ เหมือนต้องทนทุกข์กับการกินยารักษาโรคมาเรื่อย

จนย่างเข้า ปีที่ 5 ปี พ.ศ. 2548  นี้ ผลการประเมินโดยเฉลี่ยของคณะวิชาต่างๆ ขยับก้าวขึ้นมาถึงขั้น 4 - 4.5 (จากคะแนนเต็ม 5 ) แล้วนะค่ะเนี่ย

ดังนั้น ดิฉันคิดว่า หากถอดบทเรียนวิธีประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวร ไปใช้เพื่อเปลี่ยนวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยอีกอย่างหนึ่ง คือ วัฒนธรรมที่มุ่งการเรียนการสอนเป็นหลัก เป็นการมุ่งงานวิจัยเป็นหลัก  ใยเล่าจะเป็นไปไม่ได้

ยอมกลั้นใจกลืนยาขมกันอีกสักครั้ง  ประเดี๋ยวโรคร้ายก็จะหาย นะ นะ คนดี   

    

หมายเลขบันทึก: 1888เขียนเมื่อ 1 สิงหาคม 2005 21:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท