ดื้อแพ่ง (Civil Disobedience)


อารยะขัดขืน กับ Civil Disobedience และความสับสน (ตอนที่1)
ทัศนะวิจารณ์ : สุรกิจ ปัญจวีณิน กรุงเทพธุรกิจ วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2549
ที่มา http://www.nidambe11.net/ekonomiz/2006q2/2006april18p5.htm 

จากการที่มีปรากฏการณ์การต่อสู้ ของกลุ่มที่ต่อต้านรักษาการนายกทักษิณ และกลุ่มสนับสนุนทักษิณ ที่ก่อให้สังคมไทย ที่เมื่อไม่เกิน 12 เดือนก่อนหน้านี้ ยังเป็นสังคมที่ไม่มีความเห็นแตกต่างทางการเมือง ที่เป็นขั้วเด่นชัด และก่อให้เกิดบรรยากาศอึมครึมทางการเมือง ดังเช่นทุกวันนี้ สืบเนื่องมาจากการเคลื่อนไหว ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

ที่ได้พยายามสร้างแนวร่วมและมีการประท้วงความชอบธรรมของนายกรัฐมนตรี จนผลักดันให้นายกรัฐมนตรี ต้องแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ด้วยการยุบสภา และนำไปสู่การเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 2 เมษายน 2549 ที่อาจจะเรียกได้ว่ามีปัญหา มากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ประชาธิปไตยไทย และท้ายสุดยังนำไปสู่การประกาศการเว้นวรรคทางการเมือง เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2549 โดยการไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังการเลือกตั้งครั้งนี้

สิ่งที่มีการกล่าวถึงกันมากก็คือแนวคิดที่เรียกว่า Civil Disobedience ซึ่งมีศัพท์ในภาษาไทยที่แปลออกมาอยู่หลายคำด้วยกัน แต่หนึ่งในนั้นคือคำที่เรียกว่า “อารยะขัดขืน” แต่คำที่คนไทยรู้จักกันมานานที่มีความหมายเป็นความหมายที่แคบมากของ civil disobedience คือ คำว่า “ดื้อแพ่ง” แม้จะเป็นคำที่เข้าใจง่ายและเป็นภาษาที่ชาวบ้านนั้นรู้จักดี แต่คำว่า “ดื้อแพ่ง” นั้นหาได้สะท้อนความหมายที่แท้จริงของคำว่า civil disobedience ได้ทั้งหมด เพราะการดื้ออาญา ก็ถือได้ว่า เป็น Civil Disobedience ได้เหมือนกัน

ในขณะเดียวกันการดื้อแพ่งนั้น ฟังดูเป็นความหมายที่ออกมาในเชิงลบมากกว่าบวกของผู้ที่กระทำการ และเปรียบเสมือนว่าผู้ที่ทำการดื้อแพ่งนั้นเป็นพวกไม่เคารพและไม่สนใจจะปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมือง แต่โดยเนื้อแท้แล้วผู้ที่ปฏิบัติการ Civil Disobedience หรือ อารยะขัดขืนนั้นมีหัวใจที่เป็นธรรม ในการธำรงไว้ซึ่งหลักความยุติธรรมของกฎหมายเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อมองเห็นว่าพฤติกรรม นโยบาย หรือกฎหมายบางอย่างของรัฐนั้นไม่เป็นธรรม ก็จะไม่ยอมก้มหัวให้กับกฎหมายที่ไม่เป็นธรรมนั้น เพราะยังมีหลักการที่เหนือกว่ากฎหมายที่มนุษย์ด้วยกันสร้างขึ้น นั่นคือหลักกฎหมายของพระผู้เป็นเจ้าหรือหลักธรรมสากล โดยรากศัพท์ของคำว่า Civil disobedience แล้วนั้น จะมีนัยของความเป็นอารยะอยู่แล้วขึ้นอยู่กับว่าจะมีการแปลคำว่า Civil ว่าอย่างไร

มีนักวิชาการท่านหนึ่ง นามว่า คริสเตียน เบย์ (Christian Bay) ได้พยายามแยกความหมายของคำนี้ ออกมาว่ามีความหมายถึง 5 ความหมาย เป็นอย่างน้อย กล่าวคือ ความเป็นอารยะ การเป็นพลเรือน (ไม่ใช่ทหาร) การเป็นเรื่องทางแพ่ง (ที่ไม่ใช่อาญา) การเป็นประชาชนที่ดี (เช่นใน Civil society) หรือเป็นเรื่องที่มีผลกระทบวงกว้าง เช่น สงครามกลางเมือง (civil war) เป็นต้น

จากการที่ได้ติดตามการชุมนุมของกลุ่มต่อต้านที่ไม่สนับสนุนนายกทักษิณ และการกล่าวอ้างว่าผู้ประท้วงได้ใช้แนวทางอารยะขัดขืน และหลักการอหิงสาของท่าน มหาตมะ คานธีเป็นที่ตั้งนั้น ดูเหมือนว่าจะยังมีความสับสนระหว่างการต่อสู้โดยปราศจากความรุนแรง และอารยะขัดขืน (Civil disobedience)

ผู้ที่ติดตามงานของ จอห์น รอลส์ (John Rawls) ปราชญ์ทางนิติปรัชญานามอุโฆษผู้หนึ่ง คงจะได้ทราบว่า รอลส์นิยามความหมายของ Civil disobedience ไว้ว่าเป็น “การกระทำที่เป็นสาธารณะ ปราศจากความรุนแรง เปี่ยมด้วยจิตสำนึก แต่มีนัยทางการเมือง และขณะเดียวกันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมือง โดยมีเป้าหมายเพื่อการเปลี่ยนแปลงในกฎหมาย หรือนโยบายของรัฐอย่างใดอย่างหนึ่ง

แนวคิดหลักของตามนิยามอารยะขัดขืนของ รอลส์ จะเห็นได้ว่ามีคุณสมบัติสำคัญ 7 ประการกล่าวคือ

1. เป็นการกระทำที่ละเมิดกฎหมาย หรือตั้งใจที่จะละเมิดกฎหมาย
2. ในแนวทางที่ปราศจากความรุนแรง
3. เป็นการกระทำที่เปิดเผย เป็นสาธารณะและประกาศให้รัฐทราบล่วงหน้า
4. มีความเต็มใจที่จะรับโทษทางกฎหมายของการกระทำผิดกฎหมาย
5. มีเป้าหมายในการเปลี่ยนแปลงนโยบาย กฎหมาย กฎระเบียบของรัฐเพื่อให้เป็นธรรมมากขึ้น
6. มุ่งที่จะก่อให้เกิดสำนึกแห่งความยุติธรรมที่แท้จริงต่อคนส่วนใหญ่ในสังคม ซึ่งอาจจะมองข้ามหรือเข้าใจความยุติธรรมที่แท้จริงผิดแปลกไป
7. มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรมซึ่งโดยหลักแล้วเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายและสถาบันทางสังคม

ดังนั้นความเป็นอารยะของการดำเนินการ Civil disobedience เป็นเรื่องของการกระทำที่ปราศจากความรุนแรง ทั้งต่อตนเองและต่อผู้อื่น (ดูข้อที่ 2) และหากมาพิจารณาดูแนวทางที่ผ่านมาของการต่อสู้เรียกร้อง ของฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่อ้างแนวทางอารยะขัดขืนก็จะเห็นได้ว่าไม่มีการจับเอาอาวุธหรือใช้ความรุนแรง ที่ดูนอกเหนือไปบ้างก็อาจจะเป็นการกระทบกระทั่งด้วยคำพูดที่บางครั้งอาจจะดูก้าวร้าวและเกินเลยไปบ้าง

แต่ความรุนแรงทางกายภาพนั้นมีน้อยมาก เพราะในทางปฏิบัติเป็นเรื่องที่ยากมากๆ ในการจะควบคุมกลุ่มคนเรือนแสน ที่มาจากปูมหลังที่หลากหลาย และแตกต่างกันมากให้ดำเนินการประท้วงในรูปแบบที่กำหนดได้อย่างเคร่งครัดและเป็นระบบ โดยเป้าหมายร่วมที่คนเหล่านี้ต้องการคือสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้กับพฤติกรรมของผู้นำของประเทศ ที่เขาเห็นว่าไม่มีความชอบธรรมพอและต้องการเห็นบุคคลสาธารณะผู้นั้นต้องเว้นวรรคทางการเมือง เพื่อที่กลไกของการตรวจสอบพฤติกรรมของบุคคลผู้นั้น และกลุ่มพวกพ้อง ได้มีพื้นที่ที่เปิดเพียงพอต่อการที่จะมีโอกาส ขับเคลื่อนกลไกเหล่าให้มีสัมฤทธิผลขึ้นมาได้บ้าง

อารยะขัดขืน (Civil disobedience) นั้นมิได้เป็นของใหม่ แต่มีมาตั้งแต่สมัยก่อนคริสตกาล ตั้งแต่ก่อนสมัยมหาปราชญ์กรีก โสกราติส (Socrates) โดยตัวท่านเองได้ประท้วงกฎหมาย ของกรีกที่ห้ามสอนให้เยาวชนตั้งคำถามทางปรัชญา ด้วยการสอนปรัญชาให้กับเยาวชนกรีกเพื่อตั้งคำถามต่างๆ ที่น่าจะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์มากที่สุด และในที่สุดก็ถูกตัดสินให้ได้รับการลงโทษโดยการดื่มยาพิษ ซึ่งท่านเองก็ยินดี

การที่ท่านไม่ยอมที่จะหยุดสอนทั้งๆ ที่รู้ทั้งรู้ว่าท่านทำผิดกฎหมายซึ่งในความเห็นของท่านเป็นกฎหมายที่ขาดความชอบธรรม และขัดต่อการใช้เสรีภาพทางความคิดของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยของกรีก แต่ท่านยอมรับบทลงโทษของรัฐ และการใช้อำนาจทางกฎหมายของรัฐด้วยความยินดี และนี่คือหัวใจของการทำอารยะขัดขืน

ผู้ที่ทำผิดนั้นทำผิดกฎหมายเพื่อเรียกร้องให้เกิดการเปลี่ยนแปลง แต่ก็ยังยอมรับผลการกระทำผิดของตนโดยเต็มใจ ซึ่งต่างจากพวกโจรผู้ร้ายที่ทำผิดกฎหมายบ้านเมือง แต่ไม่ยอมให้รัฐจับกุมและไม่ยินดีให้รัฐลงโทษตนตามกฎหมายโดยดี การฉีกบัตรเลือกตั้งของผู้ลงคะแนนบางท่าน และยอมให้จับกุมโดยดีก็เป็นการทำอารยะขัดขืนตามหลักการนี้นั่นเอง

รูปแบบของอารยะขัดขืนมีวิวัฒนาการเรื่อยมา ตั้งแต่สมัยกรีกโบราณ เรื่อยมาจนถึง เฮนรี่ เดวิท ธอโร (Henry David Thoreau) ที่ยอมเข้าคุกเพราะไม่เห็นชอบกับรัฐบาลสหรัฐที่จะทำสงครามกับเม็กซิโก และการเก็บภาษี Poll Tax มาถึงการนำแนวทางของอารยะขัดขืน มาปรับเป็นหลักการ สัตยาเคราะห์ (Satyagraha) ของ มหาตมะ คานธี ที่ใช้ขับไล่จักรวรรดินิยมอังกฤษที่ครอบครองอินเดียมากว่า 400 ปี จนต้องยอมคืนเอกราชให้กับอินเดีย

มาถึงการต่อสู้เรียกร้องตามแนวของนักเคลื่อนไหวที่ได้รับรางวัลโนเบล อย่าง มาร์ติน ลูเธอร์ คิงจูเนียร์ ที่ใช้แนวทางอารยะขัดขืนสร้างความชอบธรรมเพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับชาวผิวดำในสหรัฐ ในช่วงทศวรรษ 60 โดยผู้นำที่ประกาศใช้แนวทางของอารยะขัดขืนต่างมีจุดยืนของความเป็นอารยะที่จะไม่ใช้ความรุนแรง (ซึ่งคงต้องแล้วแต่ว่าจะนิยาม “ความไม่รุนแรง” กันอย่างไร) และต่างเคารพ ต่อบทลงโทษของกฎหมายบ้านเมืองเสมอเมื่อใดก็ตาม ที่ตนได้กระทำการใดๆ ที่ผิดต่อกฎหมายบ้านเมือง

นอกจากนั้น การทำอารยะขัดขืนยังเป็นการกระทำที่ต้องไม่มีจิตใจที่ทำการต่อต้านด้วยความโกรธแค้น หรืออาฆาตมาดร้ายต่อผู้ที่ตนต่อต้าน เปรียบดังเพื่อนที่จะสอนเพื่อนในยามที่เห็นเพื่อนทำไม่ถูกไม่ต้อง แต่เมื่อเห็นว่าพฤติกรรมหรือกฎหมายที่มาจากผู้ที่ตนต่อต้านนั้นขาดความชอบธรรม ก็พยายามที่จะใช้วิถีแห่งความเป็นอารยะนั้นเตือนว่าสิ่งที่ไม่เป็นธรรมหรือชอบธรรมเหล่านั้นควรได้รับการแก้ไขเยียวยา และต้องได้รับการแก้ไขปรับปรุง ไม่ใช่จะมาอ้างความชอบธรรมกันตามอำนาจของกฎหมายบ้านเมืองหรืออำนาจทางการเมือง (ซึ่งสองอย่างนี้มักจะผูกติดกันไปอยู่แล้ว)


อารยะขัดขืนกับ Civil Disobedience และความสับสน (จบ)
ทัศนะวิจารณ์ : สุรกิจ ปัญจวีณิน กรุงเทพธุรกิจ วันพฤหัสบดีที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2549

คงต้องยอมรับว่า การทำอารยะขัดขืนนั้น เป็นการกระทำหรือการเคลื่อนไหวของผู้ที่มีสติปัญญา และเป็นผู้ที่ต้องการให้สังคม มีความเป็นธรรมมากขึ้น เมื่อใดก็ตามหลักกฎเกณฑ์และกฎหมาย มิอาจให้ความเป็นธรรม หรือเป็นที่ยอมรับแก่คนกลุ่มน้อยในสังคมได้ ตามช่องทางที่เป็นทางการที่มีอยู่ ก็จำเป็นต้องออกมาเรียกร้องความเป็นธรรม โดยผ่านช่องทางที่ไม่ปกติ (เช่น แนวทางที่ทางเครือข่ายพันธมิตรฯ ดำเนินการอยู่) แต่เพราะความเป็น “อารยะ” ของคนที่มาเรียกร้องเหล่านั้นจึงไม่ใช้วิถีทางแห่งความรุนแรงในการแก้ปัญหา

ตอนนี้กลุ่มคนที่ไม่ยอมรับนายกฯทักษิณ ก็เห็นว่าคุณธรรมและความชอบธรรมของผู้นำมีปัญหา แต่กระบวนการในการดำเนินการเรียกร้องตามกรอบรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รวมทั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญตามช่องทางปกตินั้น มิอาจจะสร้างความชอบธรรมได้ ภายใต้สถานการณ์เช่นนี้คนกลุ่มนี้จึงเห็นว่าก่อให้เกิดความชอบธรรมของการใช้อารยะขัดขืนขึ้น

ความชอบธรรมของอารยะขัดขืนนั้น เป็นเรื่องที่คนในระบอบเสรีประชาธิปไตยต้องตระหนักว่า ไม่ว่าระบอบประชาธิปไตยในประเทศใดก็ตาม แม้แต่ในประเทศแม่แบบหลักของประชาธิปไตย เช่น สหรัฐอเมริกา และเป็นประเทศที่ จอห์น รอลส์ เรียกว่าเป็นสังคมประชาธิปไตยที่เกือบจะสมบูรณ์ (Near just society) ก็ยังมีตัวอย่างที่พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่า เสียงส่วนใหญ่ที่ไม่ให้ความเคารพต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของเสียงส่วนน้อยก็ยังผิดได้ จนก่อให้เกิดเหตุการณ์อันยิ่งใหญ่ที่เปลี่ยนแปลงสิทธิของคนผิวดำในสหรัฐ มาแล้วผ่านทางกระบวนการที่เรียกว่า “อารยะขัดขืน” (Civil Disobedience) นั่นเอง

ในสังคมประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ทุกอย่างมิได้ถูกตัดสินกันด้วยเสียงข้างมากเสมอไปเท่านั้น แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ก่อให้เกิดความชอบธรรม นั่นคือ การเคารพและไม่ละเมิดสิทธิพื้นฐานของชนกลุ่มน้อย การมีกลไกที่สอบทานและคานอำนาจในทุกๆ ระดับของการใช้อำนาจ (Checks and balances) อย่างโปร่งใส เที่ยงธรรม และสุจริต ผู้ที่เข้าใจระบบประชาธิปไตยก็คงจะเข้าใจอย่างชัดเจนว่าที่เรียกว่า “เสียงข้างมาก” นั้น เป็นแค่วิธีการอย่างหนึ่ง (Means) มิใช่เป้าหมายสุดท้าย (End) ของระบอบประชาธิปไตย

ฉะนั้นการได้เสียงข้างมากในกระบวนการที่ไม่โปร่งใส หรือผู้ที่ลงคะแนนมิได้มีการลงคะแนนอย่างบริสุทธิ์ หรือลงคะแนนโดยถูกหลอกลวง ก็เป็นเพียงเสียงข้างมากที่ไปปล้นเขามาหรือโกงเขามา การจะมาอ้างความชอบธรรม ของเสียงข้างมากก็ย่อมที่จะกล่าวอ้างได้ยาก สิ่งสำคัญคือเสียงข้างมากย่อมไม่ทำการใดๆ อันเป็นการไม่เคารพสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของเสียงข้างน้อย จึงจะเป็นหลักประกัน ของระบอบเสรีประชาธิปไตยที่ยั่งยืนได้

หลายครั้งหลายหนเราจะคุ้นเคยกับการแก้ไขปัญหาด้วยความรุนแรง เพราะเมื่อเหตุผลคุยกันไม่รู้เรื่อง ก็มักจะลงเอยด้วยความรุนแรง และความรุนแรงนั้นมักจะมาจากฝ่ายที่มีอำนาจเหนือกว่า ฉะนั้นเมื่อมีการใช้อารยะขัดขืน จึงไม่เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจว่า ทำไมจึงมีคนจำนวนไม่น้อยเรียกร้องให้ดำเนินการตามกฎหมายโดยเด็ดขาด กับกลุ่มคนที่ออกมาเรียกร้องความเป็นธรรมและความรับผิดชอบของผู้นำ

สังคมไทยอาจจะไม่เคยชินกับการใช้แนวทางอารยะขัดขืน แต่หากวันใดอารยะขัดขืนได้ฝังรากลึกในสังคมประชาธิปไตยไทย ก็จะเป็นเสมือนวาล์วนิรภัยที่ช่วยลดแรงกดดันในระบบ และจะเป็นเครื่องเสริมให้ระบอบประชาธิปไตยนั้นพัฒนาได้อย่างยั่งยืนขึ้น โดยมิต้องหันมาสู่กระบวนการที่ใช้ความรุนแรง อารยะขัดขืนไม่ใช่การใช้กฎหมู่อยู่เหนือกฎหมาย แต่เป็นการใช้จิตสำนึกของความชอบธรรมหมู่ เพื่อพยายามเยียวยาปัญหาของความไม่ชอบธรรมที่ถูกกฎหมาย

ผู้กระทำการอารยะขัดขืนที่เข้าใจในหลักการของอารยะขัดขืนที่แท้จริง จะต้องยินดี และเต็มใจที่จะยอมรับบทลงโทษของรัฐตามกฎหมาย หรือยอมที่จะจ่ายต้นทุนส่วนตัวในราคาที่แพง เพื่อประโยชน์ส่วนรวมที่ตนได้มีส่วนร่วมเสียสละเรียกร้อง

การเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ ที่เข้ามาใช้วิถีทางแห่งอารยะขัดขืนในครั้งนี้ หากสามารถที่จะแสดงให้สังคม เห็นถึงความเป็นอารยะในการขัดขืน ต่อการใช้อำนาจ หรือการครองอำนาจรัฐที่ไม่ชอบธรรมได้อย่างแท้จริงแล้ว ก็น่าจะเป็นบรรทัดฐานใหม่ของระบอบประชาธิปไตยไทยที่พลังของมวลชนนอกระบบที่ไม่เป็นทางการได้สร้างขึ้น

และไม่ว่าข้อเรียกร้องต่างๆ ของเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะสัมฤทธิผลตามเป้าหมายหรือไม่ก็ตาม ก็น่าจะเป็นบทพิสูจน์การพัฒนาของระบอบประชาธิปไตยไทยที่สูงขึ้นไปอีกระดับหนึ่งแล้ว

การต่อสู้เรียกร้องครั้งนี้ คงไม่ใช่เสียงเรียกร้องที่จะล้มล้างระบอบเสรีประชาธิปไตยไทยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ให้ถดถอยไปสู่ระบอบคณาธิปไตยของอภิสิทธิ์ชนเมือง และทุนนิยมด้อยพัฒนา ตามที่นักวิจารณ์บางท่านได้กล่าวอ้างไว้ แต่แน่นอนอาจจะมีส่วนทำให้การเดินหน้าเต็มสูบที่จะทำให้รัฐไทยเป็นรัฐทุนนิยมโลกาภิวัตน์อย่างเต็มรูปแบบ (หรืออย่างบ้าคลั่ง) ทั้งๆ ที่หลายๆ ส่วน และประชาชนส่วนใหญ่ยังอ่อนแอและไม่พร้อมที่จะต่อสู้กับทุนนิยมโลกสะดุดหยุดลงบ้าง

แต่หากจะประเมินผลได้ผลเสียจริงๆ แล้วคงต้องมาดูว่าหากเราไม่เอาทุนนิยมโลกาภิวัตน์เต็มรูปแบบ แต่ดำเนินแนวทางการพัฒนาประเทศ ตามกระแสพระราชดำริตามแนวทางเศรษฐกิจแบบพอเพียง ผู้ที่ได้รับผลกระทบเชิงลบจากการไม่เดินเครื่องเต็มสูบ เพื่อทำรัฐไทยให้เป็นรัฐทุนนิยมโลกาภิวัตน์เต็มรูปแบบแล้วนั้น จะเป็นคนกลุ่มใดในระยะยาว ชนชั้นปกครองที่เป็นอภิสิทธิ์ชน ชนชั้นกลาง หรือประชาชนระดับรากหญ้า กันแน่

การพัฒนาในหลายๆ เรื่อง เป็นเรื่องที่บางครั้งเร่งเกินไปก็ไม่อาจจะทำได้ หรือทำไปแล้วจะมีผลเสียมากกว่าผลดี การที่จะพัฒนารัฐไทยให้เป็นรัฐโลกาภิวัตน์เต็มรูปแบบอย่างรวดเร็ว โดยปราศจากความพร้อมในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะในแง่การบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพของรัฐ ตลอดจนปัญหาความโปร่งใส ธรรมาภิบาลและตรวจสอบได้ในการดำเนินการในด้านต่างๆ ของทั้งภาครัฐและภาคเอกชน

บางทีการสร้างแนวทางอารยะขัดขืนที่แท้จริงในสังคมไทยอาจจะเป็นตัวช่วย ที่ทำให้เราเห็นคำตอบสุดท้ายว่าทิศทางของระบอบประชาธิปไตยไทยควรจะเดินไปในทิศทางใด

ตราบใดที่เรายังเห็นข้อที่ไม่เป็นธรรมหรือชอบธรรมในสังคมของเรา ที่ยังห่างจากสังคมที่เกือบจะเป็นธรรมในหลายๆ ประเทศที่มีพัฒนาการของระบอบประชาธิปไตยไปในขั้นสูงแล้ว ขอให้เราอย่าสับสนกับแนวคิดที่ว่าอารยะขัดขืน คือ จุดเริ่มต้นของความเป็นอนาธิปไตย หรือบิดเบือนว่าเป็นการเอากฎหมู่อยู่เหนือกฎหมายกันต่อไปอีกเลย

คำสำคัญ (Tags): #civil disobedience
หมายเลขบันทึก: 186205เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2008 19:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (25)

วันสิ่งแวดล้อมโลก : 5 มิถุนายน ของทุกปี

3331

  • สวัสดีค่ะ..พี่น้องท่านกวินคะ
  • เหอะๆ..ยาวมากเลยนะคะ...กว่าจะอ่านจบ...
  • ตอนนี้เค้าแบ่งเป็นกี่พรรคกี่พวกแล้วคะ...ตามไม่ทันแล้วค่ะ...ไม่อยากตามด้วย...แต่ก็ต้องตาม..เพราะนี่คือบ้านเมืองเรา...หุหุ...สี....สีเหลือง สีขาว ...อูย..พี่น้องคะ...ช่วงนี้ต้องจับตามองให้ดีๆ...

น้องกวิน ครับ

  • ดื้อแพ่ง ไม่เหมือน ดื้ออาญา นะครับ
  • อิอิ
  • แวะมากวน ๆ
  • สบายดีนะครับ

 

+ มาราตรีสวัสดิ์ค่ะท่านกวิน

+ หลับฝันดีนะค่ะ..

+ พรุ่งนี้ตื่นมา...จะมาอ่านเรื่องที่ท่านนำเสนอค่ะ

+ วันนี้จิตไม่สงบ...อ่านแล้วคงยากจะเข้าใจ..ไม่อยากอ่านผ่าน ๆ ค่ะ

สวัสดีครับ

แถวนี้มีแต่ดื้อยา กับดื้อตาเขียว

คุณ กวินทร ..ช่างสรรหามา..ได้ความรู้มากเลยครับ

  • ท่าน ผอ.ประจักษ์ สวัสดีครับขอบพระคุณสำหรับข่าวสารเกี่ยวกับวันสิ่งแวดล้อมโลกนะครับ
  • paula wara สวัสดีครับ ค่อยๆ อ่านนะครับ ผมก็ยังไม่ค่อยเข้าใจเหมือนกัน ก็เลยนำบทความนี้มา ลปรร.
  •  แอปเปิ้ลเขียว สวัสดีครับ ตกลงตั้ง นามปากกา ว่า แอปเปิ้ลเขียว  นะครับ เพราะดีจัง
  • คุณพี่ ครูโย่ง  ดื้อแพ่ง ดื้ออาญา ดื้อ วิ.แพ่ง ดื้อ วิ.อาญา ไม่เหมือนกัน  :)
  • สวัสดีครับคุณพี่คุณครูแม่น้อง แอมแปร์ มาอ่านอีกทีตอนใจสบายๆ นะครับ นึกเสียว่าเป็นเล็กเชอร์ วิชารัฐศาสตร์
  • สวัสดีครับอาจารย์ ธ.วั ช ชั ย ดื้อตาเขียว นี่สาวๆแถว นฐ. ใช่มั้ยครับ ล่ะครับ ส่วนดื้อยานี่ หมายถึงหนอน ชาวเขียวใช่มั้ยครับ
  • สวัสดีครับ ท่านพี่ คนโรงงาน  พอดีอ่าน อนุทินครูมิม เจอกลอนที่ครูมิมโพส แล้วเลยค้นๆ ศัพท์พวกนี้ดูเจอ บทความของอาจารย์ที่นิด้า เขียนไว้นี่ล่ะครับ เรื่องอารยะขัดขืน ผมเห็นว่ามีคนเขียนเป็นหนังสือไว้หลายเล่มหลายสำนวน   นี่ก็เป็น อีกสำนวนหนึ่งที่สรุป ใจความได้กระชับดี เลยนำมาโพส ไว้ ลปรร. ครับ
  • คุณกวินคะ
  • การดื้อแพ่งมาก ๆ นี่ก็ทำให้เกิดทุกข์นะคะ
  • มีบันทึกดี ๆ ค่ะ ลองอ่านนะคะ
  • ที่นี่ ค่ะ

+ สวัสดีค่ะ..ท่านกวิน

+ วันนี้เป็นอย่างไรบ้างค่ะ...กับการปฎิบัติภาระกิจ

+ มาชวนไปทานข้าวค่ำค่ะ

+ กินข้าวอิ่มแล้วก็มานอนนับดาวกันดีกว่า

+ คิดถึงค่ะ....

ขอบคุณคนไม่มีรากเดี๋ยวพรุ่งนี้ตาไปดูนะครับ

ขอบคุณครับคุณพี่คุณครูแอมแปร์ สบายดีครับ

แวะมาทักทายค่ะคุณกวิน

แล้วค่อยแวะมาอ่านทีหลังนะ ตอนนี้ตาลายแล้ว

ขอบคุณที่แวะไปส่งข่าวเรื่องน้องแพทนะคะ ^_^

  • ใบไม้ย้อนแสง ขอบคุณครับ
  • อนุโมทนาบุญด้วยสำหรับการไปปฏิบัติธรรม ที่ผ่านมานะครับ
  • มาส่งกำลังใจให้คุณกวิน
  • มีความสุขทุกวันนะคะ
  • (^__^)
  • มาอ่านรวดเดียวจบแล้วค่ะ คุณกวิน
  • ขอบคุณนะคะ ที่นำมาแบ่งปันกัน
  • อ่านแล้วเข้าใจแจ่มแจ้งขึ้น จากเดิมที่มีพื้นความรู้อยู่บ้าง แต่ไม่ชัดเจนเหมือนอย่างในบทความ
  • คิดเอาเองว่าเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ยังไม่ค่อยเข้าใจค่ะ เพราะว่ามักเอากฎหมายเป็นตัวตั้งอย่างเดียว แต่บางทีกฎหมายบางข้อก็ไม่เป็นธรรมนี่นา
  • ได้แต่หวังในใจว่าทุกคนจะใช้สติในการทำอะไรต่ออะไร รวมถึงตัวเองด้วย ^_^

 



"civil disobedience and the social contract" , John Rawls  

   1. Describe what Rawls means by justice as fairness ?

ดูตัวอย่างหนังสือเล่มนี้
ดื้อแพ่ง/อารยะขัดขืน/สัตยาเคราะห์/civil disobedience

คดี=คติ=คต= แปลว่าทาง

คติ =ไปแล้ว
คต
=การไป
สุคติ/สุคโต =
ไปแล้วดี/การไปดี


แพ่ง
=แพร่ง= แปลว่าทาง

แพ่ง
  น. แรง, กําลัง; ทาง, แพร่ง. ก. สร้าง; เพ่ง, ตรวจดู, พิจารณา. 
 ว. งาม, น่าดูมาก; (กฎ) ที่เกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน เช่นกฎหมาย
 แพ่ง คดีแพ่ง.

แพร่ง  [แพฺร่ง] น. ทางแยกทางบก. ก. แตกออก, แยกออก. 
 
คดีแพ่ง/คดีแพร่ง=(แนว)ทางทาง(จริยธรรมของประชาชน เพื่อให้เดินไปในทางเดียวกัน)

ดื้อแพ่ง=ดื้อ(ที่จะไม่เดินไปตาม)ทาง (เดินตามทางของตนเอง)

อารยขัดขืน? : ขัดขืนอะไร?- วิเคราะห์แล้วเป็นประโยคไม่สมบูรณ์ เพราะมีเพียง ประธาน+กริยา (ขาดผู้ถูกกระทำ)

อารยะ (ภาษาแขก)+ ขัดขืน (ภาษาไทย) เป็นการ ควงศัพท์ ที่ผิดไวยากรณ์
  • กระทู้นี้หลงหูหลงตาเลยตอบช้านะครับ
  • คนไม่มีราก สวัสดีครับขอบคุณนะครับสำหรับกำลังใจ เป็นกำลังใจให้ทำการบ้าน เสร็จไวๆ นะครับผม
  • ใบไม้ย้อนแสง สวัสดีครับคิดว่าคุณใบไม้ฯ คงกำลังทางอยู่และคงถึงที่หมายแล้วนะครับ กฎหมาย กลายหมด นึกถึงกลอนที่ผมแต่งไว้ได้บทหนึ่ง เดี่ญวเอามาโพสนะครับ ขอบคุณมากๆๆครับ

เรื่องยากๆ อ่านแล้วมึนอ่ะ ....ยาวอีกตะหาก ตาลาย

สั้นๆ เลย

อารยะขัดขืน = ดื้อด้าน รึป่าว ????

ประมาณนั้นล่ะครับคุณนัทธ์ เด็กดื้อคือเด็กฉลาด

ขออนุญาตกล่าวถึงและอ้างอิงถึงคุณกวิน ที่ คห ๒๖ ในบันทึกหัวข้อ ยายวง ผู้อยู่โดยใจสว่างในโลกมืด ของผมนะครับ

ดีครับที่นำขึ้นมาให้อ่านกันใหม่

อ่านแล้วก็อยู่ในธรรมเดียวกันกับสถานะการณ์ยามนั้นครับ

ขอบคุณอาจารย์ ดร.วิรัตน์ และอาจารย์ประดิษฐ์ อัตถาการ สวัสดีปีใหม่ครับ

สวัสดีปีใหม่ 2553 ค่ะ คุณกวิน

ขอให้เบิกบานในทุกวันของชีวิต

กายแข็งแรง ใจแข็งแกร่ง ปัญญางอกงาม 

ข้ามผ่านทุกบททดสอบที่เข้ามาท้าทาย..^__^..

อุ้ย..ลืมเล่าไปค่ะ..

อายุเริ่มมากแล้วก็เลยหลง ๆ ลืม ๆ ฮ่า ๆ

เมื่อเดือนที่แล้วไปพบทีมพยาบาลจากโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ในการอบรมค่ะ เลยได้ถามถึงคุณกวิน แต่ไม่มีใครรู้จัก เขาก็ถามว่าอยู่แผนกไหน ใบไม้ฯ ก็ตอบบ่ได้ แหะ ๆ

ใบไม้ฯ ก็เพิ่งค่ะทราบว่าโรงพยาบาลนี้ใหญ่มาก เลยไม่ได้ฝากความระลึกไปให้คุณกวิน 

เล่าให้ฟังค่ะ ขอส่งความระลึกถึงคุณกวินผ่านบันทึกนี้แทนก็แล้วกันค่ะ

ถึงไม่ได้แลกเปลี่ยนเขียนคุยกันเหมือนก่อน แต่ก็ยังระลึกถึงอยู่นะคะ...^__^...

สวัสดีครับ คุณ ใบไม้ย้อนแสง ที่ รพ มีหลายแผนกน่ะครับ จนท ตัวเล็กๆ แบบกวินจะไปมีใครมานั่งจดจำ หนอ กวินอยู่ ศูนย์แพทย์ อาคารสาม ชั้นเจ็ด ทำงานสายการศึกษา เป็นนักวิชาเกิน เอ้ยวิชาการ ครับ ตอนนี้มีหน้าที่รอง ในการหลอกเด็ก นศพ (นศพ ย่อมาจาก นักศึกษาพานิช เอ้ยนักศึกษาแพทย์) ให้เข้าประชุม จริยธรรมทางการแพทย์ หน้าที่หลักก็คือ ทำงานฝ่ายทะเบียนและวัดผล ตัดเกรด ทำกิจกรรม ต่างๆ ที่เกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอน อะไรพวกนี้น่ะครับ ส่งเมลไปหลังไมค์ ฝากเบอร์มือถือกวินไว้ด้วยเผื่อมา นว ถ้ามีอะไรให้ช่วยก็บอกนะครับ (ยกเว้นเรื่องเงิน) คิคิ พูดตลกให้หายเครียดน่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท