รัชชานนท์ คนรักสุขภาพ
สเน่ห์คนเมือง คนเมืองมีเสน่ห์ รัชชานนท์ คนรักสุขภาพ น่วมนา

หัวใจขาดเลือดอาจเกิดได้เฉียบพลันแต่สาเหตุของมันเกิดจากการสะสม


โรคหัวใจ ตรียมตัวทันก็รับมือได้

หัวใจขาดเลือดอาจเกิดได้เฉียบพลันแต่สาเหตุของมันเกิดจากการสะสม

สวัสดีครับ เรามาต่อกัน ที่เรื่องโรคหัวใจ ครับจากการที่ผมคนสอบถามกันเข้ามามาก จึงจะขออธิบายอย่างง่ายๆเลยครับกับ โรคภัยเงียบที่อันตรายต่อสุขภาพหัวใจของท่านครับ หัวใจขาดเลือดแน่นอนครับไม่ส่งผลดีแน่ หลายคนอาจกังวลว่าโรคนี้มันเกิดแบบเฉียบพลันแต่สาเหตุของการเกิดโรคนี้มันมาจาการสะสมต่างหากล่ะครับ  แล้วเราจะระวังตัวกันอย่างไรดี จริงๆ แล้ว สาเหตุการที่มาจากการที่หัวใจขาดเลือดนั้นจริงๆแล้ว  มันเกิดจากการที่ไม่มีเลือดไปเลี้ยงหัวใจ ก็เหมือนกับท่อน้ำประปาที่มีคราบสนิมหรือสิ่งแปลกปลอมไปเกาะสะสมอยู่ในท่อนั่นแหละครับโรคจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีการหนาตัวของผนังหลอดเลือดซึ่งอาจจะเป็นผลจากมีผลึกไขมันไปเกาะหรือมีพังผืดอันเป็นผลมาจากความเสื่อมหรือมีปัจจัยอื่น ๆ ไปกระตุ้นให้เกิดภาวะหนาตัวขึ้น ทำให้เลือดไหลผ่านไม่สะดวกเป็นผลให้หัวใจขาดเลือดได้ ปัจจัยที่ว่านี้ ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง สูบบุหรี่ ไขมันในเลือดสูง อายุที่มากขึ้น อ้วน ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย ฯลฯ จะเห็นได้ว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมาสามารถแก้ไขหรือทำให้ดีขึ้นได้ แต่ประการหนึ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ คือ อายุที่เพิ่มขึ้น

 การตรวจหาสัญญาณเตือนเมื่อแพทย์พบ ว่าจะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน       

หลายคนเข้าใจว่าการตรวจเลือด เพื่อหาระดับไขมัน  ก็สามารถบอกได้ว่าเป็นโรคหัวใจแต่จะรู้ ในกรณีที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย (เฉียบพลัน) เกิดขึ้นแล้วเท่านั้น อาจช้าไม่ทันการ  และเป็นการตรวจดูปัจจัยเสี่ยงอื่นๆของโรคหัวใจ เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น (ไม่สามารถฟันธงได้ว่ามีการสะสมหรือเริ่มมีการตีบตันของหลอดเลือดหัวใจ ) เพราะผลการตรวจไขมันในเลือดปรกติก็อาจเกิดอาการโรคหัวใจได้ตลอด

การตรวจอะไรถึงจะมั่นใจได้ว่าในระยะเวลา 1-4-ปีข้างหน้าเราจะปลอดภัยจากโรคหัวใจตีบตัน

1 การสวนหัวใจและการฉีดสีหลอดเลือดหัวใจ( Cardiac Catheterization and Coronary Angiography)
การสวนหัวใจเป็นการตรวจพิเศษทางรังสีอย่างหนึ่งโดยการใส่สายสวนหัวใจ (catheter) ซึ่งมีลักษณะเป็นท่อขนาดเล็กเข้าไปทางหลอดเลือด จากบริเวณแขนหรือขา จนถึงหัวใจ หลังจากนั้นแพทย์จะฉีด สี หรือที่ถูกต้องคือสารทึบรังสีพิเศษเข้าไปทางสายสวนหัวใจ และดูภาพของสารทึบรังสีที่ปรากฏขึ้นในหัวใจทางเอกซเรย์ รวมถึงสามารถวัดความดันและตรวจปริมาณออกซิเจนในส่วนต่างๆของหัวใจด้วย แต่มีผลแทรกซ้อนที่เกิดจากการสวนหัวใจและฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจอยู่บ้าง เช่น ผลต่อหลอดเลือดที่ขา(ตำแหน่งที่แทงเข็ม) เลือดออก แพ้"สี" แบบไม่รุนแรง เป็นต้น แล้วต้องมีการเตรียมตัวก่อนเข้ารับการตรวจ ตามคำแนะนำของแพทย์

2 การตรวจหาความผิดปรกติของหลอดเลือดหัวใจด้วยเครื่อง CT Multislices  ซึ่งสามารถแสดงพยาธิสภาพของหลอดเลือดหัวใจได้ดี หรือใกล้เคียงการตรวจสวนหลอดเลือดหัวใจ โดยไม่ต้องใส่สายสวนผ่านหลอดเลือดแดง และยังได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปริมาณแคลเซี่ยมหรือหินปูนที่เกาะตามผนังหลอดเลือดหัวใจ การทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจ ลักษณะทางกายภาพหัวใจ และเยื่อหุ้มหัวใจ ซึ่งเป็นประโยชน์ในการวินิจฉัยได้อย่างแม่นยำ 95-100 % และรวดเร็ว ทำให้สะดวกและง่ายต่อการวางแผนในการรักษา 

           3 การตรวจโดย การวิ่งสายพาน  มีความแม่นยำ 30-5%ใช้ในการตรวจวินิจฉัยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และสมรรถภาพการทำงานของหัวใจ โดยเฉพาะในคนสูงอายุ หรืออายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป หรือกลุ่มผู้มีปัจจัยเสี่ยง เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไขมันในเลือดสูง ภาวะความดันโลหิตสูง การสูบบุหรี่ เป็นต้น ผู้ที่มีอาการสงสัยควรได้รับการตรวจ คือ เจ็บหน้าอก หน้ามืด เป็นลม เหนื่อยง่าย หัวใจหยุดเต้นกะทันหันแบบชั่วคราว (Heart Attack) เมื่อแพทย์ได้วินิจฉัยพบก่อน ก็สามารถให้การรักษาได้ทันการณ์

อย่าลืมนะครับรู้ก่อนป่วยดีกว่าป่วยแล้วรู้

หมายเลขบันทึก: 181174เขียนเมื่อ 8 พฤษภาคม 2008 07:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ออกกำลังกาย ถือว่าเป็นการป้องกัน และลดอัตราเสียงต่อการเกิดโรคหัวใจได้น่ะครับ

ครับคุณ อ้นจัง การดูแล สุขภาพ ดีที่สุด ครับ สำหรับเรื่องการออกกำลังกายก็สำคัญนะครับ ต้องอาศัย ปัจจจัย หลายๆๆอย่าง พิจรณาครับ แล้วจาเอา วิธีการออกกำลังกายที่เหมาะสม มาฝากครับ ขอเวลา เขียนให้อ่านง่ายเข้าใจ ง่าย นิดนึงครับพ้ม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท