วิจัยสถาบัน สำคัญอย่างไร ทำไม ? ต้องจัด workshop


มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัย

วันนี้ 6 พฤษภาคม 2551 จัดให้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ แก่นักวิจัยสถาบัน

0003

0002

  • ด้วยเหตุที่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ตระหนักและให้ความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการวิจัย
  • รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถทั้งทักษะการเขียนโครงการ
  • การเขียนรายงานวิจัย
  • การนำเสนอผลงานวิจัย
  • เทคนิควิธีการในการเขียนโครงการ การนำเสนอบทความ
  • จึงมีโครงการที่จัดขึ้น อาทิ
  • การพัฒนานักวิจัยใหม่ 
  • การให้ทุนวิจัยสถาบัน
  • การสนับสนุนส่งเสริมผลงานวิจัย
  • เพื่อเผยแพร่และตีพิมพ์ผลงาน สู่มาตรฐานสากล
  • ฯลฯ นั้น

วันนี้  ในฐานะรับผิดชอบเรื่องดังกล่าว จึงเป็นเจ้าภาพจัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ (ดังกำหนดการข้างล่าง)

  • เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มขีดความสามารถแก่นักวิจัยสถาบัน ในการเขียนรายงาน

วิจัยสถาบันให้ถูกต้อง ชัดเจน ตามรูปแบบมาตรฐานของรายงานวิจัยสถาบัน

 

ผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ประกอบด้วย

  • ผู้ที่ได้รับทุนวิจัยสถาบัน จาก มข. ประมาณ 35 คน
  • นอกจากบุคลากรใน มข.แล้ว เราตระหนักถึงความสำคัญและการสร้างเครือข่ายการวิจัยที่เข้มแข็ง จึงได้เชิญผู้สนใจ ซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงาน (บุคลากร สังกัด มหาวิทยาลัยราชภัฎในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) รวมประมาณ 30 คน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

  • นักวิจัยสถาบัน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะ ในการเขียนรายงานวิจัยสถาบันได้อย่างมีคุณภาพ ตามรูปแบบมาตรฐานรายงานวิจัยสถาบัน ตลอดทั้ง นำไปสู่การนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่และใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริงกำหนดการ

 

โครงการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

เทคนิคการเขียนรายงานวิจัยสถาบัน

วันอังคารที่  6  พฤษภาคม  2551

เวลา  8.30-16.30 น. 

ณ ห้องประชุม 1301-2 (ชั้น 3) อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนา

-----------------------------------------------

 08.30-08.45 น.

-

ลงทะเบียน รับเอกสาร

 08.45-09.00 น.

-

พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ

โดย  รศ.ดร.กิตติชัย  ไตรรัตนศิริชัย

       รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและการถ่ายทอดเทคโนโลยี

 09.00-10.30 น.

-

บรรยาย หัวข้อ หลักการเขียนรายงานการวิจัยสถาบัน

 

 

โดย  ผศ.ดุษฎี  อายุวัฒน์   รองคณบดีฝ่ายวิจัย

                                     คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มข.

10.30-10.45 น.

-

พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

10.45-12.00 น.

-

อภิปราย หัวข้อ เทคนิค ศาสตร์ และศิลป์ ของการเขียนรายงานการวิจัยสถาบัน

 

 

โดย  รศ.คงศักดิ์      ธาตุทอง       คณะศึกษาศาสตร์

         ผศ.ดุษฎี        อายุวัฒน์      คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

        ผศ.ปราโมทย์  ครองยุทธ     คณะวิทยาศาสตร์

 

-

ดำเนินรายการโดย  นายภูมิภักดิ์   พิทักษ์เขื่อนขันธ์

                         ผู้อำนวยการสำนักบริหารการวิจัย

 

-

ซักถาม แลกเปลี่ยน ระหว่างการอภิปราย

12.00-13.00 น.

-

พักรับประทานอาหารกลางวัน

13.00-15.00 น.

-

ฝึกปฏิบัติการในการเขียนรายงานวิจัยสถาบัน โดยมีวิทยากร/ผู้ทรงคุณวุฒิประจำกลุ่มให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะ

 

-

(บริการอาหารว่างและเครื่องดื่มระหว่างประชุม)

15.00-16.30 น.

-

นำเสนอผลการฝึกปฏิบัติ ต่อผู้ทรงคุณวุฒิ

 

-

สรุปผล และปิดการประชุม

 J J J J J J J J

  • (((ผลการจัด Workshop ครั้งนี้ จะได้มาสรุปรายงาน รวมภาพกิจกรรม ให้ชาวบล็อก ได้ติดตามตอนต่อไป...)))

ขอบคุณค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 180804เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2008 06:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

สวัสดีครับ คุณบัวปริ่มน้ำ

ผมได้ร่วมงานกับทีมงานเพื่อ ถอดบทเรียนนโยบายสาธารณะทั่วประเทศ ในส่วน อบต.นโยบายสาธารณะของ อบต. กระบวนการปัญญาวิวัฒน์ระดับท้องถิ่น

จากที่คุณบัวฯ ได้คลุกคลีกับงานด้านนี้ มีความเห็นอย่างไร และอยากทราบข้อเสนอแนะครับ

ที่ ขอนแก่นรู้สึกว่ามีเป้าหมายอยู่ด้วยครับ ที่ อบต.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เป็นหนึ่งใน อบต.ที่คัดเลือกขึ้นมา (ข้อมูลไม่ยืนยัน ผมดูจาก TOR)

มาเยี่ยม...

ถ้าอยู่ใกล้ จะแอบเข้าฟังนะ ฮิ ฮิ ฮิ

สวัสดีครับ

  • แวะมาขอบคุณครับ
  • และแวะมาอ่านครับ

สภาวะโลกในปัจจุบันเกิดการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา  ส่งผลกระทบมาที่พวกเราด้วย ทั้งเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและเทคโนโลยี่ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่พวกเราจะต้องมีการพัฒนาเพื่อให้มีศักยภาพที่เหมาะสมกับการเปลี่ยนของสภาวะต่างๆที่จะเกิดขึ้นในโอกาสต่อๆๆไป  ดีมากครับ

 

P

1. จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เมื่อ อ. 06 พฤษภาคม 2551 @ 07:20
639724 [ลบ]

สวัสดีครับ คุณบัวปริ่มน้ำ ผมได้ร่วมงานกับทีมงานเพื่อ ถอดบทเรียนนโยบายสาธารณะทั่วประเทศ ในส่วน อบต.นโยบายสาธารณะของ อบต. กระบวนการปัญญาวิวัฒน์ระดับท้องถิ่น จากที่คุณบัวฯ ได้คลุกคลีกับงานด้านนี้ มีความเห็นอย่างไร และอยากทราบข้อเสนอแนะครับ ที่ ขอนแก่นรู้สึกว่ามีเป้าหมายอยู่ด้วยครับ ที่ อบต.อุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เป็นหนึ่งใน อบต.ที่คัดเลือกขึ้นมา (ข้อมูลไม่ยืนยัน ผมดูจาก TOR)

ขอบคุณค่ะ ที่ให้เกียรติแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่องที่ถามมา จากประสบการณ์ที่จัดเวทีต่างๆ ในเรื่องการสร้างภาคีวิจัยทุกภาคส่วน ซึ่งเป็นภารกิจที่เราประสานให้เกิด รวมถึงการจัดให้มีวิธีการ กลไก ความเชื่อมโยง ของการขับเคลือ่น ให้เป็นไปตามกระบวนการ "สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา" ของท่าน ศ.นพ.ประเวศ วะสี

กระบวนการ วิธีการ และหลักการ มีพร้อมเพรียง และดีเลิศ แต่หลักใหญ่ใจความคือ ขาดการนำไปปฏิบัติตามหลักการ วิธีการที่วางไว้อย่างต่อเนื่อง และจริงจัง ไม่มีระบบการติดตามและประเมินผลอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นเพราะ ระยะเวลาโครงการสิ้นสุด ไม่มีงบสนับสนุนต่อเนื่อง เกิดปัญหาการมืองท้องถิ่น ที่ไม่เอื้อต่อการดำเนินการเพื่อทะลุทะลวงให้เกิดกระบวนการมีส่วนร่วมที่เห็นผลที่แท้จริง และนำมาใช้เป็น best practice นั้น จึงค่อนข้างจะต้องใช้เวลา และรวมพลังกันทุกภาคส่วน เพื่อร่วมกัน ปฏิบัติร่วมกัน ยอมรับกฎกติกา ร่วมกัน อย่างที่ได้กำหนดไว้ใน TOR ที่คุณยกตัวอย่างมา

สรุปสั้น ๆ คือ งานทุกอย่าง มีหลักการ กฎ เกณฑ์ ดี ค่ะ แต่ขาดการปฏิบัติที่ต่อเนื่อง งานจึงไม่สามารถบรรลุผลสำเร็จได้อย่างแท้จริง

ไม่แน่ใจว่า ตอบตรงประเด็นหรือเปล่า ขอแสดงความคิดเห็นแบบส่วนตั๊ว ส่วนตัวแล้วกันนะคะ

ขอบคุณค่ะ

P

2. umi
เมื่อ อ. 06 พฤษภาคม 2551 @ 09:25
639821 [ลบ]

ขอบคุณค่ะ
หวังว่า หากได้ติดตาม คงนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่มากก็น้อย ค่ะ

P

3. ออต
เมื่อ อ. 06 พฤษภาคม 2551 @ 11:20
640016 [ลบ]

สวัสดีค่ะ น้องออต

อยู่ใกล้ ๆ ทำไมไม่แวะมาเข้าร่วม คะ ยินดีต้อนรับนะ คนคับคั่ง ล้นทะลังห้องเลยแหล่ะ ไปดูตามผลสรุป ที่จัดเสร็จแล้ว อีกบล็อก ค่ะ

อิอิ

 

P

4. ครูโย่ง
เมื่อ อ. 06 พฤษภาคม 2551 @ 15:43
640343 [ลบ]

ขอบคุณ ครูโย่ง ที่แวะมา ค่ะ
หวังว่า หากนำเทคนิค วิธีการเขียนรายงานวิจัย ไปใช้และฝึกฝน พัฒนางานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ค่ะ

P

5. นายประจักษ์
เมื่อ อ. 06 พฤษภาคม 2551 @ 15:54
640362 [ลบ]

ขอบพระคุณ อาจารย์ประจักษ์ ค่ะ
ยุคนี้ เป็นยุคของการแข่งขัน ยุค IT ก็วิ่งตามแทบไม่ทัน หากอยู่นิ่ง ไม่ไขว่คว้า พัฒนาตัวเอง (นักวิจัย) คงจะวิจัยอะไร เพื่อตอบปัญหาสัสงคมไม่ได้ ล่ะค่ะ
ดังนั้น ในฐานะเรามีหน้าที่ในการประสาน และสนับสนุน จึงไม่อยู่นิ่ง มีกลไก ส่งเสริม เพิ่มขีดความสามารถให้แก่บุคลากรที่ได้รับการพัฒนายิ่งขึ้น เราก็ยินดีทำ ค่ะ
ขอบคุณค่ะ

งานวิจัยเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาทุกๆอย่างในโลกนี้ ดังนั้นการเผยแพร่ข้อมูลบางส่วนที่เกร็ดของความรู้ย่อมเป็นสิ่งที่ให้แสงสว่างกับบุคคลทุกคนที่ต้องการนำความรู้ไปขยายผลและพัฒนาในสิ่งที่คิดว่าดีและเกิดประโยชน์ต่อสังคมหรือมวลชลต่อไป

ขอบคุณ คุณพิเชฐ มาก ๆ ค่ะ

เป็นข้อคิด และพึงปฏิบัติ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

เรารู้ แต่คนอื่น อาจไม่รู้ก็ได้ ในขณะที่ คนอื่นรู้ แต่เราไม่รู้ อันนี้แหล่ะ...ที่อยากค้นหาที่ไม่มีที่สิ้นสุด...

อิอิ

ขอบคุณค่ะ

พัฒนาอะไรก็ติด ถ้าจิตไม่พัฒนา ดังนั้นต้องมองถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ส่งเสริมให้งานวิจัยสำเร็จ คือการใจเป็นส่วนขับเคลื่อนให้งานต่าง ๆ สำเร็จ

ช่าย เลย ค่ะ ท่าน อ.พิเชฐ คะ

ขอบคุณค่ะ ที่มาช่วยเติม

ใจสั่งมา เท่านั้น กายถึงจะยอมรับที่จะทำอะไร ในสิ่งที่ตนเองอยากจะทำ ด้วยความจริงจัง จริงใจ และใจชอบด้วย

ขอบคุณค่ะ

วันนี้ทำให้ผมมีความรู้เพิ่มขึ้นจากการทักทายกับคุณ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท