Disruptive Innovation


Disruptive Innovation [นวัตกรรมเชิงปะทะ] เป็นแนวคิดของ เคลย์ตัน คริสเทนเซนต์ผู้เชี่ยวชาญที่มีภูมิหลังแข็งแกร่งด้านเศรษฐศาสตร์คนหนึ่งแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ตจะเน้นความสำคัญไปที่การจัดการนวัตกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี่การพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร....

Disruptive Innovotion [นวัตกรรมเชิงปะทุ] เจ้าของความคิดนี้คือ เคลย์ตัน  คริสเทนเซนต์ผู้เชี่ยวชาญที่มีภูมิหลังแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐศาสตร์คนหนึ่งในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะเน้นความสำคัญไปที่การจัดการนวัตกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี่การพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรและการแสวงหาตลาดใหม่สำหรับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ                           เพื่อนๆชาว km ที่รักและเคารพทุกท่านครับ

วันนี้คิดถึง จึงนำสาระสำคัญมานำเรียนท่านเพื่อ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ [share to learn] ครับท่าน

ลองติดตามดูเถอะครับ !!!

Disruptive Innovation[1]

[ นวัตกรรมเชิงปะทุ ]

 

พิสุทธิ์ บุญเจริญ[2]

 

ผมชอบ แจ่วฮ้อน[3]

เลยเกิดนึกอยากจะเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ออกสู่สาธารณะ

อยากให้ท่านที่เคารพได้ไปลองชิมลิ้มรสมันดู !

ท่านที่ได้เคยลิ้มรสมันมาแล้ว คงติดใจ ติดปากในรสชาติของมันไม่มากก็น้อยเป็นแน่แท้ !!

ซึ่งไม่น่าเชื่อหรอกครับว่า

จากอาหารที่มีขายในร้านเล็กๆในแถวอีสานบ้านผม

บัดนี้ได้รับการต้อนรับ ยกระดับขึ้นเป็น เมนูเด็ด ในเหลา ในภัตตาคารในเมืองกรุงเสียแล้ว

ทำรายได้ให้แก่ผู้ประกอบการได้อย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วยเชียวแหละ !!!

ใครจะไปรู้ว่า สักวันหนึ่งในกาลข้างหน้า แจ่วฮ้อนนี้จะแพร่ขยาย  กินวงกว้างไปถึงระดับอินเตอร์

เพราะขณะนี้ ( ปี 2550 )กำลังเป็นที่นิยมชมชอบ แทรกซึมวับเข้าถึงระดับครอบครัวกันแล้ว

จากปากต่อปาก พบของดีต้องบอกต่อในวงการเพื่อนสนิทมิตรสหาย

วันดีคืนดีพ่อแม่พร้อมลูกๆถึงกับชวนกันไปทานข้าวนอกบ้าน

เป้าหมายคือ ร้าน แจ่วฮ้อน !

มันแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว รุนแรง

ทั้งๆที่มันเป็นเพียงอาหารปรุงง่ายๆ กินสบายๆ ต้นทุนต่ำมาก ราคาถูกแสนถูก

แต่..แต่ ถูกปากเสียนี่กระไร

ท่านผู้ใดหากชื่นชอบอาหารรสเด็ด ราคาถูก บรรยากาศแสนสบายๆตามแบบอีสานแท้ๆแล้ว ในแบบสวนอาหาร กระท่อมหลังคามุงหญ้าคา มุงจาก นั่งกับพื้นแบบสบายๆๆ แล้ว

เชิญไปผ่อนคลาย พูดคุยและพบกันที่ร้าน แจ่วฮ้อน กันเถอะ !!

แล้วพระคุณท่านจักติดใจไปมิรู้วาย !!!

นี่จึงมีคุณลักษณะเป็น Disruptive Innovation แห่งวงการอาหารอีสาน ได้มิใช่รึ ?

 

PAR

;อีกหนึ่งเมนูเด็ดในการจัดการการศึกษาชาติในฐานะ Disruptive Innovation

ในขณะที่เราท่านกำลังช่วยกันมองหาแนวทางในการจัดการกับการศึกษาชาติ

โดยเฉพาะในด้าน คุณภาพการศึกษา นั้น

PAR ก็น่าจะเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในความพยายาม ดังกล่าวนั้น

ความหมาย    PAR เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

  P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในอำเภอ /จังหวัด/เขตพื้นที่ /จังหวัด/เขตการศึกษา นั้นๆเป็นต้นว่า โรงเรียน / สถานศึกษา  ในที่นี่เน้นที่ ผู้บริหาร / ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา  / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……

   A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวผู้บริหาร / ครูผู้สอนเอง/และหรืออื่นๆ

  R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวผู้บริหาร / ครูผู้สอน  / หรือผู้สนใจทั่วไปในเขตพื้นที่นั้นๆ นั่นเอง

                        ดังนั้น PAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การที่ผู้บริหาร / ครูผู้สอน/ผู้ศึกษาวิจัยลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในโรงเรียน /สถานศึกษาในเขตพื้นที่นั้นๆเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่เน้นที่การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE] นั่นเอง

ส่วนประกอบของ  PAR   มีดังแสดงในรูป Mind Mapping ได้ดังนี้

 

 

 

อธิบาย/ขยายความเพิ่มเติมอย่างสังเขปได้ดังนี้

            PAR  ประกอบขึ้นด้วยการศึกษาวิจัยในระดับต่างๆ ตลอดแนว คือ

                        ระดับนักเรียนรายบุคคล  รายกลุ่ม  รายชั้น  รายโรงเรียน  รายพื้นที่(กลุ่ม/เขต/อำเภอ/จังหวัด/เขตพื้นที่/......) ดังนี้

          ระดับนักเรียนเป็นรายตัว ใช้การศึกษาวิจัยแบบ   IPAR เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

                             I : INDIVIDUAL

 ในที่นี่หมายถึง เด็กนักเรียนเป็นรายบุคคล เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศของนักเรียนเป็นรายบุคคล

  P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในชั้นเรียน ในที่นี่เน้นที่ ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา  / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……

   A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง

  R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง

                        ดังนั้น IPAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การที่ครูผู้สอนลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ของนักเรียนเป้าหมายรายบุคคล ที่มีอยู่ในชั้นเรียนของตนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE]

                        ระดับนักเรียนเป็นรายกลุ่ม ใช้การวิจัยแบบ GPAR เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

                             G : GROUP ในที่นี่ให้หมายความรวมถึง

 ในที่นี่หมายถึง กลุ่มเด็กนักเรียนเป้าหมาย เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศของนักเรียนเป็นรายกลุ่มซึ่งมีสภาพ ลักษณะ คุณสมบัติเดียวกัน เช่น กลุ่มเด็กเกรด A  B  C  หรือ D   แบ่งตามความถนัด ความชอบ ความสนใจ เช่น ชอบวาดรูป  ชอบตะกร้อ  ชอบร้องเพลง ฯลฯ

  P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในชั้นเรียน ในที่นี่เน้นที่ ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา  / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……

   A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง

  R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง

                        ดังนั้น GPAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การที่ครูผู้สอนลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ของนักเรียนเป้าหมายรายกลุ่มที่มีอยู่ในชั้นเรียนของตนที่ผ่านการคัดกรอง คัดสรรแล้ว  เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE] .

          ระดับชั้นเรียน ใช้การศึกษาวิจัยที่เรียกว่า  CPAR เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

        C : CLASSROOM ในที่นี่หมายถึง  ชั้นเรียน  เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศในชั้นเรียนนั่นเอง

  P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในชั้นเรียน ในที่นี่เน้นที่ ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา  / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……

   A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง

  R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง

                        ดังนั้น CPAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การที่ครูผู้สอนลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในชั้นเรียนของตนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE]

          ระดับโรงเรียนใช้การศึกษาวิจัยแบบ SPAR   เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

        S : SCHOOL ในที่นี่หมายถึง  โรงเรียน/สถานศึกษา  เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศในโรงเรียน / สถานศึกษานั่นเอง

  P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในโรงเรียน / สถานศึกษา  ในที่นี่เน้นที่ ผู้บริหาร / ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา  / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……

   A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวผู้บริหาร / ครูผู้สอนเอง

  R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวผู้บริหาร / ครูผู้สอน  / หรือผู้สนใจทั่วไป นั่นเอง

                        ดังนั้น SPAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การที่ผู้บริหาร / ครูผู้สอนลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในโรงเรียน /สถานศึกษาเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่เน้นที่การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE] นั่นเอง

          ระดับพื้นที่ใช้การวิจัยแบบ    APAR เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

        A : AREA ในที่นี่หมายถึง  เขตพื้นที่ ดังเช่น  อำเภอ /จังหวัด/เขตพื้นที่ /จังหวัด/เขตการศึกษา เป็นต้น   เป็นการศึกษาวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศในอำเภอ /จังหวัด/เขตพื้นที่ /จังหวัด/เขตการศึกษา เป็นต้น

  P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในอำเภอ /จังหวัด/เขตพื้นที่ /จังหวัด/เขตการศึกษา นั้นๆเป็นต้นว่า โรงเรียน / สถานศึกษา  ในที่นี่เน้นที่ ผู้บริหาร / ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา  / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……

   A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวผู้บริหาร / ครูผู้สอนเอง/และหรืออื่นๆ

  R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวผู้บริหาร / ครูผู้สอน  / หรือผู้สนใจทั่วไปในเขตพื้นที่นั้นๆ นั่นเอง

                        ดังนั้น APAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การที่ผู้บริหาร / ครูผู้สอน/ผู้ศึกษาวิเจัยลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในโรงเรียน /สถานศึกษาในเขตพื้นที่นั้นๆเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับผู้เรียนที่เน้นที่การพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE]

          ระดับสำนักงาน  หน่วยงานใช้การศึกษาวิจัยแบบ  OPAR เป็นคำย่อ ของคำต่อไปนี้

                             O : OFFICE/ORGANIZATION

 ในที่นี่หมายถึง สำนักงาน/องค์การ  เป็นการวิจัยโดยใช้ข้อมูล/สารสนเทศในหน่วยงาน หรือองค์การนั่นเอง

  P : PARTICIPATION ในที่นี่หมายถึง การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย[STAKEHOLDERS] ในชั้นเรียน ในที่นี่เน้นที่ ครูผู้สอน / ครูในสายชั้น / ครูในหมวดวิชา  / ผู้บริหาร นักเรียน /ผู้ปกครอง /นักวิชาการ หรือ……

   A : ACTION ในที่นี่จงใจให้มีความหมายครอบคลุมถึง การปฏิบัติการศึกษา วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง

  R : RESEARCH ในที่นี่ก็จงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การศึกษาค้นคว้า ทดลองวิเคราะห์ วิจัย ด้วยตัวครูผู้สอนเอง

                        ดังนั้น OPAR ในที่นี่จึงจงใจให้มีความหมายที่ครอบคลุมถึง  การที่ครูผู้สอนลงมือปฏิบัติการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิเคราะห์ วิจัย ด้วยตนเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยใช้ข้อมูล [DATA] สารสนเทศ [INFORMATION] ที่มีอยู่ในชั้นเรียนของตนเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี [QUALITY  OF  LIFE]

                   นวัตกรรมดังกล่าวนี้ ล้วนแต่ทำแบบง่ายๆ ประหยัด ครูผู้ใดก็เข้าถึงได้ ทำได้ทุกเมื่อ

แต่ส่งผลได้ล้ำลึกดีนัก  ลองติดตาม อย่างต่อเนื่อง ตลอดแนว ดูซิครับ !!!

ตอนต่อไป ตั้งใจเสนอ

P ==C-F

อีกหนึ่งนวัตกรรมทางเลือก เพื่อการศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการทางการศึกษาไทย

.................

 

พิสุทธิ์ บุญเจริญ



[1] Disruptive Innovotion [นวัตกรรมเชิงปะทุ] เจ้าของความคิดนี้คือ เคลย์ตัน  คริสเทนเซนต์ผู้เชี่ยวชาญที่มีภูมิหลังแข็งแกร่งทางด้านเศรษฐศาสตร์คนหนึ่งในมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด จะเน้นความสำคัญไปที่การจัดการนวัตกรรมที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี่การพัฒนาขีดความสามารถขององค์กรและการแสวงหาตลาดใหม่สำหรับเทคโนโลยี่ใหม่ๆ 

เขียนใน GotoKnow โดย 
 ใน km
คำสำคัญ (Tags): #cpar#disruptive innovation#gpar#ipar#par
หมายเลขบันทึก: 181272เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 15:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท