20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง (1) พร้อมหน้า


20 จว. 120 หน่วยงาน ได้มารวมตัวกัน พร้อมกับทีมวิทยากร ผู้ให้ concept ของการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากของผู้สูงอายุ ที่จะบอกกล่าวเล่าเรื่องที่น่าสนใจ

 

เกริ่นนำเรื่องไป 2 ครั้งแล้ว ที่นี่ ว่าถึงเรื่อง สิทธิประโยชน์ของผู้สูงอายุ ด้านการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปาก และที่นี่ เตรียม เป็นพิธีกร นะคะ

วันนี้ก็เป็นวันจริง ที่ 20 จว. 120 หน่วยงาน ได้มารวมตัวกัน พร้อมกับทีมวิทยากร ผู้ให้ concept ของการส่งเสริมป้องกันโรคในช่องปากของผู้สูงอายุ ที่จะบอกกล่าวเล่าเรื่องที่น่าสนใจ ซึ่งดิฉันได้บันทึกขึ้น อนุทิน ถึงความประทับใจปิ๊งแว่บ ... ทำให้อดไม่ได้ที่จะถอดเรื่องราว เพื่อบอกเล่าให้กับทั้งผู้ที่ได้ฟังการบรรยาย จะได้ซึมซับความรู้ และเรียนรู้ต่อยอด กับผู้ที่ไม่ได้ฟังการบรรยาย จะได้รู้บรรยากาศของการประชุมไปด้วย

เรื่องเล่าในอนุทิน

  • วันนี้ ที่รามาการ์เด้นส์ ประชุมเรื่อง การส่งเสริมป้องกันสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ ตามชุดสิทธิประโยชน์ ... ใครไปฟังจะรู้ว่า ดีมาก มาก ... ไม่ได้เข้าข้างตัวเองนะเนี่ยะ
  • ตรงที่ ...
  • อ.พัชราวรรณ พูดได้เนียนมากเลย เรื่อง สุขภาพที่ผสานไปกับสุขภาพช่องปาก
  • อ.นฤมนัส นำแนวคิดใหม่ๆ ในเรื่อง Dental Caries และโรคในช่องปากมาพูดให้ฟังชัดเจน แจ่มแจ้ง แถม refer ผู้ให้ภาคภาษาไทย ของ Cariogram อีก นั่นก็คือ อ.ยุพิน และไม่ใกล้ไม่ไกล G2K อ.หมอมัท P  มัทนา น่ะเอง
  • อ.จุฬาลักษณ์ คุยเรื่อง Perio ได้ถึงแก่น ส่งเสริม ป้องกัน และรักษาจริงๆ
  • ผอ.สุธา มาเล่าลึกถึงเรื่อง โครงการในผู้สูงอายุ และบูรณาการให้ครบทุกช่วงวัย
  • หมอสุปราณี มาชี้ชัดด้วยว่า แล้วโครงการสิทธิประโยชน์น่ะ จะต้องทำกันอย่างไร
  • ถ้าอยากรู้ละเอียด ต้องรอติดตามในบันทึก ส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ นะคะ ... ตอนนี้อาจจะต้องรอนานหน่อย แต่ลงแน่นอนค่ะ เพราะว่า ประทับใจมาก
  • มีความสุขจริงๆ ค่ะ ที่ได้ฟังเรื่องราวที่น่าสนใจ
โดย เพื่อนร่วมทาง   อนุทิน   ลิงก์ถาวร: 1355   [ แก้ไข : ลบ ]  
สร้าง: จ. 21 เม.ย. 2551 @ 17:59   แก้ไข: จ. 21 เม.ย. 2551 @ 18:01   ขนาด: 2971 ไบต์

จะพยายามเก็บประเด็นต่างๆ ที่น่าสนใจ มาบอกเล่าสู่กันฟังต่อไปนะคะ

รวมเรื่อง 20 จว. 120 หน่วยงานนำร่อง

 

หมายเลขบันทึก: 178005เขียนเมื่อ 21 เมษายน 2008 21:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะ คุณหมอ

  • วันนี้มิมมาไขข้อข้องใจของคุณหมอค่ะ กับชื่อมะขามอ่อน
  • คืออย่างนี้ค่ะ ที่บ้านมิมมีสวนมะขามหวาน คุณพ่อเป็นคนปลูก มิมจึงเรียกพ่อว่ามะขามแก่ หมายถึงมะขามที่สุกแล้ว กินอร่อย หวาน แต่มิมเป็นลูกคงเป็นได้แค่มะขามอ่อน ที่รอวันวันเจริญเติบโต แต่ตอนนี้ยังไม่สุกเลยค่ะ ยังกินไม่ได้เพราะยังเปรี้ยวอยู่
  • แม้จะยังกินไม่ได้ แต่ก็มีคนคิดจะกินเราเสียแล้ว แงๆๆ โดยการจะเอาไปตำน้ำพริกมะขามอ่อนแทน ดูซิค่ะ เศร้าจัง
  • ทีนี่คุณหมอยังจะกินมะขามอ่อนอยู่หรือเปล่าค่ะ น่าสงสารออก
  • คิดถึงคุณหมอจังเลยค่ะ
  • คุณหมอครับ
  • อ้าวคุณหมอมัท
  • มาเมืองไทยหรือครับ
  • ตกข่าว
  • ฮือๆๆๆๆๆๆ
  • อื้อหือ มีประวัติอย่างนี้เองนะคะ ครูมะขามอ่อน/ครูมิม
  • แบบนี้ไม่กินแล้วละค่ะ
  • แต่วันหน้าวันหลัง จะมาชวนไปกินที่ เมืองประจวบฯ ที่นั่น เพื่อนจะมีคุณแม่ของผู้ช่วยทันตแพทย์ที่นั่น ท่านทำอร่อยมาก มาก เลย สไตล์ชาวบ้าน ... มากินของใครในเมืองทำก็ไม่เหมือน
  • กินกับผักจิ้ม จะอร่อยมาก อย่าบอกใคร ... เด็กที่บ้านมาทำเลียนแบบ ยังไม่เหมือนเลยค่ะ เพราะว่า เมืองกรุง หามะขามอ่อนยากมาก
  • เห็นชื่อครูมิม แล้วก็เลยหิวขึ้นมาซะงั้นแหล่ะค่ะ อิอิ
  • หมอมัท เคยมาเมืองไทยช่วงหนึ่งค่ะ แต่ตอนนี้ไม่ได้มาค่ะ อ.ขจิต ฝอยทอง
  • เป็นเรื่องอ้างอิงค่ะ เพราะว่า อาจารย์นฤมนัส ที่บรรยาย เรื่อง Cariogram เป็นผลงานของหมอมัท ที่มีส่วนร่วมค่ะ ซึ่ง เคยเห็น Version ภาษาอังกฤษนานแล้ว และก็มาได้ยิน version ภาษาไทย ก็ครั้งนี้ละค่ะ
  • โปรแกรมนี้ไงคะ โปรแกรม cariogram
  • แล้ววันนี้ อ.ขจิต ไปวิ่งหรือเปล่าคะ ... เห็นไปถามท่านอื่นเสียเยอะแยะ อิอิ

มาขอบคุณที่เขียนถึงค่ะพี่หมอนนท์

มัทไป download เอกสารประกอบการประชุมแล้ว ขอบคุณมากๆในความไวนะคะ ทันใจจริงๆ

แต่ว่าไฟล์ ppt เวลาเปิดดูด้วยเครื่องที่มีโปรแกรมคนละเวอร์ชั่นมันรวน ตัวอักษรใหญ่เล็กซ้อนทับกันไปหมดอ่ะค่ะ  มัทเลยมาจัด font  ใหม่หมดก่อนแปลงไฟล์เป็น pdf แต่นี่ทำไม upload ไม่เสร็จซักทีไม่ทราบ ไว้ upload ได้แล้วจะมาฝาก link ไว้ให้นะคะ

อีกอย่างนึงคือเวลา upload พวกเอกสารพวกนี้ เราควร lock ไม่ให้คนอ่านแก้ไขข้อมูลในไฟล์ได้อ่ะคะ ไม่งั้นเค้า save ทับ แล้วพอเอกสารเผยแพร่ไปจะกลายเป็นว่า มันไม่เหมือนต้นฉบับซะแล้ว แต่ชื่อคนเขียนยังเป็นชื่อเดิมอ่ะคะ

ส่วนเรื่อง cariogram นั้นอ.ยุพินกับมัทแปลไว้ตั้งแต่ปี 2002 ก่อนมัทมาเรียนต่อคะ มัทแปลอย่างเดียว ทางมหาวิทยาลัย Malmo ที่สวีเด็นเป็นคนทำเรื่อง programming ทั้งหมด ดีใจจริงๆที่งานที่ทำไว้ยังมีคนพูดถึงบ้าง

ทราบสาเหตุแล้วค่ะ ขนาดแปลงเป็นไฟล์ pdf ยังใหญ่เกินที่จะ upload เข้าแฟ้มอัลบั้ม gotoknow เลยอ่ะคะ

เลยได้แต่เอกสารของคุณหมอสุธาไฟล์เดียวค่ะ

  • ความไวครั้งนี้มีตัวเร่งที่มีความภูมิใจแทรกอยู่ค่ะ อ.มัทนา
  • เพราะว่า ในที่ประชุม เจอ อ.พัช เธอบอกเลยว่า พี่เขียนบันทึก และนำข้อมูลขึ้นเวปได้ไง ตั้งเยอะแยะมากมาย ... และทั้ง อ.พัช อ.นฤมนัส ก็เชียร up ตลอด บนเวทีบรรยาย ให้ชาวประชาที่ฟังบรรยาย ไปอ่านเรื่องเล่า เรื่องราวในเวป
  • มีน้องบางคนมาถามแหล่งที่อยู่ของเวปนี้ ... ซึ่งก็คือ เวปฟันเทียมพระราชทานนั่นเอง (ฟันเทียมพระราชทาน) แต่พอสืบสาวราวเรื่อง ว่า แล้วใครเข้าเวปฟันเทียมพระราชทานบ้าง ... ก็พอจะรู้ว่า อ้อ ก็คือ คนที่ต้อง upload ไฟล์ขึ้นส่งส่วนกลางน่ะเอง ... หรือว่ามีแต่น้องๆ หรือเจ้าหน้าที่ทำน่ะแหล่ะ ... เลยต้องบอกให้ที่ประชุมทราบอย่างเป็นทางการว่า จะไปอ่านเรื่องราวเหล่านี้ได้ที่ไหน
  • แต่ว่า อ.นฤมนัส ก็เชียร์ Dr.Google อย่างกว้างขวางแล้ว ว่า สงสัยข้อมูลอะไรให้ถาม Dr.Google ได้ รวมทั้ง หาโปรแกรม Catiogram ด้วย แต่ อ.ก็ให้ไฟล์ภาคไทยไว้ ก็เลยขออนุญาติ link เลยค่ะ เพราะเผื่อว่าพวกเราจะได้นำไปใช้ประโยชน์
  • ตอนนี้ การส่งเสริมป้องกัน ในประเทศไทย เริ่มมีผู้สนใจมากมายนะคะ ปีนี้เป็นปีที่เริ่มรุกอย่างจริงจัง ต่อไปจะติดตลาดหรือไม่ ก็ต้องรอดูกัน แต่ก็มีตัวฉุดอยู่บ้าง คือ กรณีขูดหินปูนในผู้สูงอายุ ภาพรวมเขามองว่า เป็นการรักษา ทำให้จะไม่ได้อยู่ในชุดสิทธิประโยชน์ในปี 2552 ค่ะ ... ทั้งๆ ที่ ทันตฯ เรามองเป็นการป้องกันโรคปริทันต์ อิอิ
  • เดี๋ยวคืนนี้จะมาแปลงเป็น pdf ให้นะคะ ที่ให้ทั้ง ppt และ pdf ก็เพื่อพวกเราส่วนใหญ่จะนำไฟล์ไปใช้ต่อได้สะดวกค่ะ (กรณี ppt) และบางไฟล์ก็จะใหญ่มาก บางคนอาจ download ไม่ได้ ก็เลยไปทำ pdf ด้วย เพื่อให้อ่านง่ายขึ้น
  • ขอบคุณค่ะ อ.มัท ... ตอนอยู่เมืองไทยไม่ได้รู้จักกันเลยนะคะ ไม่งั้นคงได้ร่วมมือกันนานแล้วนะคะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท