ปราชญ์ชาวบ้าน....การทำนาข้าวจังหวัดอุทัยธานี


ปราชญ์ชาวบ้าน....การทำนาข้าวจังหวัดอุทัยธานี

ปลูกข้าวเพิ่มผลกำไร  ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

โดย.....ครูติดแผ่นดินข้าว อุทัยธานี

จากการทำเวทีชุมชน...พอจะได้ข้อสรุปดังนี้ครับ...ลองพิจารณา

ดูก็แล้วกัน...บางทีอาจเป็นประโยชน์บ้างครับ

หลักคิด

1.      การผลิตที่ลดการพึ่งพาปัจจัยภายนอก

2.      การผลิตที่คำนึงถึงต้นทุนการผลิต

3.      การผลิตที่คำนึงถึงความปลอดภัยในชีวิตและธรรมชาติ

หลักวิชาการ

1.      การปรับปรุงบำรุงดินโดยใช้อินทรียวัตถุ

2.      การนำระบบ  IPM  มาดำเนินการ

3.      การป้องกันกำจัดวัชพืชโดยวิธีกล

4.      การทำแปลงขยายพันธุ์และใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่เชื่อถือได้

หลักปฏิบัติ

1.      การเตรียมดิน ควรใช้มูลสัตว์หมักแห้ง  หว่านในนาข้าวก่อนการไถครั้งแรก  โดยใช้อัตรามูลสัตว์หมักแห้ง  200  กก./ไร่  และควรหมักดินหลังจากไถไว้อย่างน้อย  5  วัน  เพื่อลดจำนวนวัชพืช

2.      การปรับปรุงบำรุงดิน ไม่เผาตอซังเพราะจะเป็นการทำลายอินทรียวัตถุ  ระบายน้ำเข้านาแล้วใช้  น้ำหมักชีวภาพ  จำนวน 2 ลิตรต่อน้ำ 20  ลิตร  ราดในนาข้าวทิ้งไว้ 1 คืน จึงใช้รถเหยียบย่ำ  ในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสัตว์ ควรเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่นาเพื่อถ่ายมูล นอกจากนี้ควรปลูกต้นงิ้วเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินจากส่วนใบและดอกงิ้ว  ควรปลูก 4 5 ต้น/ไร่

3.      การคัดพันธุ์ข้าว ใช้พันธุ์จากแหล่งของทางราชการ ควรมีการจัดทำแปลงพันธุ์เพื่อเตรียมพันธุ์ในฤดูการเพาะปลูกต่อไป นอกจากนี้ควรมีการคัดเลือกจุดเพื่อกำหนดเอาไว้ทำพันธุ์ โดยการคัดเลือกจุดที่มีการเจริญเติบโตอย่างสม่ำเสมอ ปราศจากโรคแมลงและวัชพืช และควรเก็บเมล็ดพันธุ์ใช้เอง 2 3 ครั้ง

4.      อัตราเมล็ดพันธุ์ต่อไร่ เป็นไปตามลักษณะประจำพันธุ์ เช่น ปทุมธานี 1 ใช้ 15 กก./ไร่ ชัยนาท 1  ใช้ 20 กก./ไร่ ขาวมะลิ 105 ใช้ 10 กก./ไร่  พิษณุโลก 1,3,5  ใช้  25 30  กก./ไร่ 

5.      การใช้ปุ๋ย ใ ช้น้ำหมักชีวภาพฉีดพ่น  3  ครั้ง/เดือน เพื่อลดการใช้ปุ๋ยเคมี และใช้ปุ๋ยหมักแห้งในช่วงเตรียมดิน

6.      การป้องกันกำจัดศัตรูข้าว

6.1  วัชพืช  ใช้น้ำหมักชีวภาพสูตรฆ่าวัชพืช โดยการฉีดพ่นช่วงระยะฉีดพ่นในนาข้าวจะต้องมีน้ำถึงจะเห็นผล  อัตราการใช้ 4 ช้อนแกง/น้ำ 1 ปี๊บ

6.2  แมลง มีการตรวจแปลงเพื่อติดตามสถานการณ์ศัตรูพืชในนาข้าวทุกวัน เช้า เย็น  สังเกตความผิดปกติของข้าวและดูแลสุขภาพข้าวให้แข็งแรงเสมอ

6.3   หอยเชอรี่  ใช้ฝักคูนแห้ง บดละเอียด ช่วงที่ทำเทือก  20  กก./ไร่  และใช้มะกรูด ยอดสะเดา  ยอดยูคา ต้มเอาน้ำมาผสมกันแล้วลาดลงในนา  ปริมาณ  3 ลิตร/ไร่

จุดคอขวด

1.      การใช้ปุ๋ย

2.      การปรับปรุงบำรุงดิน

3.      การใช้สารเคมี

4.      การควบคุมวัชพืช

5.      การคัดเมล็ดพันธุ์

 

 วิศิษฐ์
โดย...สะแกกรัง
หมายเลขบันทึก: 182585เขียนเมื่อ 16 พฤษภาคม 2008 08:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัวสดีค่ะ คุณสะแกกัง

การปลูกข้าว ถือว่าเป็นปราชญ์ เป็นภูมิปัญญาของไทยเลยค่ะ

ดีใจด้วยค่ะ ที่มีวิธีปลูกข้าวที่พัฒนาและก้าวหน้า โดยพึ่งพาธรรมชาติ

ยินดีที่ได้รู้จัก และแลกเปลี่ยน เรียนรู้ค่ะ

สวัสดีครับ คุณสะแกกรัง

ภูมิปัญญาที่เกิดขึ้น มีประโยชน์ในการปรับใช้ เพื่อแลกเปลี่ยเรียนรู้กัน ผมเป็นสมาชิกใหม่พึ่งเข้ามาครั้งแรก ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ คุณสะกรัง

ผมก้อเป็นคนหนึ่งที่ทำนาและกำลังหาวิธีทำแบบการพึ่งพาสารเคมีให้น้อยที่สุดหรือแบบไม่ใช้เลย ขอบคุณมากนะครับที่ให้ความรู้ ผมก้อคนอุทัยเหมือนกันครับ

ผมต้องการศึกษาวิธีการทำนาแบบอินทรีย์ ครับขอข้อมูลเพิ่มด้วยครับ เรื่อง 1. ช่วงเวลาในการเริ่มเตรียมการปลูก 2. สายพันธ์ 3. การดูแลรักษาข้าว 4. สถานที่จำหน่าย ครับ ขอบคุณครับ

ชอบหลักการปฏิบัติตรงที่ว่า นอกจากนี้ควรปลูกต้นงิ้วเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุแก่ดินจากส่วนใบและดอกงิ้ว ควรปลูก 4 – 5 ต้น/ไร่ แต่สงสัยว่าใบและดอกงิ้วมีสารอาหารสำหรับข้าวมากกว่าฉำฉาหรือไม่ และถามอีกนิดว่าไม้งิ้วแข็งแรงพอที่จะนำไปทำพื้นกระดานที่อยู่ในร่มได้หรือไม่ครับ

สวัสดีครับ ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ปลอดสารพิษ 100%

1. ทางดิน www.youdo111.blogspot.com

2. ทางใบ www.o2money.blogspot.com

อยากได้อุปกรณ์เกษตร

เราก้อมีวิธีแนะนำเหมือนกันนะเราให้พี่ทำที่อุทัยอะ่ ไม่อันตรายต่อสุขภาพและช่วยรักษาสภาพดินเสื่อมอ่ะ

และประหยัดค่าใช้จ่ายผลผลดีมากทีเดียว ถ้าอยากทำเหมือนเราก้อ โทรมาก้อได้นะเราไปอุทัยบ่อย

083 2167346

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท