จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

มันเป็นปัญหาจริงๆ


ถูกนัดหมายประชุมมาหลายสัปดาห์แล้วครับ แต่กว่ากรรมการชุดนี้จะหาที่จะมานั่งอย่างพร้อมเพรียงกันได้ใช้เวลาเกือบเดือน (จนหัวหน้าใหญ่ (บรรณาธิการวารสาร)อย่างดร.ดลวนะ ตาเยะ ร้อนก้นมากๆ) และด้วยเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญอีกครั้งสำหรับการประชุมครั้งนี้ เจ้าหน้าที่บัณฑิตวิทยาลัยโทรย้ำเพื่อให้ผมเข้าประชุมครั้งนี้ให้ได้ตั้งแต่สองวันก่อน แล้วก็โทรย้ำเป็นระยะๆ จนกระทั่งอีกหนึ่งนาทีจะถึงเวลาประชุม ยังโทรมาถามว่า ผมอยู่ไหนแล้ว (ฮิฮิ กะว่าจะเข้าประชุมช้าหน่อยก็ไม่ได้) ออ.นี้ยังไม่นับเวลาเจอหน้ากันก็ทักว่า วันพุธนี้ประชุมวารสารนะครับอาจารย์

ประเด็นหลักคือ ปัญหาเรื่องรูปเล่มของวารสารอันนูร วารสารวิชาการของบัณฑิตวิทยาลัยครับ ปัญหาใหญ่มากจริงๆ อันเนื่องจากวารสารฉบับนี้เรารับตีพิมพ์บทความวิชาการ 4 ภาษาคือ อาหรับ อังกฤษ มลายูและไทย ไม่ว่าจะเขียนมาด้วยภาษาอะไรจากสี่ภาษานี้ หากผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิแล้วตีพิมพ์ได้เลยครับ และรู้สึกว่าระยะหลังอาจารย์มหาวิทยาลัยจากมาเลเซียจะให้ความสนใจส่งบทความมาค่อนข้างเยอะครับ ปัญหาจึงไม่ได้อยู่ที่จำนวนบทความหรือความหลากหลายของบทความครับ

ทีแรกผมเข้าใจว่าปัญหาที่หัวหน้าใหญ่ต้องการปรึกษาคือจะกำหนดกรอบของบทความที่จะตีพิมพ์ ที่ไหนได้ ปัญหาที่ว่าคือ จะเย็บเล่มอย่างไร (หลายท่านอาจจะงง เป็นปัญหาได้อย่างไร) ก็โดยปกติหนังสืออาหรับ มลายู (อักษรยาวี)เปิดจากขวาไปซ้ายครับ หนังสือไทย อังกฤษ และมาลายูรูมาไนซ์ จากซ้ายไปขวาครับ ดังนั้นคำถามคือ ปกของวารสารอันนูร์จะอยู่ทางไหน

ประการที่หนึ่งที่เป็นมติตั้งแต่ฉบับแรกคือ ใช้รูปเล่มแบบอาหรับ คือปกวารสารจะอยู่ตรงข้ามกับวารสารไทยทั่วไป ปรากฏว่า เล่มที่หนึ่ง ปกหลังเป็นพื้นว่าง ไม่มีปัญหาอะไรครับ แต่พอมาเล่มที่สอง มีการออกแบบใส่สารบัญไว้ปกหลัง แล้วเพื่อให้สอดคล้องกับสภาพจริงที่ใช้ในเมืองไทย คนออกแบบเลยกลับหัวกลับหางกับปกหน้า (งงมัยครับ คือ คนทั่วไปจะเข้าใจว่า เราเข้าเล่มผิด ปกหน้าอยู่ข้างหลัง แล้วปกหลังต้องเอาด้านบนของเล่มลงข้างล่าง)

ฉบับแรก บทความภาษาไทย อังกฤษและมลายูรูมาไนซ์ อยู่เป็นบทความหลังๆ แล้วอ่านจากขวาไปซ้าย (แบ่งเป็นสองคอลัมภ์) อ่านยากน่าดูครับ

ฉบับที่สอง บทความภาษาไทย อังกฤษและมลายูรูมาไนซ์ เรียงลำดับหน้าปกติเหมือนกับหนังสือทั่วไป แต่ถ้าจะอ่านต้องกลับหัววารสารลงจึงจะอ่านได้ จัดแบบคอลัมภ์เดียว ฉบับนี้อ่านบทความภาษาไทยง่ายหน่อย แต่ถ้าคนไม่เข้าใจจะนึกว่าเราเข้าเล่มวารสารผิด ฮิฮิฮิ

ผมเลยเสนอแนวคิดไปหลายข้อครับ ขออนุญาตไม่นำเสนอให้ความมันยืดยาวครับ เพราะตอนนี้ง่วงแล้ว และพรุ่งนี้ต้องขับรถไปไกล แถมต้องนั่งประชุมอาจจะถึงดึกครับ แต่ผมเดาเล่นๆ ว่า ถ้าเป็นวารสารวิชาการของมหาวิทยาลัยอื่นๆ ในประเทศไทยคงไม่เจอปัญหาแบบนี้

ออ. ดร.ดลวนะ เอาวารสารของมหาวิทยาลัยในมาเลเซียมาเป็นตัวอย่างสองฉบับครับ ที่มีลักษณะปัญหาเหมือนกับวารสารของเรา ปรากฏว่า ทั้งสองฉบับจัดรูปเล่มไม่เหมือนกันครับ และวารสารอันนูร์ในฉบับต่อไปจะเป็นการออกแบบรูปแบบอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ซ้ำใคร แต่น่าจะอ่านได้ง่ายมากขึ้นครับ

ออ.(ที่สอง) มีคำถามว่า วารสารที่พิมพ์นี้เผยแพร่ไปที่ไหนบ้างแล้ว (ฮิฮิ ใครจะอ่านออกทั้งสี่ภาษาบ้าง) ผมตอบเล่นๆ ไปว่า ส่วนใหญ่เอาไปถมทะเลครับ แต่บรรณาธิการใหญ่ของเราไม่ได้ตอบเล่นนะครับ ท่านตอบจริงๆ ว่า เราส่งไปหลายประเทศมากครับ และในหลายมหาวิทยาลัยในต่างประเทศรับวารสารของเราครับ เพราะเขาไม่จำเป็นต้องอ่านทุกบทความนี้ครับ อ่านเฉพาะที่เขาอ่านออกสิ แต่ที่วารสารนี้ยึดเอาเงื่อนไขของสกอ.ไว้อย่างหนึ่งคือ ทุกบทความจะต้องมีบทคัดย่อเป็นภาษาไทยครับ ฮึฮึ ดังนั้นถ้าบทความมาจากต่างประเทศก็ต้องเป็นภาระของกองบรรณาธิการนั่นแหละครับที่ต้องแปลเป็นภาษาไทยให้ ไม่งั้นลำบากแย่เลย

คำสำคัญ (Tags): #วารสารวิชาการ
หมายเลขบันทึก: 180954เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2008 00:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 เมษายน 2012 16:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

งานทำวารสารน่าสนุกดีครับ เป็นงานที่ใช้การสร้างสรรค์เป็นอย่างมาก ผมคิดว่าความหลากหลายของวารสารเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้วารสารน่าสนใจ

และผมให้ความสำคัญกับการออกแบบหน้าปกด้วย หน้าปกดีมีชัยกว่าครึ่ง

วันที่ ๑๘ เสียดายที่ผมไม่ได้ติดไป กลันตัน ด้วย หากมีโอกาสดีๆแบบนี้และตรงเวลาของผม จะตามไปด้วยครับ ช่วงนั้นผมจะอยู่ที่นครศรีธรรมราชครับ

ขอบคุณครับสำหรับการช่วยเหลือตลอดมาครับ

 

 

อะไรที่มันต้อง ลองแล้วลองเล่านี่แหละ มหาวิทยาลัยเราครับ...ผมไม่ถนัดบทความวิชาการซะด้วย มิอย่างนั้นคงส่งไปมีส่วนร่วมกับมหาวิทยาลัยบ้างแล้ว ขอไปมีส่วนร่วมกับสำนักพิมพ์ วารสารอื่นๆไปก่อนนะครับ ไว้มีโอกาสจะวาดลวดลายบนสนามมหาวิทยาลัยบ้าง ขอให้ผู้อาวุโสเขาทำกันไปก่อน (ผมมาทีหลังขอเดินตามผู้ใหญ่ดีกว่าครับ...)

ขอบคุณครับ อาจารย์1. นายประจักษ์

ขอบคุณครับอาจารย์จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เอาไว้ตอนไปงานลอยกระทงก็ได้ครับ อีกครั้งหนึ่งที่ผมจะต้องไปแน่ๆ (หากอัลลอฮ์ทรงประสงค์)

ขอบคุณครับอาจารย์เสียงเล็กๆ

รอบแรกบทความอาจารย์ที่เสนอก็น่าสนใจมากนะครับ เพียงแต่ต้องเขียนเรื่อยๆ ครับ อย่าหยุดเสียดายครับ

และขอบคุณสำหรับข่าวที่อาจารย์ส่งให้ พรุ่งนี้ผมจะพยายามติดต่อครับ วันนี้แบตโทรศัพท์แห้งไปแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท