การกำหนดประชากร กลุ่มตัวอย่าง กรณีใช้ Delphi Technique


ประชากร กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา และผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย เหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร

        วันนี้(28 พฤษภาคม 2551) เวลา 14.00-17.00 น. ไปเป็นกรรมการสอบวิทยานิพนธ์เรื่อง สมมรรถนะของพยาบาลวิชาชีพหน่วยทารกแรกเกิด โรงพยาบาล........ ผู้วิจัยได้ใช้ Delphi Technique ในการเก็บรวบรวมข้อมูล หรือ ใช้กระบวนการหาข้อสรุปด้วยวิธีการหาความคิดเห็นร่วมหรือ “การเห็นพ้องต้องกันของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 23 คน

     ท่านคิดว่า ในการวิจัยครั้งนี้ ข้อสรุปต่อไปนี้ ข้อใดถูกต้อง เพราะเหตุใด

 

ก.   ประชากร คือผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์/การพยายาบาล/การสาธารณสุข ในฐานะที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่เราต้องการหาความคิดเห็นร่วม(Consensus)....โดยถือว่า ผู้เชี่ยวชาญ 23 คน คือ กลุ่มตัวอย่าง(Sample)

 

ข.    ประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพหน่วยทารกแรกเกิด ในฐานะที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในการนำสมรรถนะไปใช้(จะต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะ หรือประเมินสมรรถนะ ในอนาคต)...โดยถือว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ 23 คน ในการวิจัยนี้ คือ ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัย(Key Informants) หรือเป็นแหล่งข้อมูลในการวิจัยนี้

 

ค.    เป็นไปได้ทั้ง ก.  และ ข.

หมายเลขบันทึก: 185000เขียนเมื่อ 28 พฤษภาคม 2008 21:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 21:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

น่าจะเป็น ข้อ ก ไหมคะ อาจารย์ แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านการพยาบาล น่าจะ เป็นพยาบาล หน่วยทารกแรกเกิดด้วย

ส่วนข้อนี้เป็นคำถามของก้ามปูนะคะ หากเราเอา มารดามาด้วยได้ไหมคะ ในฐานะผูู้^รับผลงานนะคะ

สวัสดีครับ คุณก้ามปู

  • ในประเด็นที่ถามว่า นำมารดามาเป็นผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยได้ไหม  มันก็น่าจะเป็นไปได้ครับ   จะอย่างไรก็ตาม ในทางปฏิบัติ ถ้านักวิจัยมีคำถามว่า "ตามหลักวิชา หรือ จากประสบการณ์ของท่าน ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกับพยาบาลวิชาชีพในการดูแลทารกแรกเกิดวิกฤติ มายาวนาน  ท่านคิดว่า พยาบาลวิชาชีพเหล่านี้น่าจะมีสมรรถนะที่จำเป็น ๆ อะไรบ้าง" 
  • ถ้าถามคำถามข้างบน คุณแม่คนหนึ่ง อาจไม่มีประสบการณ์ที่ยาวนานมากพอ ที่จะร่วมตัดสินใจได้
  • สำหรับแนวคิดของคุณก้ามปูที่เลือก ก. ผมขออนุญาตยังไม่ตอบตอนนี้นะครับ ผมจะพยายามอธิบายและยกตัวอย่างรายละเอียดในภายหลัง อีกครั้งหนึ่งนะครับ

สวัสดีค่ะท่านอาจารย์ ดร. สุพักตร์

  • ขอตอบข้อ ข. ค่ะ  เหตุผลตรงตัว ว่า เป็นการประเมินสมรรถนะของพยาบาล และพยาบาลจะต้องได้รับการพัฒนาสมรรถนะ และประเมินสมรรถนะในอนาคต ซึ่งคิดว่าผู้เชี่ยวชาญใน 23 คนคงจะมี พยาบาลในหน่วยทารกแรกเกิดจากโรงพยาบาลต่าง ๆ หรือ อาจารย์พยาบาลที่สอนในวิชาที่เกี่ยวกับทารกแรกเกิด ...ฯลฯ
  • ส่วนการนำมารดามาเป็นผู้เชี่ยวชาญด้วยนั้น ไม่เห็นด้วยค่ะ ควรเป็นการประเมินความต้องการ หรือความพึงพอใจของผู้รับบริการมากกว่าหรือไม่
  • ขอบคุณค่ะ

 

  • ผมเห็นด้วยกับคุณสิตะวัน นะครับ
  • ถ้าเรามุ่งหวังที่ "ความคม ความถูกต้องของรายการสมรรถนะ" และ "มุ่งหวังที่จะนำไปใช้เป็นกรอบในการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพหรือประเมินศักยภาพของพยาบาลวิชาชีพ"  กลุ่มพยาบาลวิชาชีพ คือ เป้าหมายประชากร(ข.ไข่ ถูก)
  • แต่ถ้าเราไม่ได้กังวลใจในเรื่องความคม ความถูกต้อง "แต่เน้นที่การมองหาความเห็นร่วม" เพื่อหาข้อสรุปว่า "ผู้ทรงคุณวุฒิ คิดอย่างไรในเรื่องนี้(นี่คือคำถามวิจัย)"  ประชากรก็คือ ผู้ทรงคุณวุฒิ  และ 23 คน คือ กลุ่มตัวอย่าง
  • ขอบคุณครับ ที่เข้ามาร่วมตอบและอภิปรายปัญหา
วิเชียร ภู่สุวรรณ์

สวัสดีครับท่าน อาจารย์ ดร.สุพักตร์ ครับ

ผมศิษย์ มสธ. เข้ามาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

ผมสนใจศึกษา เรื่อง การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูกลุ่มสาระภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1

ในการสร้างเครื่องมือประเมินสมรรถนะ ที่ผมออกแบบจะไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 25 คน เพื่อขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญให้ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะของตัวบ่งชี้ ตามนิยาม จะเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ที่ตรวจสอบคุณภาพความตรง ของเครื่องมือ จึงต้องขอคำแนะนำว่า ผู้เชี่ยวชาญ 25คน เป็นกลุ่มรู้ชัดแต่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างวิจัยใช่หรือไม่ ครับ

ขอบคุณครับ วิเชียร

  • 25 คน เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ กลุ่มหนึ่ง  ถือเป็น กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลกลุ่มหนึ่ง ในการวิจัยครั้งนี้ เพื่อช่วยตัดสินว่า ควรกำหนดสมรรถนะที่สำคัญ ๆ อะไรบ้าง หรือ ควรมีตัวบ่งชี้อะไรบ้าง
  • หลังจากได้รายการสมรรถนะและจัดทำเป็นเครื่องมือประเมินสมรรถนะครูภาษาไทย ที่ค่อนข้าง จะ โอ เค แล้ว(ชึ่งอาจจะต้องผ่านการพิจารณาความเหมาะสมจากผูทรงคุณวุฒิ อีกรอบหนึ่ง)  ก็อาจเอาไปทดลองใช้ประเมินครูภาษาไทยสัก 20 คน  เป็นครูยอดเยี่ยม/ดีเด่น 10 คน  ครูทั่วไป/ครูแย่ ๆ สัก 10 คน    20 คนหลังนี้แหละเรียกว่า "กลุ่มรู้ชัด"
วิเชียร ภู่สุวรรณ์

ขอบคุณครับท่านอาจารย์ ดร.สุพักตร์

ผมเสนอ หัวข้อเรื่อง การพัฒนาเครื่องมือประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 2 เพื่อเตรียมเสมอ บศ.002ในวิทยานิพนธ์ 1 ครับ

กำหนดวัตถุประสงค์ไว้

1. เพื่อสร้างเครื่องมือประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 2

2.เพื่อตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุราษฏร์ธานี เขต 2

ได้นำเสนอท่านอาจารย์ ดร.สมคิด ในวันสัมมนาเสริมได้กรอบ แต่ได้ไม่ละเอียดต้องปรับปรุงเพิ่มเติมให้ชัดเจน

ตั้งใจว่าจะอ่านหนังสือ เกี่ยวกับ สมรรถนะของครูภาษาไทย และแนวทางพัฒนาตัวบ่งชี้เพื่อตอบโจทย์ ก่อนครับ

ได้เฉพาะหัวเรื่อง กับกำหนดวัตถุประสงค์ ท่านอาจารย์โปรดแนะนำด้วยครับ

  • "การพัฒนาสมรรถนะแบะตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 สพท...." จะดีกว่า  ทำสมรรถนะและตัวบ่งชี้ให้คม ก็โอ เค จะดีกว่า

                               อ.สุพักตร์

ท่านอาจารย์ครับ

" สมรรถนะ และ ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย " ใช้กรอบของมาตรฐานวิชาชีพครูเป็นหลัก และมาตรฐาน สมศ. คงไม่ครอบคลุม

ขอไปอ่านเพิ่มก่อน ขอบคุณครับ

วิเชียร ภู่สุวรรณ์

การออกแบบวิจัยที่สร้าง "ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูภาษาไทย ช่วงชั้นที่ 1 "

จำเป็นต้องใช้เทนิค Delphi หรือไม่ครับ

ขอคำแนะนำด้วยครับ

  • ไม่จำเป็น นาจะประยุกต์ แล้วเน้นการตรวจสอบคุณภาพจริง
  • ในกรณี ใช้ ๆ Delphi เป็นกระบวนการเชิงเหตุผล ไม่ได้เน้นให้เอาไปตรวจสอบคุณภาพในเชิงประจักษ์

                         อ.สุพักตร์

วิเชียร ภู่สุวรรณ์

ผมไปประชุม 3 วันที่ วิเวอร์ไซด์ ครับ ตอนเย็นเข้าไปศูนย์หนังสือจุฬา หาตำรามาได้ 2 เล่ม หาความหมาย ระหว่าง สมรรถนะ กับ สมรรถภาพ ครับ พบว่า ระยะหลัง จะใช้คำว่า สมรรถนะ มาก ซึ่งหมายถึงความสามารถของบุคคล

สมรรถภาพ จะหมายถึง ประสิทธิภาพ และประสิทธิผล

จะเข้าไปที่หอสมุดจุฬาอีกครั้ง และขอคำแนะนำด้วยครับ

วิเชียร

  • ตรวจสอบความหมายกับ ราชบัณฑิตด้วยนะครับว่า นิยามว่าอย่างไร
  • ควรใช้ตามแนวโน้มสมัยหลัง ๆ

สวัสดีครับ อาจารย์

ได้ฟังคำบรรยายของอาจารย์เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2551 ที่โรงแรมหัวเรือ จังหวัดตรังได้เห็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงปัญหาคุณภาพการศึกษามากมาย เห้นเป็นรูปธรรม เพราะว่าในบางครั้งรับนโยบายมาเป็นนามธรรมมองไม่เห็นภาพตลอดแนว ขอบคุณมากครับ อาจารย์

  • ขอบคุณมากครับ อ.สำเริง
  • ถ้ามีอะไรก็เข้ามาแลกเปลี่ยนกันเป็นระยะ ๆ นะครับ
วิเชียร ภู่สุวรรณ์

สวัสดีครับ ท่าน อาจารย์ ดร.สุพักตร์

วันที่ 28-29 สค.ที่ผ่านมาผมเข้าร่วมประชุมวิชาการ เปิดฟ้าคุณธรรมจริยธรรม ที่ แอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ กลับมาทราบจากผู้บริหารโรงเรียนหลายท่านเล่าให้ฟังว่า ท่านได้ไปบรรยายให้ผู้บริหารของ สพท.สุราษฏร์ธานี เขต 2 ที่ โรงแรมเสาวลักษณ์ สุราษฏร์ธานี ( 28 สค.)ตอนบ่าย โดยเฉพาะ พี่วิทยา เกื้อด้วง ผอ.โรงเรียนบ้านต้นมะพร้าวฯ บอกว่าได้ฟังแล้วคุ้มค่า เกิดกำลังใจ ได้แนวทางทำงานชัดเจนครับ จะพัฒนางานแบบขั้นบรรได ต่อเนื่องไป เข้าใจง่ายครับ

โครงการสิ่งแวดล้อม(น้ำ)

วัตถุหระสงค์

1. เพื่อการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

2. เพื่ออนุรักษ์ ปกป้อง ดูแล เฝ้าระวังและแก้ไข การทำลายทรัพยากรน้ำ

3. เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและลดผลเสียที่มีต่อระบบนิเวศของน้ำ

โครงการ อบรมการแก้ปัญหาน้ำเน่าเสียของหอพัก บ้านบุญรัตน์

ผู้รับผิดชอบโครงการ นายชาญวิทย์ พานาแก้ว

นางสาวรัฐชฎาภรณ์ นันทเสน

หลักการและเหตุผล

น้ำเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่ามหาศาล น้ำมีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ สัตว์ และพืชถ้าขาดน้ำเมื่อใดก็เป็นการยากที่มนุษย์สัตว์และพืชจะดำรงชีวิตอยู่ได้นาน ดังนั้นตั้งแต่สมัยโบราณ จนถึงปัจจุบันเราจะพบว่ามนุษย์ทุกหมู่ สัตว์และพืชจะดำรงชีวิตอยู่ได้นานดังนั้นตั้งแตทุกเหล่า ทุกเผ่าพันธุ์ เลือกตั้งถิ่นฐานอยู่ใกล้น้ำ น้ำธรรมชาติมีอยู่ทั่วไปทั้งบนผิวดิน ใต้ดิน และในบรรยากาศ น้ำบนผิวดินเป็นแหล่งน้ำที่เราจะพบมากที่สุด ได้แก่ แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง ห้วย ลำธาร ทะเลสาบ ทะเล และมหาสมุทร ส่วนน้ำใต้ดินมีแตกต่างกันเป็น 2 ประเภท คือ น้ำในดิน และน้ำบาดาล ถ้าเราขุดบ่อลงไปบริเวณแหล่งน้ำในดิน เราเรียกบ่อน้ำชนิดนี้ว่า บ่อน้ำในดิน และถ้าขุดบ่อลึกลงไปมาก ๆ หรือใต้ชั้นหินจนถึงระดับน้ำบาดาล เราเรียกบ่อน้ำชนิดนี้ว่า บ่อน้ำบาดาล น้ำธรรมชาติที่มีส่วนเกี่ยวพันกับความเป็นอยู่ของมนุษย์ สัตว์ และความเจริญของพืชพันธุ์ ได้แก่ น้ำบนผิวดิน ในแต่ละวัน คนเราต้องใช้น้ำจำนวนมากทั้งในด้านการอุปโภค บริโภค การประกอบอาชีพ เช่น การประมง เกษตรกรรมและอุตสาหกรรม เป็นต้น

ดังนั้นจึงจำเป็นต้องช่วยกันรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้ให้สะอาดอยู่เสมอ หากปล่อยให้มีสิ่งสกปรก เช่น ขยะ หรือน้ำทิ้ง ลงปะปนอยู่ในน้ำธรรมชาติ ก็จะทำให้แหล่งน้ำนั้นกลายเป็นน้ำเสียในภายหลัง เมื่อแหล่งน้ำดีกลายเป็นน้ำเสีย ก็จะเป็นอันตรายต่อชีวิตความเป็นอยู่ของคน พืช และสัตว์ ไม่เฉพาะแต่พื้นที่เดียวเท่านั้น อาจขยายบริเวณภยันตรายกว้างไกลออกไปทั้งชุมชนละแวกนั้น ๆ ได้ คุณประโยชน์อีกอย่างหนึ่งของน้ำคือ อาชีพทางน้ำ น้ำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับมนุษย์ทั้งในด้านการอุปโภคและบริโภค(http://oatnaja.blogspot.com/2008/08/blog-post.html)

เพื่อต้องการแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสียของหอพัก ซึ่งการที่มีน้ำเน่าเสียนั้นทำให้สุขภาพของผู้ที่อยู่อาศัย บริเวณบ้านพักอาจเกิดโรคได้เนื่องจาก เมื่อมีน้ำเน่าเสีย สิ่ง ที่จะเกิดขึ้นตามมา เช่นพวกเชื้อรา น้ำขังเป็นที่เพราะพันธุ์ ยุงต่างๆ ที่สำคัญก็คือยุงลาย ดังนั้น ผู้เสนอโครงการจึงมองเห็นว่า การที่ทำโครงการนี้ขึ้นมาจะเป็นประโยชน์ ต่อนิสิตผู้พักอาศัย และยังได้ช่วยให้ลดปัญหาน้ำเน่าเสียอีกด้วย ลดปัญหาไข้เลือดออก ซึ่งเป็นไข้ร้ายแรงอาจถึงตายได้ และทำให้มลภาวะ จากที่ เคยเน่าเหม็นกลับเป็นที่ที่น่าอยู่และอากาศก็ดีขึ้นอีกด้วย จึงได้จัดโครงการนี้ขึ้น

วัตถุประสงค์

1. เพื่อเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความสะอาด และช่วยกันรักษาสุขภาพกายของผู้อยู่อาศัย

2. เพื่อให้เป็นแนวทางในการแก้ไขน้ำทิ้งและน้ำขังภายในหอพัก ซึ่งทุกคนสามารถช่วยกันได้

3. เพื่อให้นิสิตที่อาศัยอยู่ในหอพักมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีความปลอดภัยในที่อยู่อาศัย

วิธีการดำเนินงาน

1. ประชุมปรึกษาผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและจัดทำโครงการ

2. สำรวจข้อมูลความต้องการและกำหนดการให้ความรู้

3. นำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ

4. จัดหาวิทยากรที่เหมาะสม พูดเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ

5. จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อที่จะกำจัดน้ำขัง

6. ประชาสัมพันธ์ให้นิสิตรู้ช่วยกันรักษาหอพักและช่วยกันทำความสะอาดทุกเดือน

7. จัดบรรยายเพื่อให้นิสิตที่เป็นผู้พักอาศัยในหอพักบ้านบุญรัตน์รู้จักโทษที่เกิดขึ้นของน้ำเน่าเสีย และมีผลต่อมลภาวะอย่างไร

8. นำเสื่อทางเทคโนโลยีมาช่วยในการบรรยายสภาพบรรยากาศ และสภาพแวดล้อมในหอพัก

ระยะเวลาดำเนินงาน

วัน เดือน ปี กิจกรรม ผู้รับผิดชอบ

1-3 ธันวาคม 2552 ประชุมปรึกษาผู้เกี่ยวข้องเพื่อวางแผนและจัดทำโครงการเกี่ยวกับน้ำเน่าเสียภายในหอพักนิสิตบ้านบุญรัตน์ ชาญวิทย์/รัฐชฎาภรณ์

4-7 ธันวาคม 2552 สำรวจข้อมูลความต้องการที่จะแก้ไข และกำหนดหัวข้อบรรยายถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นว่ามีผลอย่างไรเกี่ยวกับสุขภาพและผลเสีย ชาญวิทย์/รัฐชฎาภรณ์

8 ธันวาคม 2552 นำเสนอโครงการเพื่อพิจารณาอนุมัติ รัฐชฎาภรณ์

9-11 ธันวาคม 2552 จัดหาวิทยากรที่เหมาะสมมาให้ความรู้กับพนักงาน และพูดถึงการป้องกันน้ำเสีย เพื่อไม่ให้เกิดการเพราะพันธุ์ ยุง ชาญวิทย์

12-16 ธันวาคม 2552 จัดเตรียมเอกสารและอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อที่จะทำไม่ให้เกิดน้ำขังเช่น ท่อ เพื่อที่จะทำให้น้ำไม่ขัง ชาญวิทย์/รัฐชฎาภรณ์

18 –19 ธันวาคม 2552 ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานอยู่พร้อมกันเพื่อที่จะช่วยกันกำจัดน้ำขัง และทำท่อ ชาญวิทย์/รัฐชฎาภรณ์

20-21 ธันวาคม 2552 ให้นิสิตทุกคนที่พักอาศัยอยู่ในหอพักบ้านบุญรัตน์ช่วยกันกำจัด น้ำเสียและ ต่อท่อเพื่อไม่ให้เกิดน้ำขังอีกต่อไป นิสิตในหอพัก

22 ธันวาคม 2552 สรุปและประเมินผล ชาญวิทย์/รัฐชฎาภรณ์

สถานที่ดำเนินงาน

หอพักนิสิตบ้านบุญรัตน์ (หลังมอประตู 4)

ระยะเวลาดำเนินโครงการ

วันที่ 1 – 22 ธันวาคม 2552

งบประมาณ

1. ค่าตอบแทนวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการรักษาความสุขภาพของนิสิต 300 บาท

2. ค่าเครื่องดื่มสำหรับนิสิต 50 คน 2 วัน 800 บาท

3. ค่าวัสดุในการจัดทำเอกสาร 800 บาท

4. ค่าวัสดุในการประสาสัมพันธ์ 200 บาท

5. ค่าซื้อ ท่อ ปูนขนาด 12 นิ้ว 1,200 บาท

6. ปูน 1 กระสอบ 150 บาท

7. ค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ด 500 บาท

รวมงบประมาณ 3,950 บาท

การประเมินผล

1. มีการตรวจสอบ ว่าท่อตันหรือไม่ เนื่องจากอาจทำให้น้ำขังได้

2. ให้ผู้เกี่ยวข้องจัดให้มีการ มีการร่วมกิจกรรม คือทำความสะอาดบริเวณหอพักนิสิตทุกเดือนจะ

ทำให้กำจัดขยะน้ำเน่าเสียและ แหล่งเพราะพันธุ์ยุงลายได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

1. นิสิต ร้อยละ 80 ของหอพักได้รับความรู้จากการบรรยายเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพ

2. นิสิตที่พักอาศัยในหอพักบ้านบุญรัตน์ ร้อยละ 70 รู้จักวิธีการกำจัดยุงลาย

3. นิสิตในหอพักบ้านบุญรัตน์ มีคุณภาพชีวิตได้ตามมาตรฐาน ร้อยละ 90

เป้าหมาย

1. ต้องการให้บริเวณพอพักนิสิต เป็นที่น่าอยู่อาศัย โดยไม่มีกลิ่นเน่าเหม็น และรู้จักการป้องกันแก้ไขไม่ให้เกิดน้ำขัง

2. เพื่อให้นิสิตมีสุขภาพดี และรู้จักรักษาอนามัยภายในที่อยู่อาศัยของตน โดยช่วยกันรักษาความสะอาดและไม่ ทำให้เกิดน้ำขังบริเวณหอพัก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. นิสิตทุกคน ที่อาศัยอยู่หอพักบ้านบุญรัตน์ ได้รับความรู้จากการบรรยายเกี่ยวกับการ

รักษาสุขภาพ

2. หอพักบ้านบุญรัตน์ไม่มีกลิ่นเน่าเหม็น และยังปลอดยุง เพราะรู้จัก วิธีกำจักยุงลาย

3. นิสิตมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และมีที่อยู่อาศัยโดยมีความปลอดภัยในการเป็นอยู่

เลือกใช้เทคนิค Delphi Technique

สรุป

วิเคราะห์

อาจารย์ช่วยวิเคราะห์ให้หน่อยได้ไหมค่ะ

หัวข้อวิทยานิพนธ์ อยู่ก่อนแต่ง : การอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย

(“Nonmarrital Cohabitation” : A case of university students)

ชื่อผู้เขียน นางสาว โสพิน หมูแก้ว

(Miss Sophin Mukaew)

ปี 2545

อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ผศ.ดร. พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิพงษ์

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง “อยู่ก่อนแต่ง”: การอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงานของนักศึกษามหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจว่า นักศึกษาที่ใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันกับคนรักนั้นให้ความหมายแก่การดำเนินชีวิตแบบนี้อย่างไร มีกระบวนการพัฒนามาอย่างไร และแต่ละขั้นตอนมีเงื่อนไขสำคัญอะไรบ้าง โดยใช้แนวคิดทฤษฎีการปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์มาเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ (analytic ethnography) ข้อมูลหลักได้มาจากการสัมภาษณ์เจาะลึกนักศึกษาที่เป็นผู้ให้ข้อมูลหลัก (key informant) จำนวน 17 คน โดยเป็นนักศึกษาชาย 9 คน และนักศึกษาหญิง 8 คน

การให้ความหมายแก่การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันแตกต่างกันระหว่างนักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง โดยที่นักศึกษาชายให้ความหมายเป็น 3 ลักษณะ คือ “เซ็กซ์” “ประหยัดและสะดวกสบาย” และ “รักจริง” ส่วนนักศึกษาหญิงให้ความหมายแบบเดียวกันคือ “รักจริง (แต่ไม่หวังแต่ง)” ซึ่งความหมายเหล่านี้ไม่ค่อยมีนัยยะที่เชื่อมโยงกับเรื่องการแต่งงานและมีครอบครัวเหมือนที่ปรากฏในสังคมอเมริกันที่ถือเป็นการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน หรือมีครอบครัวโดยไม่ต้องแต่งงานเหมือนในสังคมยุโรปบางสังคม จึงอาจถือได้ว่าเป็นวิถีชีวิตทางเลือกหนึ่งของนักศึกษา

กระบวนการมาใช้ชีวิตคู่อยู่ร่วมกันแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นที่หนึ่ง ขั้นเป็นแฟนแต่ไม่ได้อยู่ด้วยกัน การมีเพศสัมพันธ์ระหว่างกันเป็นเงื่อนไขสำคัญที่นำไปสู่ขั้นตอนที่สอง คือ ขั้นการอยู่ร่วมกันเป็นครั้งคราว โดยที่ต่างฝ่ายต่างมีห้องพักของตัวเองแต่จะมาค้างด้วยกันในบางครั้ง เงื่อนไขที่ทำให้ย้ายไปอยู่ร่วมกันอย่างถาวรในนักศึกษาชายได้แก่เงื่อนไขทางด้านอารมณ์ คือต้องการมีคนเข้าใจและเป็นความต้องการของผู้หญิง ส่วนเงื่อนไขทางเศรษฐกิจคือประหยัดค่าใช้จ่าย ขณะที่เงื่อนไขทางด้านอารมณ์ของนักศึกษาหญิงคือต้องการมีความสัมพันธ์กับคนรักลึกซึ้งมากยิ่งขึ้นและต้องการความเห็นใจจากแฟนและมีเงื่อนไขแรงกดดันจากสังคม ขั้นที่สาม คือ ขั้นการอยู่ร่วมกันอย่างถาวร ซึ่งการที่พวกเขาจะสามารถธำรง “วิถีชีวิต“ แบบนี้ต่อไปได้ต้องมีวิธีการจัดการหรืออธิบายความสมเหตุสมผลในการกระทำต่อผู้ชมทางสังคมที่มีปฏิกิริยาในทางที่เป็นลบโดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อบุคคลนัยสำคัญ

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อค้นหาคำตอบว่า นักศึกษาที่อยู่ร่วมกันให้ความหมายของการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานไว้ว่าอย่าง ไร สอดคล้องกับรูปแบบต่อไปนี้หรือไม่อย่างไร

1.1 เป็นการอยู่ร่วมกันก่อนการแต่งงาน (แบบสังคมอเมริกัน)

1.2 เป็นการอยู่ร่วมกันโดยไม่แต่งงาน (แบบยุโรป)

1.3 เป็นการอยู่ร่วมกันในรูปแบบอื่น ๆ

2. ลำดับขั้นตอนของการมาใช้ชีวิตร่วมกันเป็นอย่างไร

3. ศึกษาถึงภาวะเงื่อนไขของสังคมและประสบการณ์ใดบ้าง ที่เกิดขึ้นในแต่ละขั้นตอนซึ่งมีอิทธิพลต่อ การใช้ชีวิตร่วมกัน

วิธีการศึกษาวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีประชาวพรรณนาเชิงวิเคราะห์ (Analytic ethnography) โดยใช้เทคนิคการเก็บข้อมูล 3 วิธีคือ

1. การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview)

2. การสังเกต (Observations)

3. ใช้แบบสอบถามปลายเปิด (Open-End Questionaire) ใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ยินยอมให้สัมภาษณ์โดยตรง เพื่อเป็นข้อมูลเสริม

กลุ่มตัวอย่าง

เป็นกลุ่มนักศึกษาระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ที่กำลังใช้ชีวิต อยู่ร่วมกันกับนักศึกษาอีกฝ่ายที่เป็นคนรักอย่างถาวร (หมายถึงการอยู่ร่วมกันในห้องพัก บ้านเช่า หอ พักอย่างถาวร โดยไม่ได้แต่งงานกัน) โดยแบ่งเป็น

1. กลุ่มที่ยินยอมให้สัมภาษณ์แบบเจาะลึก จำนวน 17 คน ประกอบด้วย นักศึกษาชาย จำนวน 9 คน นักศึกษาหญิง จำนวน 8 คน โดยบางคนก็ยินยอมให้สัมภาษณ์ทั้งคู่ แต่บางคนก็ให้สัมภาษณ์เดี่ยว

2. กลุ่มนักศึกษาที่ไม่ยินยอมให้สัมภาษณ์แบบเจาะลึก แต่ยินยอมตอบแบบสอบถาม จำนวน 14 คน ประกอบด้วย นักศึกษาชาย จำนวน 6 คน นักศึกษาหญิง จำนวน 8 คน

การค้นหาและเข้าถึงกลุ่มตัวอย่าง

1. ผู้วิจัยใช้วิธีการ ขอความช่วยเหลือจากเพื่อนอาจารย์ที่สอนอยู่ในมหาวิทยาลัยที่เป็นพื้นที่วิจัย โดยขอให้แนะนำนักศึกษาที่รู้จักกับกลุ่มตัวอย่าง แล้วแจ้งข้อมูลของผู้วิจัย เหตุผลการ วิจัยให้นักศึกษาที่รู้จักกับกลุ่มตัวอย่างทราบอย่างชัดเจนไม่ปิดบัง แล้วขอให้นักศึกษาผู้นั้น ไปติดต่อขอความร่วมมือกับกลุ่มตัวอย่าง แล้วรอการติดต่อกลับ

2. เมื่อได้พบและสัมภาษณ์กับกลุ่มตัวอย่างแล้ว ก็ใช้เทคนิค Snowball ในการหากลุ่มตัว อย่างเพิ่มต่อไป ผู้วิจัยเพื่อนอาจารย์นักศึกษาที่รู้จักกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่าง

กลุ่มตัวอย่างกลุ่มตัวอย่าง

SnowballSnowball หลังจากได้รับการติดต่อกลับจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว ผู้วิจัยจะแนะนำตนเอง ชี้แจงวัตถุประสงค์การวิจัย ให้คำมั่นในการเก็บรักษาความลับของกลุ่มตัวอย่าง แล้วจึงนัดหมายวัน เวลา สถานที่ในการ สัมภาษณ์ แต่ถ้ากลุ่มตัวอย่างไม่ยินยอมให้สัมภาษณ์โดยตรง ผู้วิจัยก็จะขอให้ช่วยตอบแบบสอบถาม ปลายเปิดแทน โดยฝากแบบสอบถามไปกับนักศึกษาที่รู้จักกลุ่มตัวอย่างผู้นั้น โดยให้เวลาตอบ 1 สัปดาห์

ทฤษฎีรองรับการวิจัยที่สำคัญ

1. การวิจัยจะใช้ทฤษฎีทางสังคมวิทยาที่ว่าด้วย การปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์ (Symbolic Interactionism) เป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล

2. การ Review เอกสารงานวิจัยอื่นที่สำคัญ เช่น

2.1 งานวิจัยของ Carl Ridley และคณะ ซึ่งพบว่าประสบการณ์ในการเตรียมความพร้อม

ก่อนแต่งงาน แบ่งตามเป้าหมายและแรงจูงใจได้ 4 ข้อ

2.1.1 การอยู่ด้วยกันเพื่อความอบอุ่นใจ

2.1.2 การอยู่ด้วยกันเพื่อความเป็นอิสระจากพ่อแม่ และต่อต้านค่านิยมของสังคม

2.1.3 การอยู่ด้วยกันเพื่อความสะดวกสบาย

2.1.4 การอยู่ด้วยกันเพื่อทดสอบความสัมพันธ์

2.2 Macklin ได้จัดประเภทความมั่นคงของความสัมพันธ์ เป็น 4 ประเภท คือ

2.2.1 ความสัมพันธ์แบบชั่วคราว (ความสะดวกและประโยชน์ที่ได้รับ)

2.2.2 ความสัมพันธ์แบบคู่ควง (มีความรักแต่ไม่มีแผนแต่งงาน)

2.2.3 ความสัมพันธ์ช่วงเปลี่ยนผ่าน (เตรียมการก่อนแต่งงาน)

2.2.4 ทางเลือกอื่นของการแต่งงาน (แต่งงานโดยไม่มีพิธี)

2.3 Patric G Jackson ศึกษาและค้นพบวิถีของการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงาน คือ

2.3.1 การเข้าสู่สถานการณ์ของการอยู่ร่วมกัน

2.3.2 การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน

2.3.2.1 แบบปกปิด

2.3.2.2 แบบรู้แต่ไม่รับรู้

2.3.2.3 แบบเปิดเผย

2.3.3 การตัดสินใจแต่งงาน

การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งเป็น 3 ระยะ

ระยะที่ 1 เมื่อเก็บข้อมูลได้เพียงพอแล้ว ทำการวิเคระาห์โดยอาศัยแนวคิดทฤษฎีการปฏิสังสรรค์สัญลักษณ์ แล้วสรุปคร่าว ๆ ซึ่งผลวิเคราะห์ระยะแรกจะชี้นำประเด็นที่ต้องเก็บข้อมูลต่อไป

ระยะที่ 2 เก็บข้อมูลเพิ่มเติม โดยการสัมภาษณ์ซ้ำในประเด็นที่น่าจะเป็นประโยชน์ต่อการ วิเคราะห์และเป็นการทดสอบยืนยันข้อมูลของระยะแรกด้วย

ระยะที่ 3 วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บมาอีกครั้ง แล้วจัดรูปแบบความสัมพันธ์ของข้อมูลและปรากฏการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

ข้อค้นพบ ลำดับขั้นการมาอยู่ร่วมกัน

1.1 ขั้นเป็นแฟนกัน เกิดจากสภาพแวดล้อมและค่านิยมในกลุ่มอ้างอิง (เพื่อน ดารา “ใคร ๆ ก็มีแฟนกัน”) และมีความสัมพันธ์ทางเพศต่อกัน หลังจากเป็นแฟนกันได้ระยะหนึ่ง ซึ่งเกิดจาก ค่านิยมว่า ชาย

LOVE FOR SEX หญิง SEX FOR LOVE

1.2 ขั้นอยู่ร่วมกันชั่วครั้งชั่วคราว เกิดขึ้นหลังจากการมีเพศสัมพันธ์ต่อกันแล้ว จึงมีการไปมาหาสู่ระหว่างกันสัปดาห์ละ 2-3 วัน ซึ่งขั้นนี้ฝายหญิงจะรู้สึกกดดันและตีค่าของตนเองต่ำ อีกทั้ง เกิดความไม่สะดวกหลายประการในการไปมา จึงพัฒนาไปสู่ขั้นที่ 3

1.3 ขั้นการอยู่ร่วมกันอย่างถาวร พัฒนามาจากขั้นที่ 2 แต่ทั้งคู่ก็ยังไม่ยอมรับว่าเป็น สามี-ภรรยา กันเป็นเพียงแค่แฟน กันเท่านั้น แม้จะมีความสัมพันธ์ทางเพศต่อกัน มีการจัดการการเงิน ร่วมกันบ้าง แต่การอยู่ร่วมกันก็มิได้เปิดเผย และแต่ละฝ่ายก็ยังคงมีสังคมของตนเอง นอกจาก นี้ก็ยังไม่มีการแบ่งแยกภาระหน้าที่ชัดเจนเหมือนคู่สามีภรรยาทั่วไป นอกจากนี้ก็ยังพบว่า การอยู่ร่วมกันในขั้นที่ 3 ก็อาจพัฒนาย้อนกลับไปสู่ขั้นที่ 2 ได้ เนื่องจาก ฝ่ายหญิงพบว่าตนเองถูกกดดันจากการมองในเชิงลบจากสังคม และที่สำคัญความรู้สึกผิดที่มีต่อบิดา มารดา และในบางคู่ก็เกิดปัญหาค่าใช้จ่ายไม่พอ การเรียนตกต่ำ เป็นต้น

ความหมายของการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งที่ค้นพบ นักศึกษาชายให้เหตุผลของการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานว่าเพื่อ

1. SEX กลุ่มที่ไม่คิดเรื่องแต่งงาน

2. ประหยัดและสะดวกสบาย

3. รักจริง แต่ไม่แน่ใจอนาคต (กลุ่มที่คิดเรื่องแต่งงาน)

นักศึกษาหญิงให้เหตุผลของการอยู่ร่วมกันก่อนแต่งงานว่า เพราะ รักจริงแต่ไม่หวังแต่งงาน คือต้องการความรัก ความอบอุ่น แต่ไม่กล้าคิดเรื่องแต่งงาน เพราะเรียนคนละคณะ คนละชั้น ปีจบไม่พร้อมกัน อยู่และทำงานคนละจังหวัด และข้อมูลจากกลุ่มอ้างอิงรอบตัว ซึ่งเป็นปัจจัย ที่ทำให้เกิดความไม่แน่นอนได้ จึงต้องทำใจและยอมรับการแยกกันในที่สุด แม้จะยังรักอยู่ก็ตาม

ชาย SEX ประหยัดสะดวกสบาย รักจริง แต่ไม่แน่ใจ หญิง รักจริง ไม่หวังแต่งงาน ต้องการความรัก ความอบอุ่น การตัดสินใจอยู่ร่วมกัน โดย สอดคล้องกับทฤษฎีปฏิสังสรรค์เชิงแลกเปลี่ยน ชาย หญิง เสียความเป็นอิสระ ความรู้สึกผิดต่อพ่อแม่ ปฏิกิริยาเชิงลบจากสังคม เสี่ยงต่อความผิดหวัง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท