พฤติกรรมก่อการร้ายระหว่างประเทศ


การก่อการร้าย

พฤติกรรมก่อการร้ายระหว่างประเทศ

การก่อการร้าย ( Terrorism ) หมายถึงการก่อหรือการใช้ความรุนแรงเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายของการก่อการร้าย ได้แก่บุคคลที่มีชื่อเสียง หรือมีความสำคัญสูง สถานที่ราชการ สถานที่ ฯ มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ ฯลฯ

กลุ่มก่อการร้ายจะใช้วิธีการต่าง ฯ เช่น ลอบวางระเบิด ลักพาตัวเรียกค่าไถ่ จับเป็นตัวประกันเพื่อต่อรอง การฆาตกรรม การจี้เครื่องบิน ฯลฯ

กลุ่มที่ได้ดำเนินการมาแล้ว เช่น ปี ค.ศ.1983 กลุ่ม IslamicJihad OrganiZation โจมตีสถานทูตสหรัฐอเมริกาในกรุงเบรุต ในปี ค.ศ. 1985 กลุ่ม Abu Abbas ระเบิดดิสโก้เทคในเบอร์ลินตะวันตก กลุ่มก่อการร้ายที่ได้รับการสนับสนุนจากลิเบียระเบิดเที่ยวบิน 103 ที่สก็อตแลนด์ ในปี 1988 กลุ่มของนายอุสมบินลาดิน ระเบิดตึก World Trade Center ในนิวยอร์ค

              การก่อการร้ายมักมีรัฐใดรัฐหนึ่ง ให้การสนับสนุนฝึกอบรมกลุ่มผู้ก่อการร้ายในตะวันออกกลาง คือกลุ่ม Abu Nidal และกลุ่ม Hamas

 

ประเภทของการก่อการร้าย

 

กลุ่มก่อการร้ายในปัจจุบันมีมากมายหลายกลุ่ม และปฏิบัติการกระจายอยู่เกือบทุกภูมิภาคในโลก ซึ่งแต่ละกลุ่มต่างก็มีเป้าหมาย อุดมการณ์ หรือวิธีปฏิบัติงานที่แตกต่างกันไป ดังนั้นประเภทของการก่อการร้ายจึงมีลักษณะที่ แตกต่างกันไปตามแต่วิธีการมอง ดังนี้

1. จำแนกตามหลักดินแดน แบ่งการก่อการร้ายได้เป็น 3 ประเภท คือ

    1.1 การก่อการร้ายภายในประเทศ หมายถึง การต่อสู้ด้วยวิธีการรุนแรงของ กลุ่มก่อการร้ายภายในประเทศ ซึ่งมุ่งต่อต้านรัฐบาลของตน โดยปฏิบัติการเฉพาะภายในประเทศตนเท่านั้น และมักไม่ปฏิบัติการร่วมหรือประสานการต่อสู้ด้วยกําลังอาวุธกับกลุ่มก่อการร้ายภายนอกประเทศ แต่ก็อาจได้รับการสนับสนุนด้านขวัญ กำลังใจ และด้านวัตถุจากภายนอกประเทศได้

1.2 การก่อการร้ายข้ามประเทศ หมายถึง การก่อการร้ายของกลุ่มก่อการร้ายภายในประเทศ ซึ่งปฏิบัติการแต่เพียงลำพัง โดยมิได้ร่วมมือกับกลุ่มก่อการร้ายอื่นและเข้าไปปฏิบัติ การในประเทศอื่นด้วย โดยไม่จำกัดอยู่เฉพาะภายในประเทศของตนเท่านั้น เช่น ขบวนการ คอมมานโดญิฮัดในอินโดนีเซีย ปล้นยึดเครื่องบินโดยสาร สายการบินการูดาของอินโดนีเซียมายังสนามบินดอนเมือง และบีบบังคับให้รัฐบาลอินโดนีเซียปฎิบัติการตามข้อเรียกร้องของตนกลุ่มก่อการร้ายข้ามประเทศอื่นๆ อาทิ กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาวซิกข์ในอินเดีย กลุ่มแบ่งแยกดินแดนบาสก์ในสเปน กลุ่มแบ่งแยกดินแดนพยัคฆ์ทมิฬอีลัมในศรีลังกา

1.3 การก่อการร้ายระหว่างประเทศหรือการก่อการร้ายสากล หมายถึง การก่อการร้ายที่มีการร่วมมือกัน ระหว่างกลุ่มก่อการร้ายในประเทศต่างๆ ตั้งแต่สองกลุ่มขึ้นไป เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายทางการเมืองของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือบรรลุจุดมุ่งหมายร่วมกัน การก่อการร้ายมีลักษณะเป็นการกระทำแบบข้ามประเทศ เช่น กองทัพแดงญี่ปุ่นร่วมมือกับขบวนการปาเลสไตน์

2. จำแนกตามอุดมการณ์ทางการเมือง แบ่งได้ 3 ประเภท

2.1 กลุ่มที่มีอุดมการณ์ซ้ายจัด ส่วนใหญ่มีอุดมการณ์ทางการเมืองซ้ายจัด แนวทร็อตสกี หรือเหมาเจ๋อตุง ถือว่า การปฏิวัติโลกเป็นสิ่งแรกของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองทั้งมวล การปฏิบัติงานของกลุ่มจะกระทำทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งร่วมมือกับกลุ่มก่อการร้ายในประเทศอื่นๆ วิธีการกระทำคือจะพยายามยั่วยุรัฐบาลให้ใช้วิธีการรุนแรงในการปราบปรามเพื่อสร้างภาพพจน์ที่ไม่ดีให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน

2.2 กลุ่มแบ่งแยกดินแดนชาตินิยม ได้แก่ กลุ่มชนกลุ่มน้อยในประเทศใดประเทศหนึ่งที่ต้องการแยกดินแดนออกไปจัดตั้งรัฐอิสระ และใช้วิธีการรุนแรงต่อสู้กับรัฐบาล โดยมีเป้าหมายของการก่อการร้ายอยู่ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ มักปฏิบัติการเป็นอิสระ หรือมีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มหรือประเทศที่มีเชื้อสายเดียวกับตนเท่านั้น

2.3 กลุ่มที่มีอุดมการณ์ขวาจัด เป็นพวกมีอุดมการณ์ต่อต้านลัทธิคอมมิวนิสต์ หรือระบอบสังคมนิยมรูปแบบอื่นๆ โดยปฏิบัติการอย่างรุนแรงและไม่จำกัดอยู่เฉพาะภายในประเทศที่เป็นปฏิปักษ์กับตน แต่จะปฏิบัติการในต่างประเทศด้วย แต่ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาชนมากนัก

 

3. จำแนกตามวัตถุประสงค์เฉพาะกลุ่ม

กลุ่มก่อการร้ายต่างก็มีวัตถุประสงค์เฉพาะ ซึ่งบางครั้งอาจคล้ายคลึงหรือแตกต่างกับกลุ่มอื่น ซึ่งอาจแบ่งได้ดังนี้

3.1 ขบวนการแบ่งแยกดินแดน เป็นการต่อสู้ของชนกลุ่มน้อยในประเทศต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ถือกําเนิดจากปัญหาความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียม ประเพณี ตลอดจนความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกับชนส่วนใหญ่และต่อมาความแตกแยกขยายตัวกลายเป็นความรุนแรง

3.2 ขบวนการต่อต้านจักรวรรดินิยมและปฏิวัติโลก เป็นกลุ่มก่อการร้าย ที่ยึดถืออุดมการณ์ปฏิวัติตามลัทธิมาร์กซ์ - เลนิน ซึ่งต้องการเปลี่ยนแปลงโลกเป็นคอมมิวนิสต์ เป้าหมาย การโจมตีของกลุ่มก่อการร้ายเหล่านี้มุ่งกระทำต่อสหรัฐฯ ประเทศยุโรปตะวันตก และญี่ปุ่น

3.3 ขบวนการเคร่งศาสนา เป็นกลุ่มที่เคร่งครัดศาสนาและใช้ศาสนาเป็นเครื่องชี้นำทางการเมือง ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มมุสลิมหัวรุนแรงที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอิหร่าน ซึ่งมีนโยบายส่งออกการปฏิวัติอิสลาม โดยใช้การก่อการร้ายหรือสนับสนุนกลุ่มก่อการร้ายให้โค่นล้มระบอบการปกครองและรัฐบาลของประเทศอื่นๆ

3.4 ขบวนการกู้ชาติหรือกลุ่มชาตินิยม เป็นกลุ่มที่เกิดจากการรวมตัวของชนที่มีเชื้อชาติ ภาษา ศาสนา ขนบธรรมเนียมประเพณีเดียวกัน เพื่อปลดปล่อยดินแดนของตนเป็นอิสระจากการยึดครองของอีกประเทศหนึ่ง

3.5 ขบวนการต่อต้านกลุ่มก่อการร้าย เป็นกลุ่มก่อการร้ายที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้านกลุ่มก่อการร้ายอีกกลุ่มหนึ่ง หรือฝ่ายตรงข้าม หรือกลุ่มที่มีอุดมการณ์ขัดแย้งกันกับตน

3.6 ขบวนการต่อต้านอิทธิพลของประเทศตะวันตก เป็นกลุ่มที่มีแนวความคิดแบบอนุรักษ์นิยมอย่างรุนแรง ก่อตั้งขึ้นเพื่อต่อต้าน และขัดขวางการแผ่ขยายอิทธิพลหรือการแทรกแซงจากมหาอำนาจภายนอก โดยเฉพาะประเทศตะวันตก สเปน สหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส

 

4.  การก่อการร้ายโดยรัฐ

    หมายถึง การก่อการร้ายที่กระทำโดยองค์กรหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลประเทศใดประเทศหนึ่ง ทั้งภายในประเทศตนและต่างประเทศเพื่อผลประโยชน์ทางการเมือง กล่าวคือ รัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการก่อการร้ายด้วยตนเอง ตั้งแต่วางแผน อำนวยการ สั่งการ และติดตามผล โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง ซึ่งตามปกติมักเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการข่าว เช่น อิหร่าน ซีเรีย ลิเบีย เกาหลีเหนือ

หมายเลขบันทึก: 181263เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 15:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 23:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท