วิธีการศึกษาพฤติกรรม


Behavioral Approzch

วิธีการศึกษาพฤติกรรม   (Behavioral  Approzch)

 

                   การศึกษาบทบาทของรัฐบาล  และอธิบายปรากฏการณ์ทางการเมือง   โดยแสดงออกมาเป็นกฎเกณฑ์   วิธีการศึกษาพฤติกรรม  พยายามค้นหาพลังการเมือง  เช่น  พลังจากบุคคล  ความคิด  สถานการณ์  สิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อการปฎิบัติด้านการเมือง  ทำให้มีพฤติกรรมการเมืองต่างกันออกไป  และตามความคิดนักพฤติกรรมองการเมืองถือว่า  ระบบการเมืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบสังคม,  การเมืองเป็นเรื่องความสัมพันธ์ขอมนุษย์  และทัศนคติและสิ่งแวดล้อมมีอิทธพลต่อการเมือง   ซึ่งพฤติกรรมของรัฐ  จะเป็นการแสดงออก เจตนารมณ์ของตน  ดำเนินการให้ผู้อื่นรับรู้ด้านสังคม  การเมือง  เศรษฐกิจ  ทหารและอื่น   โดยให้ผู้อื่นแสดงตามเจตนารมณ์ของตน

 

การศึกษาในเชิงพฤติกรรมการเมืองของบุคคล

อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ (Adolf Hitler)

                 หลังจากที่เยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ประเทศทั้งประเทศอยู่ในภาวะของความยุ่งเหยิง เปลี่ยนการปกครองมาเป็นสาธารณรัฐ ต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามจำนวนที่พ้นวิสัยจะชำระได้ การลุกฮือของคอมมิวนิสต์

             ชปาตาคุส (Spatacus) จลาจลทั่วประเทศ ความไร้เสถียรภาพของรัฐบาล เงินเฟ้ออย่างหนัก สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้คนเยอรมันร้องหาผู้ที่จะทำให้ประเทศของตนกลับไปรุ่งเรืองอีกครั้งดังสมัยอาณาจักรที่ 2 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์นั้นเดิมไม่ใช่ประชาชนเยอรมนีแต่เป็นออสเตรีย ตอนเด็กใฝ่ฝันจะเป็นศิลปิน แต่สอบเข้าวิทยาลัยศิลปะไม่ได้ เขาเป็นคนที่ไม่มีการศึกษา ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เขาเป็นนายสิบกองทัพบกออสเตรีย หลังสงครามออสเตรียแพ้เช่นเดียวกับเยอรมนี เขาจึงมุ่งหน้าไปแสวงหาโอกาสของชีวิตที่เมืองมึนเช่น (Munchen; หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า Munich) เยอรมนีในปี ค.ศ. 1981 ฮิตเลอร์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรคการเมืองเล็กๆพรรคหนึ่งด้วยเหตุผลง่ายๆว่ามัน เข้าท่า ซึ่งต่อมาเขาจะทำให้มันยิ่งใหญ่ นั่นคือพรรคสังคมชาตินิยมกรรมาชีพเยอรมัน (National sozialistische Deutsche Abeiterpartei -NSDAP) หรือพรรคนาซีนั่นเอง (Nazi)   ด้วยความสามารถในการพูดโน้มน้าวจิตใจคนและนโยบายของพรรคที่รุนแรงและเด็ดขาด     เขาจึงได้รับความนิยมมากจากประชาชนในมึนเช่น     เคยพยายามโค่นล้มรัฐบาลกลางที่แบร์ลีน (Berlin) แต่ไม่สำเร็จ และถูกจำคุกอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพ้นโทษ เขาได้หาเสียงโดยใช้นโยบายก้าวร้าวกับชาวบ้านเยอรมันซึ่งเป็นคนทั่วไปในสังคมที่ไม่พอใจสภาพสังคมที่ไร้ระเบียบและความมั่นคง จนกระทั่งในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง  พรรคนาซีได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและขยายความนิยมไปทั่วประเทศด้วยระยะเวลาอันสั้น  ด้วยความสามารถในการพูดโน้มน้าวจิตใจคนและนโยบายของพรรคที่รุนแรงและเด็ดขาด     เขาจึงได้รับความนิยมมากจากประชาชนในมึนเช่น     เคยพยายามโค่นล้มรัฐบาลกลางที่แบร์ลีน (Berlin) แต่ไม่สำเร็จ และถูกจำคุกอยู่ระยะหนึ่ง เมื่อพ้นโทษ เขาได้หาเสียงโดยใช้นโยบายก้าวร้าวกับชาวบ้านเยอรมันซึ่งเป็นคนทั่วไปในสังคมที่ไม่พอใจสภาพสังคมที่ไร้ระเบียบและความมั่นคง จนกระทั่งในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง  พรรคนาซีได้คะแนนเสียงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆและขยายความนิยมไปทั่วประเทศด้วยระยะเวลาอันสั้น

หลังวันที่ 31 กรกฎาคม ค.ศ.1932 ซึ่งเป็นวันเลือกตั้งครั้งสำคัญของพรรคนาซี เป็นการเลือกตั้งที่ทำให้พรรคนาซีได้รับเลือกตั้งเป็นเสียงข้างมากในสภาของจักรวรรดิ เป็นจำนวน 37.8 % ขณะนั้นประธานาธิบดีของประเทศ คือ จอมพล เพาล ฟอน ฮินเด็นบวร์ก (Paul von Hindenburg) ผู้เป็นวีรบุรษจากสงครามครั้งก่อนได้แต่งตั้งอดอล์ฟ ฮิตเลอร์เป็นนายกรัฐมนตรี และท้ายสุดในปี ค.ศ. 1934 ประธานาธิบดีฮินเด็นบวร์กถึงแก่อสัญกรรม ฮิตเลอร์จึงกลายมาเป็นประธานาธิบดีของประเทศ ตำแหน่งประธานาธิบดีไม่ใช่จุดสูงสุดของฮิตเลอร์ ด้วยอำนาจของ มาตรา 48 รัฐธรรมนูญไวมาร์ (Weimarer Verfassung) ที่ให้อำนาจแก่ประธานาธิบดีระงับการใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราว และโอนอำนาจนิติบัญญัติและบริหารมาไว้ที่ตัวประธานาธิบดีแต่เพียงผู้เดียว หากเกิดภาวะวิกฤติในประเทศ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่วางหลักการที่ขัดต่อหลักแบ่งแยกอำนาจและสถานะความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญอย่างยิ่ง ฮิตเลอร์ซึ่งดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในขณะนั้นได้อาศัยช่องทางของบทบัญญัติดังกล่าวยกเลิกการใช้รัฐธรรมนูญและแต่งตั้งตัวเองเป็น ท่านผู้นำ (Führer) แห่งอาณาจักร (เยอรมนี) ที่ 3 (Das 3.Reich) โดยอ้างเหตุจากสถานการณ์ไม่สงบต่างๆในประเทศ และเหตุที่พรรคคอมมิวนิสต์ที่เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น

เมื่อเป็นท่านผู้นำแล้ว พวกที่ได้รับผลกระทบจากนาซีมากที่สุดคงหนีไม่พ้นชาวยิวและพวกคอมมิวนิสต์ สำหรับชาวยิวนั้นเป็นที่เข้าใจกันดีว่าเป็นผู้มั่งคั่งในสังคม ควบคุมเศรษฐกิจของชาติ ขณะที่คนเยอรมันยากจนไม่มีอะไรจะกิน ทว่าพวกยิวมีทั้งทองและอัญมณี ส่วนพวกคอมมิวนิสต์นั้น เป็นที่หวาดกลัวของชาวเยอรมันมาก เพราะเห็นตัวอย่างจากการปฏิวัติอันนองเลือดในสหภาพโซเวียต คอมมิวนิสต์นั้นถูกปราบปรามอย่างสิ้นเชิง

หลังจากการป้ายความผิดโดยพวกนาซีว่าเป็นพวกวางเพลิงเผารัฐสภา แต่พวกยิวนั้นถูกทำลายล้างไปจนกระทั่งฮิตเลอร์หมดอำนาจหลังจากเยอรมนีแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ่งที่พวกยิวได้รับจากการทำลายล้างของฮิตเลอร์นั้นมีมากมายเหลือคณานับ เช่น การขับไล่ชาวยิวออกไปจากบ้านแล้วส่งไปอยู่ในสลัม   ยึดกิจการของยิวแล้วเอาไปให้ชาวเยอรมัน มีการปลุกระดมให้ชาวบ้านไปเผาทำลายร้านค้าของพวกยิว ทหารหรือชาวบ้านสามารถทำร้ายร่างกาย ข่มขืนกระทำชำเรา หรือฆ่าคนยิวได้โดยไม่ผิดกฎหมาย หนักกว่านั้นคือเมื่อสงครามเริ่มขึ้น พวกยิวจะถูกส่งตัวไปค่ายกักกันซึ่งมีหลายสิบแห่งนอกประเทศเยอรมนีเพื่อทำงานหนักเยี่ยงทาส คนที่ทำงานไม่ได้ก็จะถูกฆ่า หรือถึงแม้จะทำงานได้ก็ยังมีการคัดเลือกไปฆ่าอีกเช่นกัน   ทุกที่ที่ทหารเยอรมันไปถึง ที่เหล่านั้นก็จะกลายเป็นนรกของยิว  จนท้ายสุดเมื่อสงครามยุติ คนยิวถูกฆ่าไปกว่า 6 ล้านคน ซึ่งเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นว่าพวกนาซีสามารถปลูกระดมให้คนเยอรมันเปลี่ยนทัศนคติให้เคียดแค้นคนยิวและลดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพวกยิวลงเพียงผักปลาที่ไร้ค่าอะไรเลย

ส่วนผู้ที่รักความเป็นธรรมและลุกขึ้นมาต่อต้านการใช้อำนาจเบ็ดเสร็จของรัฐนั้น จะถูกประณามโดยฝูงชนจำนวนมากที่ถูกฮิตเลอร์ปลุกปั่นและปิดบังความจริง พวกองค์กรที่เป็นเครื่องมือในการใช้อำนาจของรัฐ อาทิ SS (Schutz Straffel) ซึ่งเป็นกองกำลังสมาชิกพรรคนาซีติดอาวุธ หรือพวกตำรวจลับ Gestapo (Geheimer Staatpolizei) จะตามฆ่าและทำลายล้างผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับท่านผู้นำ ประเทศเยอรมนีในยุคของฮิตเลอร์จึงเป็นอาณาจักรแห่งความกลัวอย่างแท้จริง  สิ่งที่ฮิตเลอร์ทำความประทับใจกับชาวเยอรมัน จนชาวเยอรมันหลงเชื่อ ทึ่ง และประทับใจในตัวฮิตเลอร์จนกระทั่งเป็นม่านหมอกบังตาชาวเยอรมันเองไม่ให้เห็นความจริงอันโหดร้ายที่นาซีทำกับประเทศ คือ การแก้ไขปัญหาคนว่างงาน สร้างทางหลวง(Autobahn) ทั่วประเทศ ตั้งโรงงานรถโฟล์กสวาเก้น (Volkswagen) ซึ่งแปลว่ายานยนต์ของประชาชน และขายให้ประชาชนในราคาถูก สร้างอาคารที่อยู่อาศัยราคาถูกสำหรับประชาชน (Wohnungbau) และนโยบายอื่นๆที่มีลักษณะเอื้ออาทร และที่เด่นที่สุด คือ การยกเลิกจ่ายค่าปฏิกรรมสงครามแก่ประเทศพันธมิตร ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็น นโยบายประชานิยม

สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์เรืองอำนาจล้วนเป็นสิ่งที่อันตรายและมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ทุกประเทศไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย ฮิตเลอร์นั้นเป็นผู้นำที่มาอย่างถูกต้องตามรัฐธรรมนูญซึ่งนั่นคือตามอำนาจและความชอบธรรมนั่นเอง แต่เมื่อฮิตเลอร์เข้าสู่อำนาจแล้วกลับใช้อำนาจที่ได้มาอย่างถูกต้องไปในทางที่ผิด จนทำให้ชาติเข้าสู่สงครามและล้มละลายในที่สุดทำให้ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น ทุกประเทศรวมทั้งประเทศไทยจึงควรจับตาไม่ให้คนอย่างฮิตเลอร์ปรากฏตัวขึ้นมามีอำนาจอีกครั้งจนทำความสูญเสียให้แก่ประเทศเหล่านั้นจนยากจะเยียวยา

หมายเลขบันทึก: 181260เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท