พระสารีบุตร : พระอรหันต์นักโต้วาที


อรรถกถาจุลลกาลิงคชาดกที่  ๑
       พระศาสดาเมื่อประทับอยู่  ณ  พระเชตวันมหาวิหาร  ทรงปรารภ การบรรพชาของปริพาชิกา  ๔  คน  จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้  มีคำ เริ่มต้นว่า  วิวรถ  อิมาสํ  ทฺวารํ  ดังนี้.
 

นิครนถ์ คือนักบวชเปลือย ๒ คน เป็นหญิง ๑ ชาย ๑ มีวาทะเฉียบแหลมคมกล้า เดินทางมาถึงเมืองเวสาลี ซึ่งพวกกษัตริย์ลิจฉวีปกครองโดยสามัคคีธรรม เมื่อได้ขอร้องให้นิครนถ์ทั้งสองโต้วาทะกันแล้ว กษัตริย์ลิจฉวีเห็นอัศจรรย์ ในปัญญาของคนทั้งสองนั้นจึงคิดว่า ถ้าคนทั้งสองแต่งงานกัน มีลูก ลูกที่เกิดจากคนทั้งสองคงฉลาดมาก เราจะได้พันธุ์มนุษย์ ที่ฉลาดเพิ่มขึ้นจึงจัดให้คนทั้งสองแต่งงานกัน

การผสมพันธุ์ของคนฉลาดนั้น ท่านว่าถ้าพ่อแม่ฉลาดไปในทางเดียวกัน ไม่ดีเท่าพ่อแม่ฉลาดไปคนละทาง เช่นถ้าพ่อเก่งในทางประวัติศาสตร์ แม่เก่งทางคณิตศาสตร์ลูกจะฉลาดมากกว่าที่พ่อแม่เก่งในทางเดียวกัน

การผสมพันธุ์ระหว่างนิครนก์ทั้งสอง มีผลให้เกิดลูกหญิง ๔ คนลูกชาย ๑ มีชื่อตามลำดับดังนี้ นางสัจจา นางโสภา นางอธิวาทกา นางปฏิจฉรา ส่วนลูกชายชื่อสัจจกะ

ทั้งบุตรและธิดาได้เล่าเรียนความรู้จากพ่อแม่ของเธอเอง เป็นผู้ฉลาดในวาทะ จนเป็นที่เกรงขามของคนทั่วไปมารดา บิดาได้สั่งลูกสาวทั้ง ๔ ไว้ว่า ถ้าใครโต้วาทะกับลูกแล้ว ลูกแพ้เขา ถ้าเขาเป็นบรรพชิตจงบวชยอมตนเป็นศิษย์ของท่านผู้นั้น ถ้าเขาเป็นคฤหัสถ์จงยอมเป็นบาทบริจาริกา (ภรรยา) ของท่านผู้นั้น

สัจจกะนิครนถ์ผู้น้องชาย ได้สั่งสอนศิลปศาสตร์แก่กษัตริย์ลิจฉวีอยู่ในนครไพสาลีนั่นเอง ปรากฏเป็นผู้มีความรู้มากแตกฉานเป็นที่คร้ามเกรงของคนทั่วไป

ส่วนพี่สาวทั้ง ๔ คนของสัจจกะ มีกิ่งหว้าเป็นเครื่องหมาย เที่ยวไปในคามนิคมชนบทราชธานีต่างๆ ปักกิ่งหว้าไว้ ณ ที่ใดที่หนึ่งแล้วประกาศว่า ใครต้องการประคารมกับตนก็ขอให้เหยียบกิ่งหว้า คนทั้งหลายรู้ว่านางทั้ง ๔ ไปที่ใดก็พากันหนีเสีย ไม่กล้าสู้หน้า จนกระทั่งพวกเธอมาถึงเมืองสาวัตถีปักกิ่งหว้าไว้ใกล้ประตูพระนคร แล้วเข้าไปในเมือง

เช้าวันนั้น พระสารีบุตรเถระ กวาดสถานที่ยังมิได้กวาดเสร็จแล้วตักน้ำดื่มใส่หม้อให้เต็มแล้ว พยาบาลภิกษุไข้เสร็จแล้ว จึงเข้าไปบิณฑบาทในเมืองสาวัตถี

น่าสังเกตว่า พระสารีบุตรเถระ เวลานั้นก็เป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่แล้ว มีตำแหน่งถึงธรรมเสนาบดี อัครสาวกฝ่ายขวา ยังปัดกวาดเสนาสนะเอง ตักน้ำใช้น้ำฉันเอง และพยาบาลภิกษุไข้ด้วยตนเอง
พระสารีบุตรเห็นเด็กยืนล้อมกิ่งหว้าอยู่หน้าประตูเมืองจึงถามทราบความแล้ว จึงสั่งให้เด็กพวกนั้นเหยียบกิ่งหว้าเสีย และสั่งเด็กไว้ว่า ถ้าเจ้าของกิ่งหว้ากลับมาให้ไปพบท่านที่ซุ้มประตูวัดเชตวันวิหาร แล้วเข้าไปบิณฑบาตในเมือง

เมื่อปริพพาชิกาทั้ง ๔ คน เที่ยวภิกขาจารกลับมาเห็นกิ่งหว้าถูกเหยียบย่ำทำลายเช่นนั้น จึงถามพวกเด็กว่า ใครให้ทำลาย ทราบความทั้งหมดจากเด็กแล้ว จึงกลับเข้าไปในเมืองอีกครั้งหนึ่ง เที่ยวประกาศให้คนทั้งหลายทราบว่าพวกตนจะโต้วาทะกับพระสารีบุตรที่ซุ้มประตูวัดเชตวัน ขอให้ประชาชนไปฟังเป็นพยาน

ประชาชนพากันไปมากการโต้วาทะได้เริ่มขึ้น พวกนางถามสิ่งใด แม้ปัญหาเป็นพันๆข้อ พระสารีบุตรก็ตอบได้หมด เพราะท่านเคยเรียนลัทธิปริพพาชกมาก่อน

ปัญหาของท่านมีเท่านี้หรือ ?” พระสารีบุตรถาม
“มีเท่านี้” พวกนางตอบ

“ถ้าอย่างนั้น ฉันขอถามเธอบ้าง”
“ถามเถิดท่าน”

เอกํ นาม กึ-อะไรชื่อว่าหนึ่ง ?”
ปริพพาชิกาทั้ง ๔ คน ตอบไม่ได้

คนโง่ก็กลายเป็นคนฉลาดได้ เมื่ออยู่ในหมู่คนที่โง่กว่า คนฉลาดก็อาจกลายเป็นคนโง่ได้ เมื่ออยู่ในหมู่คนที่ฉลาดกว่า ความฉลาดและความโง่จึงอยู่ที่การเปรียบเทียบ

พระสารีบุตรวิสัชนา  ปัญหานั้น ให้พวกนางฟังจนเข้าใจแจ่มแจ้ง นางทั้ง ๕ ยอมรับว่า นางยอมแพ้ พระสารีบุตรถามว่า จะทำอย่างต่อไป นางตอบว่า มารดาบิดาสั่งไว้ว่า ถ้าใครชนะในการโต้วาทะ หากเขาเป็นคฤหัสถ์ให้ยอมเป็นภรรยาของเขา ถ้าเป็นบรรพชิตให้ยอมบวชเป็นศิษย์ในสำนักของเขา เพราะฉะนั้นขอท่านจงให้พวกดิฉันบวชในสำนักของท่านเถิด

พระสารีบุตร ให้นางบวชกับพระอุบลวรรณาเถรีไม่นานได้บรรลุอรหัตตผลทั้งหมด

ที่ธรรมสภา ภิกษุทั้งหลายสนทนากันถึงเรื่องนี้ว่า พระสารีบุตรเป็นที่พึ่งของปริพพาชิกาทั้ง ๔ คน พระศาสดาเสด็จมาทรงทราบเรื่องตรัสว่า เมื่อก่อนสารีบุตรก็เคยเป็นที่พึ่งของนางทั้ง ๔ นี้แล้วเหมือนกัน ทรงนำเรื่องในอดีตมาดังนี้ :-

ในอดีตกาล พระเจ้ากาลิงคะ ครองราชย์สมบัติในนครทันตปุระ แคว้นกาลิงคะทรงสมบูรณ์ด้วยรี้พลพาหนะ มีกำลังกองทัพเข้มแข็งเกรียงไกร พระองค์เองก็มีกำลังปานคชสาร ทรงกระหายสงครามอยู่เสมอ เพราะทรงทะนงในกำลังของพระองค์ แต่ไม่มีใครต้องการเข้ายุทธสงครามด้วย

วันหนึ่ง พระเจ้ากาลิงค์ ประทับท่ามกลางอำมาตย์ราชมนตรี ตรัสปรึกษาว่า ทำอย่างไรจึงจะได้เข้าสงครามกับพระราชาองค์ใดองค์หนึ่ง

อำมาตย์ราชมนตรีปรึกษากันมากแล้วกราบทูลว่ามีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง คือ พระราชธิดาของพระองค์ซึ่งทรงสิริโสภาคย์อันเลิศนั้น จะสามารถทำให้มโนรถของพระองค์บรรลุถึงที่สุดได้

“จะทำอย่างไร ?” พระเจ้ากาลิงค์ตรัสถามอย่างสนพระทัยเต็มที่
พวกอำมาตย์กราบทูลว่า ขอให้พระราชาให้พระราชธิดาทั้ง ๔ พระองค์ ประทับนั่งในยานเกียรติยศ แวดล้อมด้วยพลโยธีเที่ยวไปยังราชธานีต่างๆ พร้อมประกาศว่า พระราชาพระองค์ใดรับพระราชธิดาไว้เป็นอัครมเหสี เราจักทำสงครามกับพระราชานั้น
พระเจ้ากาลิงค์ ทรงเห็นด้วย รับสั่งให้ทำตามนั้น

ราชธานีที่พระนางเสด็จถึง พระราชาทั้งหลายเกรงภัยสงคราม จึงได้ส่งเครื่องราชบรรณาการออกไปถวายพระราชธิดานอกพระนคร พระราชธิดาแห่งพระเจ้ากาลิงค์เสด็จไปเกือบทั่วชมพูทวีปโดยทำนองนี้ จนกระทั่งได้บรรลุถึงโปตลนครในแคว้นอัสสกะ

พระเจ้าอัสสกะ ทรงมีอำมาตย์คนหนึ่งฉลาดมากชื่อนันทเสน นันทเสนคิดว่า ถ้าเราไม่เปิดประตูต้อนรับพระราชธิดาของพระเจ้ากาลิงค์ ก็ดูประหนึ่งว่า ชมพูทวีปทั้งสิ้นว่างจากนักรบเสียแล้ว เพราะฉะนั้น เราจักเปิดประตูรับพระราชธิดาของพระเจ้ากาลิงค์ถวายพระเจ้าอัสสกะ แล้วจักทำสงครามกับกองทัพของพระเจ้ากาลิงค์นั้น

นันทเสนจัดแจงให้พระราชธิดา แห่งพระเจ้ากาลิงค์อภิเษกกับพระเจ้าอัสสกราชแล้วให้ราชบุรุษที่ตามพระนางกลับไปกราบทูลให้พระเจ้ากาลิงค์ทรงทราบ

พระเจ้ากาลิงค์ทรงทราบแล้ว ทรงพอพระทัยที่จะได้ทำสงครามสมพระราชประสงค์และทรงดำริว่า “พระเจ้าอัสสกะชะรอยจักไม่ทรงทราบกำลังของเรา” จึงเสด็จออกสงครามพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนาด้วยความมั่นพระทัยอย่างยิ่งกว่า จะต้องได้รับชัยชนะ

อำนาตย์นันทเสน ทราบข่าวว่ากองทัพของพระเจ้ากาลิงค์กำลังมา จึงให้คนนำพระราชสาส์นของพระเจ้าอัสสกะไปถวายความว่า ขอให้กองทัพของพระเจ้ากาลิงค์หยุดอยู่ปลายแดนของพระองค์เอง อย่าล่วงล้ำเข้าไปในพระราชอาณาเขตของพระเจ้าอัสสกะ เราจักทำสงครามกันที่แดนต่อแดน ส่วนพระเจ้าอัสสกะ ก็ทรงยกกองทัพไปที่ปลายแดนแห่งพระราชอาณาเขตของพระองค์เหมือนกัน

ครั้งนั้น มีดาบสรูปหนึ่ง เป็นดาบสโพธิสัตว์ ปลูกอาศรมอยู่ระหว่างพระราชอาณาเขต แห่งกษัตริย์ทั้งสอง พระเจ้ากาลิงค์ทรงดำริว่า ธรรมดาสมณะย่อมรู้เหตุการณ์อะไรล่วงหน้า เราควรเข้าไปถามถึงความมีชัยหรือปราชัยของเรา จึงปลอมพระองค์เข้าไปหาดาบสนั้น ถามว่าพระเจ้าอัสสกะกับพระเจ้ากาลิงค์ ซึ่งกำลังจะทำสงครามกันนั้นฝ่ายใดจะแพ้ ฝ่ายใดจะชนะ ดาบสกล่าวว่า ตัวท่านเองไม่รู้ แต่ท้าวสักกะเทวราชมาหาท่านเสมอ ท้าวสักกะคงจะรู้ จะถามท้าวสักกะให้ พรุ่งนี้ขอให้มาฟัง

วันรุ่งขึ้น เมื่อท้าวสักกะมาเยี่ยมดาบสอย่างเคย ดาบสได้ถามถึงสงครามระหว่างพระเจ้ากาลิงค์ กับพระเจ้าอัสสกะว่าฝ่ายไหนจะชนะ ท้าวสักกะตอบว่า พระเจ้ากาลิงค์จะชนะ พระเจ้ากาลิงค์มาหาดาบสตามที่นัดหมายไว้ ดาบสทูลว่าท้าวสักกะตรัสบอกว่า พระเจ้ากาลิงค์จักได้ชัยชนะ พระเจ้ากาลิงค์ทรงสดับดังนั้น ดีพระทัย ไม่ทรงสดับรายละเอียดรีบเสด็จกลับไป ตรัสบอกความนั้นแก่เสนาบดีนายทัพนายกองทั้งหลาย ข่าวนั้นแพร่สะพัดไป รู้กันทั้งกองทัพในเวลาไม่นานทั้งพระเจ้ากาลิงค์และทหารฝ่ายพระองค์ จึงตั้งอยู่ในความประมาท ละความเพียรและความรอบคอบทั้งปวงเสีย

เรื่องการทำนายของท้าวสักกะ เป็นข่าวแพร่สะพัดไปถึงพระเจ้าอัสสกะด้วยเหมือนกัน พระเจ้าอัสสกะจึงรับสั่งให้นันทเสนอำมาตย์เข้าเฝ้า ทรงปรึกษาว่าจะทำประการใดดี

นันทเสนทูลว่า อย่าได้ทรงวิตกเลยแม้พระอินทร์จะทรงทำนายแล้ว ว่าฝ่ายเราจะแพ้ แต่ข้าพระพุทธเจ้าจะเอาชนะคำทำนายของพระอินทร์ ด้วยความเพียรพยายามดังนี้แล้วไปหาแม่ทัพนายกอง ปรึกษาเรื่องการศึกกันอยู่เป็นเวลานาน นันทเสนอำมาตย์คิดถึงอุบายอย่างหนึ่งได้ จึงชวนนายทหารประมาณพันหนึ่งซึ่งเป็นสหายกับพระราชา พาขึ้นไปยังภูเขาลูกหนึ่ง แล้วถามว่าท่านทั้งหลายสามารถจะสละชีวิตถวายพระราชาได้หรือไม่ ทหารพวกนั้นตอบว่าได้นันทเสนจึงว่า ถ้าอย่างนั้นขอท่านทั้งหลายจงกระโดดลงไปในเหวนี้ ทหารพวกนั้นทั้งหมดทำท่าจะกระโดดลงไปจริงๆ นันทเสนห้ามไว้แล้วบอกว่า ถ้าในการรบพวกท่านยอมพลีชีวิตเพื่อพระราชาของเราจริงๆ   รบอย่างไม่ถอยพวกเรามีหวังชนะอย่างแน่นอน ดังนี้พาทหารทั้งหมดลงมาจากภูเขา

เมื่อกองทัพทั้งสองฝ่ายประชิดกัน พระเจ้ากาลิงค์ทรงดำริว่า เราจักชนะสงครามตามคำทำนายอย่างแน่นอนจึงประมาท มีความเพียรย่อหย่อน พลนิกายของพระองค์ก็เหมือนกันละความเพียรเสีย เพราะคิดว่า พวกเราจะชนะไม่จัดการผูกสอดเครื่องอาวุธยุทธภัณฑ์ แบ่งเป็นพวกเป็นเหล่า เที่ยวเตร่ตามใจชอบของตน ส่วนกองทัพฝ่ายพระเจ้าอัสสกะรบอย่างระมัดระวัง รบอย่างพากเพียรยอมสละชีวิตเพื่อพระราชาไม่ถอยหลัง

ในที่สุดแห่งการรบ กองทัพอัสสกะเป็นฝ่ายชนะ พระเจ้ากาลิงค์หนีพลาง ร้องด่าดาบสไปพลางว่าโกหก หลอกลวง ทำให้พวกเราฉิบหาย ฝ่ายทางกองทัพของพระเจ้าอัสสกะก็เยาะเย้ยดาบสว่า เห็นจะรับสินบนมาเป็นแน่จึงทำนายว่าพระเจ้ากาลิงค์จักชนะ ผู้ประพฤติพรตพรหมจรรย์พูดเท็จได้ถึงเพียงนี้เที่ยวหรือ

ต่อมาอีก ๓ วัน ท้าวสักกเทวราช เสด็จมาสู่ที่บำรุงของดาบส – ดาบส ได้ถามท้าวสักกะว่า เทวดาทั้งหลายยังล่วงละเมิดประพฤติมุสาวาทอยู่หรือ ? คำใดที่พระองค์ตรัสบอกอาตมาเกี่ยวกับเรื่องสงคราม คำนั้นหาได้เป็นจริงไม่ ทำไมพระองค์จึงกล่าวเท็จเช่นนั้น
ท้าวสักกะ ทรงสดับดังนั้นจึงตรัสว่า

ท่านเคยได้ยินมิใช่หรือว่า แม้เทวดาก็กีดกันความบากบั่นพากเพียรของลูกผู้ชายไม่ได้ ความข่มใจ ความแน่วแน่ ความมีฉันทะ ความไม่แตกแยกกัน ไม่เกี่ยงงอนการรุกในคราวที่ควรรุก ความกล้าหาญมั่นคงและความบากบั่นอย่างลูกผู้ชาย เหล่านี้มีอยู่ในพวกของพระเจ้าอัสสกราช เพราะฉะนั้นชัยชนะจึงเป็นของพระเจ้าอัสสกะ

รวมความว่า แม้เทวดาก็เอาชนะคนมีความเพียรไม่ได้ เพราะฉะนั้น เกิดเป็นคนควรใช้ความเพียรพยายามร่ำไป จนกว่าจะประสบความสำเร็จ


พระศาสดาครั้นทรงแสดงพระธรรมเทศนาจบแล้วจึงทรงประ
ชุมชาดกว่า.  พระราชธิดาของพระเจ้ากาลิงคราชในกาลนั้น  ได้เป็นภิกษุณีสาวเหล่านี้  ในบัดนี้  อำมาตย์นันทเสนในครั้งนั้นได้เป็นพระสารีบุตรในบัดนี้  ส่วนดาบสในครั้งนั้น  ได้เป็นเราตถาคต  ฉะนี้แล.

                            จบ  อรรถกถาจตุกกนิบาตชาดกที่  ๑

........................................................................................................................................

ที่มา  : หนังสือ เพียรพายสำเภาแก้ว  เผยแพร่โดย  วัดป่าวิเวกวัฒนาราม ( วัดหลวงปู่จาม ) บ้านห้วยทราย ต.คำชะอี อ.คำชะอี  จ.มุกดาหาร

หมายเลขบันทึก: 184429เขียนเมื่อ 25 พฤษภาคม 2008 12:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีค่ะคุณกวิน

แวะมาทักทายก่อนค่ะ ทานอะไรตอนเที่ยงหรือยังคะ

ทานแล้วครับ ข้าว+แกงมะระ

  • คุณกวินคะ
  • เป็นนิทานที่สนุกนะคะ ให้ข้อคิดสอนใจดีด้วย แต่ยาวมากอ่านจนแสบตาเลย
  • พระสารีบุตรท่านเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา ผู้มีความเป็นเลิศในทางปัญญาของพระพุทธเจ้าใช่ไหมคะ (จำผิดหรือเปล่าไม่ทราบค่ะ) 
  • "คนโง่ก็กลายเป็นคนฉลาดได้ เมื่ออยู่ในหมู่คนที่โง่กว่า คนฉลาดก็อาจกลายเป็นคนโง่ได้ เมื่ออยู่ในหมู่คนที่ฉลาดกว่า ความฉลาดและความโง่จึงอยู่ที่การเปรียบเทียบ"
  • ไม่ค่อยกล้ามองต่างมุมค่ะ เพราะก็ดังที่คุณกวินว่า คนโง่มักไม่ค่อยรู้ตัวว่าตัวเองโง่ ยังนึกว่าเรานี้ฉลาดเสียจังเลย...
  • เมื่อช่วงเช้าคนไม่มีรากได้ฟังรายการวิทยุ ดร.บุญชัย โกศลธนากุล บอกว่า เรามักติดอยู่กับ ความคิด มากเสียจน ละเลย อารมณ์ ที่เกิดขึ้นสด ๆ ร้อน ๆ และเป็นของจริง (เรามักรังเกียจว่าอารมณ์เป็นสิ่งไม่ดี ไม่ควรให้เกิด ไม่ควรพิจารณามัน) เราจึงหลงวนอยู่ในความคิดจนไม่ได้ รู้ตามความเป็นจริง
  • เลยได้ข้อคิดว่าต้องไม่มองต่างมุม ไม่ถกเถียงท้าทายทางความคิดกับใครมากเกินไป ให้หัดรับฟังให้มาก ๆ จะได้ไม่กลายเป็นคนโง่ ... นิทานเรื่องนี้ต้องการสอนอย่างนี้หรือเปล่าคะ
  • ขอบคุณสำหรับนิทานดี ๆ ค่ะ ^_^

 

  • คนไม่มีราก
  • อ่านจนจบเลยนะครับ ขยันจัง หนอนหนังสือน้อย
  • พระสารีบุตรท่านเป็นอัครสาวกฝ่ายขวา ถูกต้องครับ รับไป 1 คะแนน
  • การพิจารณาให้รู้เท่าทันตามอารมณ์/รู้ตามความเป็นจริง รับไป 1 คะแนน  (หมั่นใช้  อุเบกขาธรรมประกอบการ พิจารณา)   
  • ฟัง + (คิด ถาม จด) คือหัวใจนักปราชญ์ รับไป 1 คะแนน
  • วันนี้ รับไป 3 คะแนน ครับ :)
  • (คะแนนพิศวาส)
  • แวะมาอ่านอีกค่ะ เพลงนี้เพราะจังนะคะ
  • เลยมาพบว่าคุณครูกวินนี่กดคะแนนนักเรียนจัง อุตส่าห์ตั้งใจอ่าน วิเคราะห์ คิด ประมวล สังเคราะห์ แล้วก็พิมพ์อีก
  • ...แต่ให้แค่..3 คะแนนเนี่ยนะคะ..โห...ขี้เหนียวคะแนนจัง..เทอมหน้าไม่ลงเรียนวิชานี้แล้ว...^_^
  • แม้เทวดาก็เอาชนะคนมีความเพียรไม่ได้ เพราะฉะนั้น เกิดเป็นคนควรใช้ความเพียรพยายามร่ำไป จนกว่าจะประสบความสำเร็จ  จำไว้นะ นักเรียนคนไม่มีราก  แล้วอย่าบ่นอีกนะ ไม่งั้นครูจะหักคะแนน... :)
  • โห...คุณครูกวินดุจัง
  • จายเย็นนนนน......คะแนนภาษาไทยยิ่งแย่ ๆ อยู่ อย่าหักคะแนนอีกเลยค่ะ พอดีสอบตกกันพอดี

12342 

  • คุณครูกวินค้า...อย่าหักคะแนนเลยน้า...จากน้องแองจี้ค้า...
  • เมตตาธรรมค้ำจุนโลก
  • จะยอมให้สักครั้งนึงนะ
  • ...
  • :)
  • มาขอ Drop ค่ะ คุณครูกวิน
  • เนื่องจากคุณครูดุและวิชาก็ยากเกินไป
  • ไม่เรียนแล้ว...^_^

ดีจัง กำลังหาชื่อ บรรดาพี่ๆ ของสัจจกนิครนธ์ อยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท