Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

Reflexion ประการแรกของ อ.แหววสำหรับ Health4Stateless : บทเรียนเกี่ยวกับญานวิทยาของการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาสังคมโดยองค์ความรู้


สำหรับงานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม สูตรความสำเร็จของเรา ก็คือ Manpower + Knowledge + Social-Movement สังคมคงมิได้รับการพัฒนาหากไม่มีคนทำงานและไม่มีองค์ความรู้ และในการก่อสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายสิ่ง การเคลื่อนไหวสังคมให้ตอบรับต่อ “นวตกรรม” เป็นอีกงานหนึ่งที่ไม่ง่ายเท่าไหร่นัก

        บันทึกฉบับนี้ เขียนเพื่อสื่อสารกับทีมวิจัยเรื่อง Health4Stateless เพื่อ สวปก.คะ แต่นำมาเผยแพร่ในโกทูโนด้วย ก็เพื่อให้คนที่ติดตามอ่านงานของวิจัยของเรา ได้เห็น dialogue ระหว่างนักวิจัยและที่ปรึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาปริญญาโทที่กำลังฝึกใช้วิธีวิจัยเพื่อศึกษาเรื่องของตนเอง

ตอนนี้ อ.แหววกำลังไล่อ่านงานของแต่ละคนอีกคน เราคงต้องคิดถึงการต่อยอดงานของเราในส่วนที่เกี่ยวสิทธิในหลักประกันทางสุขภาพแล้วค่ะ

เราเพิ่งทำงานได้ ๒ เดือน ซึ่ง ๒ เดือนนี้เป็นงานรอบแรกของเรา เป้าหมายของ ๒ เดือนนี้คงเป็นแค่ Literature Review

อีกประการที่ อ.แหววอยากบอกชาว สวปก. และพวกเรา ก็คือ ๒ เดือนนี้ เป็นเพียงแค่ "การเตรียมคนทำงานเพื่อสร้างองค์ความรู้เพื่อสร้างการเคลื่อนไหวทางสังคม"

สำหรับงานวิจัยเพื่อพัฒนาสังคม สูตรความสำเร็จของเรา ก็คือ Manpower + Knowledge + Social-Movement สังคมคงมิได้รับการพัฒนาหากไม่มีคนทำงานและไม่มีองค์ความรู้ และในการก่อสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เราต้องเผชิญกับอุปสรรคหลายสิ่ง การเคลื่อนไหวสังคมให้ตอบรับต่อนวตกรรมเป็นอีกงานหนึ่งที่ไม่ง่ายเท่าไหร่นัก

         ดังนั้น ๒ เดือนแรกนี้ เราจะต้องสร้าง "เครือข่ายการทำงาน" ให้ได้ก่อน หากเราทั้งหมดศึกษา MINDMAP ที่ อ.แหววเคยส่งให้  แต่สิ่งที่ อ.แหววเขียนนี้ คงไม่สมบูรณ์ เพราะ อ.แหววไม่ใช่นักวิจัย อ.แหววเขียนตามที่สังเกตเห็น แต่นักวิจัยควรจะบอก อ.แหววเองด้วยว่า   นักวิจัยแต่ละคนได้ไปทำงานร่วมกับใครบ้าง ? หรือง่ายๆ ก็คือ ใครเป็นเครือข่ายการทำงานของแต่ละท่าน ? ช่วยตอบกลับมาหน่อย และองค์ความรู้  "สด" จากเครือข่ายเป็นสิ่งที่ถือว่า originality นะคะ ในงานวิจัยควรจะระบุถึง ซึ่งหากไม่รู้จะเขียนถึงที่ไหน ก็เขียนในวิธีวิจัยก็ได้ค่ะ หรือในการนำเสนอบทวิเคราะห์การวิจัย ก็เสนอผ่านปากคำของเครือข่ายการทำงาน

เราไม่ควรจะละเลยปากคำจาก "เอกสาร" แต่หากเราฟังจากเอกสาร ข้อมูลของเราก็จะไม่มีชีวิต และอาจเก่าไป เพราะเอกสารแต่ละฉบับ ต้องใช้เวลาเขียน

จะเห็นว่า งานของเอกนั้นให้ความสำคัญกับ "การสร้างองค์ความรู้" แต่ไม่เห็นภาพของเครือข่ายการทำงาน ซึ่ง ๒ เดือนนั้น จะนำไปสู่ความรู้ที่สมบูรณ์เกี่ยวกับ Health4Stateless ก็มิได้ เราตอบได้เพียงไม่กี่คำถาม  ดังนั้น เราจึงต้องเลือกคำถามที่เป็นพื้นฐานของการทำงานในขั้นตอนต่อไป ความเป็นเอกภาพระหว่าง ไหมเอกสุ (อาจต้องมีเตือนอีกคน) จึงเป็นจุดที่เข้มแข็งของการตรวจสอบทั้ง (๑) เครือข่ายการทำงาน และ (๒) องค์ความรู้

ดังนั้น หากเอกอยากเพิ่มเติม อ.แหววก็คงเห็นตามที่ประชุมของนักวิจัยครั้งล่าสุดว่า เอกควรเพิ่ม "อ้างอิงจากมนุษย์" เข้าไปด้วยในงานวิจัย ยกตัวอย่าง กรณีของเพื่อนที่เป็นคนโครเอเทีย (?) ที่เคยเล่าให้ อ.ฟัง และแนะนำให้ลองพูดคุยกับคนรอบตัวที่เป็นคนฝรั่งเศสและคนต่างด้าวในฝรั่งเศส เอกคงเหมือน อ.แหววในสมัยก่อนที่ติดอยู่กับ documentary research ซึ่งเป็นแนวคิดเก่าของนิติศาสตร์ แต่อยากแลกเปลี่ยนกับเอกและสุว่า ในสมัยนี้ เขานิยม true story หรือเขาเรียกว่า oral history

ในอีกส่วนที่สังเกตได้จากงานของเอก ก็คือ ภาพของ social movement ซึ่งยังหายไปจากงานเอก สำหรับ อ.แหววนั้น ไม่เชื่อว่า คนๆ เดียวจะมองเห็น และ ๒ เดือน ก็อาจจะมองไม่เห็น แต่จากที่ประชุมนักวิจัย ก็น่าจะมองเห็นมากขึ้น และเมื่อมีการประชุมร่วมระหว่างนักวิจัยและคณะกรรมการชี้แนะแนวทาง ก็ยิ่งจะเห็นอะไรมากขึ้น ดังนั้น หากเราฟังเสียงการประชุมที่ไหม upload ไว้ เราก็น่าจะเขียนถึง social movement ที่ควรจะเป็น โดยเฉพาะที่คณะกรรมการชี้แนะแนวทางก็เห็นด้วยและเห็นชอบ อ.แหววเสนอว่า นักวิจัยแต่ละท่านไม่ควรจะเสียโอกาสที่จะนำแนวคิดในการสร้างความเคลื่อนไหวทางสังคมที่จะ "ก่อสร้าง Health4Stateless สำหรับสังคมไทย"

อีกอันที่จะเสนอเอกนะคะ งานของเอกดีมากเลยค่ะ แต่การเผยแพร่นั้นจะทำได้น้อย เพราะเอกยังไม่บรรลุที่จะปรากฏตัวใน gotoknow เข้าใจค่ะว่า เอกอยู่ต่างประเทศ เวลาก็มีน้อย แต่ถ้าเอกสามารถเอาชนะข้อจำกัดได้บ้าง งานของเอกจะไปได้ไกล คงไม่คุ้มที่จะเขียนงานวิจัย และอ่านกันไม่กี่คน อ.อยากจะช่วยเอกเหมือนกัน หากมีนักศึกษาอาสาฝึกงาน ก็อาจจะเอามาช่วยทำข้อมูลในโกทูโนให้เอก แต่ก็จะไม่เหมือนเอกทำเอง ในยุคนี้ คงปฏิเสธ e-society ไม่ได้ เอกลองคลิกดูงานของไหมนะคะ การเผยแพร่งานวิจัยเป็นไปได้ดีมาก 

            ในวันนี้ ถ้ารอไปเสนองานวิจัยในโรงแรม คงไม่ทันแล้วค่ะ ลองพิจารณาข้อเสนอของอาจารย์นะคะ

อ.จะทยอยอ่านงานของทุกคนอีกรอบค่ะ ท่านต่อไป อ่านของของใครดี

อันนี้ก็คือ Reflexion ประการแรกของ อ.แหววสำหรับ Health4Stateless หลังจากอ่านรายงานล่าสุดของเอกค่ะ

โปรดติดตามตอนต่อไป ขออนุญาตไปตรวจข้อสอบก่อนค่ะ ขอให้มีความสุขในช่วงปีใหม่ไทยนะคะ

หมายเลขบันทึก: 176998เขียนเมื่อ 15 เมษายน 2008 18:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีค่ะอาจารย์แหวว

  • สารภาพว่าแจ๋วเข้ามาอ่านหลายรอบแล้วค่ะ เพราะอยากร่วมแสดงความคิดเห็นด้วย
  • ประเด็นที่ขออนุญาตสนับสนุนอาจารย์แหววก็คือ การเผยแพร่งานใน e-society เพราะนับตั้งแต่ที่แนทและอี๋เข้ามาเขียนที่ G2K และเมื่อตามมาสมัครด้วยตนเองแล้ว ทำให้มีโอกาสอ่านสิ่งต่างๆ ที่เป็นความรู้ใหม่ๆ มากมาย แม้ว่าบางครั้งจะเป็นการอ่านเงียบๆ โดยไม่มีข้อความแสดงความคิดเห็นในบันทึกนั้นๆ ก็ตาม
  • ขอบคุณค่ะ

ฮิฮิ วันนี้ นะคะ ห้องสมุด ก็เป็น electronic ATM ค่ะ เปิด ๒๔ ชั่วโมง ทำได้ทั้งฝากและถอน

และแล้วในวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๑ คุณใหญ่แห่ง สวปก. ก็ตอบบันทึกนี้ของอาจารย์แหววว่า "เรียน อาจารย์แหวว ที่เคารพรักยิ่ง ต้องกราบขออภัยค่ะ ที่เงียบหายไปนาน (คำแก้ตัว คือ ยุ่งมากก....) แต่ไม่สูญเปล่านะคะ ใหญ่ได้นำเรียนต่อ ผอ. สวรส.ซึ่งเป็นแม่ข่ายของ สวปก. ถึงงานที่เรากำลังศึกษา และที่สำคัญ คือ กำลังหาทางที่จะ เติมเต็ม กระบวนการขับเคลื่อน ทางสังคม (Social Move) พอจะมองเห็นทางสว่างแล้วค่ะ ว่าต่อยอดแนวคิดของอาจารย์อย่างไร เมื่อวานจ๊อบมาที่ สวปก.เล่าว่าช่วงนี้กำลังเดินสายอยู่ตามแนวขอบชายแดน จะกลับเมื่อไหร่ คะ ? คิดถึงค่ะ ใหญ่"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท