การสอนสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


การพยาบาลผู้ป่วยระบบข้อ กระดูกและกล้ามเนื้อ

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง

การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพทุกช่วงวัยที่มีความผิดปกติของกระดูก

ข้อ และกล้ามเนื้อทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤตและเรื้อรัง**

 

ศรัญญา  จุฬารี *

อรนุช  ประดับทอง*

อาจารย์ที่ปรึกษา                  ดร.มกราพันธ์  จูฑะรสก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เรื่อง การพยาบาลบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพทุกช่วงวัยที่มีความผิดปกติของกระดูก ข้อ และกล้ามเนื้อทั้งในระยะเฉียบพลัน วิกฤตและเรื้อรังของนักศึกษาพยาบาล วัตถุประสงค์การวิจัย คือ พัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถ  (1)   มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถเชื่อมโยงแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับหลักการพยาบาลแบบองค์รวมแก่บุคคลทุกช่วงวัยได้อย่างมีเหตุผล  (2) เกิดความรอบรู้ รอบคอบและระมัดระวังในการประเมินภาวะสุขภาพและวางแผนการพยาบาลตามความรุนแรงของปัญหาในระบบกระดูกและข้อได้ และ (3) น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การปฏิบัติการพยาบาลเพื่อส่งเสริม ป้องกัน บำบัดและฟื้นฟูสภาพบุคคลที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกและข้อด้วยความเอื้ออาทรโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนและหลักจริยธรรมได้  กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต ชั้นปีที่ 2  ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา ปฏิบัติการพยาบาลบุคคลที่ปัญหาสุขภาพ 1  ภาคการศึกษาที่ 2   ปีการศึกษา 2550   วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์  เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย  (1) ตัวผู้วิจัย  (2) การจดบันทึกภาคสนาม และ (3) แบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนรู้ (4) แผนการสอนสอดแทรกปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง   วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย  กระบวนการเพื่อพัฒนาให้ผู้เรียน มีขั้นตอน ดังนี้   (1) นำเข้าสู่บทเรียนด้วยประสบการณ์   (2) ถามนำให้ได้โยงความคิด  (3) ให้มโนมติล่วงหน้าเพื่อเตรียมการ  (4) บรรยายเนื้อหาปูพื้นฐาน  ซึ่งมีกลวิธีย่อย คือ     ตั้งคำถามกระตุ้นความคิดและทั้งสาธิตทั้งฉายภาพ(5) กรณีศึกษาพาวิเคราะห์  (6) วางแผนดูแลอย่างรอบคอบ รอบรู้ คู่คุณธรรม และ (7) แลกเปลี่ยนแบ่งปัน   สำหรับการ "มีเหตุผล"  เห็นได้จากคำตอบของผู้เรียนในการเชื่อมโยงความรู้ในขณะบรรยายแบบมีส่วนร่วม  ความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง และ คุณธรรม เห็นได้จากกระบวนการวิเคราะห์กรณีศึกษา และวางแผนการพยาบาลโดยคำนึกถึงความเป็นปัจเจกบุคคล

ผลการศึกษาช่วยให้ได้แนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงสู่การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการพยาบาลที่เป็นรูปธรรมและสามารถขยายผลไปสู่วิชาอื่นๆ ต่อไป 

 

 

 

 



** ได้รับทุนสนับสนุนจากเครือข่ายพัฒนาบัณฑิตอุดมคติไทย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา)

* อาจารย์    วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์

หมายเลขบันทึก: 184101เขียนเมื่อ 23 พฤษภาคม 2008 14:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 12:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

รู้สึกว่า..งานชิ้นนี้ จะได้รับรางวัล ที่ เชียงใหม่ด้วย....ผมติดตามอยู่นะคับ

ความจริง ต้องขอบคุณ ดร.มกราพันธุ์ อย่างมาก ท่านเป็นผู้จุดประกาย กระตุ้น และผลักดันอย่างมากค่ะ ความจริงเราเองก็ใช่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกันอยู่แล้ว ในการทำงาน แต่ทำอย่างไรเราจะรวบรวมและใช้อย่างต่อเนื่อง และจริงจัง นั่นแหละคือโจทย์

คุยกันอยู่สองคนน่าสงสารจังเลย ขอชื่นชมด้วยคนน่ะค่ะ

อือฮือ...ชื่นชมด้วยอีกคนนะ ถึงจะช้าไปนิดแต่ก็ยกย่องในความสามารถของเธอจริงจริ๊ง...เออ..เอ็งเก่ง..

ชื่นชมค่ะ เก่งจังเลยค่ะ

ดร.มกราพันธุ์ เป็นผู้อำนวยการที่วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท