การนิเทศงานแบบ Modeling


การนิเทศงานที่ดีที่สุด คือ การทำตนเป็นแบบอย่าง หรือทำงานในส่วนที่ตนรับผิดชอบให้ดีที่สุด จนผู้อื่นสามารถเลียนแบบได้

บ่อยครั้งมากที่ผมได้รับเสียงสะท้อนจากบุคลากรแกนนำใน

องค์กรต่าง ๆ เช่น  ผู้บริหารโรงเรียน   ผู้ช่วยผู้บริหาร   หรือ หัวหน้าภาควิชา/หัวหน้ากลุ่มสาระ มีการกล่าวหาว่า ผู้บริหารระดับสูงขาดวิสัยทัศน์หรือแนวคิดในการพัฒนางาน   ถ้าเป็นผู้อำนวยการโรงเรียนก็จะกล่าวหาผู้อำนวยการเขตพื้นที่ หรือ นายกเทศมนตรี(กรณีเป็นโรงเรียนสังกัดเทศบาล)  ทุกคนเล็งเป้าไปที่ผู้บริหารระดับที่สูงกว่า และกล่าวหาว่าขาดวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นในการพัฒนางาน

ในความคิดของผม ผมมองปัญหาเรื่องนี้เป็น  2 แง่มุม  มุมหนึ่ง

คือ เรายังขาดเทคนิคการ Lobby หรือดึงให้ผู้บริหารระดับสูงหันมาสนใจงาน หรือสนใจเรา(เช่น การเชิญเป็นที่ปรึกษา  การเชิญวิพากษ์งานในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิ การนำบทเรียนดี ๆ จากที่อื่นมาเสนอไว้ในฐานข้อมูล  ฯลฯ) อีกมุมหนึ่ง คือ เรายังขาดการวิเคราะห์ขอบข่ายงานของเราให้ชัดเจน ซึ่งในประเด็นที่ 2 นี้ หากเราวิเคราะห์งาน หรือบทบาทหน้าที่อย่างชัดเจน แล้ว จะพบว่า งานจำนวนมาก ภายใต้หน้าที่เรา เราสามารถทำหรือพัฒนาได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องอาศัยปัจจัยเอื้อในเชิงสิ่งแวดล้อม  เช่น แม้ผู้บริหารท้องถิ่น ไม่สนใจงานด้านการศึกษาเท่าที่ควร แต่ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนแล้ว ผู้บริหารโรงเรียนทุกคนสามารถพัฒนาหรือดำเนินการได้อยู่แล้ว  (แน่นอน ถ้าผู้บริหารท้องถิ่น สนใจเรื่องการศึกษาด้วย เราก็จะทำงานหรือพัฒนางานได้ง่ายขึ้น)

ผมขอยกตัวอย่าง เช่น  ถ้าเราจะพัฒนางานประกันคุณภาพ

ภายในสถานศึกษา หรือปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน โดยเฉพาะด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กิจกรรมส่วนใหญ่แล้ว จะเป็นกิจกรรมที่โรงเรียนทำได้ด้วยตนเอง หรือจะพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียน   ผมคิดว่าทุกโรงเรียนสามารถดำเนินการภายในได้เลย  แม้ผู้บริหารท้องถิ่นจะขาดวิสัยทัศน์(แต่เรา-ผู้บริหารโรงเรียน มีวิสัยทัศน์)  

     การพัฒนางานที่ดีที่สุด คือ พัฒนาในส่วนที่เรารับผิดชอบ ผมเคยเริ่มต้นชีวิตการเป็นครูประจำชั้น  การเอาใจใส่ชั้นเรียนอย่างจริงจังและเป็นระบบ ช่วยให้คนอื่นหันมาทำตามเอง โดยมีความเชื่อว่า การนิเทศที่ดีที่สุด คือ "การทำตนเป็นแบบอย่าง(Modeling)”  หรือ ทำงานในหน้าที่เราให้ดีที่สุด

 

หมายเลขบันทึก: 179665เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2008 10:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 23:49 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณมากครับสำหรับททความนี้ ทำให้ผมคิดได้ว่า แทนที่จะตีโพยตีพายโทษคนอื่น เราจะลองทำให้คนอื่นดูดีกว่า

อาจารย์สบายดีไหมครับ ผมทราบมาว่ามีเพื่อนร่วมรุ่นหลายคนที่ เรียนต่อโท.วัดผลฯทันทีเลยเสียดายที่โอกาสยังไม่อำนวยครับ แล้วจะหาโอกาสให้ได้

ด้วยความเคารพ

  • ขอบคุณมาก จิรเมธ 
  • ผมสบายดี  แล้วเข้ามาทักทายหรือแลกเปลี่ยนกันเป็นระยะ ๆ นะครับ

ขอขอบคุณมากค่ะ อาจารย์ที่ให้เกียรติ เข้าไปแสดงความคิดเห็น

กำลังคิดอยู่เหมือนกันค่ะว่า จะตั้งหัวข้อ "รักษ์ไทย "

 วันนี้แวะมาเยี่ยมอีก อ่านทุกบันทึกเลย ได้แนวคิดมากทีเดียว โดยเฉพาะเรื่องนี้ นึกถึงท่านหัวหน้ามาโนช อดีต หศน.เขต 2 ท่านเรียกว่า "ทำให้ดู กู่ให้ตาม" ครับ

น่าสนใจดีครับ สนใจอีกประเด็นคือการนิเทศแบบกัลยาณมิตรครับอาจารย์

  • ขอบคุณ อ.ธเนศ อีกครั้งหนึ่ง ที่เสริมแรง ให้กำลังใจผม
  • อ.ขจิต ครับ คนคนหนึ่งที่มีความสุดยอดด้านการนิเทศ คือ คนข้างบนนะครับ(ลำดับที่ 4)
  • ผมฝาก อ.ธเนศ ช่วยเขียนเรื่อง "การนิเทศแบบกัลยาณมิตร"  "การนิเทศแบบหลัก  แบบร่วม  แบบเสริม" "การนิเทศแบบเพื่อนร่วมคิด" ฯลฯ  นำมาแลกเปลี่ยนกันก็น่าจะดีนะครับ

 

* ขอบคุณครับ  ที่ชมกันไปชมกันมา  ดีครับให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
* ผมสอนวิชานิเทศการศึกษาให้นักศึกษาที่เป็นผู้บริหารมาหลายเทอมแล้ว กำลังคิดที่จะเขียนหนังสือเกี่ยวกับเรื่องนิเทศสักเล่ม เป็นการเขียนจากการกลั่นประสบการณ์ตรงมากกว่าทฤษฎี  คงต้องขอเวลาสักระยะ

  • มอบให้นักศึกษาเขียนอธิบาย แต่ละคำก็น่าจะดีนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท