เจาะลึก hi5 : ทำงานมากเท่าไหร่ก็ได้เครือข่ายมากเท่านั้น


จากโจทย์ที่ได้รับให้จัดเสวนาในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้จักเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น

เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคม สื่อ  และหลายๆ ฝ่าย พูดถึงเรื่อง พระเล่น hi5  วิศวกรระบบของอุทยานการเรียนรู้เมืองนครศรีธรรมราช(CLP)  ได้เสนอให้ จัดเสวนา เรื่องนี้ขึ้นมา  เนื่องจากเยาวชนที่มาใช้บริการอินเตอร์เนตที่ CLP  ในช่วงนี้ ใช้บริการ hi5 กันเยอะมาก  ความตั้งใจของภัชคือ ต้องการจะจัดในเดือนเมษายน 51 เพราะช่วง เดือนเมษายน - พฤษภาคม 2551  กำหนดจัดกิจกรรมตามวาระการเรียนรู้ เรื่อง IT    แต่ ดร. กณพ  เกตุชาติ ซึ่งเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร CLP เสนอแนะให้จัดช่วงเดือนมีนาคมนี้เลย   CLP จึงต้องรีบดำเนินการเรื่องวิทยากรว่าจะเชิญท่านใดมาเป็นวิทยากรได้บ้าง       ซึ่ง ดร. กณพ ให้โจทย์ มาว่า ต้องการจะให้มีวิทยากร 3 ท่าน   เป็นนัก IT 1 ท่าน    คนในท้องถิ่นที่สามารถพูดในเชิงสังคมได้ 1 ท่าน  และตัวแทนเยาวชนที่เล่น hi 5   1 ท่าน 

 CLP กำหนดวันเสวนาเป็นวันที่ 23 มีนาคม 2551

อันดับแรกติดต่อไปที่ ผศ ดร บุญญฤทธิ์  อุยยานนวาระ  ซึ่งเป็น นัก IT  และ เป็น webmaster วิชาการดอทคอม เป็นอาจารย์สอนอยู่ที่มหาวิทยาลัยนานาชาติสิรินธร   แต่ท่านไม่ว่าง แต่แนะนำวิทยากรท่านอื่นมาให้  คือคุณปรเมศว์  มินศิริ  webmasterของ kapook.com  แต่คุณปรเมศว์ไม่ว่าง  เลยแนะนำให้เชิญ คุณศรีดา  ซึ่งเป็นเครือข่ายผู้ปกครองจากมูลนิธิอินเตอร์เนตเพื่อพัฒนาประเทศไทย   แต่คุณศรีดาไม่ว่าง  แต่แนะนำให้ติดต่อ มือปราบไซเบอร์ พันตำรวจเอก  ญาณพล  ยั่งยืน จาก DSI  เป็นความโชคดีที่ มือปราบไซเบอร์ไม่มีภาระกิจใดในวันนั้น  ก็เลยสรุปว่า วิทยากรจากส่วนกลางที่เป็นนัก IT  ก็คือท่านญาณพล   อีกท่านหนึ่ง CLP ติดต่อโดยตรงไปที่ webmaster เด็กดีดอทคอม  เนื่องจากคิดว่า  web ดังกล่าวเป็น web ที่ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชน  เลยส่ง mail เสี่ยงโชคไปเรียนเชิญเป็นวิทยากร  ซึ่งคุณปกรณ์  ก็ได้ตอบ mail กลับมาว่ายินดีเป็นวิทยากรให้ 

เหลือวิทยากรอีกท่านหนึ่งตามโจทย์ที่ได้รับ คือ เยาวชนที่อยู่ในจังหวัดนครศรีธรรมราช  ตอนแรกติดต่อไปที่ ดีเจบอล ซึ่งขวัญใจวัยรุ่นเมืองคอน  แต่พี่ทีมงานวิทยุชุมชนเทศบาล ได้แนะนำ ดีเจต๊ะ ให้ ก็ลองเชิญมาพูดคุยกันที่ CLP   ก็พบว่า ดีเจต๊ะ ก็มีคุณสมบัติเหมาะสม  คือ เป็นดีเจที่เรียนจบมาทางด้านวิศวกรรม   เล่น hi 5   อายุก็ยังวัยรุ่นอยู่ 

ก็เลยสรุปสุดท้ายว่าได้วิทยากร ทั้ง 3 ท่าน ซึ่งเป็นไปตามโจทย์ที่ได้รับ   ภาระกิจต่อมาที่จะต้องดำเนินการคือเรื่องของผู้เข้าฟัง  เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงปิดเทอม การที่จะเชิญนักเรียนมาฟังเสววนานนั้นเป็นเรื่องยากมาก  แต่ CLP ก็หาทางแก้ปัญหานี้ ด้วยการประสานงานไปยังประธานชุมชนต่างๆ ที่อยู่ในเขตเทศบาล เพื่อขอความร่วมมือในการประชาสัมพันธ์การเสวนานี้ให้กับเด็กและเยาวชนในชุมชน 

ก่อนหน้านี้ CLP ไม่ได้ลงไปทำความคุ้นเคยกับชุมชนมากนัก  ชุมชนเองก็ยังไม่รู้จัก CLP มากพอ  ตอนแรกก็หวั่นๆ ว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่  แต่ก็ต้องลองดู  เริ่มต้นจากการเข้าไปพบกับประธานชุมชนโดยอาศัย นายช่างของเทศบาล ที่สัมผัสและรู้จักกับประธานชุมชนเป็นอย่างดี เป็นสะพานเชื่อมให้ เมื่อไปคุยกับประธานชุมชนเพื่องานเสวนานี้  ก็พบว่าชุมชนเองก็ประสงค์จะร่วมกิจกรรมกับ CLP เช่นกัน เพียงแต่ไม่รู้ว่าจะเข้ามาพูดคุยกับใคร และอย่างไร   ก็เลยได้โอกาสนี้คุยเรื่องกิจกรรมอื่นๆ ไปด้วย

ในวันเสวนา พบว่า CLP จัดที่นั่งไว้ 150 ที่  แต่มีเด็กและเยาวชน รวมถึงผู้ปกครองเข้าร่วมเสวนามากถึง 200 คน     ถือว่า CLP  ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ชุมชนพึงพอใจกับกิจกรรมของ CLP

จากโจทย์ที่ได้รับให้จัดเสวนาในครั้งนี้ ทำให้ได้รู้จักเครือข่ายเพิ่มมากขึ้นซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ 

1. เครือข่ายจากส่วนกลาง  ได้แก่ คุณปรเมศว์  คุณศรีดา   คุณปกรณ์  และ มือปราบไซเบอร์  ซึ่งจากการได้รู้จักกับกลุ่มนี้ทำให้เกิดการประสานงานในการจัดกิจกรรมอื่นๆ ต่อเนื่องออกไป เช่น การอบรม webmaster   และโครงการอบรม DSI CYBER FORCE  

2.เครือข่ายที่เป็นประธานชุมชนของเทศบาลนครนครศรีธรรมราชเอง  ซึ่งหลังจากวันนั้น  ก็ได้มีการประชุมปรึกษาหารือเพื่อจัดกิจกรรมพัฒนาเยาวชนในชุมชน  ซึ่งจะเริ่มต้นจาก เรื่องที่วัยรุ่นชอบ  คือดนตรี   และคอมพิวเตอร์ 

 

หมายเลขบันทึก: 175562เขียนเมื่อ 6 เมษายน 2008 14:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2012 14:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท