kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

ความรู้คู่ช่องปาก : ปวดฟัน ...ปวด...ปวด...ปวด...โอ้ย...ปวด


อาการปวด จะช่วยเสริมให้ทันตแพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้อง เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง และสำเร็จ มากยิ่งขึ้น

           ฟันของเราไม่ว่าจะเป็นฟันแท้ หรือฟันน้ำนมนอกจากให้ประโยชน์เรื่องความสวยงาน การใช้เคี้ยว การดัด ฉีก การออกเสียง การสร้างภาวะสมดุลในช่องปากแล้ว  ยังมีโทษด้วยนั้นคือหากรักษาไม่ดี ก็จะปวด.........

           อาการปวดฟันเป็นอย่างไรบ้าง พอจะจำแนกได้ดังนี้

  • เสียวฟัน แบบเล็ก ๆ  พอให้รำคาญ มักเกิดเมื่อมีสิ่งกระตุ้น เช่นน้ำร้อน เย็น อาหารหวาน เปรี้ยว อันนี้อาจเกิดจากระยะแรกของการผุ หรือฟันสึก กินเข้าไปในเนื้อฟัน แก้ได้โดยอุด หรืออมบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากฟลูออไรด์ หรือตามที่เห็นโฆษณา
  • เสียวฟันแบบไม่เล็ก และแปล๊บเข้าไปในกระดูก อันนี้คงจะกินเข้าไปในเนื้อฟันมากแล้ว (จนเกือบทะลุโพรงประสาทฟัน)  แก้โดยการอุดฟัน หรือครอบฟัน
  • ปวดแบบจี้ด เมื่อมีสิ่งกระตุ้น แต่เมื่อไม่มีสิ่งกระตุ้นก็ไม่ปวด (สังเตเวลานอนหลับไม่ลุกขึ้นมาปวด) การปวดลักษณะนี้จะรักษายากหน่อย เพราะบางครั้งการผุอาจจะมีเชื้อเข้าไปในโพรงประสาทฟันแล้ว แต่ทันตแพทย์มองไม่พบ เนื่องจากรอยทะลุเล็กมาก ๆ ดูภาพรังสีก็ไม่เห็นรอยโรค  การรักษาโดยอาจจะอุดโดยใส่ยาบริเวณจัดลึก แล้วดูอาการ หากอาการปวดยังไม่หาย อาจต้องมารักษาโพรงรากฟัน
  • ปวดแบบ อยู่เฉย ๆ ก็ปวด  อันนี้ดูได้จากต้องตื่นนอนมากินยาแก้ปวด   แก้โดยรักษารากฟัน หรือถอน
  • ปวดแบบไม่จื้ด แต่ปวดหน่วง ๆ อาจร้าวไปถึงสมอง อันนี้อาจเกิดจากฟันผุจนโพรงประสาทถูกทำลายหมดแล้ว แต่มีการอักเสบที่ปลายรากฟัน  ดูได้จากการเคาะฟัน จะมีอาการปวดเพิ่มขึ้น และอาจมีตุ้มหนองที่เหงือกบริเวณปลายรากฟันซี่นั้น ๆ  รักษาโดยการรักษารากฟัน หรือถอน
  • ปวดแบบตึบ ๆ ไม่จี้ดแบบฟันผุ ลักษณะนี้มักเกิดจากการเป็นโรคปริทันต์ อาจสัมพันธ์กับเหงือกอักเสบ  ฟันโยก หรือมีการบวมที่ขอบเหงือก  รักษาโดยรักษารากฟันร่วมกับการรักษาโรคเหงือก หรือถอน
  • บางครั้งอาจมีอาการปวดแบบไม่เห็นรอยผุ  ต้องแยกให้ถูก เพราะบางครั้งอาจเกิดจากฟันร้าว ซึ่งมองไม่เห็น ต้องอาศัยจากประวัติการเกิดอุบัติเหตุ เช่นการเคี้ยวที่ไม่ปกติ  การแก้ไขอาจต้องถอน หรือครอบฟันดูอาการ เพราะโอกาสหายน้อย 
  • การปวดที่ไม่พบฟันผุอาจเกิดจากการที่รากฟัน (เป็นฟันกรามบนเท่านั้น) จุ่มเข้าไปในโพรงอากาศของขากรรไกรบน (Sinus) อันนี้มักมีอาการสัมพันธ์กับโรค sinus อักเสบ ดูได้จากเอกซเรย์ รากฟันจะยื่นยาวเข้าไปใน sinus อาการปวดจะสัมพันธ์กับการเคลื่อนไหว เช่นก้มศรีษะขึ้นลงอาการปวดจะปลี่ยนแปลงไป  หรือลองปิดจมูกแล้วพยายามหายใจออกทางหู หากปวดฟันมากขึ้น แก้ไขโดยพยายามอย่าให้ sinus อักเสบ
  • นอกจากนั้นความรุนแรงของการปวด อาจแบ่งได้เป็นแบบเฉียบพลัน Acute (ปวดมาก จนบางคนทนไม่ได้ และคิดว่าเป็นการปวดมากที่สุด รองลงมาจากการปวดคลอดลูก) และการปวดแบบเรื้อรัง Chonic (เป็นการปวดแบบรำคาญ)

สำหรับอาการปวดฟัน ก็พอแบ่งคร่าว ๆ ได้ตามนี้นะครับ  หากท่านใดมีอาการปวดที่นอกไปจากนี้ ช่วยบอกด้วยนะครับ  เพราะอาการปวด จะช่วยเสริมให้ทันตแพทย์วินิจฉัยได้ถูกต้อง เพื่อให้การรักษาที่ถูกต้อง และสำเร็จ มากยิ่งขึ้น  ขอให้ทุกท่านโชคดี... ไม่ปวดฟันนะครับ .... ขอบคุณครับ

คำสำคัญ (Tags): #ทันตกรรม#ปวดฟัน
หมายเลขบันทึก: 175464เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2008 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 03:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีเจ้าค่ะ คุณหมอฟัน คิคิ

น้องจิแวะมาเยี่ยมเจ้าค่ะ สบายดีไหมเจ้าค่ะ ร้อนหรือเปล่าเอ่ย น้องจิฟันน้ำนมยังหักไม่หมดปากเลยเจ้าค่ะ ไปหาคุณหมอมา คุณหมอบอกว่า ฟันแข็งแรง เหอๆๆๆ คิคิ รักษาสุขภาพด้วยนะเจ้าค่ะ

เป็นกำลังใจให้เจ้าค่ะ ----->น้องจิ ^_^

สวัสดีคะคุณหมอ

คำแนะนำดีมากๆๆ ถ้ากลับไปเป็นเด็กได้จะรักษาสุขภาพฟันให้ดีกว่านี้แน่นอน ฝากน้องๆ ที่เข้ามาอ่านในบล็อกนี้จำไว้นะ ถ้ามีปัญหาพบคุณหมอทันทีอย่ากลัวเจ็บ

รักษาสุขภาพฟันด้วยนะคะ

สวัสดีคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท