ความว่าง


นิพฺพานํ ปรมํ สุญิญํ แปลว่า พระนิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง

 

ถ้าจะกล่าวอย่าง นิกายเซ็น หรืออย่างฮวงโป กล่าวว่า
ความว่างนั้นคือ สติปัญญา
ความว่างนั้นคือ ธรรมะ
ความว่างนั้นคือ พุทธะ
ความว่างนั้นคือ สภาพเดิมแท้ของจิต

คือ ถ้าเป็นความว่างแล้วต้องเป็นตัวเอง
คือ ตัวมันเอง ไม่มีอะไรมาแตะต้อง ปรุงแต่งแก้ไข
หรือทำอะไรกับมันได้ จึงถือว่าเป็นสภาพที่เป็นนิรันดร
คือ ไม่ต้องเกิดในทีแรก แล้วดับไปในที่สุด

..........เรื่องของความว่าง..........
ความว่างจากความทุกข์ และ ว่างจากกิเลสที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
เป็นความว่างจากตัวตน ว่างจากความมีอะไรเป็นตัวตน
หรือเป็นของของตน

ความว่างย่อมอยู่เหนือคำว่า "ความสุข" และ "ความทุกข์"
ว่างจากสิ่งที่ปรุงแต่งไหลเวียนเปลี่ยนแปลง
ในขณะที่ผู้ใดมีจิตว่างจากความรู้สึกว่าตัวเรา-ว่าของเรา
ในขณะนั้นเรียกว่าบุคคลนั้นได้บริจาคทานถึงที่สุด

คนที่มีจิตว่างไม่ยึดมั่นถือมั่นตัวตน-ของตนนั้น
เรียกว่าเป็นคนที่มีศีลที่แท้จริง และเต็มเปี่ยมถึงที่สุด้วย
ถ้าเมื่อใดมีจิตว่างแม้ชั่วขณะหนึ่งวันหนึ่
หรือค้นหนึ่งก็ตาม มันก็มีศีลที่แท้จริงตลอดเวลาเหล่านั้นจิตที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าเราว่าของเราเท่านั้น
ที่จะมั่นคงเป็นสมาธิได้อย่างแท้จริงและสมบูรณ์
.....ขณะที่มีจิตว่างนั้น เป็นความเฉลียวฉลาดอย่างยิ่ง.....
ความว่างกับปัญญาหรือสติปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน
สิ่งที่เราเรียกว่าจิตเดิมแท้ ที่เป็นอันเดียวกันกับปัญญานั้น
เราหมายถึงจิตที่ว่างจากความยึดมั่นถือมั่นว่าตัวตน
ธรรมชาติเดิมแท้ของจิตก็คือสติปัญญา คือ จิตว่างจากความยึดมั่นถือมั่น
ธรรมะแท้จะต้องว่างจากตัวตนหมด
อวิชชา ก็คือความว่างเท่ากันกับวิชชาหรือเท่ากับนิพาน มันเป็นธรรมะเท่ากัน

 

จากหนังสือ :: แก่นพุทธศาสน์
โดย :: พระราชชัยกวี (ภิกขุ พุทธทาส อินทปัญโญ)

 

นิพฺพานํ ปรมํ สุญิญํ แปลว่า พระนิพพานเป็นความว่างอย่างยิ่ง----------------------

สุญญตวรรค



๑. จูฬสุญญตสูตร (๑๒๑)
[๓๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ปราสาทของอุบาสิกาวิสาขา
มิคารมารดา ในพระวิหารบุพพาราม เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระ-
*อานนท์ออกจากสถานที่หลีกเร้นอยู่ในเวลาเย็น แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่
ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่ง
เรียบร้อยแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สมัยหนึ่ง
พระผู้มีพระภาคประทับอยู่สักยนิคมชื่อนครกะ ในสักกชนบท ณ ที่นั้น ข้าพระองค์
ได้สดับ ได้รับพระดำรัสนี้เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคว่า ดูกรอานนท์ บัดนี้
เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนี้ข้าพระองค์ได้สดับดีแล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้วหรือ ฯ

[๓๓๔] พระผู้มีพระภาครับสั่งว่า ดูกรอานนท์ แน่นอน นั่นเธอสดับดี
แล้ว รับมาดีแล้ว ใส่ใจดีแล้ว ทรงจำไว้ดีแล้ว ดูกรอานนท์ ทั้งเมื่อก่อนและ
บัดนี้ เราอยู่มากด้วยสุญญตวิหารธรรม เปรียบเหมือนปราสาทของมิคารมารดาหลังนี้ ว่างเปล่าจากช้าง โค ม้า และลา ว่างเปล่าจากทองและเงิน ว่างจากการชุมนุมของสตรีและบุรุษ มีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะภิกษุสงฆ์เท่านั้น ฉันใด
ดูกรอานนท์ ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล ไม่ใส่ใจสัญญาว่าบ้าน ไม่ใส่ใจสัญญา
ว่ามนุษย์ ใส่ใจแต่สิ่งเดียว เฉพาะสัญญาว่าป่า จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส
ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ในสัญญาว่าป่า เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า ในสัญญาว่าป่านี้
ไม่มีความกระวนกระวายชนิดที่อาศัยสัญญาว่าบ้าน และชนิดที่อาศัยสัญญาว่ามนุษย์
เลย มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวายคือภาวะเดียวเฉพาะสั ญญาว่าป่าเท่านั้น
เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่าบ้าน สัญญานี้ว่างจากสัญญาว่ามนุษย์ และ
รู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือสิ่งเดียวเฉพาะสัญญาว่าป ่าเท่านั้น ด้วยอาการนี้แหละ เธอ
จึงพิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในสัญญานั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลือ
อยู่ในสัญญานั้นอันยังมีอยู่ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ ก็เป็นการก้าวลงสู่ความ
ว่าง
ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

[๓๔๑] ดูกรอานนท์ ประการอื่นยังมีอีก ภิกษุไม่ใส่ใจอากิญจัญญาตน-
*สัญญา ไม่ใส่ใจเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ใส่ใจแต่สิ่งเดียวเฉพาะเจโตสมาธิ
อันไม่มีนิมิต จิตของเธอย่อมแล่นไป เลื่อมใส ตั้งมั่น และนึกน้อมอยู่ใน
เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิต เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่า เจโตสมาธิอันไม่มีนิมิตนี้แล ยังมี
ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้ ก็สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปัจจัยปรุงแต่ง จูงใจได้นั้น ไม่เที่ยง
มีความดับไปเป็นธรรมดา เมื่อเธอรู้อย่างนี้ เห็นอย่างนี้ จิตย่อมหลุดพ้นแม้จาก
กามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณรู้ว่า
หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ
แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี เธอจึงรู้ชัดอย่างนี้ว่าในญาณนี้ไม่มีความ
กระวนกระวายชนิดที่อาศัยกามาสวะ ชนิดที่อาศัยภวาสวะและชนิดที่อาศัยอวิชชา-
*สวะ มีอยู่ก็แต่เพียงความกระวนกระวาย คือ ความเกิดแห่งอายตนะ ๖ อาศัย
กายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย เธอรู้ชัดว่า สัญญานี้ว่างจากกามาสวะ สัญญานี้
ว่างจากภวาสวะ สัญญานี้ว่างจากอวิชชาสวะ และรู้ชัดว่ามีไม่ว่างอยู่ก็คือความเกิด
แห่งอายตนะ ๖ อาศัยกายนี้เองเพราะชีวิตเป็นปัจจัย ด้วยอาการนี้แหละ เธอจึง
พิจารณาเห็นความว่างนั้นด้วยสิ่งที่ไม่มีอยู่ในเจโตสมาธินั้นเลย และรู้ชัดสิ่งที่เหลือ
อยู่ในเจโตสมาธินั้นอันยังมีอยู่ ว่ามี ดูกรอานนท์ แม้อย่างนี้ เป็นการก้าวลงสู่
ความว่าง ตามความเป็นจริง ไม่เคลื่อนคลาด บริสุทธิ์ ของภิกษุนั้น ฯ

[๓๔๒] ดูกรอานนท์ สมณะหรือพราหมณ์ในอดีตกาลไม่ว่าพวกใดๆ ที่
บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็ได้บรรลุสุญญตสมา-
*บัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในอนาคตกาลไม่ว่าพวก
ใดๆ ที่จะบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น ก็จัก
บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ สมณะหรือพราหมณ์ในบัดนี้
ไม่ว่าพวกใดๆ ที่บรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ทั้งหมดนั้น
ย่อมบรรลุสุญญตสมาบัติอันบริสุทธิ์ เยี่ยมยอดนี้เองอยู่ ดูกรอานนท์ เพราะ
ฉะนั้นแล พวกเธอพึงศึกษาไว้อย่างนี้เถิดว่า เราจักบรรลุสุญญตสมาบัติอัน
บริสุทธิ์ เยี่ยมยอดอยู่ ฯ
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงชื่นชมยินดี
พระภาษิตของพระผู้มีพระภาคแล ฯ

คำสำคัญ (Tags): #ความว่าง#สุญญตา
หมายเลขบันทึก: 180917เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท