พฤติกรรมระหว่างประเทศขององค์กร NGO


NGO

พฤติกรรมระหว่างประเทศขององค์กร NGO

NGOs มาจากคำย่อว่า Non Govermental Oganizations แปลตรงตัว คือ องค์กรที่ไม่ใช่องค์กรของรัฐ ในต่างประเทศมักเรียกว่า "องค์ที่ทำงานโดยไม่แสวงหากำไร" หรือ "องค์กรอาสาสมัครเอกชน  สำหรับประเทศไทย มักเรียกว่า "องค์กรการกุศล" หรือ "องค์กรสาธารณประโยชน์" และในระยะหลังก็เรียกว่า "องค์กรพัฒนาเอกชน"  องค์กรพัฒนาเอกชน ( NGOs) คือ องค์กรที่ไม่ใช่ภาคราชการ และไม่ใช่ภาคธุรกิจที่แสวง หากำไร ก่อตั้งและดำเนินการโดยกลุ่มบุคคล ที่มีความมุ่งมั่นในอันที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไข ปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาด้านคุณภาพชีวิตของกลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสและประชาชนผู้ทุกข์ยาก อันเกิดจากผลกระทบของการพัฒนา

NGO ในประเทศไทย                      

การแก้ไขปัญหาความยากจน และการพัฒนาประเทศนั้นเป็นบทบาท ของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวมา โดยตลอด จะพบอยู่เสมอว่า ในภาครัฐจะมีบุคลากรมากมาย มีงบประมาณจากภาษีประชาชนไม่น้อย แต่ในการทำงานยังมีข้อจำกัด เพราะปัญหาสังคมนั้นใหญ่โตและสลับซับซ้อนเกินกว่าที่จะแก้ไขได้โดย ภาครัฐเพียงฝ่ายเดียว                   โดยตลอดมาในสังคมไทยเรา มีบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้วยใจ ที่ต้องการจะช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ โดยรวมตัวกันเรียกว่า "องค์กรพัฒนาเอกชน" มานานกลุ่มแรกๆ เป็นกลุ่มศาสนา ทั้งในส่วนของพุทธศาสนาและคริสต์ศาสนา ที่มีอุดมการณ์ทางศาสนา ให้ความช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ผู้ตกทุกข์ได้ยากและเสียเปรียบอีกกลุ่มหนึ่ง คือนักศึกษาตามสถาบันต่างๆ รวมตัวกันเป็นกลุ่มอาสาสมัคร ออกไปช่วยสร้างโรงเรียน สร้างห้องสมุด หรือช่วยสอนหนังสือเด็กชนบทที่อยู่ห่างไกล

ในยุคแห่งการรณรงค์ให้เกิดการพัฒนาในประเทศด้อยพัฒนา ที่องค์การสหประชาชาติเรียกว่า "ทศวรรษแห่งการพัฒนา" กระแสในช่วงนั้น ทำให้มีการก่อตั้ง "สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชูปถัมภ์" ในปี พ.ศ.๒๔๙๙ "สมาคมผู้บำเพ็ญประโยชน์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์" ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ พ.ศ.๒๕๐๑
งานขององค์กรพัฒนาเอกชนในช่วงนี้ เน้นการให้ความรู้และการสงเคราะห์แก่กลุ่ม ผู้ด้อยโอกาส ผู้ที่ขาดแคลน และผู้ที่ประสบปัญหาขั้นพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ในแต่ละช่วง มีส่วนสำคัญในการกำหนดแนวคิด และวิธีการทำงานขององค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) ในแต่ละช่วงเช่นเดียวกันในช่วงเวลาต่อมา แนวความคิดการพัฒนาที่เน้นการสงเคราะห์ไม่สามารถตอบสนองการแก้ไขปัญหา สังคมที่พัฒนาขึ้น จึงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลง การทำงานนั้นมีการศึกษาวิเคราะห์ ชุมชนไปพร้อมกับมุ่ง เข้าไปแก้ไขปัญหาด้านเศรษฐกิจและด้านสังคมเป็นสำคัญ

 

การดำเนินงานของ NGO  ระหว่างประเทศของไทย

ด้านเกษตรกรรม

กระแส มะละกอจีเอ็มโอคงต้องเริ่มนับกันตั้งแต่ครั้งที่ กรีนพีซปฏิบัติการสอยมะละกอแขกดำท่าพระที่ต้องสงสัยว่าเป็นจีเอ็มโอ ในแปลงทดลองของสถานีทดลองพืชสวนอ.ท่าพระ จ.ขอนแก่น เมื่อราว  2เดือนก่อน ซึ่งเป็นข่าวโด่งดังด้วย ชุดอวกาศสีขาวเตะตา และ การจู่โจมชนิดเจ้าของบ้านตื่นตระหนกตกตะลึง จนถึงขั้นต้องขึ้นโรงขึ้นศาล

การทดลองมะละกอจีเอ็มโอของศูนย์เกษตรท่าพระ (ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ) รวมทั้งเอ็นจีโอในภาคอีสานที่เป็นตัวตั้งตัวตีคัดค้านเรื่องนี้ ทั้งเครือข่ายเกษตรทางเลือก สหพันธ์องค์กรผู้บริโภคฯลฯ
                   การเคลื่อนไหวให้ความรู้กับประชาชนในพื้นที่ยังไม่หยุดแค่นั้น มีการจัดเวทีสัมมนาทั้งในระดับผู้นำชาวบ้าน นักวิชาการ ส่วนราชาการ อย่างต่อเนื่อง จนล่าสุดมีการแจกซีดีว่าด้วยเรื่องจีเอ็มโอให้ชาวบ้านในพื้นที่

 

ด้านเศรษฐกิจ

เอ็นจีโอ รุมต้านถก "เอฟทีเอ" นอกรอบกับสหรัฐ ชี้รัฐบาลรักษาการไม่เหมาะสมเปิดเจรจา หวั่นสร้างแรงกดดันรัฐบาลเอ็นจีโอ   รุมต้านถก "เอฟทีเอ" นอกรอบกับสหรัฐ ชี้รัฐบาลรักษาการไม่เหมาะสมเปิดเจรจา หวั่นสร้างแรงกดดันรัฐบาลการเจรจาเอฟทีเอกับสหรัฐในช่วงรัฐบาลรักษาการไม่มีความเหมาะสมอย่างมาก ซึ่งรัฐบาลไม่ควรเจรจาใหม่ แต่ปรับแนวทางของการเจรจาเดิม โดยเฉพาะปัญหาภายในของการเจรจาให้เรียบร้อย ใน 4 ประเด็นสำคัญ

1.รายละเอียดของข้อตกลงที่ผ่านมา ยังไม่มีการเปิดเผยชัดเจน

2. ในสาขาที่เสียเปรียบ รัฐบาลวางแนวทางแก้ปัญหา

3.การคัดค้านของกลุ่มองค์กรภาคเอกชน (เอ็นจีโอ) และกลุ่มสมาชิกวุฒิสภา จะสร้างแนวทางทำควาเข้าใจ

4.การมีส่วนร่วมรับรู้ของประชาชนทุกกลุ่ม ในกรอบการเจรจา รัฐบาลวางกระบวนการการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

 

ด้านการทหาร

เอ็นจีโอ ต้านอเมริกาตั้งฐานทัพในเอเชีย อจ.จุฬาฯแฉ รบ.ไทย-สหรัฐ กำลังเจรจาลับๆ ตั้งฐานทัพในไทย แต่ใช้รูปแบบใหม่ เน้นเทคโนโลยี ไม่เข้ามาเช่า  โดยมีการชุมชุนที่หน้าสถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ถนนวิทยุ กลุ่มแนวร่วมเพื่อสันติภาพประเทศไทย ตัวแทนจากศาสนาอิสลาม คริสต์ พุทธ และตัวแทนจากประเทศปากีสถาน เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ จำนวน 20 คน นำโดยนายนิติ ฮาซัน ประธานสภามุสลิมแห่งประเทศไทย เดินทางไปยื่นหนังสือเปิดผนึกถึงประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา มีนายบ๊อบ เอ็คเซิร์ต หัวหน้าฝ่ายความมั่นคง สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยเป็นผู้รับหนังสือมีใจความโดยสรุปว่า การติดหล่มสงครามอิรักของมหาอำนาจและเพิ่มงบประมาณรายจ่ายทางด้านการทหารอย่างมหาศาล ท่ามกลางความไม่พอใจของชาวอเมริกัน สะท้อนถึงความล้มเหลวของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา แต่รัฐบาลสหรัฐกลับกดดันประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเล็กและยากจน ให้ส่งทหารไปอิรัก ซึ่งจะติดหล่มไปด้วย ขอเรียกร้องให้สหรัฐหยุดการยึดครองอิรัก และหยุดกดดันประเทศอื่นให้ส่งทหารไปอิรัก และหยุดขยายกองกำลังคุกคามความสงบของประเทศต่างๆ ทั่วโลก

หมายเลขบันทึก: 181267เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 15:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 09:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ 
  • NGOs   บางย่อหน้าไม่ได้ใส่ s  ค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท