จรัณธรเขียนเมื่อ 5 มีนาคม 2549 19:12 น. ()
แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2555 13:45 น. ()
ผลกระทบของการเปลี่ยนสภาพระบบไร่เลื่อนลอยแบบดั้งเดิมเป็นระบบไร่เลื่อนลอยแบบปัจจุบัน ต่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยุ่ของชุมชน
ผมอ่านงานวิจัยของนักวิจัยร่วมญีปุ่นกับไทยหลายเรื่อง
ที่ศึกษาถึง ระบบไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิมเชิงนิเวศวิยาในพื้นที่ภูเขาหรือบนที่สูงของชาวไทยภูเขา
ซึ่งผมว่าในสภาพปัจจุบันนี้ ระบบไร่หมุนเวียนแบบดั้งเดิมหรือ
traditional shifting cultivation คงเปลี่ยนไปมากพอสมควร
การทิ้งร้างพื้นที่เพราะปลูกเป็นระยะเวลานาน ตั้งแต่สิบปีขึ้นไป
คงพบได้ยากในปัจจุบัน
เนื่องจากความขัดแย้งด้านการใช้ทรัพยากรที่ดินมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น
ระยะการทิ้งร้างในระบบ ไร่หมุนเวียน เป็นสิ่งจำเป็นมาก
ทำให้ดินฟื้นฟูตัวเองในแง่ความอุดมสมบูรณ์ของดิน โดยใช้พืชพรรรณของ
secondary foresy ป่ามาช่วยพื้นฟูสะสมธาตุอาหาร
รวมทั้งช่วยระงับการแพร่กระจายของวัชพืช
ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะต้องมีระยะเวลายาวนานเพียงพอ จะกี่ปี
ก็ขึ้นอยุ่กับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และสภานภาพดั้งเดิมของดิน
ในพื้นที่นั้น
แต่ปัจจุบันการทิ้งร้างของไร่ คงย่นระยะเวลามาเป็นไม่กี่ปี
และปลูกพืชติดต่อกันยาวนานขึ้น เช่น สามถึงห้าปี ติดกัน ให้เกิด แบบ
over-intensification หรือ over-cultivation
อาจส่งผลถึงคุณภาพดินในแง่ของผลผลิตลดลง
ผมว่าระบบไร่เลื่อนลอยที่กระจายอยู่ในประเทศ
คงมีสภาพการเปลี่ยนแปลงใกล้เคียงกัน
โดยกำลังเปลี่ยนไปเป็นการเพาะปลูกพืชไร่ที่ต่อเนื่องยาวนานขึ้น
หรือเปลี่ยนเป็นการเพราะปลูกไม้ผลแทน
การใช้ปุ๋ยและสารเคมีอย่างเข้มข้น คงหลีกเลี่ยงไม่ได้
ถ้าต้องการคงสภาพผลผลิตให้คงที่เท่าเดิม
ประเด็นคือผมสนใจและอยากได้ข้อคิดเห็น
เกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนสภาพระบบไร่เลื่อนลอยแบบดั้งเดิมเป็นระบบไร่เลื่อนลอยแบบปัจจุบัน
ต่อสภาพแวดล้อมและความเป็นอยุ่ของชุมชน
ถ้าทราบกรุณาแนะนำแหล่งข้อมุลด้วยนะครับ
ความเห็น
ไร่เลื่อนลอย กับไร่หมุนเวียน ต้องการถามไรขอรับ ไร่เรือนลอยเองแทบไม่เหลืออยู่แล้ว แต่จะมีไร่หมุนเวียน ซึ่งระยะหมุนก็สั้นลงอย่างที่ว่าจริง และมีผลต่อการปลูกพืชด้วย คนอื่นว่าไงครับ