Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

พระศากยมุนีพุทธเจ้า : บทที่ 4 ปฐมเทศนา – อริยสัจ 4


ประวัติและคำสอนของพระศากยมุนีพุทธเจ้า หนังสือธรรมจากประเทศ สิงคโปร์ แปลโดย ญาณภัทร ยอดแก้ว ปธ.9

            หลังจากการตรัสรู้  พระสิทธัตถะทรงพิจารณาถึงบุคคลแรกที่สามารถจะตรัสรู้ตามพระองค์ได้ ทรงเห็นปัญจวัคคีย์ทั้ง 5  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน  ทรงตัดสินพระทัยเสด็จไปยังที่นั่นทันที เพื่อเริ่มต้นหมุนกงล้อแห่งธรรม 3 วาระ คือ แสดงธรรมจักรกัปปวัตนสูตร นั่นเอง

 

ประการแรก ในบรรดาการหมุนกงล้อธรรมจักร 3 วาระ คือ  วาระแห่งการพิสูจน์ ดังนี้

1.      นี่คือทุกข์  เป็นธรรมชาติที่บีบคั้น ถ้าคุณมีความโกรธ  อารมณ์ฉุนเฉียวของคุณจะบีบคั้นให้คุณเป็นเหมือนไม่สบายตัวเมื่อเดิน(เหมือนวงเวียน) เมื่อยืน (เหมือนต้นสนโอนเอน) เมื่อนั่ง(เหมือนระฆังสั่น ๆ ) และแม้แต่เมื่อนอน(เหมือนคันธนูคุดคู้)

2.      นี่คือสมุทัย เป็นธรรมชาติที่ล่อลวง มันจะกวักมือเรียกคุณ คุณก็ตอบสนองต่อสิ่งเร้านั้น  สิ่งนี้ย่อมนำมาสู่การสะสมความทุกข์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยสืบเนื่องกันไป  คุณไม่อยากมีความโกรธ  แต่สถานการณ์บางอย่างก็ก่อให้เกิดการตอบสนองและคุณก็จะต้องทำ คุณจึงถูกล่อลวงเข้าไปสู่ความโกรธได้

3.      นี่คือนิโรธ (ทางออกหรือความดับทุกข์) เป็นธรรมชาติที่สามารถทำให้แจ้งได้

4.      นี่คือมรรค  เป็นธรรมชาติที่สามารถฝึกฝนได้

                       

ประการที่สอง ในบรรดาการหมุนกงล้อธรรมจักร  3  วาระ คือ  วาระแห่งการเชิญชวน

1.      นี่คือทุกข์  เป็นสิ่งที่คุณควรกำหนดรู้

2.      นี่คือสมุทัย เป็นสิ่งที่คุณควรละขาด

3.      นี่คือนิโรธ  เป็นสิ่งที่คุณควรทำให้แจ้ง

4.      นี่คือมรรค เป็นสิ่งที่คุณควรเจริญ(พัฒนาตนให้เกิดให้มี)

                       

ประการสาม ในบรรดาการหมุนกงล้อธรรมจักร 3 วาระ คือ  วาระแห่งการรับรองยืนยัน

1.      นี่คือทุกข์  เป็นสิ่งที่เราได้รู้แล้ว  เราไม่จำเป็นต้องรู้อีกในอนาคต

2.      นี่คือสมุทัย เป็นสิ่งที่เราได้ละแล้ว  เราไม่จำเป็นต้องละมันอีกในอนาคต

3.      นี่คือนิโรธ เป็นสิ่งที่เราได้บรรลุแล้ว  เราไม่จำเป็นต้องบรรลุอีกในอนาคต

4.      นี่คือมรรค เป็นสิ่งที่เราได้เจริญแล้ว    เราไม่จำเป็นต้องเจริญ(ฝึกฝน)อีกในอนาคต

 

อริยสัจ 4

1.        ทุกข์

2.        สมุทัย (เหตุให้เกิดทุกข์)

3.        นิโรธ (ความดับไปแห่งเหตุแห่งทุกข์)

4.        มรรค (หนทางสู่ความดับเหตุแห่งทุกข์)

 

            จะเห็นได้ว่า อริยสัจ 4 รวมทั้งอริยมรรคมีองค์ 8  เป็นรากฐานอันสำคัญของหลักคำสอนทั้งหมด  ในวาระแรกของธรรมจักร  พระศากยมุนีพุทธเจ้าทรงสอนถึงอริยสัจ  4  นี้   อริยสัจ 4  แสดงให้เห็่นอะไรและมาเกี่ยวข้องได้อย่างไร พระสิทธัตถะทรงชี้แจงต่อทุกๆ คนว่า โดยธรรมชาติแล้วสรรพสิ่งเป็นอนิจจัง(ไม่เที่ยง) และเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในสังสารวัฏ อันหมายถึงความทุกข์มีอยู่ด้วยกันทั้งนั้น

 

          สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา

          สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นย่อมดับไป

          การประชุมกันของสิ่งทั้งหลายย่อมจบลงที่การแยกสลายไป

          สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นก็ย่อมตายไป

 

          สิ่งที่เป็นสังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่เที่ยง

          สิ่งที่เป็นสังขารที่เกิดขึ้นเป็นทุกข์

          ธรรมธาตุทั้งหลายทั้งปวงเป็นความว่างเปล่าและปราศจากตัวตน

          สิ่งที่เรียกว่าตัวตนนั้นไม่มีอยู่จริง

 

            ในวาระที่สองของธรรมจักร พระองค์ตรัสถึงศูนยตาและแง่มุมอันลึกซึ้งของมรรค และความไม่จริงแท้ของสรรพสิ่ง  สรรพสิ่งซึ่งปรากฎขึ้นล้วนมีสาเหตุหรือปัจจัย ในการอธิบายเกี่ยวกับสาเหตุแห่งทุกข์  พระองค์ทรงแสดงว่า การพิจารณาโดยละเอียดถึงปัจจัยแวดล้อมของสถานการณ์บางอย่างมักจะนำไปสู่ความเข้าใจที่ดีเยี่ยมเกี่ยวกับอารมณ์ที่เป็นลบ(ความทุกข์) สิ่งนี้จะนำวกไปสู่ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในความจริงเกี่ยวกับมรรค

 

            ในวาระที่สามของธรรมจักร การขยายความอย่างละเอียดละออเกี่ยวกับหนทางในการเข้าถึงการตรัสรู้ได้ถูกชี้แจงไว้  เป็นการเน้นย้ำถึงธรรมชาติแห่งพุทธะ : บางสิ่งบางอย่างที่เรามีอยู่เสมอ    ธรรมชาติแห่งพุทธะไม่มีสิ้นสูญไป  จะยังอยู่กับเรา  เราไม่สามารถที่จะเปิดประตูซึ่งนำให้เข้าถึงธรรมชาติแห่งพุทธะนั้นได้ เนื่องจากจิตใจของเราถูกครอบงำด้วยอวิชชาและความยุ่งเหยิงต่าง ๆ  ธรรมชาติแห่งพุทธะนี้ เป็นที่รู้จักกันว่า ตถาคตคัพภะ  มีอยู่ในตัวเราเสมอ ไม่ใช่สิ่งภายนอกที่ผุดเกิดขึ้นทันทีในตัวเรา  เมื่อเรามีความเพียรอย่างยิ่งยวดในโอกาสอันเหมาะสม  ความมีอยู่ ณ ภายในของธรรมชาติแห่งพุทธะก็จะสามารถนำบุคคลให้บรรลุการตรัสรู้ได้ ดังนั้น  ในขณะที่วาระที่สองของธรรมจักรได้เน้นหนักมากถึงใจความเกี่ยวกับศูนยตาและธรรมชาติของความว่างของศูนยตานั้น  ส่วนวาระที่สามชูประเด็นคำสอนเกี่ยวกับปัญญา คือ ภาวะที่ใจบริสุทธิ์และสว่างไสว

             อีกข้อหนึ่งซึ่งจะต้องตระหนักอยู่เสมอเกี่ยวกับวิถีทางทั้งปวงก็คือ  อริยมรรคมีองค์ 8 คือ หนทางที่ยิ่งใหญ่ที่สุด เกี่ยวกับความจริงทั้งปวง ไม่มีอะไรที่เกินเลยอริยสัจ 4   เมื่อเข้าถึงและพัฒนาแง่มุมทั้งสองประการนี้จนถึงที่สุด  บุคคลก็จะหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงและเข้าถึงสถานะแห่งพระนิพพานโดยแน่นอน   ครูที่ดีและความรู้ที่เก็บเกี่ยวจากหนังสือทั้งหมดสามารถนำเสนอและชี้แนะหนทางให้คุณเท่านั้น  แต่ท่านทั้งหลายจะต้องดำเนินตามนั้นด้วยตนเอง เพราะไม่มีใครสามารถนำคุณให้เข้าถึงสถานะแห่งพระนิพพานนั้นได้เลย  

 

บุญรักษา  ธรรมคุ้มครองนะคะ

 

 เพื่อนๆ สามารถอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมในแง่มุมต่างๆ ได้จากที่นี่ค่ะ

 

ประโยชน์ของการปฏิบัติกรรมฐาน

http://gotoknow.org/blog/bhuddabutr/257968

 

บวชที่วัดป่าเจริญราช

http://gotoknow.org/blog/makingmeditation

 

ปฎิบัติธรรม ณ ยุวพุทธิกสมาคมฯ

http://gotoknow.org/blog/gotoybat

 

ตามรอยพระอารยะวังโส

http://gotoknow.org/blog/arayawangso

 

ค่ายพุทธบุตร

http://gotoknow.org/blog/bhuddabutr

 

เรื่องเล่าในหนังสือธรรมะ

http://gotoknow.org/blog/storydhamma

 

Good Project

http://gotoknow.org/blog/goodproject

 

หมายเลขบันทึก: 183295เขียนเมื่อ 19 พฤษภาคม 2008 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท