การประชุมภาคีจัดการความรู้ภาควิชาการ ครั้งที่ 2


KM

เมื่อ 16 กุมภาพันธ์ 2549 ทางสถาบันบำราศนราดูร ประกอบไปด้วย ผู้อำนวยการ, รองผู้อำนวยการฝ่ายการพยาบาล คุณเยาวรัตน์  อินทอง  และเจ้าหน้าที่ที่สนใจประมาณ 9 คน คือ คุณถนอมจิตต์ ดวนด่วน, คุณอรทัย โสมนรินทร์, คุณพรศิริ เรือนสว่าง, คุณเครือวัลย์ บุญโต, คุณพัชรา สุนทรารชุน,คุณปัทมาวดี เติมวิเศษ, คุณพรลัดดา บุญจันทร์ และคุณชนกพรรณ ดิลกโกมล ได้ไปร่วมประชุมที่โรงพยาบาลศิริราชโดยมีการเสนอผลการวิจัย เรื่อง วัฒนธรรมองค์กร มีผลต่อการจัดการความรู้อย่างไร การจัดทำแผน KM ตามขั้นตอน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิต ความก้าวหน้าของ KM จังหวัดสมุทรสงคราม และการดูงาน KM – The Toyota way ที่สมุทรปราการ หลังจากฟังแล้วพวกเราได้ทำ After Action Review ระหว่างนั่งรถกลับสถาบัน เท่าที่สังเกตทุกคนดูพอใจกับความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการประชุมครั้งนี้ 

การประชุมครั้งนี้ มีผู้ที่ขยัน 2 ท่าน คือ คุณปัทมาวดี เติมวิเศษ และคุณชนกพรรณ ดิลกโกมล ได้เขียนข้อสรุปเรื่องวัฒนธรรมองค์กรมีผลต่อการจัดการความรู้อย่างไร และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำแผน KM ตามขั้นตอนของ ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตที่เสนอโดย ดร.ประพนธ์ ผาสุกยืด

เนื่องจากรายละเอียดน่าจะดูจาก Web site ของโรงพยาบาลศิริราช ทางผู้อำนวยการได้สรุปข้อมูลเท่าที่คิดว่าเป็นประโยชน์ ดังนี้

  1. วัฒนธรรม LO ประกอบด้วย Learn - care - Share - Shine ซึ่งอาจารย์แปลออกมา คือ สร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ในคน เริ่มเอาใจเขามาใส่ใจเรา เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ และส่งเสริมคนดีโดยผู้บริหารให้รางวัลให้เกิดความภาคภูมิใจ (รายละเอียดดูจาก Web ของ อาจารย์ประพนธ์ ผาสุขยืด)
  2. อาจารย์  นพ.วิจารณ์ พานิช เล่าถึงมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ สนับสนุนการเล่าเรื่องเล็กๆ น้อยๆ แลกเปลี่ยนกันโดยมีการทำ OD ก่อน, มีการคุยกันแต่ละหน่วยงาน จะเห็นอกเห็นใจกัน ยอมให้มีการเกลี่ยคนได้มากขึ้น ที่ภาควิชาพยาธิ ของ มอ. ได้แสดงพลังของการเล่าเรื่องโดยที่ไม่ได้บอกลูกน้องว่าทำ KM เกิดโครงการ Patho OTOP สิ่งที่เกิดขึ้น คือ คนภูมิใจในงานตนเอง, การปรึกษาเกิดพลังอย่างมาก และมีการขับเคลื่อนด้วยความสำเร็จ
  3. มีความเห็นจากเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร กรมอนามัย กรมสุขภาพจิต เสนอร่างงานของส่วนราชการยังไม่ค่อยมีการบูรณาการ มีการแยกส่วนกันดูแล ซึ่งคงเป็นปัญหาเหมือนๆ กันของงานราชการ
  4. อาจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช เล่าถึง องค์กรของบริษัท Toyota ที่ขายของได้อันดับสี่ แต่ทำกำไรได้อันดับหนึ่ง โดยลด wast เป็น organization ใช้ CQI และ Respect people คอย challenge ตลอดเวลาโดยทำหลายๆ ชั้นของ managerต่างๆ ในการพัฒนาไม่ย้ำ KM และ Knowledge และอาจารย์บอกว่าเป็นองค์กร LO โดยไม่เน้น LO
  5. อาจารย์ นพ.วิจารณ์ พานิช เน้นเรื่อง AAR (After Action Review) โดยอาจารย์เห็นว่า เมื่ออาจารย์ไปดูงานที่ไหนจะสามารถเห็นเรื่องดีๆ ไม่ถึง 1 ใน 3 ที่เหลือจะได้จากคนอื่นๆ การทำ AAR จะมีประโยชน์มาก

ทางสถาบันพยายามทำ AAR และ LO แต่คงต้องอาศัยบุคลากรทุกระดับมาร่วมกันทำองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยไม่รู้สึกว่าเรากำลังทำ LO กันอยู่ ส่วนจะสำเร็จหรือไม่ก็สามารถ Share ได้ค่ะ

อัจฉรา  เชาวะวณิช

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 17256เขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2006 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 09:20 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีจังค่ะที่แต่ละหน่วยงานมีการนำเรื่องในเวทีประชุมจัดการความรู้ภาคีราชการไปคุยกันต่อ และสรุปบทเรียน   ทำให้เห็นว่าเวทีนี้มีประโยชน์ต่อทุกภาคีที่เข้ามาร่วมและทุกคนเป็นเจ้าของเวที....รู้สึกดีใจค่ะ 

คิดว่า Learn - care - Share - Shine

น่าจะเป็นสิ่งที่คุณอำนวย( facillitator)ใช้ประเมินตนเองด้วย
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท