การปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเด็กไทย


การปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์กันอย่างจริงจัง อาจเป็นทางเลือกสำคัญในการสร้างการอยู่รอดของประเทศไทย "คุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตัวเยาวชน" จะช่วยให้สังคมไทยสามารถดำรงอยู่ได้ในอนาคต

การปลูกฝังคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตัวผู้เรียน ถือเป็นเรื่องใหญ่ของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2544  ที่จริงจังกับการกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในเด็กไทย และ  ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งในการที่นักเรียนจะจบ-ไม่จบหลักสูตร   โดยมีการกำหนดเกณฑ์ตัดสินการผ่านช่วงชั้น(จบชั้น ป.3   ป.6   ม.3   และ ม.6) ดังต่อไปนี้

1.  ต้องเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ 8 กลุ่ม และได้รับการตัดสินผลการเรียนผ่านตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

2.  เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนและได้รับการตัดสินผ่านการประเมิน ตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

3.  ได้รับการตัดสินผลการประเมิน การอ่าน   การคิด วิเคราะห์   และการเขียนสื่อความ ระดับ ผ่าน

4.  ได้รับการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ระดับ ดี  หรือ ดีเยี่ยมตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

 

อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบัน ในเรื่องการพัฒนา/

ส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์นี้  สถานศึกษาส่วนใหญ่ยังไม่จริงจังกับ 1) การกำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ที่เป็นความเห็นร่วมกันระหว่างโรงเรียนกับชุมชนหรือผู้ปกครอง  2) กระบวนการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ยังไม่เป็นระบบ ทั้งการส่งเสริมผ่านรายวิชา  ผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ผ่านกิจกรรมต่าง ๆในโรงเรียน และผ่านครอบครัวหรือชุมชน  และ 3) การประเมินผลเพื่อผ่านช่วงชั้น ยังไม่จริงจังกับการตรวจสอบหรือประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์(มักจะประเมินแบบผ่าน ๆ)

 

 

        ถึงเวลาหรือยังที่เขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาจะต้องดำเนินการในเรื่องนี้อย่างจริงจังตามเจตนารมณ์ของหลักสูตร  สำหรับในระดับสถานศึกษา อาจดำเนินการดังนี้

 

1)  กำหนดคุณลักษณะอันพึงประสงค์ร่วมกับเครือข่ายผู้ปกครอง หรือ ทบทวนคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่มีการกำหนดไว้แล้ว  ควรมีการประชาพิจารณ์ในหมู่ผู้ปกครอง เพื่อให้เห็นพ้องต้องกัน

 

2)  จัดกิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตัวผู้เรียน  หลายช่องทาง อาทิ 

(1)       จัดกิจกรรม ผ่านการเรียนการสอนในรายวิชา

(2)       จัดกิจกรรม ผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  กิจกรรมชุมนุม

   ต่าง ๆ   รวมทั้งกิจกรรมภายในโรงเรียนโดยทั่วไป

(3)       จัดกิจกรรมที่บ้าน  โดยโรงเรียนจัดทำชุดกิจกรรมแนะนำสำหรับพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง  เพื่อนำไปปฏิบัติที่บ้านหรือในชุมชน(อาจรวบรวมกิจกรรมที่เป็น Best  Practice จากครอบครัวต่าง ๆ แล้วทำเป็นชุดกิจกรรมกลาง ๆ สำหรับทุกครอบครัว)

3)  ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ในตัวผู้เรียนอย่างจริงจัง และถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในการจบหลักสูตร(การสร้างคนดี น่าจะเป็นทางเลือกสำคัญในการพัฒนาและแก้ปัญหาประเทศไทยในอนาคต)

 

 

หมายเลขบันทึก: 182287เขียนเมื่อ 14 พฤษภาคม 2008 16:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 14:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท