สรุปผล workshop "เทคนิคการเขียนรายงานวิจัยสถาบัน"


การพัฒนาศักยภาพนักวิจัย จะได้ผลดีนั้น ขึ้นอยู่กับตัวนักวิจัย ที่จะมุ่งมั่น ตั้งใจจริง ในการทำวิจัยสถาบัน เพื่อให้เกิดสัมฤทธิ์ผลงานวิจัยนั้น

สืบเนื่องจาก บล็อกนี้

http://gotoknow.org/blog/resaerch/180804

จึงสรุปผล การจัด workshop “เทคนิคการเขียนรายงานวิจัยสถาบัน

เมื่อ วันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น.

ณ ห้องประชุม (ชั้น 3) อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

0003

0002

ผลการประชุม พอสรุปได้ดังนี้

 

ผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งสิ้น  70 คน ประกอบด้วย

  • นักวิจัยสถาบัน(บุคลากร มข.)ที่ได้รับทุนปี 48, 50       รวม  20  คน
  • อาจารย์ และบุคลากร จากเครือข่ายการวิจัย ภาคอีสาน รวม  30  คน

      (ได้แก่ มรภ.อุดรธานี 5 คน, มรภ.เลย 6 คน,

        มทร.สุรินทร์ 3 คน, มรภ.บุรีรัมย์ 4 คน, ม.สารคาม 2 คน

        มทร.ขอนแก่น 2 คน, มทร.ร้อยเอ็ด 2 คน และ

        มทร.สกลนคร 6 คน)      

  • วิทยากร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง                          รวม  15  คน

 

เริ่มการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

ประธานกล่าวเปิด โดย: รศ.ดร.กิตติชัย  ไตรรัตนศิริชัย

                              รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

                              มหาวิทยาลัยขอนแก่น

A1

A2

A3

ช่วงเวลา 9.00-10.30 น. บรรยาย หัวข้อ "หลักการเขียนรายงานการวิจัยสถาบัน"

โดย ผศ.ดร.ดุษฎี  อายุวัฒน์

รองคณบดีฝ่ายวิจัย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

A4

A5

A6

A7

สาระสำคัญสรุปพอสังเขป (จากเอกสารแจก Power point วิทยากร) :

  • ลักษณะของรายงานที่ดี
  1.  
    1. แสดงถึงการศึกษาค้นคว้าอย่างจริงจัง ลึกซึ้ง เนื้อหาครบถ้วน ถูกต้อง
    2. แสดงให้เห็นความชัดเจน
    3. แสดงให้เห็นความชัดเจน ความมุ่งมั่นในความคิดของผู้เขียน
    4. แสดงถึงสัมพันธภาพและเอกภาพที่ดีของเนื้อหาในรายงาน
    5. มีการค้นคว้าอ้างอิงจากเอกสารที่หลากหลาย
    6. แสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นของตนเองของผู้เขียน
    7. ใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
    8. รูปแบบถูกต้องตามหลักสากล
  • ส่วนประกอบของเนื้อหา รายงานวิจัยสถาบัน
  1.  
    1.  คำนำ
    2. บทที่ 1 ความสำคัญของปัญหา
    3. บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย
    4. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย
    5. บทที่ 4 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
    6. บทที่ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
    7. บรรณานุกรม
    8. ภาคผนวก
    9. ประวัติผู้วิจัย

(((ข้อสังเกต)))

  1.  
    1.  การเขียนรายงาน ต้องใช้รูปแบบการเขียนตามหลักวิชาการ
    2. การเขียนรายงาน กับการนำเสนอผลงานวิจัย แตกต่างกัน
    3. การนำเสนอผล นิยมใช้กราฟ แผนภูมิ ตาราง ประกอบ ขณะที่รายงานวิจัยไม่นิยม
    4. ผลการวิจัยสถาบัน ต้องเป็นสารสนเทศ ที่เสนอต่อผู้บริหารองค์กร เพื่อการเสนอแนะต่อการพัฒนาปรับปรุงองค์กร

 หลังพักรับประทานอาหารว่าง

เวลา 10.45-12.30 น. ต่อด้วย

การอภิปราย หัวข้อ "เทคนิค ศาสตร์ และศิลป์ ของการเขียนรายงานการวิจัยสถาบัน"

โดยวิทยากร 3 ท่าน และผู้ดำเนินรายการ 1 ท่าน

Vj5

วิทยากร 3 ท่าน ประกอบด้วย (เรียงจากซ้ายไปขวา)

1. ผศ.ดร.ดุษฎี  อายุวัฒน์   รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะมนุษยศาสตร์ฯ

2. รศ.คงศักดิ์    ธาตุทอง    คณะศึกษาศาสตร์

3. ผศ.ปราโมทย์ ครองยุทธ  คณะวิทยาศาสตร์

 

ดำเนินรายการโดย  นายภูมิภักดิ์  พิทักษ์เขื่อนขันธ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย

Vj7

A8

  สาระสำคัญการอภิปราย การตอบข้อซักถาม และแลกเปลี่ยน

  • การวิจัยสถาบัน เป็นการทบทวน รวบรวมข้อมูล งานประจำที่ปฏิบัติ
  • เปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานในอดีตถึงปัจจุบัน
  • เป็นผู้ที่เสาะแสวงหา  สืบค้นข้อมูล เปรียบเทียบ อ้างอิง เพื่อหาแนวทางในการนำมาปรับปรุงงานในองค์กรที่เป็นวิธีการใหม่ ในเชิงสร้างสรรค์ และพัฒนางานเดิม
  • นำผลงานศึกษาวิจัย ไปทดลองใช้ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง และพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น
  • เกิดการสร้างเครือข่ายวิจัยในหน่วยงาน/องค์กรอื่น ซึ่งเป็นการสะท้อนผลการศึกษาร่วมกัน เพื่อเกิดงานวิจัยที่ดี นำไปใช้ประโยชน์ต่อองค์กรโดยรวม
  • หัวใจสำคัญของการวิจัย ต้องทำด้วยความจริงใจ และใส่ใจที่จะทำ อย่างมุ่งมั่น พร้อมที่จะรับการเปลี่ยนแปลงจากการศึกษาวิจัย ในการวิจัยและพัฒนาที่ดีขึ้น
  • ผลงานวิจัย ต้องนำเสนอผู้บริหารเพื่อพิจารณานำไปใช้ประโยชน์ เพื่อสะท้อนและนำมาปรับปรุงให้เกิดการพัฒนาต่อไป

ภาคบ่าย  13.30-16.30 น.

  • เป็นการฝึกปฏิบัติการเขียนรายงานการวิจัย
  • โดยนำ (ร่าง) รายงานการวิจัยสถาบัน ของนักวิจัยที่ได้รับทุน
  • เป็นกรณีตัวอย่าง เพื่อฝึกวิเคราะห์และสรุปประมวลผล การเขียนรายงานวิจัยสถาบันให้สมบูรณ์ ร่วมกับวิทยากร และผู้เข้าร่วมอบรม

Vj6

Vj8 

(((สรุปผลจากการฝึกอบรม การเขียนรายงานวิจัยสถาบัน)))

  •  ผู้เข้าร่วมฝึกอบรมฯ ได้รับการเทคนิค วิธีการ หลักการ ในการเขียนรายงานวิจัยที่ถูกต้อง ตามรูปแบบ และเข้าใจในการเขียนรายงานวิจัยชัดเจนยิ่งขึ้น
  •  ทำให้ได้แนวทาง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเขียนรายงานวิจัยที่ดี ที่สามารถนำเผยแพร่และใช้ประโยชน์ต่อหน่วยงาน องค์กร ทั้งตนเอง และต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

 

เวลา 16.30 น. สรุปผลการประชุม และปิดประชุม

      โดย นายภูมิภักดิ์  พิทักษ์เขื่อนขันธ์

 

สรุปผลการประเมิน การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

 

1.  ภาพรวมของการจัดประชุม

  • ร้อยละ 85  พอใจมากในรูปแบบการจัดอบรม ทั้งคุณภาพ เนื้อหา และเอกสารประกอบการประชุม และการอำนวยความสะดวกในการประชุม
  • ร้อยละ 10  พอใจปานกลาง แต่เสนอแนะให้ปรับปรุงอุปกรณ์โสตฯ เพื่อให้เพียงพอและเอื้อต่อการประชุม
  • ร้อยละ 5 พอใจ แต่มีการเสนอแนะการใช้ห้องประชุมที่ควรเป็นห้องที่สามารถบรรจุผู้เข้าร่วมฝึกอบรมได้เพียงพอ ไม่คับแคบเกินไป

2. เนื้อหาวิชาการและข้อมูล

  • ร้อยละ 75  พอใจมาก ได้รับความรู้ เทคนิค วิธีการที่ดี จากวิทยากร เนื้อหาสาระ ครอบคลุม เป็นแนวทางในการนำไปใช้ในการเขียนรายงานวิจัยได้
  • ร้อยละ 15  พอใจปานกลาง ซึ่งเสนอแนะ ควรนำตัวอย่างที่หลากหลาย มานำเสนอในภาคบ่าย เพื่อหลากหลายมุมมองและวิพากษ์ต่อรายงาน ให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาที่ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • ร้อยละ 10  พอใจ การนำเสนอวิทยากร เวลามีจำกัด จึงได้รับรู้ข้อมูลน้อยได้ไม่เต็มที่

3. การมีส่วนร่วมในการประชุม และประโยชน์ที่ได้รับจากการประชุม

  • ร้อยละ 80  พอใจมาก ได้รับความรู้ แลกเปลี่ยน ซักถาม ระหว่างการอบรม ทั้งวิทยากร และผู้เข้าอบรมที่เสนอข้อมูล เพื่อการแลกเปลี่ยนในการเขียนรายงานวิจัย
  • ร้อยละ 10  พอใจปานกลาง เนื่องจาก ผลงานวิจัยสถาบันที่ผู้ฝึกอบรมนำมาเป็นแบบฝึกหัด ยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จึงไม่สามารถมองภาพได้ชัดเจนในการให้ข้อเสนอแนะต่อการเขียนรายงานวิจัยสถาบัน
  • ร้อยละ 5  พอใจ เสนอแนะ ในการขยายเวลาการฝึกอบรม เป็น 2 วัน เพื่อการฝึกเขียน และการตอบข้อซักถาม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างเต็มที่

 

((((((หวังอย่างยิ่งว่า คงจะเกิดประโยชน์ ต่อผู้อ่านที่สนใจนำไปใช้ประโยชน์ได้)))))) ~~ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 180916เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 18:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

มาติดตามข่าว  เป็นความโชคดีของสมาชิกที่นี้  มีเรื่องดีๆๆมอบให้เป็นประจำ

 

สวัสดีครับพี่บัวฯ

ทราบข่าวว่าวันที่ 8 ทางสถาบันวิจัยฯ จะจัดบรรยาย หัวข้อประมาณว่า นโยบายสาธารณะของมข.ที่เกี่ยวกับสุขภาพอะไรซักอย่างหรือเปล่า ครับ บอกสำรองที่นั่งฟรีด้วย ผมว่าจะเข้าไปฟังน่ะครับ เห็นว่ามีพระพยอมมาบรรยายด้วย ใช่มั้ยครับ

ผมสำรองที่นั่งไม่ทันแล้ว ไปได้หรือเปล่าครับเนี่ย

คุณสุมิตรชัย คะ

พี่บัวฯ อยู่ตึกเดียวกับ RDI (แต่ทำงานคนละส่วนกัน ค่ะ)

พี่อยู่ชั้น 3 ของตึก RDI

แต่ที่ถามมา เรื่องบรรยาย นโยบายสาธารณะ ร่วมกับ ศช.นั้น จัดวันที่ 8 พค 51 ที่ชั้น 4 RDI นี่แหล่ะค่ะ

ได้ดูรายละเอียดให้แล้ว พี่ก็สนใจ จะเข้าฟังเช่นกัน ไปดูรายละเอียดมาแล้ว ค่ะ หากมาก็คงได้เจอกัน ละสิ

เอาเป็นว่า หากเจอเจ้าหน้าที่ที่เขารับผิดชอบ จะลงชื่อไว้ให้นะคะ ไม่รู้ว่าเต็มหรือยัง ตอนนี้เจ้าหน้าที่ไปกินข้าว ค่ะ

สวัสดีครับพี่บัวฯ

ผมมาช้าโทษทีครับ ลงไว้เป็นชื่อผม นายสุมิตรชัย คำเขาแดง นักวิชาการสาธารณสุข 7 สถานีอนามัยบ้านหนองแปน ต.หนองแปน อ.มัญจาคีรี จ.ขอนแก่น

ไม่ทราบจะได้ และทันหรือเปล่านะครับ ขอบคุณนะครับ

P

4. mr. สุมิตรชัย คำเขาแดง
เมื่อ พ. 07 พฤษภาคม 2551 @ 16:16
642604 [ลบ]
แจ้งชื่อให้แล้วนะคะ
โห...เจ้าภาพ เขาเตรียมงาน น่าตื่นเต้น ค่ะ
เราแอบ ๆ ดูเขาอยู่
จะเข้าด้วยเหมือนกัน ในนาม ผอ.สำนักบริหารการวิจัย ค่ะ  (ผอ.ไปราชการ) ให้เข้าแทน อิอิ

- ขอบคุณครับสำหรับบันทึกนี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท