ชาวหุยกับการศึกษาอิสลาม


คัดลอกจาก http://www.chinesemuslimthailand.com/printable.php?id=10

ผมไปเจอเว็บไซต์เกี่ยวกับ "ชาวหุยกับการศึกษาอิสลาม" หรือ "Hui & Islamic Education" แปลเป็นภาษาไทยโดย อัลฮิลาล อ่านแล้วน่าสนใจมากครับ และเนื่องจากที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาก็มีนักศึกษาจากประเทศจีนมาเรียนจำนวนมาก ก็ขอคัดลอกบทความดังกล่าวมาบันทึกไว้ในบล็อกนี้ครับ

 

 

คัดลอกจาก http://www.chinesemuslimthailand.com/printable.php?id=10

การศึกษาอิสลามสมัยราชวงศ์หมิงอยู่ในมัสยิดเป็นหลัก เรียกว่า จินถั่ง เจียวอี้ว์  หรือ โรงเรียนมัสยิด (Jintang Jiaoyu หรือ Mosque school) เริ่มก่อตั้งโดย อะฮัง หู เติ้งโจว (Hu Dengzhou) (ค.ศ.1522-ค.ศ.1579) แห่งมณฑล ส่านซี หลังจากที่เขากลับจากประกอบพิธีฮัจญ์ที่มักกะฮฺ และเป็นรูปแบบหลักของการศึกษาศาสนาอิสลามในจีนช่วง 400 ปีต่อมา 

ช่วงระบอบสาธารณรัฐซึ่งยืนยาวเพียงประมาณ 30 ปีเศษ ชาวหุยเปิดโรงเรียนสอนศาสนาขึ้นมากมาย  โรงเรียนที่ดีที่สุดช่วงนั้นมี 3 โรงเรียนคือ เชิงไถ่ ที่กรุงปักกิ่ง (the Cheng-tai Normal School at Peking) โรงเรียนอิสลาม ที่เซี่ยงไฮ้ (the Islam Normal School at Shanghai) และโรงเรียน หมิงเถ่ ที่คุนหมิง มณฑลยูนนาน (the Ming-teh High School at Kunming)  ส่วนที่รองลงมาก็มี โรงเรียนเสฉวน หวั่นเซี่ยน (Sichuan Wanxian Islamic Normal School) และโรงเรียน หนิงเซี่ย หวู่ฮง จีนและอาหรับ (Ningxia Wuhong Chinese and Arabic Normal School)  ช่วงก่อนสงครามโลกโรงเรียนสามแห่งแรกส่งนักเรียน 27 คนไปเรียนที่มหาวิทยาลัย อัล อัซฮารฺ (Al Azhar) ประเทศอียิปต์  ทั้งนี้ผู้ที่เบิกทางไว้ก่อนหน้านั้นในสมัยราชวงศ์ชิงคือ หม่า ฟู ชิว (Ma Fu Chu) (ค.ศ.1794-ค.ศ.1847) นักการศาสนาผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของหุย  ผู้เคยเดินทางไปที่มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮารฺเมื่อปีค.ศ.1841 เพื่อเตรียมการนำเด็กนักเรียนจีนไปเรียนที่นั่น[i][1]

ช่วงสาธารณรัฐ ชาวหุยเปิดโรงเรียนสามัญระดับประถมและมัธยมมากมาย  แต่ยังไม่มีเงินทุนจะเปิดการศึกษาระดับวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย  แต่ก็มีการสอนวิชาอิสลามและภาษาอาหรับในมหาวิทยาลัยปักกิ่ง  มหาวิทยาลัยยูนนานและมหาวิทยาลัยจุงซาน

ในช่วงเวลาสั้นๆ เพียง 30 ปีเศษของการปกครองระบอบสาธารณรัฐนั้นชาวหุยได้พยายามอย่างที่สุดที่จะพัฒนาการศึกษาของลูกหลานของตน  มีการพิมพ์หนังสือพิมพ์และวารสารท้องถิ่นออกมามากมาย  ทั้งเน้นหนักด้านการเมืองและการศาสนา แต่ยังไม่มีหนังสือพิมพ์และวารสารระดับชาติเพื่อเข้าถึงชาวมุสลิมทั้งประเทศ  นอกจากนี้หลังสงครามโลก สมาคมอิสลามแห่งประเทศจีนได้รับอนุญาตให้กระจายเสียงการสอนอิสลามสัปดาห์ละครั้ง  ชาวหุยยังนำข้อความที่ออกกระจายเสียงไปนั้นพิมพ์แจกอย่างกว้างขวางอีกต่อหนึ่ง

หลังเปลี่ยนการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์  ในปีค.ศ.1955 รัฐบาลได้จัดตั้ง โรงเรียนมัธยมอิสลามแห่งชาติ (Islamic High School) และสถาบันอิสลามศึกษา (China Islamic Institute)

เมื่อจีนเปิดประเทศ  ช่วงปีค.ศ.1983-ค.ศ.1987 รัฐบาลเปิดสถาบันอิสลามศึกษาของรัฐ 9 แห่ง ได้แก่ ที่กรุงปักกิ่ง เมืองอุรุมชี เซิ่นหยาง ซิหนิง หลันโจว เจิ้งโจว คุนหมิง เหอเป่ย และหนิงเซี่ย  เป็นการสอนระดับปริญญาตรี  แต่รับนักเรียนได้น้อย  ประมาณแห่งละ 100 คน  ค่าเทอมค่อนข้างแพง

ประมาณได้ว่ามัสยิด 33,000 แห่งทั่วประเทศจีนโดยทั่วๆ ไปแล้วต้องมี โรงเรียนมัสยิด ในบริเวณมัสยิดเสมอ  มีนักเรียนแห่งละประมาณ 20-100 คนขึ้นอยู่กับความนิยมในตัว อะฮัง มีการประกวดการอ่านคัมภีร์อัล-กุรอ่านของเยาวชนระดับภูมิภาคและระดับชาติ  มีผู้ทรงคุณวุฒิจากประเทศมุสลิมเข้าร่วมตัดสินด้วย

ช่วงทศวรรษ 1990 มี โรงเรียนมัสยิด มากมายปรับรูปแบบมาเป็น โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และ โรงเรียนสอนภาษาอาหรับ  มีการจัดรูปแบบองค์กรสมัยใหม่  พร้อมด้วยอาคารและอุปกรณ์ที่ทันสมัย  ส่วนใหญ่ได้เงินทุนจากชาวหุยในชุมชนที่ต้องการให้เยาวชนหุยได้รับการศึกษาด้านศาสนาและภาษาอาหรับที่ได้มาตรฐาน  โรงเรียนเอกชนเหล่านี้มักใช้ชื่อ "จง ซื่อเซี่ยว" หรือ "โรงเรียน จีน-อาหรับ" (Zhong a xuexiao หรือ Sino-Arabic School) บ้างก็ใช้ว่า "อาลาบาอี้ว์ ซื่อเซี่ยว" หรือ "โรงเรียนสอนภาษาอาหรับ" (ayu หรือ alaboyu xuexiao) บางโรงเรียนก็ตั้งชื่อเน้นโดยเฉพาะไปว่า  "หุยซู เหวินฮัว ซื่อเซี่ยว" หรือ "โรงเรียนวัฒนธรรมหุย"  (Huizu Wenhua Xuexiao) เด็กนักเรียนที่จบจากโรงเรียนเหล่านี้พร้อมที่จะศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐและมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ   สำหรับจำนวนโรงเรียนเหล่านี้ทั่วประเทศจีนไม่ทราบแน่ชัด  แต่ที่ยูนนานมีอย่างน้อย 12 แห่ง  และอนุมานได้ว่า ในแหล่งที่มีชาวหุยอยู่หนาแน่นน่าจะมีโรงเรียนประเภทนี้อยู่แหล่งละ 5-6 โรงเรียน  โรงเรียนสอนศาสนาและภาษาอาหรับเอกชนที่มีชื่อเสียงในประเทศจีนขณะนี้มี 5 แห่ง ตั้งอยู่ที่หนิงเซี่ย 1 โรงเรียน เหอหนัน 2 โรงเรียน  และที่ยูนนานอีก 2 โรงเรียน วิชาหลักๆ ที่สอนประกอบด้วย วิชาภาษาอาหรับ  วิชาเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม  และวิชาด้านสังคมศาสตร์ นอกจากนี้มีสอนภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์[ii][2]

กิจกรรมที่น่าสนใจของโรงเรียนศาสนาและภาษาอาหรับเหล่านี้ก็คือ พวกเขาจะผลิตหนังสือพิมพ์หรือวารสารออกมาด้วย เขียนโดยครูและนักเรียนในโรงเรียน  หนังสือพิมพ์และวารสารเหล่านี้จะพิมพ์แจกจ่ายในมัสยิด บริเวณชุมชน และโรงเรียนอื่นๆ  ในต่างมณฑล เนื้อหาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ศาสนา  และเรื่องราวในชุมชนชาวหุย

การศึกษาด้านศาสนายังเปิดโอกาสให้เยาวชนได้ศึกษาต่อยังต่างประเทศ  ปัจจุบันเด็กนักเรียนจีนมุสลิมเดินทางไปศึกษาต่อในประเทศมุสลิมอย่างกว้างขวางประมาณร่วม 1,000 คน ทั้งในประเทศตะวันออกกลาง และมาเลเซีย  เฉพาะที่ประเทศอียิปต์แห่งเดียวมีนักเรียนจากจีนเดินทางไปเรียนระดับปริญญาตรี 400 คน ปริญญาโท 20 คน และมีอาจารย์ที่ไปสอนอีก 32 คน ในจำนวนนี้เป็นระดับศาสตราจารย์ 1 คน ระดับรองศาสตราจารย์ 9 คน  และที่มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮารฺแห่งเดียวมีนักเรียนจีนกว่า 300 คน[iii][3]

 

ตัวอย่างของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาและภาษาอาหรับของชาวหุยได้แก่  สถาบันการศึกษาภาษาอาหรับไค่หยวน ที่ยูนนาน (Kaiyuan institute of Arabic-Yunnan) เคยเป็น โรงเรียนมัสยิด มาก่อน  เริ่มต้นสอนภาษาอาหรับตั้งแต่ปี ค.ศ.1979 และต่อมาพัฒนามาเป็นสถาบันการศึกษาสมัยใหม่   มีอาคารและอุปกรณ์ทันสมัย  เปลี่ยนชื่อเป็น สถาบันการศึกษาภาษาอาหรับไค่หยวน เมื่อปี ค.ศ.1999 ปัจจุบันมี 4 ชั้นเรียน มีนักเรียน 120 คน นักเรียนมาจาก 17 มณฑลทั่วประเทศจีน  หนังสือพิมพ์ "อุทยานแห่งอิสลาม" (Islamic Garden) ของสถาบันฯ เริ่มตีพิมพ์ในปี ค.ศ.2000 ปัจจุบันพิมพ์ครั้งละ 13,500 ฉบับ  จำหน่ายในชุมชนมุสลิม 30 มณฑลทั่วประเทศจีน นอกจากนี้ในปีเดียวกัน ทางสถาบันยังเปิดเว็บไซด์ http://www.kyaz.com/English/Index.html

ฮัจญีหม่า หลี่กี้ว์ (Ma  Ligu) ประธานสถาบันฯ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอิหม่าม กรุงริยาด ประเทศซาอุฯ และปริญญาโทสาขาวรรณกรรมอาหรับจากประเทศปากีสถาน

 


 

[2] Elisabeth Allès. “Muslim Religious Education in China” China Perspectives n°45, January - February 2003, page n°21. http://www.cefc.com.hk/uk/pc/articles/art_ligne.php?num_art_ligne=4502

     

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 178392เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2008 22:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 มิถุนายน 2012 10:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

แวะมา.ทักทาย..ค่ะ.อาจารย์

(ตาจาปิดแล้วค่ะ..แล้วเดี๋ยวจะมาอ่านเอาสาระอีกรอบนะคะ..หลับฝันดีค่ะ..อาจารย์) ^__^

  • อรุณสวัสดิ์ครับครูแอ๊ว
  • ขอบคุณครับที่แวะมาทักทาย 

ท่านที่สนใจเกี่ยวกับมุสลิมจีนในประเทศไทยและมุสลิมในประเทศจีนสามารถเข้าไปอ่านได้ที่ลิงค์ http://www.chinesemuslimthailand.com/ 

เป็นข้อมูลความรู้ที่น่าศึกษามากครับอาจารย์ ขอบคุณอาจารย์นะครับที่นำสิ่งดีๆๆมาสู่ชาวบล๊อกบ่อยๆ

  • ดีใจมากเลยครับที่อาจารย์เสียงเล็กๆสนใจ ขอขอบคุณอาจารย์ด้วยเช่นกันครับ
  • การได้รู้จักพี่น้องของเรา มุสลิมในประเทศจีน ซึ่งมีจำนวน กว่า 100 ล้านคน บทบาทของพวกเขา ความพยายามของพวกเขาด้านศาสนา และการจัดการศึกษาด้านอิสลามศึกษานั้นน่าสนใจทีเดียว

ไปเจอลิงค์เกี่ยวกับมุสลิมจีนในมาเลเซียก็เลยเอามาบันทึกไว้ที่นี่ครับ http://www.islam.org.hk/eng/malaysia/ChineseMuslim_in_Malaysia.asp#Introduction

สวัสดีครับอาจารย์ ขอบคุณที่ไปแวะเยี่ยมชมกวีที่บล็อกครับ

เพิ่งได้เปิดหูเปิดตาครับว่าชาวจีนก็เป็นมุสลิมไม่น้อยเลย

  • สวัสดีครับท่าน อ. ธีรนร นพรส กวีสามบรรทัดของอาจารย์ผมชอบมากครับ ทำให้นึกถึงบทกวีของญี่ปุ่น แต่จำชื่อไม่ได้แล้ว
  • ยินดีที่ได้รู้จักและขอบคุณมากครับที่ท่านอาจารย์แวะเข้ามาทักทายครับ

อยากเรียนภาษาอาหรับและอยากพูดภาษาอาหรับได้จะต้องทำอย่างไรดี

  • กล่าวกันว่า "หากอยากว่ายน้ำเป็นก็ต้องลงไป (หัด) ว่ายน้ำ อยากพูดภาษาอาหรับให้ได้ก็ต้องเรียนครับ ที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลามีวิทยาลัยภาษาอาหรับชีคกอซิม บิน มุหัมมัด อาลษานีย์ ซึ่งในนั้นมี ๒ หน่วยงานครับคือ ๑.สาขาวิชาภาษาอาหรับ และ ๒.ศูนย์ภาษาอาหรับ
  • สาขาวิชาภาษาอาหรับมี หลักสูตร ป.ตรี (เรียน ๔ ปี) และป.โท (เรียน ๒ ปี)
  • ศูนย์ภาษาอาหรับเป็นศูนย์เตรียมภาษาอาหรับให้กับนักศึกษาที่จะเรียนในระดับปริญญาตรีสาขาวิชาอุศูลลุดดีน (หลักการศาสนาอิสลาม) สาขาวิชาชะรีอะฮฺ (กฏหมายอิสลาม) และสาขาวิชาภาษาอาหรับ ใช้เวลาเรียน ๑ ปีครับ
  • เข้าใจว่าปัจจุบันมีการเปิดให้ผู้สนใจเข้าเรียนร่วมด้วยครับ 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท