อบรมเทคโนโลยีการศึกษา และสื่อการสอน ให้กับอาจารย์พยาบาล


   
   

            วันนี้ผมได้รับเชิญจาก วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช ให้มาเป็นวิทยากร อบรมเรื่อง เทคโนโลยีการศึกษา และสื่อการสอน ให้กับอาจารย์ที่สอนนักศึกษาพยาบาล ซึ่งทางวิทยาลัยมีแนวคิดที่จะให้อาจารย์ ได้สร้างสื่อการสอน สำหรับการสอนนักศึกษา

           ผมได้มีโอกาส มาสอนหรือมาเป็นวิทยากรที่วิทยาลัยพยาบาลครั้งนี้เป็นครั้งที่สามแล้ว ครั้งแรก น่าจะสิบกว่าปีที่แล้ว ครั้งนั้นมาสอนนักศึกษาพยาบาล เกี่ยวกับเรื่องสื่อการสอน สอนอยู่ประมาณ  3-4 ครั้ง ส่วนครั้งที่สอง ก็ได้มาเป็นวิทยากรเกี่ยวกับเรื่องของสื่อการสอนอีกเช่นกัน แต่ครั้งนั้นเป็นการอบรมให้กับอาจารย์พยาบาล เหมือนกับครั้งนี้แต่ว่า เป็นกลุ่มอาจารย์ทางพยาบาลในเขตภาคเหนือที่รวมตัวกับอบรมเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องการเรียนการสอน สื่อการสอน และการวัดผล

           ส่วนครั้งนี้ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องในประเด็นเดียวกัน แต่ผมก็ไม่ไว้วางใจต้อง ทำการบ้านพอสมควร ว่าอาจารย์พยาบาล เค้าสอนอะไรกันบ้าง เค้าสอนอย่างไร เค้าใช้สื่อกันอย่างไร ก็พอได้ข้อมูลว่า การเรียนการสอนทางพยาบาลนั้น เค้าต้องเรียนทั้งภาค ทฤษฎีและการปฏิบัติ ที่มีการขึ้น หวอด ไม่รู้ว่าผมเขียนถูกหรือเปล่า คือนักศึกษาจะเริ่ม ขึ้นเรียนภาคปฏิบัติในโรงพยาบาล หรือ ตามสาธารณสุข ชุมชน ตอนช่วงชั้นปีที่ 3 อาจารย์ผู้สอนเองก็ต้อง ติดตาม นักศึกษาขึ้นไปสอนกันที่โรงพยาบาลด้วย

           ในครั้งนี้ผม ได้รับทราบอีกว่า ในการสอนภาคทฤษฎีนั้น ส่วนใหญ่สื่อการสอนที่ อาจารย์ที่นี่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น เพาเวอร์พอยต์ มีบ้างบางคนที่สนใจจะสร้างวิดีโอประกอบการสอน และบางคนก็สนใจเกี่ยวกับการจะนำบล็อกไปใช้ในการสอน

           เพราะฉะนั้นในวันนี้ผมจึงเป็นเพียงไปจุดประกายไฟความคิดในการนำเทคโนโลยีและสื่อการเรียนการสอนไปใช้ โดยผมวางประเด็นไว้ว่าในวันนี้คงแค่ทำให้รู้สึกอยากก่อน ให้รู้ว่าเราจะนำสื่อการเรียนการสอน อะไรมาใช้ได้บ้าง

           ผมเกริ่นนำถึงเรื่อง การสอนเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ซึ่งคนที่เป็นครูมือใหม่ทั้งหลายคงจำวันแรกๆ ที่เราเข้าห้องสอนกันได้ ว่าน่าตื่นเต้นแค่ไหน เตรียมการสอนมา 3-4 วัน แต่พอเข้าสอนจริง สอน 15 นาที หมดเรื่องจะสอน แต่พอเวลาผ่านไป 10 ปี แค่เกริ่นนำ หมดไป 3 ชั่วโมง ยังไม่เข้าเรื่องที่จะสอนเลย ไม่รู้เอาเรื่องอะไรมาคุยได้เป็นคุ้งเป็นแคว

            สไสด์การสอนเปรียบเทียบให้เห็น เรื่องรูปธรรม นามธรรม ของการใช้สื่อ โดยการผมลองให้อาจารย์พยาบาลลองวาดภาพตัว Aardvark โดยผมอธิบายลักษณะเจ้าตัว Aardvark  ให้ฟังว่าเจ้าสัตว์ประหลาดตัวนี้มีลักษณะ

                   " ลำตัวของมันอ้วน  หลังโค้ง  ขาสั้นและป้อม  มีอุ้งเท้าที่แข็งแรงและทู่เป็นอาวุธ  หูยาว โคนหางหนาแล้วค่อยๆ เรียวลงไปทางปลายหาง หน้ายาว  คอสั้น ตรงปลายสุดของหน้ามีลักษณะเป็นจานซึ่งเป็นที่เปิดของช่องจมูก    ปากเล็กและเป็นรูปโค้ง  มีลิ้นแลบได้ยาว  ตัวขนาดโตวัดได้ 6  ฟุต  8 นิ้ว  สีทรายอ่อนหรือเหลือง   ขนเกรียนจนมองเห็นผิวหนังของมันได้"

                  ซึ่งอาจารย์พยาบาล ก็วาดกันออกมา ตามจินตนาการ เหมือนหมูบ้าง เหมือนชะมดบ้าง เหมือน สัตว์ประหลาดต่างดาว บางคนถามว่า มันมีจริงหรืออาจารย์เจ้า สัตว์ตัวนี้ โชคดีที่ตอนนั้น อินเทอร์เน็ตที่วิทยาลัยพยาบาล ดาวน์ พอดี ทำให้อาจารย์ที่เข้าอบรม ไม่สามารถถาม Google ก่อนถามผม ซึ่งก็เป็นคำถามเดียวกันกับที่ผมเคยถามอาจารย์ที่สอนผมมาเหมือนกันว่ามันมีจริงในโลกนี้หรือเจ้าตัวนี้

                  แต่สมัยก่อน ไม่มี Google ที่สามารถค้นหารูปได้เหมือนสมัยนี้ทำให้ผมต้องเชื่อตามอาจารย์ที่สอนผมมาว่ามันมีจริง เพราะอย่าว่าแต่เมืองนอกเมืองนาเลย แค่เข้าไปเรียนกรุงเทพนี้ก็เป็นของใหม่สำหรับผมแล้วตอนนั้น แล้วนี้เอาสัตว์ประหลาดมาให้รู้จัก ถ้าเป็นยีราฟยังพอว่าไปอย่าง 

                 เดี๋ยวนี้เจ้า Google มันย่อโลกจริงๆ ชั่วลัดนิ้วมือเดียว สักพักหนึ่งระหว่างที่ผมเฉลยให้ดูว่าเจ้า  Aardvark ที่ผมพยายามอธิบายลักษะรูปร่างของมันด้วยข้อความ แบบ วจนสัญลักษณ์อยู่นั้น อาจารย์พยาบาลสาวที่นั่งอยู่ ก็สามารถเข้า Google ค้นหาภาพเจ้าตัว Aardvark  ออกมาได้และหันหน้าจอโน๊ตบุ๊คของเธอให้เพื่ออาจารย์พยาบาลที่กำลังอบรมอยู่ อย่างภาคภูมิใจ ซึ่งเป็นความภาคภูมิใจสองต่อ ต่อแรกคือค้นภาพเจอ ต่อที่สองคือเธอสามารถเข้าอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง (6 MB/S ADSL) ของวิทยาลัยพยาบาลที่กระจายผ่านไวไฟ คลอบคลุมทั้งวิทยาลัย โดยฝีมือ อาจารย์รณภพ อิ้มทับ ลูกศิษย์ ป.โท เทคโน ของเรานี่เอง ซึ่งเรื่องความเร็วนั้นสอบผ่าน แต่ความเสถียรของระบบนี่ซิสอบตก บทสัญญาณจะมาก็มา จะหายก็หาย กระปริบ กระปรอย เหมือนน้ำปะปาวัดโบสถ์เลย (ฮ่า ฮ่า เหน็บแนม)    เพราะฉะนั้นการค้นหาข้อมูลมาได้จึงไม่ใช่ธรรมดา ต้องมีทั้งโชค และฝีมือ

           

            นอกจากจะให้เข้าใจเรื่องของเทคโนโลยีการศึกษา และสื่อการสอนแล้ว ผมยังได้มีโอกาสแนะนำ หลักการออกแบบสื่อเพาเวอร์พอยต์ให้กับอาจารย์พยาบาล ว่าจะออกแบบสื่อดังกล่าวอย่างไร ให้อ่านง่าย ออกแบบให้น่าสนใจ รวมทั้งการวางแผนอย่างเป็นระบบในการใช้สื่อการสอน ASSURE Model

             ส่วนในช่วงบ่าย ผมได้ลองนำคลิปวิดีโอสั้นๆ เกี่ยวกับเรื่อง การสอนตีกอล์ฟ ที่ได้มาจาก อาจารย์หมอ เจเจ มาฉาย และใช้วิธีการใช้คำถามฝึกการคิด การอภิปราย รวมถึงการทำกิจกรรมแก้ง่วงด้วยการให้ออกแบบเครื่องบินที่มีสมรรถนะสูง บินได้ดี บินได้ไกล และตรงเป้าหมาย ประหยัดพลังงาน เพื่อส่งเข้าประกวดชิงรางวัล บวกกับเทคนิควิธีการตั้งคำถาม วิธีการคิดเชิงวิเคราะห์

     ที่มาภาพประกอบ : http://sukumal.brinkster.net

             นอกจากนี้ผมยังแนะนำอุปกรณ์ในการจดบันทึกแบบดิจิตอล ที่น่าสนใจในการจดบันทึกให้กับอาจารย์พยาบาล คือ D-note ซึ่งมีคุณสมบัติที่น่าสนใจคือ เมื่อจดบันทึกเสร็จสามารถนำข้อมูลที่ได้ถ่ายโอนลงคอมพิวเตอร์ เป็นรูปภาพ ไฟล์ PDF หรือแปลงเป็นข้อความได้เลยถ้าเขียนบันทึกเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งผมก็ไปยืนดูแถวร้านไทยมาร์ทมาเหมือนกัน แต่ตัดสินใจว่ารอให้ถูกกว่านี้เหลือสัก 2-3 พันค่อยซื้อ และเจ้านี่ยังเป็นเวอร์ชั่นแรกอยู่รอให้พัฒนาให้ดีกว่านี้เสียก่อน เบากว่านี้อีกหน่อยจะน่าสนใจ

           

            ส่วนเจ้าถังกลมหน้าตาเหมือนถังขยะอวกาศ ตัวนี้ผมไมเจอที่พันทิพ ตั้งราคาขายไว้ ราว 4-5 หมื่นบาท เจ้าอุปกรณ์ตัวนี้ทำงานคลาย ฮาร์ดดิสก์เล่นวิดีโอได้ แต่ว่ามันมีความสามารถมากหน่อย คือวิดีโอที่เล่นได้นั้นเป็นวิดีโอคุณภาพสูงระดับ High definition ผ่านระบบแลนและไวไฟ ระบบเสียง 5.1 มีซีพียูในตัว เสียบแลน เข้าก้น ยัดวิดีโอลงถัง ก็พร้อมที่จะเผยแพร่ Streaming Video ออกมาให้รับชมพร้อมๆ กันหลายๆ ช่อง แหม ! เจ้าเทคโนโลยีนี่พัฒนาไปไวจริง เชื่อไหมครับว่า หน่วยงานเก่า ผมเพิ่งจะถอยอุปกรณ์แบบนี้ แต่ซื้อแพงกว่า เทคโนโลยีต่ำกว่า แถมสวยน้อยกว่าอีก เจ็บใจ เจ็บใจ ถ้างั้นใช้นโยบายเดิม ว่ารอให้ถูกอีกหน่อย ตอนนี้ก็ได้แต่ท่องว่า เห็นหนอ เห็นหนอ ไปก่อน ฮ่า ฮ่า ฮ่า

          หมายเหตุ ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการพับเครื่องบิน รายละเอียด

                        ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ TVX HD รายละเอียด



ความเห็น (13)

สวัสดีครับ อ.หนึ่ง

  • เข้ามาอ่านแล้วครับ
  • เรื่องเล่าสนุกดีครับ

สวัสดีครับ

  • แวะมาทักทายครับ
  • พึ่งเคยเห็นครับ
  • เครื่องนี้
  • ได้ความรู้ใหม่ครับ
  • ขอบคุณครับ

เดี๋ยวนี้ไปไกลขนาดนีแล้วเหรอเนี่ย......

เจ้าตัวนี้ใช่ตัวไฮยีน่าหรือเปล่าน้า....

ปะปาวัดโบสถ์เหรอค่ะ ถ้ากระปริดกระปรอยมากๆๆ หุหุ ใกล้น้ำน่านไม่ใช่เหรอค่ะ อิอิ

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์

  • หนูแอบเข้ามาอ่่านเทคนิคการสอนดีๆ... ไว้มีโอกาสจะได้นำเทคนิคการสอนให้รู้คิด แบบนี้ไปใช้บ้าง

  • หนูได้ข้อคิดว่า  ประสบการณ์ดีๆ ที่เราได้จาก "ครู" (คำว่า ครู รวมถึง ประสบการณ์ต่างๆ ที่เราสามารถเอามาใช้ประโยชน์)  หากเรา ประทับใจ นี่มันจะคงทน ... เช่นเดียวกับที่อาจารย์สอนโดยให้วาดภาพ Aardvark  หนูเข้าใจว่า เพราะ อาจารย์ประทับใจ  จึงได้นำมาใช้เป็นเทคนิคในวิธีการสอน ใช่มั้ยคะ

  • เทคนิค ในการถ่ายทอดของครู  สำคัญจริงๆ นะคะ   และ สุดท้าย เห็นว่า แบบอย่างของครู หรือ คน/สิ่ง ที่เราประทับใจนี่  มีผลต่อการเลียนแบบพฤติกรรมมากๆ เลย

  • ขอบคุณอาจารย์สำหรับเรื่องราวดีๆ อีกครั้งค่ะ

P ขอบคุณอาจารย์สมลักษณ์ครับ ที่เข้ามาแวะเวียนให้กำลังใจกัน  อยากตามไปเรียนที่โรงเรียนชาวนาด้วยครับ

 

P สวัสดีครับน้องจิ ตามเข้าไปอ่านบล็อกน้องจิแล้ว ยิ่งอ่านประวัติ น้องจิแล้วยิ่งทึ่ง รางวัลยาวเหยีด นักเรียนมอหก อนาคตไกล

            ยินดีที่ได้รูจักนะครับ

P สวัสดีครับครูโย่ง ไปทอดผ้าป่าสามัคคีมาสนุกไหมครับ

P หวัดดีแก่นจัง ที่เห็นนั้นไม่ใช่ตัวไฮยีน่าครับ

เจ้าตัวไฮยีน่านั้น ที่สวนสัตว์เขาเขียวนำมาแสดงให้ชม กลิ่นตัว สุดสุด แล้วน่ากลัวมากถ้าเจอกันตัวต่อตัวไม่มีรั้วกัน ไม่มันก็เราคงต้องวิ่งกันคนละทางแน่ๆ

  • ตามมาแอบขำ
  • หุหุ ต้องขอบคุณเจ้า กูเกิลเหมือนกัน หากไม่มีสองหนุ่มนี้ชีวิตคงยุ่งยากกว่านี้เยอะ

สวัสดีค่ะ

อ่านแล้วได้ความรู้ดีค่ะ แวะมาชื่นชมท่านอาจารย์

ภูมิใจที่ได้เป็นลูกศิษย์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท