KM เชิง พุทธศาสนาตอน อิทธิบาท 4 เพื่อการจัดการองค์ความรู้อย่างสม่ำเสมอ


อิทธิบาท 4 เพื่อการจัดการองค์ความรู้อย่างสม่ำเสมอ

KM เชิง พุทธศาสนา

ตอน อิทธิบาท 4 เพื่อการจัดการองค์ความรู้อย่างสม่ำเสมอ

บทความโดย ฉสุภ  ตั้งเลิศลอย

บทความนี้ข้าพเจ้าได้เขียนขึ้นเองด้วยแนวทางพุทธศาสนา

ได้ใช้การอ้างอิงเท่านั้นมิได้คัดลอกมาจากที่ไดทั้งสิ้น

 


          ในครั้งนี้ข้าพเจ้าจะขอนำเสนอบทความเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการจัดการองค์ความรู้ ตามวิถีพุทธศาสนา ต่อจาก 2 ครั้งที่แล้วคือ หลักแห่งหัวใจนักปราชญ์ และหลักแห่งกาลามสูตร ซึ่งทั้งสองหลักการนั้นมีมาก็เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถทำการจัดเก็บองค์ความรู้อย่างมีหลักการ(หัวใจนักปราชญ์) และการกรองข้อมูลที่รับเข้ามา(หลักกาลามสูตร) ได้เป็นอย่างดี

          ทีนี้ถึงแม้เรามีหลักการในการจัดการรวบรวมความรู้ดังกล่าวแล้ว แต่นั่นก็จักมิได้รับประกันว่าเราจะประสบผลสำเร็จในการจัดการองค์ความรู้ ทั้งนี้เพราะบ่อยครั้งที่การจัดการองค์ความรู้มักเกิดมาเพื่อแสดงถึงความทันสมัยหรือวูบวาบเป็นครั้งเป็นคราวเท่านั้น เมื่อทำไป ๆ ก็จะค่อย ๆ ซาและเลิกลาไปในที่สุด ในวันนี้ข้าพเจ้าจึงขอเสนอหลักแห่ง “อิทธิบาท 4” ทั้งนี้เพื่อให้การจัดการองค์รู้นั้นถูกกระทำอย่างต่อเนื่อง และได้ผลอย่างสูงที่สุด

          “อิทธิบาท 4” เป็นธรรมมะพื้นฐานที่จะได้ถูกนำมาใช้อยู่อย่างบ่อยครั้ง ท่านอาจารย์พุทธทาศได้ให้คำแปลไว้อย่างเข้าใจได้ง่าย ๆ ว่า

 

.ฉันทะ คือ ความพอใจรักใคร่ในสิ่งนั้น
๒. วิริยะ คือ ความพากเพียรในสิ่งนั้น
๓. จิตตะ คือ ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในสิ่งนั้น
๔. วิมังสา คือ ความหมั่นสอดส่องในเหตุผลของสิ่งนั้น

 

          ท่านผู้อ่านก็คงสงสัยอีกว่าแล้วมันไปเกี่ยวข้องกับการจัดการณ์องค์ความรู้อย่างไร ดังนี้แล้วข้าพเจ้าต้องได้ขอเสนอแยกเป็นข้อ ๆ พร้อมยกตัวอย่างประกอบ เพื่อให้ท่านได้เข้าใจว่า “อิทธิบาท 4” นั้นแนบแน่นและจำเป็นอย่างยิ่งที่นักจัดการองค์ความรู้ต้องมีอย่างไร

          ด้วยเหตุผลง่าย ๆ ว่าทำไมในหลาย ๆ คนมักทำโครงการ การจัดการณ์องค์ความรู้ไม่สำเร็จ หากจะตอบข้อนี้อย่างตรงใจที่สุดแล้วนั่นก็ต้องใช้หลัก “อิทธิบาท 4” ในการอธิบายเลยนั่นเทียว

          เช่นเรามีความรู้อย่างดี และพยายามจะทำโครงการการจัดการณ์องค์ความรู้มานาน แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ นั่นก็เพราะเราอาจจะไม่มีใจรักที่จะทำ ไม่มีใจในการลงมือบันทึกองค์ความรู้เข้าสู่ระบบเลย

          หากจะทำโครงการนี้ให้สำเร็จได้นั้นอันตับแรกต้องทำใจ สร้างความปราถนาอย่างแรงกล้าเองว่าการที่บันทึกองค์ความรู้นั้นจะสร้างประโยชน์อย่างเอนกอนันต์อย่างไร หรือก็คือสร้าง “ฉันทะ” ให้เกิดก่อนั่นเอง ทีนี้เมื่อมีฉันทะในเรื่องการจัดการองค์ความรู้แล้ว ต่อมาก็ต้องใช้ความพยายามพากเพียรให้สำเร็จใน งานที่เราจะทำซึ่งในที่นี้คือสิ่งที่เราได้มาจากฉันทะนั่นเองเมื่อความพากเพียรเกิดแล้วตัวพากเพียรนี่เองที่เรียกว่า “วิริยะ” ทีนี้อาการต่อไปของอิทธิบาท 4 มันจะสอดประสารเกิดก่อขึ้นเองโดยอัตโนมัติ คืออาการเอาใจใส่และฝักใฝ่ในสิ่งที่ต้องการทำหรือในที่นี้คือการทำโครงการจัดการองค์ความรู้เมื่อฝักไฝ่อยู่อย่างสม่ำเสมอแล้วทุก ๆ นาทีที่ว่าง หรือเห็นสิ่งใดพบสิ่งใดที่เป็นความรู้แล้วก็จะเกิด “จิตตะ” อย่างที่เราไม่รู้ตัว พอถึงที่สุดแล้วจากการที่รอให้เกิดองค์ความรู้และดูตลอดเวลาแล้วก้าวต่อไปของอาการแห่งอิทธิบาท 4 ก็จะเกิดขึ้นคือกระหายอยากในความรู้ จากที่เคยรอดูอยู่ด้วยอาการจิตตะ จะเปลี่ยนเป็นการค้นคว้าหาองค์ความรู้ และหาเหตุและผลที่จะได้รับจากองค์ความรู้ออกมา ซึ่งตรงนี้ก็จะได้ตัว “วิมังสา” ไปโดยปริยาย

          เมื่อกล่าวสรุปความแล้วหากเราสามารถสร้างอิทธิบาท 4 ให้กับโครงการจัดการองค์ความรู้ของเราได้แล้วนั้น มันก็จะไม่รู้สึกว่าการขัดการองค์ความรู้นี้เป็นโครงการหรือเป็นงาน แต่จะรู้สึกได้ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งแห่งวิถีชีวิตรเลยทีเดียว

 

หมายเลขบันทึก: 175789เขียนเมื่อ 8 เมษายน 2008 00:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 สิงหาคม 2013 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท