ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน ICT แบบผสมผสานเศรษฐกิจพอเพียง


ยุทธศาสตร์การเรียนการสอน ICT แบบผสมผสานเศรษฐกิจพอเพียง

ประเทศไทยได้มีการนำคอมพิวเตอร์มาใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างสื่อการเรียนการสอนเพื่อการถ่ายทอดความรู้มาเป็นระยะเวลานานพอสมควร ซึ่งทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตได้พัฒนาเติบโตอย่างรวดเร็ว และได้ก้าวเข้ามาเป็นเครื่องมือชิ้นสำคัญที่เปลี่ยนแปลงรูปแบบการเรียนการสอน การฝึกอบรม รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้และได้รับการพัฒนาปรับปรุงมาเป็นสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่า E-Learning ในปัจจุบันมีโรงเรียน / มหาวิทยาลัย ได้นำสื่อการเรียนการสอนแบบ E-Learning เข้ามาใช้กันมากขึ้น และก็มีอีกหลายโรงเรียน หลายมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนผ่านระบบอินเทอร์เน็ต นักเรียน นักศึกษา สามารถลงทะเบียนเรียนที่ไหนก็ได้ในมหาวิทยาลัยแห่งนั้นๆ การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการเรียนการสอนนั้น ต้องมีการกำหนดหลักสูตรที่ชัดเจน เช่น การใช้หลักสูตรออนไลน์ ต้องจัดทำเป็นระบบ เพื่อสามารถเข้าถึงบทเรียนได้ตลอดเวลา ทำให้น่าสนใจ ทันกับเหตุการณ์ตลอดเวลา เป็นต้น คงจะต้องมีการใช้ระบบการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งจะสอดคล้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพราะหลักเศรษฐกิจพอเพียงอยู่บนพื้นฐานของการมีความเมตตา ความเอื้ออาทร และความสามัคคีของสมาชิกในชุมชน ในสังคม ให้มีการร่วมแรงร่วมใจ เพื่อประกอบอาชีพต่างๆ ให้บรรลุผลสำเร็จได้ โดยเฉพาะด้าน ICT จากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว รวมทั้งเทคโนโลยีที่เข้ามาใหม่จะมีทั้งดีและไม่ดี จึงต้องแยกแยะบนพื้นฐานของภูมิปัญญาชาวบ้าน รู้จักเลือกใช้เฉพาะที่สอดคล้องกับความต้องการและสภาพแวดล้อม และควรพัฒนา ICT จากภูมิปัญญาเราเอง เราต้องรู้จักนำ ICT มาประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ต้องมีการจัดมาตรฐาน  การส่งเสริม การสนับสนุน การเรียนการสอนทางด้าน ICT  ควรมีการพัฒนาบุคลากร ครู อาจารย์ จัดให้มีการอบรม การฝึกทักษะ และการให้ความรู้ที่ทันสมัยอยู่เสมอ จะต้องปลูกฝังให้คนเหล่านี้ มีจริยธรรม มีจิตสำนึกที่ดี เพื่อที่จะได้มาถ่ายทอดความรู้ให้แก่นักเรียน นักศึกษา ได้อย่างถูกต้อง ชัดเจน และมีประสิทธิภาพต่อไป 

ยกตัวอย่าง  สถาบันการศึกษาควรสนับสนุนให้ใช้  Freeware หรือ  Software  ที่แจกฟรีหรือ Open source  กันมากขึ้น  เพื่อนำมาใช้ทางด้านการเรียนการสอน หรือแม้กระทั่งการวิจัย     เพราะทำให้ประหยัดรายได้ได้อีกทางหนึ่ง


 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17772เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2006 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 08:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
อ่านแล้วครับ น่าจะยกตัวอย่าง เช่น การสนับสนุนให้ใช้ Freeware หรือซอฟต์แวร์ที่แจกฟรี หรือ Open Source กันมากขึ้นในการเรียนการสอน หรือแม้กระทั่งการวิจัยครับ 

น่าสนใจน่ะ...ทำต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท