คุณคำผิว เล่าให้ฟังการทำน้ำส้มควันไม้เพื่อใช้เองที่ลานดอกไม้


ได้มีโอกาสไปเยี่ยมคุณคำผิว ชำนิโกร เกษตรกรดีเด่นสาขาทำนาของอำเภอเมืองกำแพงเพชร

คุณคำผิว เล่าให้ฟัง

 

 

เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2551 ผมและทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร ได้มีโอกาสไปเยี่ยม เกษตรกรดีเด่นสาขาทำนา ของอำเภอเมืองกำแพงเพชร คือคุณคำผิว ชำนิโกร อยู่บ้านเลขที่ 78/1 หมู่2 ตำบลลานดอกไม้  อำเภอเมืองกำแพงเพชร

  

             เมื่อทีมงานของเราไปพูดคุยกับคุณคำผิว ที่บริเวณใกล้กับแปลงนาของเขาเอง โดยคุณคำผิวได้เล่าให้ฟังว่า ตนเองและครอบครัวประกอบอชีพทำนา และทำสวนม่วง ทำไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แต่ขณะนี้ได้ให้ความสำคัญกับการทำนา ปลูกข้าวไว้บริโภคในครัวเรือน หากเหลือจากบริโภคแล้วก็จะนำไปขายในท้องถิ่น แต่ข้อสำคัญจะทำอย่างไรให้ต้นทุนการผลิตข้าวต่อไร่ได้ลดลง จึงได้สนใจที่จะผลิตน้ำส้มควันไม้ ไว้ใช้เอง เพื่อนำไปพ่นในแปลงนาป้องกันและกำจัดศัตรูข้าว โดยพยายามจะเลิกใช้สารเคมีในการกำจัดแมลงศัตรูข้าวลง เมื่อได้ทำการทดลองการใช้น้ำส้มควันไม้ ปรากฏว่าได้ผลดีพอสมควร โดยแมลงตระกูลเพลี้ยต่างๆ ในขณะเดียวกันยังรักษาแมลงศัตรูทางธรรมชาติไว้ในแปลงนาอีกด้วย ขณะนี้ยังทำการผลิตน้ำส้มควันไม้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งที่ผ่านมาได้แบ่งปันให้ญาติพี่น้องและเพื่อนบ้านที่สนใจ ได้นำไปทดลองใช้ก็ได้ผลเดีพอสมควร

  

              ในขณะเดียวกันระยะนี้ตนเองก็ยังปลูกข้าวอยู่ซึ่งอยู่ในระยะแตกกอ จึงได้ทดลองน้ำเชื้อราบิวเวอร์เรี่ยมาใช้ผสมน้ำ เพื่อฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  ซึ่งอยู่ในระยะการทดลองและเฝ้าสังเกตดูว่าจะได้ผลประการใด แต่เท่าที่ทราบมีเกษตรกรเพื่อนบ้านที่มีประสบการณ์ในการนำเชื้อราบิวเวอร์เรี่ย ไปใช้ในแปลงนาเพื่อป้องกันและกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลก็ได้ผลดี ตนเองจึงตัดสินใจนำมาใช้ ทั้งนี้ก็เพื่อจะลดต้นทุนโดยไม่ต้องไปซื้อสารเคมีมาใช้ ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และสิ่งแวดล้อม

  

                              นอกจากจะทำการทดลองการใช้น้ำส้มควันไม้ในแปลงนาแล้ว ยังได้นำไปทดลองใช้ในแปลงปลูกมะม่วง และแปลงปลูกข้าวโพดอีกด้วย ณ.วันนี้จึงนับได้ว่าวันๆหนึ่งจะมีเกษตรกร เพื่อนบ้านมาศึกษาดูการทำน้ำส้มควันไม้ ในบริเวณใกล้กับแปลงนาของตนเองอย่างต่อเนื่อง ทุกวันนี้ยังมีคุณสมพร จันทร์ประทักษ์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร6ว. ก็ได้ลงมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน พร้อมยังได้เก็บข้อมูลผลของการใช้น้ำส้มควันไม้ในแปลงนา ร่วมกัน เพื่อที่จะพัฒนาต่อยอดกันอย่างไรต่อไป

                    ณ.ปัจจุบันนี้ ต้องยอมรับว่า ยังมีนักส่งเสริมการเกษตร ที่มีอุดมการณ์  ถึงแม้เงินเดือนจะเต็มขั้นมาหลายปีและตั้งใจที่ปฏิบัติงานในชุมชนร่วมกับเกษตรกรที่มีความตั้งใจ สร้างองค์ความรู้ ต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อให้การพัฒนาอาชีพของเกษตรกร ได้มีความยั่งยืน พร้อมให้ขวัญกำลังใจแก่เกษตรกรระดับแกนนำ ให้มีการสร้างและพัฒนาองค์ความรู้ของตนอง รู้จักคิด และพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

หมายเลขบันทึก: 175420เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2008 10:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท