เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2549 ได้ถ่ายทอดการใช้งานและการสมัครเข้าเป็นสมาชิกร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับทุก ๆ ท่าน
ซึ่งเป็นพี่ผู้หญิงและเป็นทีมงาน KM ของกรมส่งเสริมการเกษตรด้วย คือ
"พี่จี้" (นันทา ติงสมบัติยุทธิ์) ขอฝากทุก ๆ ท่านได้ติดตามอ่านผลงานของน้องใหม่ท่านนี้ไว้ กับวงการด้วยนะค่ะ
ศิริวรรณ หวังดี รายงาน
9 มีนาคม 2549
ดีใจครับที่เห็น "คุณอำนวย" ของกรมฯ เปิด blog แล้ว
พอดีในวันที่ 17-18 เมษายนนี้ สคส. จะเชิญ "คุณอำนวย" องค์กร มาพูดคุยแลกเปลี่ยนเทคนิคการทำงาน โดยแต่ละที่จะเล่าว่าตัวเองทำงานอย่างไรในการสร้างให้เกิดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในองค์กรได้สำเร็จ
พี่ธุวนันท์แนะนำผมว่า คุณศิริวรรณ เป็นคนหนึ่งที่เล่นบทบาทนี้อยู่ในกองกลางเป็น "คุณอำนวย" ในระดับกรมฯ
จึงอยากจะขอเชิญชวนคุณศิริวรรณ สมัครเข้าเป็นสมาชิกชุมชน kmfaci.gotoknow.org เพื่อจะได้แลกเปลี่ยนเทคนิคการทำงานกันครับ
และอยากจะขอรบกวนคุณศิริวรรณเล่านิดหนึ่งนะครับ ว่าเส้นทางการอำนวยกระบวนการ จนกระทั้งเกิดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานของกรมส่งเสริมการเกษตรนั้น เป็นไป เป็นมาอย่างไรบ้าง ต้องทำอะไรบ้าง ทำกิจกรรมอะไรบ้าง ทำอย่างไร และคนตอบสนองอย่างไรบ้าง ตรงนี้จะเป็นประโยชน์ต่อ "คุณอำนวย" ที่กำลังมองเทคนิคบางอย่างอยู่นะครับ
รออ่านอยู่นะครับ
จุดเริ่มต้นของการเรียนรู้การเป็น "ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ หรือ Facilitator" ที่ได้ฝึกปฏิบัติและเรียนรู้มานั้น ได้ใช้ระยะเวลา ประมาณ 10 ปี ตั้งแต่เริ่มรับราชการซึ่งเป็นความบังเอิญที่ได้พบปะและเจอกับผู้บังคับบัญชาที่เปิดโอกาส แต่ปัญหาอุปสรรคในการทำงานมีมากมาย งานที่ทำก็ล้มลุกคลุกคลาน ดังนั้น การตัดสินใจจึงอยู่ที่ ได้ถามตนเองว่า ....
1. "ตกลงแล้ว เราอยากทำงานหรือไม่"
2. "ตกลงแล้ว เราอยากเรียนรู้และพัฒนาตนเองหรือไม่"
และมีอีกหลายคำถามที่ถามตนเองและตอบตนเอง จนมีวันหนึ่งได้ลงไปทำงานในพื้นที่เกี่ยวกับ "PAP" ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้ และความไม่หยุดนิ่งต่อการเรียนรู้เพื่องานและเพื่อเพื่อนที่พวกเขาเหล่านั้นกำลังทำงานส่งเสริมฯกันอยู่ตลอดเวลาในพื้นที่ภาคสนาม
ซึ่งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันนี้ คือ
1) งานที่เราทำทำให้เราเกิดการเรียนรู้ และการเรียนรู้ที่เรามีนั้นมาจากการทำงาน
2) ได้เพื่อนหลายกลุ่มและหลายระดับเพราะ "เป็นคนไม่ค่อยพูด แต่จะดูกันที่การปฏิบัติ" และกลุ่มเพื่อนต่างเป็นกำลังใจให้กันและกัน
3) การเรียนรู้ไม่หยุดนิ่ง เพราะมีความเชื่อว่า "องค์การจะอยู่ได้ในยุคปัจจุบันนั้น ต้องมีลักษณะเป็นองค์การในรูปแบบของ TO
4) ภารกิจของหน้าที่คืออยู่กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีการฝึกอบรม ดังนั้น เราจะต้องตื่นตัว และทำงานเชิงรุกให้เป็น
5) เราทำงานโดยไม่หวังผลประโยชน์และไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับใคร แต่เราทำเพื่อสังคมและส่วนรวม
ดังนั้น งานที่ทำเช่นนี้ จึงเป็นการ "ปิดทองหลังพระ" ตามพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ส่วนกิจกรรมที่ทำ คือ
1) การสนับสนุนและพัฒนาเจ้าหน้าที่ภาคคสนามให้เป็น "นักส่งเสริมมืออาชีพ"
2) การปรับเปลี่ยนบทบาทนักส่งเสริมเป็น "ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้ (Facilitator)
3) การพัฒนาเจ้าหน้าที่โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม หรือ PAR เพราะ "เป็นกระบวนการสร้างการเรียนรู้"
ยังมีรายละเอียดอีกเยอะ ถ้าสนใจให้เข้าไปอ่านในบทความเรื่อง "ฅนสอนฅน ฅนสร้างฅน" ซึ่งอยู่ใน Web ของจังหวัด กำแพงเเพชร ที่เป็นประเด็น "บทความย้อนหลัง"
ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนนะค่ะ