ไตรภาคีฯ (Tri-paki) คือ?


ความร่วมมือกันในการพัฒนาสุขภาพชุมชน ในลักษณะของ “สมดุล” ที่ “ไร้ระเบียบ” 3 ส่วน (Tri)ซึ่งมีหลาย ๆ มิติ โดยในแต่ละมิตินั้น จะมีลักษณะของการร่วมกันแสดงเป็นตัวหลักอย่างมีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งมาจาก Pacipation Action Keystone and Interaction: PAKI จึงได้เป็น (Tri-paki)

     Blog "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน" ซึ่งใช้ชื่อในภาษาอังกฤษว่า “tri-paki” มักจะถูกถามด้วยคำถามง่าย ๆ สบาย ๆ ว่าหมายถึงอะไร และทำไมเขียนอย่างนี้ และวันนี้ผมก็ได้รับทราบมาว่า ไตรภาคีฯ ก็ถูกถามขึ้นอีกครั้งโดยกลุ่มนักศีกษา ป.เอก แห่งหนึ่ง ที่มีการนำข้อมูลจาก Blog ไปอ้างอิงถึง ว่าไตรภาคีฯ หมายถึงอะไร มีที่มาที่ไปอย่างไร แล้วทำไมถึงเขียนว่า “tri-paki” คำถามเหล่านี้ลุกชวนให้ผมต้องเขียนบันทึกนี้เพื่อจะได้เกิดความชัดเจน และป้องกันการตอบคำถามซ้ำ ๆ กัน ทั้งนี้ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน เป็นโครงการวิจัยแบบ P(L)AR ที่มีระยะเวลาดำเนินการในขั้นต้นตั้งไว้ที่ 3 ปี ในพื้นที่จังหวัดพัทลุง (รายละเอียดต่าง ๆ จะถูกบันทึกลงใน Blog ไตรภาคีฯ นี้อย่างต่อเนื่อง)

     หากในภาษาไทยแล้ว ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน ก็หมายถึง ความร่วมมือกันในการพัฒนาสุขภาพชุมชน ในลักษณะของ “สมดุล” ที่ “ไร้ระเบียบ” 3 ส่วน (ไตร) หรือ (TRI) ซึ่งมีหลาย ๆ มิติ โดยในแต่ละมิตินั้น จะมีลักษณะของการร่วมกันแสดงเป็นตัวหลักอย่างมีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งมาจาก Pacipation Action Keystone and Interaction: PAKI จึงได้เป็น (Tri-paki) มิติต่างที่ว่าไว้ในขณะนี้ ซึ่งได้การจากดำเนินงานไปค้นหาความสมดุลไป และให้ความหมายไป เช่น

     มิติแนวคิดหลักที่นำมาใช้ “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา”
          1. ความรู้ หรือ ปัญญา
          2. ภาคการเมือง
          3. ภาคประชาชน

     มิติขบวนการจัดการชุมชน
          1. ระยะการใช้แนวคิดในการจัดการชุมนุม (Community Organization)
          2. ระยะการเรียนรู้ปัญหาของชุมชน (Problem based Learning)
          3. ระยะการเรียนรู้ในการวางแผน นำแผนไปสู่ปฏิบัติจริง และการติดตามประเมินผล (Planning, Implementation and Evaluation Learning)

     มิติองค์กรความร่วมมือ
          1. ภาคประชาชน/ภาคเอกชน
          2. ภาคราชการส่วนท้องถิ่น
          3. ภาคราชการส่วนภูมิภาค

     มิติระดับความร่วมมือและเชื่อมประสาน
          1. ชุมชน ตำบล
          2. อำเภอ
          3. จังหวัด

     มิติการดูแลสุขภาพ
          1. ดูแลตนเอง ดูแลกันเอง
          2. ดูแลโดย จนท.ที่ไม่ใช่แพทย์
          3. ดูแลโดยแพทย์ หรือผู้เชี่ยวชาญ

     มิติต้นทุนทางด้านสุขภาพ
          1. ไม่ใช่คน (แหล่งโบราณสถาน, ประเพณี, วัฒนธรรม, ฯลฯ)
          2. กำลังคน (คนในส่วนที่เป็นกำลังงาน, การทำงาน)
          3. ภูมิปัญญาของคน (คนในส่วนที่เป็น Tacit K.)

     มิติด้านเวลา ที่จะทบทวน คำนึงถึง และคาดการณ์
          1. อดีต
          2. ปัจจุบัน
          3. อนาคต

     มิติของฐานในการเดินเรื่อง
          1. ใช้พื้นที่
          2. ใช้กลุ่มคน
          3. ใช้ระบบบริการสุขภาพ

     มิติในการสร้างพลัง (Empowerment) แก่ชุมชน
          1. การสร้างพลังให้ตัวบุคคล
          2. การสร้างพลังในองค์กร
          3. การสร้างพลังในชุมชน เป็นระบบคุณค่าทางสังคม (Social Value)

     มิติของกลุ่มเป้าหมายหลัก
          1. วัยเด็กและเยาวชน
          2. วัยผู้ใหญ่
          3. วัยผู้สูงอายุ

     มิติของบริบทพื้นที่
          1. เมือง
          2. กึ่งเมือง กึ่งชนบท
          3. ชนบท

     มิติของรูปแบบในการดำเนินการวิจัย
          1. ใช้พื้นที่ชุมชนขับเคลื่อนเพื่อเดินเรื่องเอง มากที่สุด
          2. ใช้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขับเคลื่อนเพื่อเดินเรื่อง มากที่สุด
          3. ใช้ราชการส่วนภูมิภาคขับเคลื่อนเพื่อเดินเรื่อง มากที่สุด

     มิติในเรื่ององค์ประกอบของนักวิจัย
          1. H = นักวิชาการที่แทบจะไม่ค่อยได้ลงมือปฏิบัติ หรือจะเรียกว่านักทฤษฎี (Hard Theorist)
          2. O = นักวิชาการที่คอยอำนวยการเพื่อให้เกิดเชื่อมโยงระหว่างทฤษฎีสู่การปฏิบัติ และ การปฏิบัติสู่ทฤษฎี (Operative Man)
          3. H = นักปฏิบัติตัวยงที่ไม่ค่อยได้รับรู้หรือเข้าใจในทฤษฎีอะไรมากนัก (Habituate Man)

ฯลฯ

หมายเลขบันทึก: 17697เขียนเมื่อ 6 มีนาคม 2006 00:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
สิ่งที่ get เพิ่มขึ้น (ยิ้ม) ติดตาม...โครงการ "ไตรภาคีร่วมพัฒนาสุขภาพชุมชน"... ศึกษา...คิด...วิเคราะห์...พยายามตีความ...และสร้างความหมาย (Meaning Making) เพื่อให้ได้ถึง..ลึกในระดับ...Meaningfull ---> Understanding และสามารถ Representation ออกมาได้.... แต่..ก็ยังยอมรับได้ว่า...ยังไปไม่ถึง.."คุณชายขอบ"..ได้ให้ แง่คิดและTechnique บางอย่างในการศึกษา นั่นคือที่ว่า..."อยากเห็นช้างทั้งตัว..ต้องเดินถอยหลังออกมาอีกสักนิด"... ทีแรก..ฟังไม่เข้าใจ..ครุ่นคิดอยู่สักพัก... ...ถึงได้ get ว่า...อ้อ.."คุณชายขอบ"...บอกว่า ใน Blog ที่คุณชายขอบเขียนบันทึกนี้ มีภาพของโครงการ "ไตรภาคีร่วมพันฒนาสุขภาพสุมชน"...หากอยากเห็นภาพความเข้าใจ (Mental Model) ก็คงต้องย้อนกลับไปดูบันทึกของ คุณชายขอบ..ทั้งหมด...นี้ อาจจะเห็น.."ช้าง"..ทั้งตัวก็ได้ (ฮา).. และสามารถได้คำตอบของคำถามที่ว่า ไตรภาคีฯ (Tri-paki) คือ? (ยิ้ม)
วิรัตน์ คำศรีจันทร์

น่าประทับใจมากเลย ขอบคุณมากครับที่นำประสบการณ์และ  บทเรียนจากความทุ่มเทมากมายมาแบ่งปันให้  ผมอาจร่วม    เติมต่อแนวทางของคุณอนุชาได้บ้างเล็กน้อยครับ เพราะเวลาพัฒนาพื้นฐานการคิด  ออกแบบ  และปฏิบัติ  ผมก็มีกรอบอย่างหนึ่งที่สอดคลอ้งกับที่คุณอนุชาและเครือข่ายใช้เช่นกัน คือ เวลาคิดและทำวิจัยชุมชนทางด้านสุขภาพหรืออื่นๆ ควรมีความเป็นบูรณาการ ให้มีความครอบคลุมและมีดุลยภาพ มากกว่าการคิดและทำแบบแยกส่วน หรือทำแค่มิติเดียว ขณะเดียวกัน ในทางระเบียบวิธี ก็จะเป็นเพิ่มความเชื่อมั่น ลดความคลาดเคลื่อนและเพิ่มพลังที่จะส่งผลต่อการอธิบายสิ่งที่เราสนใจได้มากกว่าทำมิติเดียวแน่ๆ อย่างเป็นทวีคูณ หรือเพิ่มพลังการคิดแบบ Matrix ดังนั้น ต้องฝึกที่จะคิดและริเริ่มสิ่งต่างๆให้ได้อย่างน้อย 3 มิติ และ 3 ด้านในแต่ละมิติ เช่น

  1. การิเริ่มและการปฏิบัติให้ครอบคลุมอย่างน้อย 3 เงื่อนไข (1) จากสิ่งที่ทำอยู่แล้วและเกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพ (2) จากสิ่งที่ทำอยู่แล้วแต่ยังไม่สะท้อนความเชื่องโยงและเกี่ยวเนื่องกับการสร้างเสริมสขภาพ (3) จากสิ่งที่จะต้องริเริ่มขึ้นใหม่ 
  2. การเรียนรู้ 3 ด้าน (1) หลักวิชาและหลักทฤษฎี (2) การลงปฏิบัติ (3) การติดตามดูผล ได้ผลเป็นสัมมา และได้ความงอกงามทางปัญา
  3. การสังเกตและการสังเคราะห์บทเรียน อย่างน้อย 3 จุดยืน (1) จุดยืนร่วมอยู่กับคนในชุมชนหรือคนที่ร่วมทุกข์สุข (2) จุดยืนของนักวิจัยและคนเรียนรู้จากภายนอก (3) จุดยืนแบบคนกลางที่ไม่เกี่ยวข้องกับคนในและนอกชุมชน

กระบวนคิดเป็นแบบนี้ ถ้าเขียนออกมาเป็นตารางไว้หรือทำเป็นแผนที่การคิดในหัว มันก็จะเป็นทวีคูณอยู่ตลอดเวลาเท่าที่เราอยากคิด

 

ความต่างที่มีจุดร่วม... จากข้อสังเกตที่พบในกระบวนการทางปัญญา (Mental Process) จากสิ่งที่สะท้อนออกมา (Representation) ผ่านบันทึกของ “คุณชายขอบ” และข้อคิดเห็นของ “คุณวิรัตน์ คำศรีจันทร์”... ต่างล้วนบ่งบอกความงดงาม...ทั้งปัญญา..และจิตใจ ที่มีเจตนาที่ดีงาม..ในความเชื่อ..ที่มีต่อความเป็น “มนุษย์” ขอชื่นชมใน “อุดมการณ์” ที่พยายามสานฝันนั้นให้เป็นจริงคะ
ขอขอบพระคุณคุณวิรัตน์ คำศรีจันทร์ เป็นอย่างมาก ที่เติมเต็มทั้งในส่วนของเนื้อหาสาระความรู้ อีกทั้งแรงใจ ว่าไม่ได้เดินพลัดหลงตามฐานคิดที่เชื่อมั่น ทำให้รู้สึกมั่นใจเพิ่มขึ้นอีกมาก จากบันทึกของท่าน ทางทีมงานและผมได้นำไปพูดคุยสนทนากันอย่างกว้างขวาง จึงอยากเชื่อมต่อเพื่อขอ ลปรร.กับท่านอีกมากครับ ขอขอบพระคุณอีกครั้งครับ ด้วยความจริงใจ
สำหรับ Dr.Ka-poom ผมรู้สึกดีมากที่ได้นำคำสำคัญอันเกิดจากการสนทนา ที่ไม่ได้ปรากฎไว้อย่างยั่งยืน หากไม่ได้นำมาบันทึกไว้ ผมพูดไปแล้วก็ลืมแล้ว แต่พอคุณนำมาบันทึกไว้ รู้สึกตัวว่าพูดออกไปเองเหรอ "อยากเห็นช้างทั้งตัว..ต้องเดินถอยหลังออกมาอีกสักนิด" ชอบจัง...ทั้งที่ได้พูด และชอบที่คุณนำมาบันทึกไว้ ขอบคุณด้วยนะครับ และขอขอบคุณในประเด็นที่ช่วยเสริมแรงใจให้ด้วยใน คห.ถัดมา
ยินดีนะครับ และรู้สึกดีมากที่คุณดอกหญ้ากล่าวไว้ เป็นธรรมดาที่เราจะรับรูได้ว่าคุณคิดเชิงบวกมาก ๆ จากถ้อยคำนี้ "ได้ความรู้เยอะเลยนะคะ แม้จะเป็นผู้ด้อยปัญญาก็เกิดปัญญาได้ นี่แหละเค้าถึงบอกว่า คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล" เรารู้ไม่เหมือนกันครับ แต่ใช่ว่าใครจะรู้ดีกว่าใคร หนทางที่ดี จึงควรที่จะได้ ลปรร.กันฉันมิตร ยินดีด้วยใจจริงครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท