ผลการดำเนินการจัดการความรู้ (KM) ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ 13 แห่ง


สรุปผลการดำเนินการจัดการความรู้ (KM)  ในมหาวิทยาลัยราชภัฏ  13  แห่ง
( มรภ.บ้านสมเด็จเจ้าพระยา /มรภ.พระนคร / มรภ.สุราษฎร์ธานี / มรภ.นครศรีธรรมราช / มรภ.มหาสารคาม / มรภ.พิบูลสงคราม / มรภ.เลย / มรภ.เชียงใหม่ / มรภ.ราชนครินทร์ / มรภ.อุตรดิตถ์ /มรภ.อุบลราชธานี / มรภ.ยะลา /มรภ.นครราชสีมา
     หลังจากมีการจัดการประชุมปฏิบัติการตลาดนัดความรู้สู่ความเป็นเลิศของผู้เรียนและชุมชน
ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ วันที่  9-11  ตุลาคม  2548   ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 13 แห่ง ที่ทำความตกลงร่วมมือทางวิชาการร่วมกับสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมและนำไปสู่การขยายผลในมหาวิทยาลัยราชภัฏ  13  แห่ง   ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏ  13  แห่งได้ส่งผลการขยายผลมายังมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี  ซึ่งสามารถสรุปผลเป็นกลุ่มได้ 3  กลุ่ม ดังนี้
    1.   กลุ่มก้าวหน้า
          กลุ่มก้าวหน้า มีมหาวิทยาลัยที่จัดเป็นกลุ่มก้าวหน้าได้  4  มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ  30.77     ที่ได้จัดการการจัดการความรู้อย่างจริงจังเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน และเป็นการดำเนินการในระดับมหาวิทยาลัย โดยภาพรวมทั้งอาจารย์และบุคลากร  พร้อมทั้งให้คณะ  สำนัก  สถาบัน นำไปขยายผลในกลุ่มของตนเองและบางมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการในระดับจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งบุคลากรสามารถนำความรู้ที่ได้มาใช้ในการวางแผน การพัฒนางาน พัฒนาคน พัฒนามหาวิทยาลัยและพัฒนาองค์กร ซึ่งปัจจัยที่เอื้อต่อการดำเนินการมีดังนี้
          1.1. ความตั้งใจและมุ่งมั่นของสมาชิกผู้เข้ารับการอบรม ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ วันที่ 9-11  ตุลาคม 2548 ของแต่ละมหาวิทยาลัย
          1.2. การทำงานเป็นทีม เพราะการจัดการความรู้ต้องมีผู้นำหรือหัวหน้ากลุ่มที่มีความตั้งใจและมุ่งมั่น
          1.3. ผู้บริหารในระดับสูง ให้ความสำคัญส่งเสริมและสนับสนุน  กระบวนการการจัดการความรู้
          1.4. การตั้งใจ  มุ่งมั่น  ความตระหนักเรื่องการจัดการความรู้ของอาจารย์ บุคลากรทุกคนในมหาวิทยาลัย
     2.   กลุ่มพยายาม
           มีมหาวิทยาลัยในกลุ่มนี้  5  มหาวิทยาลัย คิดเป็นร้อยละ   38.46  มีความตระหนัก เห็นความสำคัญ และเตรียมการวางแผนการดำเนินงานการจัดการความรู้  แนวทางการจัดการความรู้  เช่น เตรียมการจัดประชุมปฏฺบัติการ การแต่งตั้งกรรมการพัฒนาระบบการบริหารความรู้  การให้คำแนะนำ  กระตุ้น แก่อาจารย์  บุคลากรเพื่อการจัดการความรู้ เพื่อการเรียนการสอน  การรวมกลุ่มเพื่อระดมความคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ซึ่งการปฏิบัติการยังไม่ชัดเจนและเป็นรูปธรรมและปัจจัยสำคัญที่เป็นเช่นนี้  คือ
         2.1   ขาดผู้นำหรือผู้ประสานงานกลุ่ม
         2.2   การจัดหาช่วงเวลาปฏิบัติการจัดการความรู้ที่เหมาะสมไม่ได้
         2.3   ผู้บริหารพร้อมให้การสนับสนุน ส่งเสริม แต่ขาดความเข้าใจ แนวทางการจัดการความรู้
     3.  กลุ่มตระหนักเห็นความสำคัญ
มหาวิทยาลัยในกลุ่มนี้มี 4 มหาวิทยาลัย  คิดเป็นร้อยละ  30.77     ที่อยู่ในระดับตระหนักเห็นความสำคัญ  และพยายามที่จะดำเนินการจัดการความรู้ แต่ไม่มีการวางแผน  การดำเนินการที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม  ปัจจัยสำคัญทีเป็นเช่นนี้  คือ
        3.1   พลังผลักดันของสมาชิกผู้เข้ารับการอบรม  ณ  โรงแรมรอยัลซิตี้  ไม่สามารถขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้ได้
        3.2   ขาดผู้นำในกลุ่ม
        3.3   ผู้บริหารอาจไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควร
ควรมีการประชุมอธิการบดี (ตัวแทน)  ทั้ง  13  แห่ง เพื่อสรุปหาแนวทางการดำเนินการต่อไป
ผศ.ดร.ประโยชน์    คุปต์กาญจนากุล
รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและพัฒนา
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17893เขียนเมื่อ 7 มีนาคม 2006 15:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอชื่อ มรภ. ในแต่ละกลุ่มได้ไหมครับ    ใน KM เราต้องเปิดเผย    ไม่ใช้วัฒนธรรมซ่อนเร้นครับ

วิจารณ์

  • เสียงและNarrated Ppt ของคุณหมอวิจารณ์ พานิช  ที่นี่
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท