o ปุจฉา
ร้านหนังสือที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ
ร้านอะไร
o
วิสัชชนา ขอนั่งยัน นอนยัน เลยว่า
ผมไม่ทราบ เอาเท่าที่ผมพอรู้น่าจะเป็น Barnes & Noble Inc. จากรายงานทางการเงิน แจ้งว่า เมื่อปี
มียอดขายอยู่ที่ 4,873,595 x 1,000 ดอลล่าร์
แต่ที่น่าสนใจกว่าบริษัทนี้ ก็คือ บริษัท ซีเอ็ด
ของไทยครับ
o
ปุจฉา ทำไม ซี เอ็ด ถึงน่าสนใจกว่า
o วิสัชชนา ผมวิเคราะห์เฉพาะอัตราส่วนจากงบการเงินนะครับ ในปี 2004 บริษัท ซีเอ็ด มีผลกำไรสุทธิ ประมาณ
5 %ในขณะที่ Barnes มีผลกำไรสุทธิประมาณ 2.5 % โดยที่กำไรขั้นต้นประมาณ
30 %เท่ากัน น่าสนใจไหมครับว่า ซีเอ็ด
ทำอย่างไรจึงมีผลกำไรสุทธิมากกว่ายักษ์ใหญ่ (ขออภัย
ผมหางบการเงินของบริษัทอื่นมาไม่ได้ครับ
อาจจะมีบริษัทอื่นที่มีผลกำไรสุทธิมากกว่านี้ก็ได้
แต่ยกมาพอให้เห็นสภาพทั่วไปในธุรกิจนี้ครับ)
o ปุจฉา
ทำร้าน ขายหนังสืออย่างไรไม่ให้ขาดทุน ?
o
วิสัชชนา ตอบแบบกำปั้นทุบดิน
ครับว่า
ทำให้กำไรสุทธิไม่ต่ำกว่ามาตรฐานของอุตสาหกรรม
ในที่นี้ผมใช้ตัวเลขระหว่างยักษ์เทศ และยักษ์ไทย มาหารกัน
น่าจะอยู่ประมาณ 3.75 %
แต่ถ้าสามารถลดค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการได้อีก
ก็น่าจะได้มากกว่านี้ครับ แต่ถ้าหากได้กำไรขั้นต้น ไม่ถึง
ก็ต้องคิดก่อนทำให้หนัก อย่าประมาท
ยกเว้นมีนายทุนใจดี ประเภประเภทที่ไม่อยากได้เงินคืน
ก็แล้วไป
o
ปุจฉา
ต้องการทำร้านหนังสือขนาดเล็ก เพราะมีเงินทุนน้อย
แต่กลัวว่าทำแล้วจะสู้ร้านขนาดใหญ่ไม่ได้ ?
o
วิสัชชนา
คุณเคยเดินเข้าร้านหนังสือต่าง ๆ ที่ดัง ๆ
น่ะ คุณรู้สึกอย่างไร หลายแห่ง
ผมรู้สึกวังเวง ในสายตาของพนักงานขาย
คุณค่าของหนังสือที่วางเป็นเพียงสินค้าเพื่อแลกเงินตราเท่านั้น
แต่ในความรู้สึกของคนอ่านหนังสือทุกคน
หนังสือมีชีวิตจิตใจครับ
ถ้าคุณทำร้านหนังสือที่มีชีวิตได้
เคล็ดลับของร้านหนังสือมีชีวิตก็คือ
พนักงานในร้านต้องมีชีวิตจิตใจ ต้องรักหนังสือครับ
ภาษาการตลาดเรียกว่า สร้าง Differentiate
เท่านี้ก็จะเป็นจุดขายของร้านได้แล้วครับ