จารุวัจน์ شافعى
ผศ.ดร. จารุวัจน์ ชาฟีอีย์ สองเมือง

กลันตัน 2 (ครั้งที่ 2)


ต่อจากบันทึกที่แล้วนะครับ
การกลับมากลันตันรอบนี้ มีสิ่งที่ผมได้ทำตามความต้องการแต่รอบแรกไม่ได้ทำคือ เดินห้าง kb mall ครับ อย่างที่เล่าไปแล้ว  ซึ่งการเดินห้างครั้งนี้รีบเร่งมากครับ ออกจากห้างก็ไปสู่ตุมปัตทันที ปรากฏเราไปถึงวัด.... (ลืมอีกแล้ว) คนเต็มวัดเลยครับ เพราะวันนี้ โต๊ะกูรู ดาโต๊ะอับดุลนิอาซีสฯ มุขมนตรีแห่งรัฐกลันตันมีดำริจะขอพบปะประชาชนเชื้อสายต่าง ซึ่งปรากฏในวัดก็มีคนทุกเชื้อชาติเลยครับ มุสลิม จีน ไทย(สยาม) อินเดีย ที่เห็นชัดๆ น่าจะเป็นอินเดียครับ นั่งอยู่มุมหนึ่ง ส่วนที่เหลือจะปะปนกัน นั่งกันเป็นกลุ่มๆ ไม่แยกชัดๆ ว่ามาจากเชื้อชาติไหน (เขาสามัคคีกันครับ)

(พอจะถ่ายภาพ ทุกคนก็หันหน้าหนีผมหมดเลยครับ)


หาที่จอดรถค่อนข้างยากครับ เพราะรถเยอะมาก ออ.ขออนุญาตนอกเรื่องนิดหนึ่งนะครับ ผมรู้สึกว่าการขับรถในกลันตัน ขับยากครับ ความรู้สึกมันต่างจากเมืองไทย ถนนจะใหญ่แต่ไม่เรียบเหมือนไทย และไม่จะไม่ยกสูง ที่สำคัญเส้นแบ่งช่องเดินรถ ใช้สีขาวทั้งหมด ซึ่งถ้าในเมืองไทย ระหว่างช่องเดินรถจะใช้สีเหลือง แต่เส้นขอบจะเป็นสีขาว ซึ่งผมต้องระวังว่า ผมอยู่ผิดช่องหรือเปล่า เนื่องจากทุกๆ ทางแยกจะมีเส้นสีเหลืองหรือบางทีเป็นเส้นสีขาวสำหรับให้เราเปลี่ยนช่องเดินรถ งงไปหลายกิโลเมตรครับ กว่าจะปรับตัวได้
สิ่งแรกทำเมื่อไปถึงคือ โทรหาผู้ใหญ่บ้านครับ ชื่อพี่เจริญ เพื่อแจ้งให้ทราบว่าเรามาแล้วนะ สำหรับผมนี้แยกตัวออกจากทีมวิจัยเลยครับ  ผมพยายามเมียนมองหาคนสยามครับ ออ.ไม่แน่ใจว่าผมอธิบายแล้วยังว่า คนที่นี้บางทีเขาเรียนตัวเองว่าคนไทย แต่ความจริงของอยากให้เรียกว่าเป็นคนสยามมากกว่า เพราะเขาบอกว่า เขาไม่ใช่คนไทยที่ประเทศไทย และไม่ได้อพยพมาจากประเทศไทย เลยใช้คำว่า สยามจะเหมาะกว่า ซึ่งเมื่อเช้าผมได้สอบถามอ.สุกรี หลังปูเต๊ะเพิ่มเติมเลยได้มิติความเข้าใจชัดเจนมากขึ้นครับ (แต่ขออนุญาตไม่เพิ่ม เดียวเรื่องยาว)
ผมตัดสินใจเล็งหาผู้หญิงสำหรับการสัมภาษณ์ครับ เพราะมองหาที่ผู้ใช้แล้วแยกไม่ออก เลยมองหาผู้หญิงดีกว่า ดูง่ายหน่อยว่าเป็นมุสลิมหรือเปล่า ผมเข้าไปแนะนำตัวและพูดคุยเลยครับ เนื่องจากหากรอรี พอดาโต๊ะมาแล้วจะคุยไม่ได้แน่นอนเลย คุยกันสนุกครับ เพราะคุยได้หนึ่งคนก็สามารถหาผู้ชายได้ต่อครับ เพราะถามต่อจากผู้หญิงคนแรก ผมเก็บความรู้สึกของคนที่ผมคุยด้วยได้อย่างหนึ่งครับ คือ เวลาคุยเรื่องพรรคการเมืองอะไรประเภทนี้แล้ว เขาไม่ค่อยสนุกหรืออย่างคุยกับผมเท่าไรครับ ซึ่งผมก็มาวิเคราะห์เรียนรู้กับอ.สุกรี อีกครั้งเมื่อเช้าเลยได้คำตอบที่ชัดเจนขึ้น

(หนึ่งในหลายคนที่ผมได้นั่งคุยด้วยครับ)


ระหว่างนั่งคุย ก็ได้ยินเสียงกลองยาวครับ เลยรู้ว่า ดาโต๊ะมาถึงแล้วครับ แล้วก็ขบวนกลองยาวของชุมชนสยามให้การต้อนรับครับ เลยสงสัยว่าทำไมระดับมุขมนตรี ไม่มีรถนำขบวนหรือ? คำตอบคือ นี่คือบุคลิกความสมถะของท่านโต๊ครูเองครับ ท่านสมถะจริงๆ อยู่บ้านหลังเล็กๆ แต่งกายอย่างเรียบง่ายครับ ออ. ส่วนที่ห้อยคอท่านอยู่นั้นเป็นมาลัยที่ทางผู้จัดใส่ให้ท่านเพื่อเป็นการต้อนรับครับ ทีแรกผมเข้าใจว่า เป็นเครื่องหมายประดับยศของท่าน ฮิฮิ แถมคิดว่าทำไมตลกจัง  ออ.ดูดีๆ จะเห็นว่าท่านนุ่งโสร่งนะครับ (แต่นุ่งกางเกงอีกชั้นหนึ่งครับด้านใน)

(มีขบวนกองยาว ล้อมข้างล้อมหลังครับ ส่วนโต๊ะครูเดินมาคู่กับท่านพระครู)

(ทีมกองยาวครับ มาจากต่างหมู่บ้านครับ แต่ถ้าถามว่า อะไรคือเอกล้กษณ์ของคนสยาม ก็อันนี้แหละครับ)

ผมชอบการตอบข้อเรียกร้องที่ประชาชนเสนอของดาโต๊ะมากครับ ฟังแล้วเห็นได้ว่า นี้น่าจะเป็นคุณธรรมของนักการเมืองครับ คือ ไม่ใช่ตอบว่าได้ทุกเรื่อง แต่เสนอทางออกที่ดีและเป็นไปได้
เสร็จจากพิธีการต่าง ก็มีการเลี้ยงข้าวครับ ทีมวิจัยก็ร่วมรับประทานด้วย แฮะแฮะ วันนี้ผมพาอุสตาสมากินข้าวในวัด อร่อยหรือไม่อร่อยถาม อ.อับดุรรอห์มานและดร.ดลวนะได้ครับ จากนั้นก็ทักทายคนรู้จักครับ ซึ่งก็คือเจ้าหน้าที่ที่เราเคยติดต่อเมื่อมาครั้งที่แล้ว จากนั้นก็ขอตัวกลับครับ


(ดาโต๊ะอับดุลอาซีซครับ)

ที่พักสำหรับคืนนี้ ดร.ดลวนะเสนอให้เราไปนอนโรงแรมริมแม่น้ำตากใบครับ (อีกสามกิโลเมตรก็ถึงตามใบแล้วครับ) สถานที่นี้เป็นที่สำหรับฮันนี่มูนของคู่บ่าวสาวประจำรัฐกลันตันเลยก็ว่าได้ครับ บรรยากาศสวยดีครับ แต่บังเอิญว่าห้องเต็ม สงสัยช่วงนี้คนแต่งงานกันเยอะครับ ฮิฮิฮิ ก็เลยออกมาพักบ้านพักริมถนนแทน แต่หลังห้องพักก็สวยดีครับ แต่ถ่ายรูปไม่ได้เนื่องจากแบตเตอรี่หมดครับ เสียใจด้วยนะครับ
ในช่วงกลางคืนหัวหน้าโครงการสั่ง (ใช้ว่าสั่งครับ) ให้ผมขับรถพาทีมวิจัยในตลาดนัดกลางคืนในตัวเมืองโกตาบารูครับ ห่างจากที่พักประมาณสามสิบกิโลเมตรครับ ปรากฏเดินได้ไม่นาน ดร.ดลวนะขอตัวไม่ขอเดินต่อแล้วครับ ผมเลยไปนั่งรอกับท่านที่รถครับ รอบนี้หัวหน้าทีมได้รองเท้ามาอีก 5 คู่นับจากรอบมาครั้งที่แล้วอีก 5 คู่ (ถ้าจำไม่ผิด) รวบแล้วเป็นสิบแล้วครับ สงสัยเสร็จงานวิจัยท่านหัวหน้าทีมคงเปิดร้านขายรองเท้าได้เลยครับ

(โต๊ะครูกำลังจับมือกับพระครูอยู่ครับ ท่านเป็นที่รักของทุกศาสนาจริงๆ ครับ)

กลับมาถึงผมก็บันทึกการเดินทางของผม ซึ่งเป็นบล็อกที่ผ่านมานั้นแหละครับ ที่ยังไม่นอนเพราะคิดถึงลูกๆ ครับ เป็นห่วงมากกว่า เนื่องจากตอนมาอิลฮามไม่สบายครับ ตัวร้อนมีไข้มาหลายวัน ผมกลัวเป็นไข้เลือดออกครับ แต่จำใจต้องจากมาอย่างเป็นกังวลครับ (เล่นบทซึ้งครับ ขอจบแล้วกัน)


(ทีมวิจัยวันนี้หิวได้ตลอดเวลาครับ แล้วนี้ก็สองโต๊ะครูจากมอย.กำลังทานข้าวในวัด)

 (ครั้งแรกในชีวิตที่ขับรถเข้ามาในมาเลเซียเกินห้ากิโลเมตร)

คำสำคัญ (Tags): #กลันตัน
หมายเลขบันทึก: 180518เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2008 12:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณครูจารุวัจน์

ไม่อยากจะเอ่ย น้องจิเคยดูลิเกกูรู ด้วยและค่ะ จากเด็กๆ จังหวัดนราธิวาส คิคิ รออ่านภาค 3 คิคิ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----> น้องจิ ^_^

ขอให้เด็กน้อยหายป่วยเร็วๆๆนะครับ ดีจังเลยทั้งไทยพุทธ มุสลิมก็อยุ่รวมกันได้ ดีใจที่เห็นภาพ เคยไปอยู่แถวๆๆนั้นครับ ไปฝังตัว อิอิๆๆๆ ชาวบ้านน่ารักมากๆๆ

ขอบคุณน้องจิ แซ่เฮ (เปลี่ยนนามสกุลแบบนี้ คุณแม่น้อยใจมัยเนี๊ยะ)

ลิเกฮูลูจ๊ะน้องจิ ไม่ใช่ ลิเกกูรู อันนี้น่าจะลิเกชั้นครู (กูรู หมายถึงผู้รู้)

ขอบคุณครับ อ.ขจิต ผู้น่ารักกกกกกก.

ชาวบ้านที่นั่น พอเราถามถึงความสามัคคีระหว่างเชื้อชาติ เขาก็ตอบว่าเรารักกัน ไม่เหมือนที่บ้านคุณ ฮิฮิ (มีย้อน)

ขอเพิ่มอีกหนึ่งรูปครับ คนนี้คือพนักงานขายกล่องถ่ายรูปในห้าง kbmall ครับ ใส่ถ่านเสร็จ ผมก็เลยขออนุญาตถ่ายทดสอบกล่องครับ ฮิฮิ

ขออัลลอฮฺคุ้มครองทุกคนครับ งานวิจัยกลันตันน่าสนใจนะครับ หวังว่าผลการวิจัยจะเป็นประโยชน์ในมิติต่างๆนะครับ ได้ข่าวมาว่ากลางเดือนนี้ทีมวิจัยของ ม.อ.เกี่ยวกับกลันตันก็จะลงพื้นที่อีก ที่ทราบเพราะน้องที่บ้านร่วมทีมวิจัยด้วย สงสัยคน "สยาม" ที่กลันตัน คงต้องตั้งคำถามกับตัวเอง แน่ๆๆว่า...

ขอบคุณครับ อ.เสียงเล็กๆ

ตามแผนกลางเดือนนี้จะลงไปอีกรอบหนึ่ง (ถ้าเป็นไปได้) เพราะมีงานบวช ซึ่งเห็นว่าจะจัดใหญ่มาก เลยจะลงไปดูครับ อยากชวนอาจารย์ไปด้วย แต่กำลังเคลียร์ที่อยู่ครับ

สวัสดีครับ

ตามมาอ่านต่อ สนุกสนานดีครับ แอบถ่ายสาวห้างมาด้วย อิๆ

ที่กลันตันนี่ พูดภาษาอะไรกันบ้างครับ

สวัสดีครับคุณ ธ.วั ช ชั ย

เป็นภาษามลายูถิ่นครับ คล้ายๆ แต่ไม่เหมือนซะทีเดียวกับปัตตานีครับ แต่คนไทยก็พูดไทยใต้ครับ คนจีนก็พูดจีนครับ คนอินเดียก็พูดอินเดียระหว่างกันครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท