จิตตปัญญาเวชศึกษา 68: 4-Barriers to Learn; Not to say what we think


4-Barrier to Learn; Revisit 2

เรามาถึง quadrant ที่สองของการเกิด blind-spot ที่จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้ ต่อการเปลี่ยนแปลงนะครับ นั่นคือ "Not to say what we think"  หรือ "การไม่พูดในสิ่งที่ตนเองคิด" คำว่า "พูด" ในที่นี้หมายถึงการแสดงความเห็นออกมา อาจจะในรูปแบบใดๆก็ได้

 Think

 See

 not to recognize what we see

ไม่ตระหนักสิ่งที่เราประสบ 

 not to say what we think

ไม่พูดสิ่งที่เราคิด 

 Say

 not to see what we do

ไม่เห็นสิ่งที่เราได้ทำลงไป 

 not to do what we say

ไม่ทำสิ่งที่เราพูด 

 Do

The Second Quadrant: Not to say what we think

ในปัจจุบันนิเวศต่างๆเสมือนอยู่ใกล้ชิดกันกว่าแต่ก่อน เป็นเพราะระบบการสื่อสารขนส่งที่พัฒนาขึ้นมาอย่างมากมาย เราสามารถพูดสนทนามองเห็นกันและกันทั้งๆที่เราอยู่ห่างไกลกันหลายร้อยพันกิโลเมตร ไปมาหาสู่กันอย่างสะดวก เกิดการแลกเปลี่ยนความคิด ความรู้ กันง่ายขึ้น ในความสะดวก ความดี และประสิทธืภาพมิติต่างๆที่ดีขึ้นนี้เอง ที่ความต้องการในการนำเอา Collective Values มาตีแผ่ มาขยาย มาทำความเข้าใจกัน เพ่ิมความจำเป็นมากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ยกตัวอย่าง ถ้าเราจะ set ระบบอะไรสักอย่าง อาทิ ระบบการศึกษา ระบบบริการสุขภาพ ระบบคมนาคม ฯลฯ สำหรับชุมชนหนึ่งๆ จะเป็นไปได้หรือไม่ที่เราจะนั่งร่างระบบดังกล่าว โดยไม่มีการพูดคุยกันก่อน และการพูดคุยที่ว่านี้ ควรจะมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง (stake-holders) ทุกๆคน (หรือทุกๆ representative group) มาร่วมด้วย มิฉะนั้นญัตติและมติที่จะเกิดขึ้น จะเป็นมิติที่ดูไม่รอบด้าน จะเกิดการสูญเสียผลประโยชน์ของคนบางกลุ่ม ตามมาด้วยความไม่ร่วมมือ ขัดขวาง ไปจนถึงแตกหักไม่ประสบความสำเร็จ ในระบบประชาธิปไตยนั้น ไม่ได้หมายถึงการใช้ความเห็นของคนส่วนใหญ่เป็นหลักเพียงแค่นั้น แต่คนส่วนใหญ่ยังจำเป็นต้องฟังเสียงคนส่วนน้อย และให้การดูแลอย่างสมศักดิ์ศรีเช่นกัน เพราะต่างก็เป็นคนเหมือนๆกัน

คำถามที่น่าสนใจตามมาก็คือ ถ้าเป็นเช่นนั้น ระบบการศึกษา หรือหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต แพทยศาสตรศึกษาที่มีหัวใจแห่งความเป็นมนุษย์นั้น โดยคำ "มนุษย์" เองก็บอกเป็นนัยถึง stake-holders อยู่แล้วว่าเรากำลังทำเพื่อใคร โดยใคร แล้วใครบ้างล่ะที่น่าจะเข้ามามีส่วน ถ่ายทอดความคิดเห็น ความรู้สึก บอกเล่าความต้องการ ความจำเป็น เพื่ิอให้เกิด collective thought ของระบบนิเวศอย่างแท้จริง?

และถ้าหากเราร่างหลักสูตรดังกล่าว โดยขาด input จาก stake-holders ครบถ้วน อะไรจะเกิดขึ้น อะไรจะกลายเป็นจุดแข็ง จุดอ่อน อะไรเป็น liability ของโปรแกรมนี้ เรามีความมั่นใจที่ว่าหลักสูตรที่ว่านี้จะเป็น "เพื่อประชาชนชาวไทยทุกคน" ได้อย่างเต็มหัวใจหรือไม่?

ในทำนองกลับกัน เป็น "หน้าที่" ของคนในระบบนิเวศเช่นกันที่จะต้องแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก ในยามจำเป็น ว่าทุกสิ่งทุกอย่างที่กำลังเกิดขึ้นนั้น เขาคิดว่าอย่างไร และรู้สึกว่าอย่างไร มิฉะนั้นแล้ว "การมีอยู่" ของเขาและของคนที่เขารับผิดชอบ ก็จะเสมือน non-existing มีเหมือนกับไม่มี ไม่มีปากเสียง ไม่มี input ออกมา และการไม่พูด ไม่แสดงออก ไม่ได้แปลว่าจะปราศจากความทุกข์เสมอไป อาจจะเป็นการต้องอดทน อดกลั้น ความเป็นไปต่างๆที่ไม่ได้เกื้อกูลต่อสุขภาวะของตนเองและครอบครัว เกิดเป็นมลภาวะของสิ่งแวดล้อมและนิเวศวัฏจักรด้านลบไปเรื่อยๆ

ในที่ประชุมขององค์กรก็เช่นกัน เราคาดหวังที่จะได้ยิน ได้ฟัง ความคิดเห็นที่แตกต่าง เราถึงมีการประชุมกัน เราถึงมีตัวแทนจากมิติ จากกลุ่มที่แตกต่าง มาร่วมกันรับฟังกันและกัน และให่้ความเห็นตามมุมมองของตนเอง สิ่งที่ที่ประชุมจะได้ ก็คือ collective values ขององค์กร ที่สามารถ represent คุณค่าของคนทุกกลุ่มขององค์กรได้

ถ้าหากในเวทีแสดงความคิดเห็น ไม่เกิดการแสดงความคิดเห็น คงจะต้องเป็นภาระของผู้นำองค์กรที่จะต้องพิจารณาว่า "อะไรเป็นอุปสรรคในการแสดงออก"

เพราะโดยปกติ ถ้าเป็นเรื่องสำคัญต่อตัวเขาจริงๆ ถ้ามี space เมื่อไร ก็น่าจะยินดี และฉวยโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็น

อุปสรรคที่คน "จะไม่แสดงออก" อาจจะได้แก่

  • ไม่กล้า เพราะเป็นคนไม่กล้า
  • ไม่กล้า เพราะคนฟังดุเหลือเกิน
  • ไม่อยาก เพราะพูดไปก็ไม่มีใครฟัง หรือฟังเฉยๆ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้น
  • ไม่อยาก เพราะพูดทีไรก็ถูกตัดบท บอกว่า "รู้แล้วๆ"
  • ไม่อยาก เพราะพูดทีไร ต้องเสีย self กลับมาทุกที คนอื่นๆมัวแต่คุยกัน ไม่สนใจ รู้สึกว่าตนเองไร้ความหมาย ไม่มีคนฟังเราเลย
  • ไม่อยาก เพราะมีคนแสดงความเห็นก่อนหน้าเราที่เป็นตรงกันข้ามไปแล้ว กลัวจะทะเลาะกัน
  • ไม่อยาก เพราะทราบว่าจะมีคนไม่เห็นด้วยกับเรานั่งตรงนั้น
  • ไม่คิดจะพูด เพราะชีวิตนี้ขอเป็นคน passive ไปเรื่อยๆ ทนเอาดีกว่า
  • ไม่คิดจะพูด เพราะกลัว consequences (อะไรก็ไม่รู้ ตามแต่จะจินตนาการ บางคนถึงกับคิดว่าจะถูกไล่ออกก็มี) นินทาข้างนอกมันกว่าเยอะ
  • ไม่คิดจะพูด เพราะคิดว่าการแลกเปลี่ยนไม่สำคัญ
  • ไม่คิดจะพูด เพราะตนเองก็ไม่เคยฟังใครอยู่แล้ว เวลาคนอื่นพูด ก็จะนั่งคุยกับคนข้างๆตลอดเวลา ดังนั้นตนเองก็คิดว่าเวลาตนเองพูด ก็คงจะถูกทำเหมือนกับที่ทำกับคนอื่น จึงไม่กล้าพูด
  • ไม่คิดจะพูด เพราะถือภาษิต "พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง" (คนสมัยใหม่อาจจะงง เป็นอัตราเงินสมัยก่อนนี้ของไทยครับ)
  • ไม่รู้จะพูดอย่างไร เพราะไม่เคยหัดพูดให้เป็นเรื่องเป็นราว
  • ไม่รู้จะพูดอย่างไร เพราะไม่มีสมาธิ ไม่รู้จักเรียบเรียงประเด็น
  • ไม่รู้จะพูดอย่างไร เพราะไม่เคยสนใจกับปัญหาต่างๆรอบๆตัวเรา
  • ไม่รู้จะพูดอย่างไร เพราะไม่ได้ฟังว่าเขากำลังคุยสนทนากันเรื่องอะไร
  • พูดแต่พูดคนละเรื่องกับที่คิด เพราะต้องการถนอมน้ำใจ
  • พูดแต่พูดคนละเรีื่องกับที่คิด เพราะกลัวจะทำร้ายจิตใจ
  • พูดแต่พูดคนละเรื่องกับที่คิด เพราะต้องการประจบเอาใจ
  • พูดแต่พูดคนละเรื่องกับที่คิด เพราะไม่รู้จักให้นำ้หนักเรื่องใหญ่ เรื่องเล็ก เรื่องสำคัญ/ไม่สำคัญ
  • พูดแต่พูดคนละเรื่องกับที่คิด เพราะหันหางเสือตามลม ไม่ยอมเป็นผู้นำ ไม่อยากเป็นผู้แตกต่าง
  • ฯลฯ

จะเห็นว่ามีเหตุผลที่จะเป็นอุปสรรคมากจริงๆ และถ้าอุปสรรคนี้มีเยอะๆ โอกาสที่องค์กรจะได้ข้อมูลที่เป็น collective values ก็จะน้อยลงๆ ในที่สุด ก็จะต้องตัดสินใจ งัดเอา values เฉพาะของคนที่พูด ของคนที่ตัดสินใจมาใช้ เพราะมันต้องลงมือทำอะไรสักอย่างแล้ว

การแก้ไขป้องกันอุปสรรค

ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคหลากหลาย หากพิจารณาดูดีๆ จะมี common pathogenesis หรือ pathophysiology (พยาธิกำเนิด และพยาธิสรีระ)

  • เราสามารถแก้ปัญหาคนไม่พูด ด้วยการหัดฟังก่อน: จะเห็นว่ารากปัญหาหลายประเด็น จะมาจากคนจะพูดไม่พูด เกิดจาก "คุณภาพของการฟัง" ถามตัวเราเองเราอยากจะพูด เราจะพูดกับใคร คิดไปคิดมา คนฟังก็เป็นปัจจัยสำคัยไม่น้อย เป็นทั้งกำลังใจ เป็นทั้งพลัง เป็นทั้งตัวให้ความหมายแก่การพูด ความหมายต่อคนพูด ความหมายต่อผลกระทบที่จะเกิดหลังพูด ฯลฯ ดังนั้น องค์กรที่จะต้องการให้คนแสดงความคิดเห็นอย่างเปิดเผย อย่างจริงใจ และเกิดประโยชน์ที่แท้จริงนั้น จำเป็นเหลือเกินที่จะต้องมี "วัฒนธรรมในการฟัง" เป็นรากฐานเสียก่อน
  • เราสามารถจะแก้ปัญหาคนไม่พูด ด้วย "รักปราศจากเงื่อนไข": คนจะพูด และพูดออกมาจากใจจริงด้วยนั้น จะต้องถูก "หล่อเลี้ยง" สิ่งหนึ่งที่เป็นตัวหล่อเลี้ยงคนที่ดีที่สุดก็คือ ความรัก และรักแบบปราศจากเงื่อนไขเป็นรักที่แท้ (compassion /  Metta / เมตตา) ตรงนี้ของมูลนิธิฉือจี้ ท่านธรรมาจารย์เจิ้นเหยียนพูดไว้น่าคิดทีเดียว "ไม่มีใครที่เราจะไม่รัก ไม่มีใครที่เราจะไม่ให้อภัย ไม่มีใครที่เราจะไม่ไว้วางใจ" ทำอย่างนี้ได้ ก็หลุด downloading สิ่งที่เราเคยด่วนตัดสินใครไป สิ่งที่เราเคยมีอคติ และสามารถเปิดหัวใจยอมรับใครก็ได้ กลายเป็นสังฆะ กัลยาณมิตรกันได้หมดทุกคนเลยทีเดียว
  • เราสามารถจะแก้ปัญหาคนไม่พูด ด้วยการใส่ใจใคร่ครวญเรื่องราวสำคัญรอบตัวเรา: เราจึงจะสามารถเห็นผลกระทบ ของการไม่พูด ของการนิ่งเฉยดูดาย ดังที่มีผู้กล่าว "การนิ่งดูดายเป็นบาป" (version ของฝรั่งก็มีครับ "All that is needed for evil to prevail is for good men to do nothing", Edmund Burke, 18th century British Statesman) หลายๆเรื่อง ถ้าเราให้เวลาใคร่ครวญ ไตร่ตรอง จนกระทั่งเห็นผลกระทบที่จะเกิดในวงกว้าง จะเกิดปรากฏการณ์ที่ว่า "ไม่ทำไม่ได้แล้ว ไม่พูดไม่ได้แล้ว I cannot not do this!!" 

สอง strategies แรก เป็นหน้าที่ขององค์กร อันสุดท้ายเป็นหน้าที่ของทุกคน เมื่อนั้น เราจะเริ่มเกิดวัฒนธรรมแห่งการ To say what we think ขึ้นมาได้

PS: To say what we think ไม่ได้หมายความว่า to say everything we think at anytime นะครับ diplomatic ก็สำคัญ คือ "การพูดเพื่อหวังผลสุดท้าย" ไม่ใช่พูดเพื่อแสดงว่าได้พูดแล้วเท่านั้น

หมายเลขบันทึก: 188473เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2008 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีตอนเช้าครับ ผมตามไปอ่านแล้ว 4-Barriers น่าสนใจมากจะนำมาใช้พิจารณาตนเองครับ

ขอบคุณครับคุณเอกราช มา comment ตังแต่ยังเขียนไม่จบเลย (แหะๆ) เหลืออีกสองตอนครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท