เมื่อแสงศตวรรษสาดกระทบเรตติ้งภาพยนตร์ (ตอนที่ ๒)


ตรรกะของหนังจะใช้หลักการสร้างความดีไม่ได้ ...แต่ต้องสร้างให้เกิดความหลากหลายและก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้าง จึงจะเกิดปัญญาแก่ผู้ชมได้มากกว่าการสร้างแต่หนังดีๆ ที่ไร้พิษภัย

 

การสนทนาในครั้งนี้ยังมีการพูดคุยลงลึกในรายละเอียดของเรต P หรือ  Promotion โดยมีรายละเอียดในเรื่องต่างๆ อาทิ

การส่งเสริมภาพยนตร์ในเรื่องที่รัฐมีนโยบายจะส่งเสริม (ในแง่ตามใจรัฐ)

ถ้าเกณฑ์การโปรโมต เน้นดูที่เนื้อหา ภาพยนตร์ทุกเรื่องก็ควรได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน

ภาพยนตร์สั้นควรได้รับการส่งเสริมอย่างไร  ซึ่งควรให้คำนิยามออกมาให้ชัดเจนว่า วิธีการที่จะส่งเสริมฯ กับ รูปแบบในการส่งเสริม ต้องเป็นอย่างไรหรือควรเป็นอย่างไร

ความเป็นห่วงต่อหนังสั้นหรือหนังอินดี้ที่จะไม่มีที่ฉาย คือฉายที่อื่นก็จะถูกใช้เกณฑ์แบบเดียวกับเกณฑ์การฉายในโรงภาพยนตร์ เช่น ฉายในห้องประชุม / ฉายในสถานศึกษา ฯลฯ หนังสั้นที่จะฉายก็ต้องได้รับการพิจารณาการจัดเรตด้วย ประเด็นนี้จึงน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง

ระบบการส่งเสริมมักจะไม่ได้มาพร้อมกับ ระบบการสร้างเกณฑ์ เพื่อมารองรับ จึงทำให้เกิดปัญหาในหลายส่วน ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย การตั้งกรอบของเรต P จึงควรส่งเสริมให้มีความหลากหลาย

(โดยในที่นี้อ.อิทธิพลเสนอว่า ควรให้เรต P นี้มีในทุกระดับช่วงอายุ อันหมายความว่า ในเรต PG (ดูได้ทุกวัย) ก็ต้องมีการพิจารณาว่าในหมวด PG นี้จะมีเรื่องใดที่ได้เรต P ด้วย คือ ทำให้เรต P กลายเป็นเหมือนติดดาวให้กับหนังในการจัดระดับของช่วงนั้นๆ แทนที่จะแยกเรต P ออกมาต่างหาก ดังแบบที่ ๒)

กระบวนการเชิงปฎิบัติ พี่เจ้ยเสนอว่า การส่งหนังเพื่อตรวจพิจารณาจัดระดับความเหมาะสมฯควรจะอนุญาตให้ส่งเป็น DVD เนื่องจากการส่งเป็นต้นฉบับฟิล์ม เมื่อมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง ผู้ผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงมาก และสิ้นเปลือง เพื่อความยืดหยุ่นจึงควรอนุญาตให้เสนอเป็นฉบับดิจิตอลคุณภาพสูงแทน

สัดส่วนกรรมการ ควรให้มีการสุ่มเลือกกรรมการในระดับภาคประชาชน ให้มีความหลากหลายทั้งทางประชากรศาสตร์และความหลากหลายทางอายุ ที่สำคัญควรแจกไกด์บุ๊คประกอบการพิจารณา เพื่อที่จะได้ไปในทิศทางเดียวกัน อยู่บนหลักเหตุผลไม่ใช่ความ ชอบ หรือ ไม่ชอบ ส่วนบุคคล

หากคณะกรรมการฯยังใช้วิธีการสั่งตัดหนังในลักษณะเดิมๆ เท่ากับเป็นการโปรโมตหนังให้ถูกละเมิดลิขสิทธิ์มากขึ้น (คือคนดูก็จะไปหาซื้อแผ่นเถื่อนที่ไม่ถูกเซ็นเซอร์แทน)

เรื่องของค่าใช้จ่ายในการส่งตรวจพิจารณาฯ ควรมีการกำหนดไม่สูงมาก เนื่องจากจะตัดโอกาสผู้ที่มีทุนทรัพย์ต่ำ (เช่น ผู้ผลิตหนังสั้น) ทำให้ขาดโอกาสในการฉายได้

สิ่งที่สำคัญยิ่งที่ได้จากการร่วมสนทนากันในวันนี้คือ ปริมาณการตั้งคณะกรรมการตรวจพิจารณาฯ กับปริมาณหนังที่จะเข้าสู่ระบบการตรวจพิจารณา เมื่อรวมทั้งภาพยนตร์ที่จะฉายโรงภาพยนตร์ + หนังสั้น + หนังแผ่น + หนังซีรี่ย์ + หนังอาร์ตเฮ้าส์หรือหนังอินดี้ + หนังเกรดบีจากต่างประเทศ + หนังอื่นๆ รวมๆ แล้วคาดว่ามีประมาณ 3-4 พันเรื่องต่อปี เรื่องนี้จึงเป็นโจทย์ใหญ่ที่การตั้งคณะกรรมการฯต้องคำนึงถึงเป็นข้อแรกๆ

นอกจากนี้ยังมีข้อคิดด้วยว่า ตรรกะของหนังจะใช้หลักการสร้างความดีไม่ได้ (คือ สร้างแต่หนังที่ดีๆ ใสๆ ไร้พิษภัย) แต่ตรรกะของหนังต้องสร้างให้เกิดความหลากหลายและก่อให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันในวงกว้าง จึงจะเกิดปัญญาแก่ผู้ชมได้มากกว่าการสร้างแต่หนังดีๆ ที่ไร้พิษภัย

 

เกร็ดขำ-ขำ : ในขณะที่ตอนได้คุยกับพี่ก้อง พี่ก้องจะเรียกเรต Promotion (ตามมาตรา ๒๖ (๑)) ว่า เรต P แต่พอมาถึงวงสนทนากลุ่มนี้ พี่ๆ จะเรียกกันว่า เป็นเรต Propaganda

 

หมายเลขบันทึก: 179265เขียนเมื่อ 28 เมษายน 2008 18:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แนทคะ

ชอบชื่อบันทึกล่ะ เมื่อแสงศตวรรษสาดกระทบเรตติ้งภาพยนตร์

จองอ่านเป็นคนแรกอีกตามเคย (ใครจะแย่งอ่านกันล่ะนี่)

เดี๋ยวอ่านละเอียดๆ จบแล้วจะมาใหม่ค่ะ :)

อ่านจบแล้ว อยากบอกเหมือนที่คอมเม้นไว้ในตอนที่หนึ่งว่า

อยากให้กฎหมายและศิลปะไปควบคู่กัน

ไม่อยากให้กฎหมายเอาแต่ปกป้องคุ้มครองโดยปิดกั้นการสร้างสรรค์

ไม่งั้นอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยก็จะไม่ก้าวไกลแน่นอน

ด้วยความเป็นห่วงค่ะ

เห็นด้วยอย่างที่สุดค่ะ

ตอบแฟนคลับประโยคเดียว

คิดคำตอบนานข้ามคืนเลยนะ

มีแซวด้วย ...กะลังสรุปงานอยู่นี่นา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท