การจัดการแบบ โออีซี (OEC Management)


      อ่านพบบทความหนึ่ง  จำแหล่งอ้างอิงไม่ได้แล้ว(ขออภัยด้วย) ชื่อบทความว่า การจัดการแบบ โออีซี : OEC Management)  เห็นน่าสนใจดี  จึงเอามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  ถ้าใครมีสาระหรือประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็ช่วยแบ่งปันด้วย จะขอบคุณมาก 
       การจัดการแบบ โออีซี  คือ เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมการทำงานประจำวันของพนักงาน ทุกๆคน ใน ทุกๆจุดขององค์กร ซึ่งทำด้วยความโปร่งใสชัดเจน และจะเป็นเครื่องมือที่ช่วยกระตุ้นให้พนักงานทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมในทุกๆวัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์กร

          ต้นกำเนิดแนวคิด การจัดการแบบ โออีซี  เริ่มต้นในปี 1984 ซึ่งเป็นปีที่ จางรุ่ยหมิ่น ได้รับการแต่งตั้งจากทางการให้  เข้ามาหยุดยั้งความตกต่ำของโรงงานผลิตตู้เย็นแห่งหนึ่ง เมื่อ จางรุ่ยหมิ่น ได้เข้ามารับตำแหน่งแล้ว ก็พบว่า สภาพของโรงงานแย่มากเนื่องจาก พนักงานไม่มีระเบียบวินัยมาก และการลักขโมยทรัพย์สินของโรงงานก็เกิดขึ้นจนเป็นเรื่องปกติ 

          จางรุ่ยหมิ่น จึงได้ครุ่นคิดหาหนทางหยุดยั้งความตกต่ำขององค์กร และสิ่งที่ทำให้เขาค้นพบแนวทางการจัดการแบบโออีซี เริ่มต้นจากการอุปมาว่า องค์กร คือ ลูกบอลหิมะ ที่กลิ้งลงจากเนินเขา   หากเราจะหยุดยั้ง การกลิ้งลงมาของ ลูกบอลหิมะ ได้ จะต้องมีแรงผลักที่มากพอที่จะหยุดการกลิ้งของ ลูกบอลหิมะ ได้   และ จางรุ่ยหมิ่น ก็ค้นพบว่า แรงผลักที่จะหยุดยั้ง ความตกต่ำขององค์กรได้  คือ

     -   แรงผลักที่เกิดจากการขับเคลื่อน ของพนักงานในองค์กร

     -   แรงผลักที่เกิดจากความสามารถ ทางการตลาด
      หลังจาก จางรุ่ยหมิ่น ค้นพบว่า การจะหยุดยั้งการตกต่ำขององค์กร หรือ การทำให้องค์เติบโตอย่างรวดเร็ว ขึ้นอยู่กับ แรงผลัก 2 ประการ คือ แรงผลักที่เกิดจากการขับเคลื่อน ของพนักงานในองค์กร และ แรงผลักที่เกิดจากความสามารถ ทางการตลาด   แต่การจะ ทำให้แรงผลักทั้ง 2 มีพลังในการผลักสูง จะต้องมี 3    องค์ประกอบ คือ

     -  เป้าหมาย  

     -  ระบบควบคุม

     -  ระบบกระตุ้น

       ประเด็นสำคัญของเป้าหมาย  คือ การทำให้พนักงานทุกคนทำงานไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่ง การที่พนักงานทุกคนทำงานไปในทิศทางเดียวกัน จะทำให้แรงผลักที่เกิดจากการขับเคลื่อน ของพนักงานในองค์กร มีพลังสูงสุด

      4.1    สำหรับ แนวคิดในการทำให้พนักงานทุกคนทำงานไปในทิศทางเดียวกัน คือ การตอบแทนในสิ่งที่พนักงานต้องการ เมื่อพนักงานทำในสิ่งที่องค์กรต้องการ  

      4.2    สิ่งที่ใช้ตอบแทนพนักงานแล้ว มีผลต่อจิตใจพนักงานมาก คือ  เงินรางวัล , คำชมเชย และ ความก้าวหน้า  สำหรับทั้ง 3 สิ่งนี้   พบว่า จะใช้ได้ผลกับพนักงานที่อยู่ในวัยหนุ่มสาว (สำหรับบริษัท ไฮเออร์  ผลของการนำการจัดการแบบ  โออีซีมาใช้ ทำให้พนักงานหนุ่มสาว ที่มีความกระตือรืนร้นสูง ก้าวขึ้นมาเป็นผู้ระดับกลางเป็นจำนวนมาก  ส่งผลให้อายุเฉลี่ยของผู้บริหารระดับกลางอยู่ที่ 26-28  ปี เท่านั้น)

ประเด็นสำคัญของระบบควบคุม  คือ  เราจะต้องควบคุมให้พนักงานทุกคนทำงานอย่างเต็มฝีมือ ในทุกๆจุด ของงานทั้งหมดขององค์กร  เมื่อแต่ละจุด ทำงานออกมามีคุณภาพดีแล้ว ผลสุดท้าย สินค้า และ บริการ ของเรา ก็จะออกมามีคุณภาพดี ซึ่งจะเป็นการเพิ่มความสามารถทางการตลาดให้สูงขึ้น

        สำหรับ จุดที่จะทำการควบคุม มี 4 จุด ดังนี้ คือ

       5. 1      อินพุต     จะควบคุมในประเด็น  3 M    คือ

             -    Man (พนักงาน)  ควบคุมในประเด็น   วินัยการทำงาน  และ ทัศนคติในการทำงาน ฯลฯ

             -    Machine ( เครื่องจักร)  ควบคุมในประเด็น  ความพร้อมของเครื่องจักร และ ความปลอดภัยของเครื่องจักร  ฯลฯ

             -    Material (วัตถุดิบ) ควบคุมในประเด็น  ความเสียของวัตถุดิบ และ การใช้ประโยชน์จากวัตถุดิบ ฯลฯ

        5.2     เอาท์พุต   จะควบคุม  ทั้งปริมาณและคุณภาพ

                  รูปแบบในการควบคุม อินพุต และ เอาท์พุต  มีแนวทางดังนี้ คือ

                  1. ใช้ 3 E Card เป็นตัวเก็บข้อมูล และ สร้างสูตรคำนวณคะแนน  สำหรับ 3 E Card  ( Everyone Everything and Everyday ) คือ แบบฟอร์มรายงานประจำวันของพนักงาน ที่ออกแบบ  มาให้พนักงานทุกคนกรอก ทุกๆวัน ในทุกๆสิ่งที่โรงงานต้องการควบคุมทั้งในส่วน  อินพุต และ เอาท์พุต  ซึ่งข้อมูลที่พนักงานกรอกจะต้องส่งให้ ผู้จัดการฝ่าย เพื่อใช้ในการคำนวณคะแนน และคะแนนที่ได้จะถูกนำไปขึ้นบอร์ดแสดงผลให้ทุกๆคนได้เห็นคะแนนของตัวเอง เพราะคะแนน จะสื่อถึง รายได้ที่พวกเขาจะได้รับ สำหรับการ กำหนดสูตรในการคำนวณ คะแนน จาก 3 E Card สูตรที่ใช้ในการคำนวณคะแนนจะต้องมีความยุติธรรมต่อพนักงานทุกคน

              2.  กำหนดผลประโยชน์กับคะแนนที่พนักงานได้รับ   โดยสูตรในการคำนวณเงินรางวัลที่จะได้รับแบ่งตามแบ่งระดับพนักงานเป็น 3 ระดับ ตามสัดส่วนคะแนนที่พนักงานได้รับ คือ

                        -   ระดับดีมาก ( The Best worker )  คือ ผู้ที่ได้คะแนนจาก 3E Card  คิดที่สัดส่วน ผู้ที่มีคะแนน สูงสุด 5% แรก    จะได้เงินรางวัลมากสุด  และถ้าพนักงานที่จัดอยู่ในระดับดีมากติดต่อกัน  จะได้รับโอกาสในการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งงาน

                        -   ระดับทดลองงาน ( Trial worker ) คือ ผู้ที่ได้คะแนนจาก 3 E Card คิดที่สัดส่วน ผู้ที่มีคะแนนต่ำสุด 5%ท้ายสุด จะไม่ได้รับเงินรางวัล และถ้าพนักงานที่จัดอยู่ในระดับทดลองงานติดต่อกันหลายครั้ง  จะถูกปลดออกจากการเป็นพนักงาน

                        -   ระดับดี ( Good worker )  คือ ผู้ที่ได้คะแนนจาก 3 E Card  ในสัดส่วนที่ไม่อยู่ในเงื่อนไขของระดับดีมาก หรือ ระดับทดลองงาน  จะได้รับเงินรางวัลรองลงมาจากพนักงานระดับดีมาก

        5.2  ระหว่างกระบวนการ จะไม่ทำการควบคุม แต่จะให้พนักงานควบคุมเอง เพราะหากผลงานออกมาไม่ดี พนักงานก็จะได้คะแนนจาก 3E Card น้อย นั่นหมายถึงรายได้ของพนักงาน ก็จะน้อยลงด้วย

               ปัจจัยความสำเร็จในการทำให้พนักงานสามารถควบคุมงานด้วยตัวเอง  มีดังนี้ คือ

                -     จะต้องทำการวิเคราะห์งาน (Job Analysis) และแตกงานทั้งหมดให้ออกมาเป็นงานย่อย จนเป็นงานง่ายๆ ที่มั่นใจว่าพนักงานควบคุมงานได้

                 -      จะต้องแตกงานจนสามารถกำหนดผู้รับผิดชอบได้อย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถใช้ 3E Card วัดผลงานได้

        5.3  รอยต่อของงาน  เช่น รอยต่อของงานในฝ่ายเดียวกัน หรือ รอยต่อของงานต่างฝ่าย  ซึ่งจากควบคุมงานระหว่างรอยต่อจะใช้ระบบ SST ซึ่งระบบ SST มีรายละเอียดดังนี้ คือ

                 S    =   ซู่โฉว        คือ  การตอบแทนให้สมน้ำสมเนื้อ เมื่อพนักงานบริการได้ดีต่อ ลูกค้าภายใน หรือ ลูกค้าภายนอก องค์กร

                 S    =   ซู่เผย        คือ  การต้องชดใช้ เมื่อพนักงานบริการไม่ดีต่อ ลูกค้าภายใน หรือ ลูกค้าภายนอกองค์กร

                 T   =    เที่ยวจ๋า    คือ  การแทรกแซงของบุคคลที่ 3 เช่น หัวหน้างาน ในกรณีที่บริเวณรอยต่อของงานไม่เกิดการทำ ซู่โฉว ซู่เผย กัน

ประโยชน์ของระบบ SST

        1.  สร้างความเป็นเจ้าของให้เกิดขึ้นในจิตใจของพนักงาน   เพราะว่าเมื่อพวกเขาทำได้ดี เขาก็จะได้รับสิ่งตอบแทนอย่างสมน้ำสมเนื้อ แต่ถ้าทำไม่ดี เขาต้องเสียผลประโยชน์ เสมือนเขาเป็นเจ้าของงานนั้นๆเอง

        2.  สร้างระบบการตรวจสอบซึ่งกันและกัน  เนื่องจาก   Output ของกระบวนการส่วนหน้า คือ  Input ของกระบวนการถัดไป แต่เนื่องจาก Input / Output จะต้องนำไปกรอกใน 3E Card เพื่อนำไปใช้ในการคำนวณคะแนน  ซึ่งคะแนนจะมีผลต่อระดับรายได้ ของพนักงานแต่ละคน ดังนั้นพนักงานแต่ละคนจะทำ ซู่โฉว ซู่เผย กันเพื่อรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง

ประเด็นสำคัญของระบบกระตุ้น  คือ ระบบการให้รางวัล-ลงโทษ ที่สร้างขึ้นเพื่อให้พนักงานรักษาระดับคุณภาพของงาน (เปรียบเสมือนการรักษาระดับพลังของแรงผลัก)  และยกระดับจิตสำนึกให้พนักงานกระตือรือร้นที่จะทำงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมทุกวัน (เปรียบเสมือนเป็นการเพิ่มพลังของแรงผลัก)

จิตวิทยา ในการให้รางวัล - ลงโทษ

        1.  ทำดีต้องตอบแทนให้สมน้ำสมเนื้อ ทำไม่ดีต้องชดใช้ (ซู่โฉว -  ซู่เผย )

             -  เมื่อพนักงานทำงานไม่ดี  จะต้องถูกลงโทษ   ซึ่งการลงโทษ จะมี 3 ระดับ คือ ตัดเงิน ,ย้ายส่วนงาน,ปลดออก

             -  เมื่อพนักงานทำงานได้ดี  จะได้รับรางวัล  ซึ่งการให้รางวัลจะมี 3 ระดับ คือ ให้เงิน , ชมเชย , เลื่อนตำแหน่ง              
    จุดประสงค์  :
เพื่อเป็นการกระตุ้นให้พนักงาน เรียนรู้ถึงผลการกระทำที่ตัวเองก่อขึ้น พนักงานจะเรียนรู้ที่จะปรับปรุงตัวเอง เพื่อที่จะไม่ต้องถูกลงโทษ และกระตือรือร้นที่จะทำให้ดีเพื่อที่จะได้รับรางวัล

         2.  ตอบแทนในสิ่งที่พนักงานต้อง  ซึ่ง จางรุ่ยหมิ่น พบว่า เงิน , คำชมเชย และ ความก้าวหน้าคือสิ่งที่พนักงานหนุ่มสาว ต้องการมากที่สุด

        จุดประสงค์  : เมื่อพนักงานได้รับในสิ่งที่อยากได้ ก็จะเกิดพลังในการทำงานมากขึ้น ซึ่งเมื่อพนักงานพยายามมาก องค์กรก็จะได้รับประโยชน์มากขึ้นเช่นกัน

3.  การลงโทษ  : จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกไม่มั่นคง เมื่อรู้สึกไม่ มั่นคง พนักงานก็จะต้องดึงพลังออกมาใช้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตัวเอง

        4.  การให้รางวัล :(โดยเฉพาะต่อหน้าสาธารณะชน) จะเป็นตัวควบคุมให้พนักงานปล่อยพลังออกมาในระดับเดิม เพื่อรักษาหน้าของตัวเอง

        5.  ความเร็วในการให้รางวัล-การลงโทษ ยิ่งเร็ว พนักงานก็ยิ่งเรียนรู้ 

              -  สำหรับการจัดการแบบโออีซี การคำนวณคะแนนใน 3E Card จะรู้ผลในวันรุ่งขึ้น ทำให้พนักงานรู้ผลทันทีเมื่อตัวเองทำงานไม่ดี เพราะคะแนนมีผลต่อรายได้ของพนักงาน

        6.  การให้รางวัล - การลงโทษ ต้องโปร่งใสชัดเจน พนักงานจะมองว่าบริษัทยุติธรรม ไม่ลำเอียง มิฉะนั้นสิ่งที่ทำจะสูญเปล่า

              -  สำหรับการจัดการแบบ โออีซี จะใช้สูตรคำนวณคะแนน ดังนั้นจึงมีความชัดเจนโปร่งใส ทุกคนเสมอภาคกัน

        7.  การให้รางวัล - การลงโทษ ยิ่งอยู่ตำแหน่งสูง ยิ่งต้องรับผิดชอบมาก

              -  กฎ 80/20 หัวหน้ารับ 80  พนักงานรับ 20  ซึ่งเป็นการส่งเสริมระบบ SST ให้ เข็มแข็งขึ้น เพราะหัวหน้างานจะกระตือรือร้นมาก เมื่อพบว่าผลงานตกต่ำลง เนื่องจากรายได้หดหายไปมากกว่าพนักงาน

        8.  การให้รางวัล โดยการ เลื่อนตำแหน่ง หรือ การลงโทษ โดยการ ย้ายส่วนงาน จะเป็นการเลือกสนามแข่งขันให้เหมาะกับความสามารถของพนักงาน เพราะ

             -  ช่วยให้ผู้ที่ชนะ พบว่ายังมีสิ่งสิ่งท้าทายรออยู่ ทำให้พนักงานกระตือรือร้น

             -  ช่วยให้พนักงานที่ไม่เคยเป็นผู้ชนะ มีความหวังที่จะชนะ เพราะคนเก่งถูกย้ายไปแข่งสนามที่เหนือกว่าแล้ว

3.  การลงโทษ  : จะทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกไม่มั่นคง เมื่อรู้สึกไม่ มั่นคง พนักงานก็จะต้องดึงพลังออกมาใช้ได้มากที่สุด เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับตัวเอง

        4.  การให้รางวัล :(โดยเฉพาะต่อหน้าสาธารณะชน) จะเป็นตัวควบคุมให้พนักงานปล่อยพลังออกมาในระดับเดิม เพื่อรักษาหน้าของตัวเอง

        5.  ความเร็วในการให้รางวัล-การลงโทษ ยิ่งเร็ว พนักงานก็ยิ่งเรียนรู้ 

              -  สำหรับการจัดการแบบโออีซี การคำนวณคะแนนใน 3E Card จะรู้ผลในวันรุ่งขึ้น ทำให้พนักงานรู้ผลทันทีเมื่อตัวเองทำงานไม่ดี เพราะคะแนนมีผลต่อรายได้ของพนักงาน

        6.  การให้รางวัล - การลงโทษ ต้องโปร่งใสชัดเจน พนักงานจะมองว่าบริษัทยุติธรรม ไม่ลำเอียง มิฉะนั้นสิ่งที่ทำจะสูญเปล่า

              -  สำหรับการจัดการแบบ โออีซี จะใช้สูตรคำนวณคะแนน ดังนั้นจึงมีความชัดเจนโปร่งใส ทุกคนเสมอภาคกัน

        7.  การให้รางวัล - การลงโทษ ยิ่งอยู่ตำแหน่งสูง ยิ่งต้องรับผิดชอบมาก

              -  กฎ 80/20 หัวหน้ารับ 80  พนักงานรับ 20  ซึ่งเป็นการส่งเสริมระบบ SST ให้ เข็มแข็งขึ้น เพราะหัวหน้างานจะกระตือรือร้นมาก เมื่อพบว่าผลงานตกต่ำลง เนื่องจากรายได้หดหายไปมากกว่าพนักงาน

        8.  การให้รางวัล โดยการ เลื่อนตำแหน่ง หรือ การลงโทษ โดยการ ย้ายส่วนงาน จะเป็นการเลือกสนามแข่งขันให้เหมาะกับความสามารถของพนักงาน เพราะ

             -  ช่วยให้ผู้ที่ชนะ พบว่ายังมีสิ่งสิ่งท้าทายรออยู่ ทำให้พนักงานกระตือรือร้น

             -  ช่วยให้พนักงานที่ไม่เคยเป็นผู้ชนะ มีความหวังที่จะชนะ เพราะคนเก่งถูกย้ายไปแข่งสนามที่เหนือกว่าแล้ว
                            ************************************

หมายเลขบันทึก: 181175เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 07:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
ผู้ติดตามผลงานตลอด

ถ้านำแนวคิดนี้มาใช้ในระบบราชการปัจจุบันโดยเฉพาะในเขตพื้นที่การศึกษาคงวุ้นน่าดูนะครับ..เพราะปัจจุบันลูกน้องวิ่งแต่ลูกพี่นิ่งเฉยเห็นแล้วเหนื่อยใจ..

อยากทราบว่าจะไปหาข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือเล่มไหนครับ

หรือว่ามีข้อมูลรายละเอียดมากกว่านี้หรือป่าวครับ สนใจอยากทำรายงานเรื่องนี้ครับ ตอบทางอีเมล์ [email protected] จะเป็นพระคุณอย่างสูงครับ ถ้าจะกรุณาอนุเคราะห์กระผม

ปล.คุณน้าเอามาจากหนังสือ Haier made in chinaที่เล่มแดงๆป่าวครับ หรือว่ามีเล่มอื่นๆอีก ที่เกี่ยวกับ OEC โดยตรง ถ้ามีบอกด้วยจะดีมากเลยครับ เหอๆ

จำไม่ได้จริงๆว่าอ่านจากเล่มไหน แต่ก็เคยได้ฟังจากการสัมมนาครั้งหนึ่งด้วย ขออภัยที่ไม่ได้ช่วยให้กระจ่างขึ้น ลองสืบค้นต่อนะ ถ้ามีรายละเอียดอีกก็ช่วยต่อเติมให้ด้วย

ครับ ไม่เป็นไรครับคุณน้า พอดีผมเห็นOEC0kdในหนังสือ

Made in china

Haier ไฮเออร์ เหลียนเสี่ยง(เลโนโว) แบรนด์ดังมังกรพันธุ์แท้

ของคุณ สันติ ตั้งรพีพากร เป็นของสำนักพิมพ์มติชน ปี 2546 ครับ

รู้สึกว่า บทความนี้น่าจะสรุปมาจากหนังสือเล่มนี้อะครับ พอดีลองอ่านคราวๆดูแล้ว งั้นเดียวจะพยายามหาต่อไปครับ ขอบคุณคุณน้ามากครับที่สละเวลามาตอบกระทู้ แล้วถ้าได้ข้อมูลเพิ่มเติมเช่นไรจะมาเล่าสู่กันฟังครับ ขอบคุณครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท