Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

จุดเริ่มของการวิจัยในชั้นเรียน


การวิจัยในชั้นเรียน อาจเริ่มโดยการที่อาจารย์ดำเนินการเกี่ยวกับการเรียนการสอนดังต่อไปนี้

$          สร้างคำถามเกี่ยวกับการเรียนรู้ของนักศึกษาในชั้นในสิ่งที่สำคัญต่อการเรียนรู้

$          ใช้คำถามง่ายๆ แต่เป็นจริง เน้นที่ประสบการณ์ของอาจารย์ในการทำนายคำตอบ

$          ศึกษาหาความรู้ให้ตนเองในสิ่งที่ต้องการศึกษา ค่อยเป็นค่อยไป หรือใช้กลุ่มในการช่วยและแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

$          แปลงคำถามให้เป็นคำถามเชิงวิจัยว่าต้องการทราบอะไร

$          ทำงานเป็นกลุ่มอาจมีการตั้งกลุ่มนักวิจัยในชั้นเรียนเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประสบการณ์ และอื่นๆ

$          พิจารณาให้ถี่ถ้วนว่านักศึกษาจะได้ประโยชน์อย่างไรจากการวิจัย จะให้เด็กเข้าร่วมในการวิจัยอย่างไร อะไรเป็นสิ่งที่เปราะบางต่อความสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์และนักศึกษา

$          พิจารณาตัดสินใจว่า จะศึกษาหัวข้อที่ยกขึ้นมาอย่างไร ควรหลีกเลี่ยงการที่ต้องสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล เพราะข้อมูลที่ต้องการมีอยู่แล้ว นอกจากจำเป็นจริงๆ และหลีกเลี่ยงการเก็บข้อมูลที่ไม่แน่ใจว่าจะใช้หรือไม่ หรือโดยปราศจากวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน

$          ทำการศึกษานำร่องจากตนเองและเพื่อนอาจารย์

$          ประมาณระยะเวลาที่เด็กต้องใช้ในการให้ข้อมูล และเวลาที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล

$          เขียนบันทึกถึงสิ่งที่ทำในการวิจัย การเรียนรู้และการเรียนการสอนที่เกิดขึ้น

 

ขอบเขตของคำถามที่เป็นไปได้ที่จะทำวิจัยในชั้นเรียน

           เมื่อพิจารณาถึงบริบทในการเรียนการสอนในโรงเรียนแล้ว การวิจัยในชั้นเรียนอาจเกี่ยวข้องกับคำถามในประเด็นต่อไปนี้

&           วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ

&           ตัวอาจารย์

&           ตัวนักศึกษา

&           สื่อการเรียนการสอน

&           หลักสูตร

&           ภูมิหลังทางครอบครัว

&           บริบทด้านครอบครัว

&           บริบทในมหาวิทยาลัย

&           การวัดและประเมินผลการเรียนการสอนในบริบทต่างๆ

&           ผลการดำเนินงานโครงการหรือกิจกรรมต่างๆที่จัดขึ้นในและนอกมหาวิทยาลัย

            ( เน้นการประเมิน )

 

ตัวอย่างคำถามเชิงวิจัย

@   ที่นี่มีอะไรเกิดขึ้นบ้าง

@   นักศึกษาเรียนได้ดีเพียงใด และเรียนอย่างไร

@   มีนักศึกษากี่คนที่ไม่เข้าใจแนวคิดทฤษฎีนี้

@   ระดับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเรื่อง……ของนักศึกษาเป็นอย่างไร

@   นักศึกษามีความสามารถในการวิเคราะห์ วิจารณ์ในระดับใด

@   นักศึกษาใช้เวลาเท่าใดในการเรียน และเรียนรู้ได้ดีเท่าใดเมื่อเปรียบเทียบกับเวลาที่ใช้

@   จะสร้างการเรียนรู้แบบปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนได้อย่างไร

@   การออกมารายงานหน้าห้องหรือการอ่านเงียบๆ จะมีผลต่อการเรียนรู้มากกว่ากัน

@   นักศึกษามีลักษณะในการเรียนรู้ของตนเองอย่างไร

@   ทำอย่างไรจะสร้างความคิดเชิงวิพากษ์วิจารณ์และการทำความกระจ่างกับปัญหาในตัวนักศึกษา

@   ประเภทของกิจกรรมมีผลต่อการเรียนรู้อย่างไร

@   ถ้าให้นักศึกษาได้ฟังเนื้อหาที่หลากหลาย  นักศึกษาจะมีพัฒนาการในการฟังดีขึ้นหรือไม่

@   สิ่งใดมีผลต่อการเรียนรู้มากกว่ากัน การเรียนกฎเกณฑ์ก่อน หรือให้ศึกษาจากตัวอย่างก่อน

@   ทำอย่างไรจะควบคุมนักศึกษาที่ชอบทำความวุ่นวายในชั้นเรียนได้

@   มีความสัมพันธ์กันหรือไม่ระหว่างพัฒนาการของนักศึกษากับคำถามที่อาจารย์ใช้

@   จะวัดความรู้พื้นฐานและทัศนคติของนักศึกษาในวิชาที่สอนอย่างไร

@   จะสร้างเครื่องมือวัดและประเมินผลที่มีคุณภาพได้อย่างไร

 

ตัวอย่างประเด็นที่สามารถศึกษา 

      J   จุดแข็งและจุดอ่อนของการสอนหลายๆ ด้าน

J   จุดแข็งและจุดอ่อนของการเรียนรู้ของนักศึกษา

J   วิธีการบรรยายและการสอนของอาจารย์           

J  การให้อ่านหนังสือเพิ่มเติมประกอบการเรียน

J   การทดลองในห้องปฏิบัติการ

J    การให้เหตุผลเชิงโมเดล

J   การใช้ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์

J   การศึกษาความรู้เดิมของนักศึกษาและสิ่งที่ได้จากประสบการณ์

J   ศึกษาการอภิปรายกลุ่มและผลจากการขัดแย้งกันทางความคิดเห็นระหว่างสมาชิกกลุ่ม

J   เปรียบเทียบรูปแบบต่างๆของคำพูดในการอภิปรายของนักศึกษา และรูปแบบที่มีและไม่มีอาจารย์เป็นผู้นำอภิปราย

J   ศึกษาวิธีการที่อาจารย์และนักศึกษาช่วยกันปรับปรุงหนังสือเรียน

J   การใช้คำถามของอาจารย์

J   การแก้ไขความผิดพลาดของนักศึกษา

J    ผลของการคิดเชิงวิเคราะห์วิจารณ์ที่มีต่อการเรียนรู้ของนักศึกษา ถามคำถามว่าเขา ได้เรียนรู้อะไร ค้นหาวิธีใหม่ๆในการแก้ปัญหาอย่างไร

J   การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ การวิเคราะห์คำพูด การวิเคราะห์ส่วนของคำพูด

J   ความสามารถในการสร้างองค์ความรู้เองของนักศึกษา โดยการใช้เกมส์และคำถาม

J   รูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษากลุ่มที่เรียนดีว่ามีรูปแบบอย่างไร

 

บทสรุปการวิจัยในชั้นเรียน

                การที่อาจารย์ จะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์มืออาชีพ  หรือผู้ประกอบวิชาชีพครูซึ่งถือว่าเป็นวิชาชีพชั้นสูงที่สำคัญของสังคมนั้น อาจารย์จำเป็นจะต้องมีการพัฒนาตนเองในด้านต่างๆและงานในหน้าที่ของตนให้มีความก้าวหน้าอยู่เสมอ ทั้งปัจจัยในการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ หรือคุณลักษณะของผู้เรียนหรือเรียกว่า ผลผลิตของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยที่อาจารย์จะต้องทำการศึกษาค้นคว้าวิจัยอย่างเป็นระบบ ตามวิธีวิจัยทางวิทยาศาสตร์อย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยอาศัยหลักวิชาการ คือ "การวิจัยในชั้นเรียน" เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญในการพัฒนางานด้านการเรียนการสอน โดยเน้นสาระความรู้ที่เป็นประโยชน์ในการเข้าใจสภาพปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา ตลอดจนนวัตกรรมในการพัฒนาการเรียนการสอนตามสภาพที่เป็นจริงในกระบวนการของการพัฒนางาน  ซึ่งอาจารย์ผู้วิจัยสามารถเริ่มต้นที่การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนของตน แล้วศึกษาค้นคว้าและแสวงหาวิธีการหรือเครื่องมือใหม่ ที่คิดว่าสามารถแก้ปัญหาได้หรือสร้าง "นวัตกรรม" การเรียนการสอน แล้วทดลองใช้นวัตกรรมนี้ หลังจากนั้นจึงศึกษาผลของการใช้นวัตกรรมว่าสามารถแก้ปัญหาด้านการเรียนการสอนได้จริงหรือไม่ แล้วเขียนรายงานการวิจัยออกมาเป็นรูปเล่ม โดยผลการทำวิจัยในชั้นเรียนจะทำให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนและผู้สอน  ตรงกับองค์ความรู้เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามที่คาดหวัง  ที่สำคัญที่สุดคือ ตัวอาจารย์เองจะมีการทำงานในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ การวางแผนที่ดีของอาจารย์จะทำให้ได้เห็นภาพรวมของงานด้านการเรียนการสอนทั้งหมด เมื่ออาจารย์สามารถวางแผนงานได้ตรงตามหลักสูตร ตรงกับสภาพปัญหาปัจจุบัน การวางแผนนั้นจะเป็นแผนที่มีคุณค่าและมีความหมายสำหรับอาจารย์มาก ดังนั้น การเตรียมสื่อการเรียนการสอนและอุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ ในการทำงานจะเป็นไปอย่างมีความหมาย การสอนของอาจารย์จะเป็นไปอย่างมีหลักการ  มีเป้าหมาย สนุกสนานและมีชีวิตชีวา ซึ่งการวิจัยในชั้นเรียนนั้น  จะเป็นแนวทางหนึ่งที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่จะนำอาจารย์นักวิจัยไปสู่อาจารย์มืออาชีพได้ต่อไป

หมายเลขบันทึก: 185120เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2008 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 พฤษภาคม 2012 15:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

มาทักทายอาจารย์ เคยเขียนเรื่องนี้ไว้ แต่ยังไม่ได้พิมพ์เป็นหนังสือครับ ขอบคุณครับ..

ความสำคัญของการวิจัยในชั้นเรียน

การทำวิจัยในชั้นเรียนนั้นจะช่วยให้ครูมีวิถีชีวิตของการทำงานครูอย่างเป็นระบบเห็นภาพของงานตลอดแนว มีการตัดสินใจที่มีคุณภาพเพราะจะมองเห็นทางเลือกต่างๆ ได้กว้างขวางและลึกซึ้งขึ้นแล้ว จะตัดสินใจเลือกทางเลือกต่างๆอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ ครูนักวิจัยจะมีโอกาสมากขึ้นในการคิดใคร่ครวญเกี่ยวกับเหตุผลของการปฏิบัติงานและครูจะสามารถบอกได้ว่างานการจัดการเรียนการสอนที่ปฏิบัติไปนั้นได้ผลหรือไม่เพราะอะไร นอกจากนี้ครูที่ใช้กระบวนการวิจัยในการพัฒนากระบวน

การเรียนการสอนนี้จะสามารถควบคุม กำกับ และพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเองได้อย่างดี เพราะการทำงาน และผลของการทำงานนั้นล้วนมีความหมาย และคุณค่าสำหรับครูในการพัฒนานักเรียน ผลจากการทำวิจัยในชั้นเรียนจะช่วยให้ครูได้ตัวบ่งชี้ที่เป็นรูปธรรมของผลสำเร็จในการปฏิบัติงานของครูอันจะนำมาซึ่งความรู้ในงานและความปิติสุขในการปฏิบัติงานที่ถูกต้องของครู

เป็นที่คาดหวังว่า เมื่อครูผู้สอนได้ทำการวิจัยในชั้นเรียนควบคู่ไปกับการปฏิบัติงานสอนอย่างเหมาะสมแล้วจะก่อให้เกิดผลดีต่อวงการศึกษา และวิชาชีพครูอย่างน้อย 3 ประการ คือ

(1) นักเรียนจะมีการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

(2) วงวิชาการการศึกษาจะมีข้อความรู้และ/หรือนวตกรรมทาง การจัดการเรียนการสอนที่ เป็นจริงเกิดมากขึ้นอันจะเป็นประโยชน์ต่อครูและเพื่อนครูในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก และ

(3) วิถีชีวิตของครู หรือวัฒนธรรมในการทำงานของครู จะพัฒนาไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพ (Professional Teacher)มากยิ่งขึ้นทั้งนี้เพราะครูนักวิจัยจะมีคุณสมบัติของการเป็นผู้แสวงหาความรู้หรือผู้เรียน (Learner) ในศาสตร์แห่งการสอนอย่างต่อเนื่องและมีชีวิตชีวา จนในที่สุดก็จะเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจที่กว้างขวาง และลึกซึ้งในศาสตร์และศิลป์แห่งการสอนเป็นครูที่มีวิทยายุทธแกร่งกล้าในการสอนสามารถที่จะสอนนักเรียนให้พัฒนาก้าวหน้าในด้านต่างๆ ในหลายบริบทหรือที่เรียกว่าเป็นครูผู้รอบรู้ หรือครูปรมาจารย์ (Master Teacher)ซึ่งถ้ามีปริมาณครูนักวิจัย

ดังกล่าวมากขึ้นจะช่วยให้การพัฒนาวิชาชีพครูเป็นไปอย่างสร้างสรรค์และมั่นคง

ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าการวิจัยในชั้นเรียนจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาวิถีชีวิต ของครู เพื่อให้ครูพัฒนาไปสู่ความเป็นครูมืออาชีพในสังคมวิชาการของวิชาชีพครู

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท