KM สัญจรครั้งที่ 3


2. ความประทับใจ

- ได้ฟังเรื่อง "เกษตรประณีต 1 งาน"   โดยกลุ่ม อ. ไพรัช  ที่เล่าโดย ศ. ดร. อภิชัย  พันธเสน
- ได้เรียนรู้เรื่องจุลินทรีย์ : cellulase producer, phytase producer, วิธีทำให้ขี้หมูหอม (ไม่เหม็น),  chitinase producer,  endophyte
- ได้เรียนรู้ KM จาก ดร. สฤษดิ์พงษ์  ลิมปิษเฐียร : exposed facts
- ได้เรียนรู้จากคุณสุเมธ   เจ้าของรายการเปิดลำโพง ไอทีวี  "ข่าวร้ายลงฟรี  ข่าวดีเสียเงิน"
- แนวความคิด  จัดเวที ลปรร. ระหว่างบัณฑิตคืนถิ่น ของคุณนภินทร
- ได้เห็นภาพคนที่ไม่รู้จัก KM เรียนรู้ KM จากการไปดูการปฏิบัติจริงและชาวบ้านผู้ปฏิบัติเป็นผู้อธิบาย KM ให้นักวิชาการ   ผมมีความประทับใจว่า  หัวหน้าฐานการเรียนรู้  สมาน  บุปผา   เข้าใจ KM ดีมาก
- วิธีรดน้ำต้นไม้ (ผสมน้ำหมักชีวภาพ) ของพ่อสำเริง  เย็นรัมย์
- โจทย์วิจัยด้านสังคม : การเชื่อมเกษตรอินทรีย์กับเกษตรภาพรวม,  การเชื่อมต่อเกษตรอินทรีย์กับผู้บริโภค,  นโยบายสาธารณะเกี่ยวกับเกษตรอินทรีย์
- แนวความคิด "ทุนมา postdoct ที่บ้านครูบา"
- เกษตรกรนักปฏิบัติ  นักทดลอง
- เศรษฐีความสุข
- การก่อตัวของ "เครือข่ายนักวิจัยเกษตรอินทรีย์" เชื่อมโยงกับเกษตรกรผู้ปฏิบัติเกษตรอินทรีย์ - CoP เกษตรอินทรีย์   สคส. จะพูดคุยกับ สกว. เพื่อหาทางส่งเสริมเรื่องนี้   คุณอุรพินจะลองประสานงานกับคุณสุวิทย์  ฝ่ายเกษตร สกว.   ว่าจะร่วมกันจัดประชุมเริ่มต้น CoP นี้อย่างไรดี

KM สัญจรครั้งที่ 3 (1)

วิจารณ์  พานิช
 9 มี.ค.49

หมายเลขบันทึก: 18069เขียนเมื่อ 9 มีนาคม 2006 09:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 พฤษภาคม 2012 09:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร

ขออนุญาตแก้ไขคำ และขอเสนอแนะแนวคิดเกี่ยวกับ KM เพิ่มเติมนะครับ

จากการสังเกตกิจกรรมจาก KM สัญจร ครั้งที่ 3 ที่ จ.บุรีรุมย์ ทำให้ผมสามารถประมวลผลเป็น keyword ของคำว่า KM ตามบริบทประเทศไทย ไว้ 3 คำ ดังนี้

  1. ผ่านกระบวนการกลุ่ม หมายความว่า คนคนเดียวทำ KM อาจไม่สำเร็จ แต่จะต้องใช้ผู้คนหลายๆคนมาสุมหัวกัน และช่วยกัน คัดสรรค์ความรู้เดิมที่มีอยู่แล้วจากแหล่งอื่นเข้ามา
  2. ใช้รูปแบบการวิจัยที่เรียกว่า Ex-post Facto Experiment นั่นคือ การนำความรู้เดิมจากแหล่งอื่นภายใต้สภาพแวดล้อมหรือบริบทที่แตกต่าง ซึ่งอาจเรียกว่า ข้อเท็จจริง หรือ Fact มาเป็นแหล่งความรู้ใหม่ แต่ทั้งนี้ จะต้องผ่านการทดลองให้เห็นจริงอีกครั้งก่อน จึงจะเกิดการยอมรับ
  3. อาศัยการจดบันทึก เป็นเครื่องมือและส่วนประกอบของกระบวนการคัดสรรค์ภูมิความรู้ใหม่ นอกจากนี้ การจดบันทึกยังเป็นการสร้างหลักฐาน หรือร่องรอยเพื่อให้คนรุ่นหลังได้สามารถทำการสืบสาวหาความจริงที่เกิดขึ้นในอดีต อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม สิ่งหนึ่งที่ผมมองเห็นจากการพยายามที่จะใช้การจดบันทึกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการ KM ก็คือ จะเป็นการปฏิวัติวัฒนธรรมพื้นบ้านของไทยครั้งใหญ่ เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่มักไม่นิยมการจดบันทึกและไม่ชอบการอธิบายอะไรยาวๆ จนเป็นเหตุให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหลายๆอย่างต้องสูญหายหรือตายไปกับบรรพบุรุษของเรา

ผิดถูกอย่างไร ขอท่านอาจารย์หมอวิจารณ์และผู้รู้ท่านอื่นๆช่วยชี้แนะด้วยนะครับ ขอบพระคุณครับ

ขอบพระคุณมากครับ   ทำให้ผมเข้าใจ KM มากขึ้น  โดยเฉพาะคำ Ex - post Facto Experiment

วิจารณ์ พานิช

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท